WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, November 8, 2009

จักรภพแฉหุ่นเชิดอำมาตย์กลืนเลือดสะบั้นเขมร

ที่มา Thai E-News


ถ้อยแถลงของรัฐบาลกัมพูชา-รัฐบาลกัมพูชาออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่งว่า ในกรณีของ ฯพณฯ ทักษิณ กัมพูชาเห็นว่ามีเหตุทางการเมืองอย่างชัดแจ้งในการโค่นผู้นำผู้นี้ลงจากตำแหน่งด้วยการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ในขณะที่อยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ที่องค์การสหประชาชาติ คดีความมากมายที่ตามมาหลังจากนั้น รวมทั้งการตัดสินลงโทษต่อตัวท่านทั้งสิ้น ล้วนเป็นเรื่องการเมืองทั้งสิ้น การเชิญ ฯพณฯ ทักษิณ มายังกัมพูชา เกิดจากความตระหนักในธรรมเนียมโบราณของเราที่ว่า “เพื่อนในยามยาก คือเพื่อนยากที่แท้จริง”


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา เวบบล็อกประชาธิปไตย100%
7 พฤศจิกายน 2552

นายจักรภพ เพ็ญแข ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการทูตระหว่างประเทศได้วิเคราะห์ข้อพิพาทล่าสุดระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชากรณีที่กัมพูชาได้แต่งตั้ง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ควบกับตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา โดยให้สัมภาษณ์กับเวบไซต์คนไทยUK-www.konthaiuk.com เมื่อค่ำวานนี้


ประเด็นสำคัญที่นายจักรภพวิเคราะห์กรณีพิพาทครั้งนี้ ประกอบด้วย

- การที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ปลุกกระแสคลั่งชาติหาเหตุทะเลาะกับเพื่อนบ้าน โดยยกเลิกความตกลงเกี่ยวกับการสำรวจน้ำมันและพลังงานในอ่าวไทยที่นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศประกาศ ถือเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งของฝ่ายประชาธิปไตย เนื่องจากเบื้องหลังจริงๆแล้ว รัฐบาลอภิสิทธิ์และฝ่ายอำมาตย์พยายามติดสินบนกัมพูชาด้วยเรื่องนี้ โดยแลกกับการเลิกคบและงดให้ความช่วยเหลือกับอดีตนายกฯทักษิณในทุกด้าน แต่กัมพูชากลับแต่งตั้งนายกฯทักษิณสู่ตำแหน่งที่ปรึกษาสำคัญถึง ๒ ตำแหน่ง เท่ากับปฏิเสธการลวงล่อของรัฐบาลไทยและย้ำจุดยืนทางการเมืองของตัวเอง

สำหรับการแต่งตั้งครั้งนี้ ตำแหน่งทั้งสองเรียกเป็นทางการว่า:


๑. Personal Advisor to Prime Minister of the Kingdom of Cambodia หรือ ที่ปรึกษาส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา

๒. Advisor to the Royal Government in charge of economic affairs หรือ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลแห่งชาติ


- การแต่งตั้งนี้เป็นพระราชกฤษฎีกาที่ลงพระนามโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสีหโมนี กษัตริย์แห่งกัมพูชา ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒

- กัมพูชาใช้ประกาศเดียวกันยืนยันว่านายกทักษิณเป็นผู้บริสุทธิ์ และถูกกล่าวโทษเอาผิดต่างๆ เพราะการเมืองหลังรัฐประหาร พ.ศ.๒๕๔๙ รัฐบาลของเขาจึงเห็นว่าเป็นเรื่องสมควรและมีประโยชน์ที่จะเชิญนายกทักษิณเข้ามาช่วยบริหารราชการแผ่นดินของกัมพูชา และประกาศแต่งตั้งดังกล่าว พูดง่ายๆ คือทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกันในทัศนะของกัมพูชา

คำประกาศนี้ไม่มีเสียงคัดค้านจากฝ่ายค้านหรือฝ่ายใดๆ ในกัมพูชาเลย

สำหรับรายละเอียดแถลงการณ์ของกัมพูชาเรื่องแต่งตั้งครั้งนี้ ซึ่งแปลโดยนายจักรภพ มีเนื้อหาดังนี้


เนื่องมาจากเหตุการณ์ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๒ ที่เกี่ยวข้องกับ ฯพณฯ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ผู้นำไทยส่วนหนึ่งได้แสดงปฏิกิริยาอย่างต่อเนื่องบนบรรทัดฐานของสนธิสัญญาส่งตัวระหว่างกัมพูชาและไทยว่า จะร้องขอให้มีการส่งตัวอดีตนายกรัฐมนตรีไทยกลับ หากเดินทางเข้ามายังกัมพูชา สำนักอัยการสูงสุดของไทยได้ยกประเด็นขึ้นว่า ทางราชอาณาจักรกัมพูชามีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธคำขอดังกล่าว แต่ต้องอธิบายความและให้เหตุผลอันสอดคล้องกับหลักปฏิบัติระหว่างประเทศ

ในอีกกรณีหนึ่ง รองนายกรัฐมนตรีของไทยกล่าวว่าไทยมีสิทธิ์ที่จะขอให้ส่งตัวคุณทักษิณกลับไทยตามหลักการของสนธิสัญญาส่งตัวระหว่างกัมพูชาและไทย ตลอดจนหลักกฎหมายระหว่างประเทศ (แหล่งข่าวจาก: เอเอสทีวี เมเนเจอร์ ออนไลน์ ที่ขึ้นข้อความข่าวนี้เมื่อ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ที่ตีพิมพ์เมื่อ ๒๗ และ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ และในหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นเมื่อ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๒)

หลังได้พิจารณาประเด็นดังกล่าวแล้ว รัฐบาลกัมพูชาขอตั้งข้อสังเกตต่างๆ ดังนี้:

๑. โดยมาตรา ๓ แห่งสนธิสัญญาส่งตัวระหว่างกัมพูชาและไทยที่ลงนามในกรุงเทพมหานครเมื่อ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๑ และให้สัตยาบรรณพร้อมประกาศใช้ในพระราชบัญญัติที่ N CS/RKM/0799/08 ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ผู้ได้รับการร้องขอคือกัมพูชาสามารถพิจารณาได้ก่อนว่า กรณีของคุณทักษิณเป็นเรื่องการเมืองหรือไม่

๒. อ้างถึงกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะมาตรา ๓ ในอนุสัญญายุโรปเกี่ยวกับการส่งตัว ที่ลงนามใช้เมื่อ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ และมาตรา ๓ ของต้นแบบสนธิสัญญาส่งตัวในกรอบองค์การสหประชาชาติเมื่อ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๓ การส่งตัวจะกระทำมิได้เลยภายใต้เงื่อนไข ๒ ประการต่อไปนี้:

a. หากคดีความอันเป็นเหตุให้เกิดข้อเรียกร้องส่งตัว มีลักษณะเป็นคดีการเมืองตามความเห็นของประเทศที่ได้รับการร้องขอ

b. หากประเทศผู้ถูกร้องขอมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าการขอให้ส่งตัวเป็นไปโดยจุดประสงค์เพื่อเอาผิดหรือลงโทษกับบุคคลนั้นๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับเชื้อชาติ สัญชาติ เผ่าพันธุ์ ทัศนะทางการเมือง เพศ ศาสนา หรือสถานภาพทางสังคม จนบุคคลนั้นๆ อาจถูกตัดสินอย่างมีอคติได้

๓. นอกจากนั้นแล้ว เพื่อเน้นหลักปฏิบัติระหว่างประเทศให้ชัดเจนขึ้นอีก โฆษกรัฐบาลขอยกกรณีตัวอย่างจำนวน ๒ กรณีจากคดีที่มีอยู่มากมายและเป็นที่รับรู้ทั่วไปในระดับระหว่างประเทศ นั่นคือคดีระหว่างญี่ปุ่นและเปรู และคดีระหว่างอังกฤษและรัสเซีย ญี่ปุ่นได้ปฏิเสธคำขอของเปรู และอังกฤษก็ได้ปฏิเสธคำขอของรัสเซีย บนหลักการว่าคำร้องขอทั้งสองกรณีนั้นเกี่ยวข้องกับการเมือง

ในกรณีของ ฯพณฯ ทักษิณ กัมพูชาเห็นว่ามีเหตุทางการเมืองอย่างชัดแจ้งในการโค่นผู้นำผู้นี้ลงจากตำแหน่งด้วยการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ในขณะที่ท่านอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ที่องค์การสหประชาชาติ คดีความมากมายที่ตามมาหลังจากนั้น รวมทั้งการตัดสินลงโทษต่อตัวท่านทั้งสิ้น ล้วนเป็นเรื่องการเมืองทั้งสิ้น

จากข้อพิจารณาทางกฎหมายดังกล่าวทั้งหมด และโดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศทั้งมวล เราจึงขอย้ำอย่างเด็ดขาดว่า ไม่ว่าจะในกรณีใดๆ ก็ตาม ราชอาณาจักรกัมพูชาจะไม่ส่งตัว ฯพณฯ ทักษิณกลับตามคำร้องขอจากประเทศไทย ไม่ว่าในขณะที่ท่านตัดสินใจเข้ามาพำนัก หรือเดินทางผ่านกัมพูชาไปยังประเทศอื่นๆ ก็ตาม เพื่อให้เป็นไปตามความในพระราชกฤษฎีกาที่ NS/RKT/1009/1018 ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ที่ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งท่านเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของสมเด็จฮุนเซ็นผู้เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลแห่งชาติกัมพูชา

โฆษกรัฐบาลขอแสดงเจตนารมย์ด้วยว่า รัฐบาลกัมพูชาจะไม่เปลี่ยนแปลงท่าทีในการธำรงรักษาความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือในทุกๆ ด้าน ระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทย การเชิญ ฯพณฯ ทักษิณ มายังกัมพูชา เกิดจากความตระหนักในธรรมเนียมโบราณของเราที่ว่า “เพื่อนในยามยาก คือเพื่อนยากที่แท้จริง” (“a friend in need is a friend in deed”)


กรุงพนมเปญ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒