WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, January 7, 2008

“กฎหมู่” ของสื่อ

การชุมนุมของประชาชนผู้ออกเสียงเลือกตั้งกว่าหมื่นคน ที่หน้าศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อ ทวงถามคำตอบจาก กกต. จังหวัด ว่าเพราะเหตุใดผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พวกเขาลงคะแนนให้เป็น ส.ส. จึงถูก กกต. สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และให้ใบแดง หมดสิทธิเป็น ส.ส. ทั้งๆ ที่ได้รับคะแนนจากประชาชนมากเกือบ 80,000 คะแนน ถูกเรียกว่าเป็นการใช้กฎหมู่ที่ไม่ยอมรับกฎหมาย โดยคนชั้นกลาง และสื่อมวลชน

หากการชุมนุมเพื่อทวงถามคำตอบจาก กกต.บุรีรัมย์ ของประชาชนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง เมื่อทราบว่าการใช้สิทธิของตนถูก กกต. ใช้อำนาจสั่งว่าเป็นโมฆะ และต้องไปเลือกตั้งใหม่ เป็นกฎหมู่ และเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแล้ว ทำไมการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ท้องสนามหลวง บนถนนราชดำเนิน และหน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน จึงกลายเป็นการเรียกร้องทางการเมือง และเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยไปได้

หากการชุมนุมที่บุรีรัมย์เป็นการดำเนินการที่นักการเมืองหนุนหลัง (อันที่จริงการชุมนุมครั้งนี้ทำกันอย่างเปิดเผย มีนักการเมืองนำหน้าด้วยซ้ำไป ไม่ใช่หนุนหลัง และไม่ได้แอบซ่อน) แล้วเหตุใด การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มีพรรคการเมืองเก่าแก่สนับสนุน ได้รับเงินทุนจาก นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย และท่อน้ำเลี้ยงจาก นายวัฒนา อัศวเหม ประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อแผ่นดิน จึงกลายเป็นการเรียกร้องทางการเมืองที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีการเมืองหนุนหลังและนำหน้าไปได้ ทั้งๆ ที่ผู้นำและผู้สนับสนุนการชุมนุมล้วนมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองทั้งสิ้น


หากการชุมนุมของประชาชนที่บุรีรัมย์เป็นการใช้กฎหมู่ต่อสู้ข่มขู่กฎหมายแล้ว เหตุใดการชุมนุมของประชาชนที่นำโดย นายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งศาลตัดสินแล้วว่าเป็นการแอบอ้างและใช้สถาบันพระมหากษัตริย์สร้างความแตกแยกให้สังคมไทย จึงกลายเป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชน ที่จะกระทำได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครองไปได้


เหตุใดมุมมองของสื่อมวลชนและคนชั้นกลางที่มีต่อการชุมนุมของประชาชนผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่บุรีรัมย์ จึงแปลกและแตกต่างไปจากเมื่อครั้งมองการชุมนุมของประชาชนที่ถูก นายสนธิ ลิ้มทองกุล ชักจูงให้มาร่วมด้วยความหลงเชื่อว่าเป็นการต่อสู้เพื่อในหลวง ทั้งๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ทางการเมือง


สื่อมวลชนจำนวนมาก นำเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะสนับสนุนการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และการโฆษณาชวนเชื่อด้วยความเท็จของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ภายใต้สโลแกน เราจะสู้เพื่อในหลวง และ ถวายคืนพระราชอำนาจ อีกทั้งยังเร่งเร้าปลุกระดมให้ประชาชนเข้ามาร่วมชุมนุมมากขึ้น ราวกับว่าการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่นำโดย นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นการกระทำที่ถูกต้องควรค่าแก่การยกย่องเชิดชู


สื่อมวลชนจำนวนมาก หลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่ากฎหมู่ หากแต่ใช้คำว่าประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยบ้าง ประชาชนผู้จงรักภักดีบ้าง ทั้งๆ ที่พฤติกรรมของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และขบวนการพันธมิตรฯ ล้วนแต่ไม่เคารพกฎหมาย และทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายทั้งสิ้น ภายใต้ศัพท์บัญญัติเพื่อเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มตน เช่น อารยะขัดขืน แม้แต่ การฉีกบัตรเลือกตั้ง สื่อมวลชนก็ยังชื่นชมว่าเป็นความกล้าหาญ และไม่ถือว่าเป็นการกระทำความผิด และนำเสนอภาพจนกลายเป็นแฟชั่นฉีกบัตรระบาดไปทั่วประเทศ ทั้งๆ ที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิดชัดเจน


แต่เมื่อประชาชนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจัดการชุมนุมเรียกร้องให้ กกต. ตอบคำถามว่า เหตุใดจึงไม่เคารพการใช้สิทธิลงคะแนนการออกเสียงเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดของระบอบประชาธิปไตย คือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน แต่ กกต. กลับสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ และไม่ให้ผู้ที่ประชาชนเลือกตั้งแล้วลงแข่งขันอีก สื่อมวลชนจำนวนมากกลับมองว่าเป็นการใช้กฎหมู่มาข่มขู่และอยู่เหนือกฎหมาย ไม่ยอมรับการตัดสินของ กกต.


คำถามก็คือว่า แล้วเหตุใด กกต. จึงไม่เคารพการตัดสินใจของประชาชน ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งที่ประชาชนตัดสินใจลงคะแนนไปแล้ว


เมื่อ กกต. ไม่เคารพการตัดสินใจของประชาชน และไม่ทำตามกฎหมาย แล้วจะใช้เหตุผลใดมาเรียกร้องให้ประชาชนเคารพการตัดสินใจของ กกต.


กรณีการชุมนุมที่ จ.บุรีรัมย์ มีประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือว่า กกต. ได้ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งหรือยัง กกต. ได้ปฏิบัติตามกฎหมายครบถ้วนหรือยัง ก่อนที่จะตัดสินให้ใบแดงทั้ง 3 คน


คำตอบ ก็คือ ยัง เพราะผู้ถูกใบแดงทั้ง 3 คน ยังไม่มีโอกาสเข้าให้ถ้อยคำแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ตาม กฎหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 24


แม้ว่า กกต. จะอ้างว่าทั้ง 3 คนได้ให้เข้าชี้แจงต่อ กกต.จ.บุรีรัมย์ แล้ว แต่ กกต.จ.บุรีรัมย์ ไม่ใช่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งกฎหมายเขียนไว้ชัดว่ามี 5 คน และชื่ออะไรกันบ้าง คนอื่นนอกจาก 5 คนนี้ จึงไม่ใช่คณะกรรมการการเลือกตั้ง


ในขณะที่ กกต. อ้างว่าการตัดสินให้ใบแดงทั้ง 3 คน เป็นไปตามที่ กกต.จ.บุรีรัมย์ เสนอมา ย่อมหมายความว่า สำนวนการสอบสวนที่ กกต. ได้รับมามีการระบุการกระทำผิดชัดเจน จนสามารถลงโทษได้ โดยไม่ต้องรับฟังคำชี้แจงจากผู้ถูกกล่าวหา แม้กฎหมายจะบัญญัติให้ต้องรับฟังก็ตาม อย่างนั้นหรือ


หากเป็นเช่นนั้นจริง ก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนที่จะขอฟังคำชี้แจงจาก กกต.บุรีรัมย์ ว่านำเสนอสำนวนไปเช่นไร มีพยานหลักฐานมัดแน่นเพียงใด กกต. กลางจึงเชื่อและกล้าตัดสินโดยขัดกฎหมายเช่นนี้


ด้วยเหตุผลเพียงข้อเดียวว่า กกต. ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็เพียงพอแล้วกระมังที่ประชาชนผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะเรียกร้องให้ กกต. ทบทวนพฤติกรรมการกระทำของตนเอง ว่าถูกต้องหรือไม่


การใช้ถ้อยคำ “กฎหมู่ประทับตรา และประณามให้แก่ใครต่อใคร โดยไม่ใส่ใจข้อเท็จจริง ไม่ศึกษาที่มาที่ไปของปัญหาและการชุมนุมของสื่อมวลชนต่างหากเล่า ที่น่าจะเป็นการใช้กฎหมู่ข่มขู่ผู้อื่น


เป็นการใช้มติของสื่อ คุกคามและกดหัว มติของประชาชน


อันเป็นพฤติกรรมที่ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง


โดยเฉพาะ สื่อที่เคยเป็นแนวร่วมของ สนธิ ลิ้มทองกุล และสนับสนุนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำเสนอข้อมูลเท็จให้ประชาชนหลงเชื่อ อันเป็นต้นเหตุนำประเทศไทยมาสู่วิกฤติที่สุดในโลกในวันนี้