WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 12, 2009

‘ชุมชนพอเพียง’ เละ! กฎเหล็กมาร์ค ‘ยุ่ย’!

ที่มา บางกอกทูเดย์

เมื่อเดือนธันวาคม 2551 หลังจากที่เกมการเมืองพลิกกลุ่มสี กลุ่มอำนาจ และก๊วนการเมือง ได้หนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ก่อให้เกิดเสียงสะท้อนในเรื่องของความไม่สง่างามในการขึ้นดำรงตำแหน่งดังอื้ออึงไปหมดช่วงนั้นเพื่อให้เห็นถึงความเหมาะสมของการขึ้นมาทำหน้าที่ผู้บริหารประเทศ เพื่อหวังที่จะทำให้เห็นว่าแม้จะเป็นนายกรัฐมนตรีและตั้งรัฐบาลขึ้นมาจากการช่วงชิงด้วยกลเกมทางการเมืองแต่ก็จะขอเป็นรัฐบาลที่ดีไม่มีการเล่นพรรคเล่นพวก???ไม่มีการโกงกินคอร์รัปชั่น???และจะบริหารประเทศแบบตรงไปตรงมา ไม่เลือกหน้าอินทร์หน้าพรหม ผิดต้องว่าไปตามผิด!!!นายอภิสิทธิ์ประกาศต่อสาธารณชนอย่างชัดเจนดังไปทั่วประเทศว่า มีการกำชับแนวทางให้คณะรัฐมนตรีทำงานทั้งหมด 9 ข้อ คือ

1. ให้ ครม. น้อมนำพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติงานให้เกิดความเรียบร้อยและเกิดความสุขในหมู่ประชาชน

2. ให้ยึดถือการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างเคร่งครัด

3. นโยบายที่ ครม.อนุมัติ ต้องถือเป็นเป้าหมายหรือทิศทางร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ

4. ในภาวะวิกฤติ การทำงานของรัฐบาลต้องเป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ต้องไม่เป็นรัฐบาลที่แบ่งพรรค

5. รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลในวิถีทางรัฐสภา รัฐมนตรีทุกคนต้องเข้าร่วมประชุมสภาอย่างสม่ำเสมอ ต้องไปรับฟังความคิดเห็นของ ส.ส. และตอบกระทู้ด้วย

6. วันนี้ถือเป็นบุคคลสาธารณะ ขอให้รัฐมนตรีทุกคนได้ปฏิบัติตนโดยคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน พฤติกรรมใดๆ ซึ่งนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นขอให้ระวังเป็นพิเศษ

7. ในรัฐบาลที่เชื่อมั่นวิถีทางประชาธิปไตย ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม8. รัฐบาลชุดนี้ต้องพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งในเชิงนโยบายและเรื่องอื่นๆและ

9. รัฐมนตรีทุกคนไม่มีสิทธิเหนือประชาชนคนอื่นในแง่การปฏิบัติตามกฎหมายที่สำคัญนายอภิสิทธิ์พูดไว้ชัดเจนว่า“รัฐบาลจะมีการประเมินผลการทำงานของตัวเองตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

อย่างน้อย 3 เดือนก็จะมีการประเมินกัน”ส่วนแนวทางการสร้างความสมานฉันท์นั้น นายอภิสิทธิ์พูดเอาไว้สวยหรูว่า สิ่งสำคัญที่สุด คือ ความยุติธรรม การทำงานที่ไม่แบ่งภาคแบ่งฝ่ายดังนั้น จนถึง ณ วันนี้ ยังเชื่อมั่นว่า คนที่มีวุฒิการศึกษามีชาติตระกูล มีความพร้อมทุกอย่างเช่นนายอภิสิทธิ์ ผู้ที่หากเป็นภาวะปกติมีการขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามครรลองการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงแล้ว ต้องถือเป็น1 ในนายกรัฐมนตรีที่เป็นหน้าเป็นตาของประเทศไทยได้คนหนึ่งเลยทีเดียวนั้นจะต้องระลึกจดจำกฎเหล็กที่ได้ประกาศเอาไว้เองอย่างแม่นยำที่สุดหากทำได้เป๊ะๆ รับรองเลยว่าไม่ต้องเสียเวลาพร่ำพูดเรียกหาศรัทธาประชาชนผ่านรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์” ให้เมื่อยตุ้มหรอกทำตามกฎเหล็ก 9 ข้อได้อย่างเคร่งครัด ศรัทธามหาชนจะมาเองอย่างแน่นอนเพียงแต่การเมืองก็คือการเมือง ยิ่งเป็นการเมืองพลิกขั้วที่อาศัยบารมีใครต่อใครช่วยอุ้มมาใส่เก้าอี้ มาหนุนให้เป็นรัฐบาลแม้จะได้ชื่อว่า รัฐบาลเทพประทาน...แต่สิ่งที่เทพให้มานั้น คือการขี่คอของใครต่อใครและหนี้บุญคุณมากมาย จนทำให้นายอภิสิทธิ์ไม่เป็นตัวของตัวเอง...ทำให้กฎเหล็กบุบเบี้ยวบู้บี้เสียยิ่งกว่าเศษเหล็กเซียงกงไปเสียแล้ว

หากยังจำกันได้ หลังประกาศกฎเหล็กใหม่ๆ สื่อต่างๆ สะท้อนการยอมรับและเห็นด้วยกันอย่างเซ็งแซ่ในทันทีว่า ดีมาก ดีเหลือเกิน…แต่หลังจากนั้นแค่ 2 เดือน สื่อหนังสือพิมพ์ต่างๆก็เริ่มสะท้อนให้เห็นความหย่อนยานของกฎเหล็ก ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต การผลักดันนโยบายขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน มีปัญหางบประมาณรั่วไหล ผ่านการประมูล การสัมปทานที่ผูกขาดแบบเก่าเหมือนเดิมที่เลวร้ายที่สุดก็คือโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรของภาครัฐทั้งนี้ ยังไม่นับความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์ม อ้อยซึ่งรัฐบาลยังใช้กลไกราชการหรือมาตรการรับจำนำเหมือนเดิมประการสำคัญ สื่อต่างๆ เริ่มรู้สึกว่ากฎเหล็กของนายกรัฐมนตรียังไปไม่ถึงการตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีในพรรคร่วมรัฐบาล หลายกระทรวงมีการตั้งกลุ่มเข้าฉกฉวยงบประมาณโดยไม่เป็นประโยชน์ต่อแผ่นดินดังนั้น จึงอยู่ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า จะมีความกล้าหาญใช้กฎเหล็กในการทำงานของ ครม. แค่ไหนแต่ที่แน่ๆ เสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นมาตลอดก็คือ... สอบตกกฎเหล็ก 9 ข้อเป็นมุมมองของสื่อที่เกิดขึ้นเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ...ยิ่งคนแรกที่ทำให้ประชาชนถึงกับเหวอ...ในเรื่องกฎเหล็ก9 ข้อของนายอภิสิทธิ์ ก็คือ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั่นเองเพราะนายกษิตเคยให้สัมภาษณ์ว่า จะลาออกจากตำแหน่งหากมีการออกหมายเรียกหรือหมายจับ จากกรณีที่ไปร่วมกับกลุ่มพันธมิตรฯ ปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจึงมีการทวงถามนายอภิสิทธิ์ถึงความเหมาะสมในการ

ดำรงตำแหน่งของนายกษิต ตามที่ได้เคยประกาศกฎเหล็กเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีไว้ เพื่อกำหนดมาตรฐานจริยธรรมและความรับผิดชอบของรัฐบาลในทันทีแต่เมื่อนายกษิตอาละวาดไม่ยอมรับคำพูดที่ผูกมัดตัวเองซ้ำยังฟาดงวงฟาดงาไปยังทหารด้วยจนมองหน้ากันไม่ติดเป็นแถบๆแถมม็อบพันธมิตรฯ ก็ฮึ่มใส่นายอภิสิทธิ์และรัฐบาลในทันทีไม่ว่าใครก็ตามจะปลดนายกษิตไม่ได้!!!สุดท้ายนายอภิสิทธิ์ก็ต้องเลือกอุ้มนายกษิต โดยอ้างว่ากรณีนายกษิตไม่เข้าข่ายกฎเหล็ก 9 ข้อเช่นเดียวกับสารพัดโครงการของกระทรวงคมนาคม ภายใต้การผลักดันของ นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ไม่สนใจเสียงสะท้อนของสังคม ท่องเพียงแค่ว่า“ต้องได้ ต้องทำให้ได้ เพราะนายสั่งมา”จนโครงการรถเมล์เช่าเอ็นจีวี 4,000 คัน ราคาโคตรแพงระยับเป็นโครงการที่อื้อฉาวและปั่นป่วนรัฐบาลมากที่สุด ซึ่งนายอภิสิทธิ์ก็ไม่กล้าที่จะใช้กฎเหล็ก 9 ข้อเข้ามาเบรกแต่ใช้ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาพัฒน์ ช่วยซื้อเวลาดึงเกมแทนเช่นเดียวกับกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้แจ้งความดำเนินคดีกับ 3 ส.ส.สุราษฎร์ธานี ประชาธิปัตย์ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีนายชุมพล กาญจนะ และ นายประพน นิลวัชร หลังศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาให้ใบเหลือง นายธานี เทือกสุบรรณนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีนายอภิสิทธิ์ก็มาแนวเดิม คือ เรื่องนี้ก็ไม่เข้าข่ายกฎเหล็ก9 ข้ออีกเช่นกันแต่ที่งานเข้าหนักที่สุดในขณะนี้ก็คือ โครงการชุมชนพอเพียงที่มี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีกำกับดูแลโดยตรง ที่พบว่ามีการทุจริตอื้อฉาวเกิดขึ้นมากมายเพราะมีนักการเมืองบางพรรคอ้างว่าเป็นโครงการให้เปล่าแต่กลับบีบบังคับให้ชุมชนต้องเลือกสินค้าราคาแพงเกินจริงตามที่ล็อกสเปกมา ซึ่งสินค้าเหล่านั้นไม่ได้ตรงกับความต้องการ

ของชุมชนนั้นๆ เลยแม้แต่น้อยมีชุมชนที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกันนี้ถึง 24 ชุมชน หลายชุมชนถูกให้เปิดบัญชี จากนั้นทันทีที่ปรากฏยอดเงินโอนเข้า เจ้าหน้าที่โครงการได้ให้ตัวแทนชุมชนถอนเงินออกมาภายในวันเดียวกันนั้นเลย...ได้เห็นเงินเพียงแค่เสี้ยวแว่บนาทีเท่านั้นก็หายวับไปกับตาหรืออย่างชุมชนสามัคคีพัฒนาได้รับการอนุมัติโครงการจำนวน 600,000 บาท แต่มียอดเงินโอนเข้าบัญชีของชุมชนเพียง 500,000 บาท งงกันเป็นแถบๆ ว่าส่วนต่าง 1 แสนบาทหายไปไหน???และกรณีตู้หยอดน้ำและแผงโซลาร์เซลของชุมชนวัดกลางซึ่ง นายอารักษ์ ยงจิรกุลพงศ์ ประธานชุมชนวัดกลาง ระบุว่ามีตัวแทนจากเจ้าหน้าที่โครงการติดต่อมาว่า...มีโครงการที่มาจากงบฯ เลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นการให้เปล่า แต่ละชุมชนสามารถเลือกตามความต้องการ“ชุมชนผมต้องการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการก่ออาชญากรรม และยาเสพติด แต่เจ้าหน้าที่โครงการบอกว่าถ้าผมไม่เลือกโครงการใดโครงการหนึ่งตามที่กำหนดไว้ ก็จะนำงบฯ ชุมชนวัดกลางที่ได้ไปมอบให้ชุมชนอื่นแทนผมจึงต้องเลือกโครงการตู้หยอดน้ำและแผงโซลาร์เซลแทน ทั้งที่ชุมชนตั้งตู้หยอดน้ำเพื่อบริการคนในชุมชนมีเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว”แถมมีการเร่งรีบกำชับให้รวบรวมรายชื่อคนในชุมชนให้ครบตามจำนวนที่กำหนดภายในวันต่อมาทันทีซ้ำเอาเข้าจริงๆ บริษัทผู้จำหน่ายสินค้า เมื่อนำสินค้ามามอบให้กลับบอกหน้าตาเฉยว่า ตู้หยอดน้ำที่ใช้กระแสไฟจากแผงโซลาร์เซลนั้น จะต้องใช้ควบคู่กับไฟบ้านด้วย เนื่องจากพลังงานจากแผงโซลาร์เซลมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการทำงานของเครื่องหยอดน้ำชุมชนไม่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลได้ตั้งแต่วันแรก แค่พัดลมติดผนังเพียงตัวเดียวก็ยังไม่สามารถทำงานได้เลย

ฉาวจนไม่รู้ว่าจะฉาวอย่างไร และแพร่กระจายไปทั่วประเทศจนบางกรณีที่ถูกร้องเรียน นายสุมิท แช่มประสิทธิ์ผู้อำนวยการ สพช. และ นายประโภชน์ สภาวสุ รองประธานกรรมการ สพช. ต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาคืนให้เช่นกรณีที่คืนเงินให้กับ 8 ชุมชนพอเพียงที่จังหวัดปราจีนบุรีซึ่งชุมชนได้ขอให้มีการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานที่สภ.กบินทร์บุรี ด้วยนี่คือปรากฏการณ์ทุจริตที่เกิดขึ้นในรัฐบาลอภิสิทธิ์ซึ่งแน่นอนว่านายอภิสิทธิ์และนายกอร์ปศักดิ์จะต้องรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นายประโภชน์และนายสุมิทในฐานะฝ่ายปฏิบัติการก็ต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ ด้วยเช่นกันงานนี้ท้าทายคนตระกูล “สภาวสุ” โดยเฉพาะ นายกอร์ปศักดิ์เป็นอย่างยิ่ง เพราะจริงๆ เรื่องนี้ไม่น่าพลาดให้เกิดทุจริตขึ้นได้เนื่องจากโดยส่วนตัวแล้วเป็นคนละเอียดรอบคอบมากที่สำคัญ นายประมวล สภาวสุ ผู้เป็นบิดา สมัยที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ได้ฝากฝีมือฝากผลงานไว้มิใช่น้อยที่ยังเป็นประโยชน์กับสังคมอยู่จนทุกวันนี้ก็คือ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นั่นเอง ที่นายประมวลใช้ฝีมือผลักดันก่อสร้างให้ทันการประชุม World Bank ด้วยเวลาไม่ถึงปี แค่ประมาณ7-8 เดือนเท่านั้นฉะนั้น นายกอร์ปศักดิ์จะต้องตรวจสอบและเล่นงานทุจริตครั้งนี้ให้จั๋งหนับเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะโยงตัวละครไปถึงใครก็ตามนายอภิสิทธิ์จะต้องใช้กฎเหล็กลากไส้ “จอมบงการ”ออกมาให้เห็นให้ได้หากใช้เกมตั้งกรรมการสอบเพื่อหวังตัดตอนหรือโยนบาปอย่างที่กำลังลือกันกระฉ่อนระวังบาปจะย้อนมาทิ่มแทง เพราะนอกจากประชาชนคนไทยจะไม่โง่แล้วคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก...ถ้าภักดีต่อสถาบันจริงต้องไม่ลืม! ■