WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 12, 2009

ปฏิกริยา:กรณีกษัตริย์ฆวน คาร์ลอสต้านรัฐประหาร

ที่มา Thai E-News


มอง2มุม-การที่กษัตริย์ฆวน คาร์ลอส แห่งราชอาณาจักรสเปน ทรงแถลงทางโทรทัศน์ไม่สนับสนุนการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 มีมุมมองที่แตกต่างกัน คือในมุมหนึ่งมีการตีความว่าพระองค์ทำตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ขณะที่อีกมุมเห็นว่าไม่เกี่ยว แต่เป็นเพราะทัศนคติของกษัตริย์สเปนต่อประชาธิปไตยมากกว่า ไทยอีนิวส์พร้อมนำเสนอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาโดยครบทุกมุม

โดย ปิยะบุตร แสงกนกกุล
ที่มา บอร์ดชุมชนฟ้าเดียวกัน
12 สิงหาคม 2552

ขอชี้แจงความผิดพลาดในบทความเกี่ยวกับฆวน คาร์ลอสที่เผยแพร่ในไทยอีนิวส์เรื่อง ตอบข้อสงสัยที่ว่าทำไมกษัตริย์ของสเปญจึงทรงต่อต้านการรัฐประหาร

บทความชิ้นนี้เขียนโดยคุณ Pegasus เผยแพร่ในไทยอีนิวส์ ผมอ่านดูแล้ว มีความผิดพลาดหลายประการ ขออนุญาตชี้แจง ดังนี้

๑.

"และแม้ว่ากษัตริย์ของสเปญจะมีการระบุไว้ชัดเจนว่าทรงเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้นแต่ก็ทรงได้รับมอบหมายพระราชกรณียกิจหลายประการเหมือนประเทศอื่นๆที่เป็นระบบ constitutional monarchy ไม่ถึงขนาดเป็นสัญลักษณ์อย่างแท้จริงเท่านั้นแบบของอังกฤษและญี่ปุ่นที่จะไปในทาง limited monarchy มากกว่า"


ข้อความนี้ ผิดครับ ทั้งสเปน สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เป็น คอนสติติวชั่น โมนาร์ขี้ เหมือนกันทั้งหมด ไม่ใช่ว่าสเปนเป็นคอนสติติวชั่น โมนาร์ขี้ และ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เป็นลิมิเต็ต โมนาร์ขี้

๒.

คำว่า ลิมิเต็ต โมนาร์ขี้ หรือที่ภาษาไทยแปลกันว่า ปรมิตาญาธิปไตย ก็คือ ระบอบที่มีอำนาจน้อยกว่า แอบโซลูท โมนาร์ขี้ แต่ยังคงมีอำนาจทางการเมือง "โดยตรง-โดยแท้" อยู่บางประการ เช่น ไม่ลงนามในร่างกฎหมายได้ เสนอร่างกฎหมายได้ ให้ดูกรณีของลิคเตนสไตน์ ร่าง รธน ของรัชกาลที่ ๗ หรือรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสยุค “Restauration” ในรัชสมัยของ หลุยส์ที่ ๑๘ ที่เรียกว่า Charte ลงวันที่๔ มิถุนายน ๑๘๑๔ เป็นตัวอย่าง

แต่ผู้เขียนบทความนี้ บอกว่า
"ไม่ถึงขนาดเป็นสัญลักษณ์อย่างแท้จริงเท่านั้นแบบของอังกฤษและญี่ปุ่นที่จะไปในทาง limited monarchy มากกว่า"
จึงผิดในสาระสำคัญอย่างยิ่ง

๓.

กรณีของสเปน ไม่ได้เกี่ยวกับตัวบทรัฐธรรมนูญเท่าไร แน่นอน ตัวบทรัฐธรรมนูญเขียนไว้เรื่องกษัตริย์ในฐานะผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญจริง ซึ่งก็เป็นการดี

แต่ความสำคัญของสเปนอยู่ที่บริบทการเมืองของสเปน และทัศนคติในทางประชาธิปไตยของฆวน คาร์ลอส ทัศนคติปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เพื่อให้อยู่กับสังคมประชาธิปไตยให้ได้ มากกว่า

ถามว่า หากรัฐธรรมนูญเขียนหน้าที่ของกษัตริย์ในการ พิทักษ์ รธน. ไว้ แต่ฆวน คาร์ลอส อยู่เฉยๆ ไม่แทรกแซง หรือยิ่งไปกว่านั้น ออกมาลงนามหรือประกาศในที่สาธารณะว่า "ขอให้ประชาชนชาวสเปนจงพร้อมใจกันอยู่ในความสงบ เพื่อให้คณะรัฐประหารได้ฟื้นฟูชาติต่อไป" ก็ย่อมทำได้แน่นอน

ในระยะแรก พวกทหารคิดมาเสมอว่า ต้องเชื่อและเคารพฆวน คาร์ลอส เพราะเป็นผู้ที่นายพล ฟรังโก้ นายของพวกเขา มอบอำนาจให้เป็นประมุขต่อ

ดังนั้น เหตุการณ์ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๑๙๘๑ บทบาทสำคัญจึงอยู่ที่ตัวกษัตริย์เอง มิใช่ ตัวรัฐธรรมนูญ

๔.

คุณ Pegasus หยิบยกท่อนหนึ่งของบทความที่เกี่ยวกับการไม่ยอมรับรัฐประหารของฆวน คาร์ลอส โดยบอกว่าเขียนโดยคุณ socialism

ผมอ่านแล้ว นี่ผมเขียนนี่หว่า ไม่ทราบเหมือนกันว่า socialism คือ ใคร แต่ผมเข้าใจว่า คงเปิดเว็บบล็อกแล้วเอาบทความที่เขาเห็นว่าน่าสนใจไปแปะ แต่คงลืมอ้างว่าใครเขียนเท่านั้นเอง

ส่วนตัวแล้ว ผมไม่ยึดติด ถือเอาเป็นสำคัญเท่าไรกับเรื่องต้องอ้างว่าเป็นงานของผม

ใครอ่านงานผม แล้วจุดประกายคิดต่อ เขียนงานใหม่ๆได้โดยมีกลิ่นคล้ายๆงานของผมอยู่ก็ดี

ใครฟังการพูด อ่านงานเขียนของผมแล้วเอาไปพูดกระจายต่อโดยไม่อ้างว่ารู้มาจากผมก็ดี

หรือ ใครเอาไปแปะทั้งหมดโดยไม่อ้างก็ดี

สำหรับผมแล้ว ผมไม่ว่าอะไรเลยครับ ตรงข้ามกับขอบคุณด้วย เพราะ จุดประสงค์ของผม คือ การเผยแพร่สื่อสารไปให้เยอะๆ เมื่อข้อความไปถึงผู้รับสาร ก็น่าจะถือว่าสำเร็จตามวัตุประสงค์แล้ว ความสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า ต้องบอกว่า "สาร" นี้เป็นของใคร ใครเป็นเจ้าของ เริ่มต้นมาจากใคร

แต่กรณีนี้ ผมต้องชี้แจง เพราะเป็นการเอางานของผมไปอธิบายต่อแบบผิดพลาด

๕.

คุณ Pegasus ผู้เขียนบอกว่า ให้คุณ socialism ไปศึกษามาให้ดีว่า
"ดังนั้น socialism ผู้เขียนบทความข้างต้นก็ควรไปศึกษารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นๆว่าได้มีการกำหนดให้พระมหากษัตริย์ก่อนขึ้นครองราชต้องให้คำสัตย์ ปฏิญานที่จะเคารพต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อหน้าประชาชนได้แก่รัฐสภาไว้ในลักษณะเดียวกันหรือไม่ "


พอดีคนเขียนบทความเรื่องฆวน คาร์ลอสไม่เอารัฐประหารนั้น คือ ผม ไม่ใช่คุณ socialism ผมก็ต้องขอชี้แจง(หมายเหตุไทยอีนิวส์:ปิยะบุตรเขียนบทความชื่อ เมื่อฆวน คาร์ลอส ปฏิเสธรัฐประหาร ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 )

ผมเห็นว่ากษัตริย์เอ็นดอร์ส สนับสนุน หรืออยู่เฉยๆ ไม่ต่อต้านรัฐประหาร ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการปฏิญาณตนว่าจะรักษา ปชต. และ รธน.

โอเคล่ะ เขียนไว้ใน รธน. มันก็ดีกว่าชัดเจน แต่ต่อให้ รธน. เขียนบังคับให้กษัตริย์ต้องปฏิญาณตนเช่นนั้น หากกษัตริย์จะรับรอง รปห. ล่ะครับ มีแซงชั่นอะไรมั้ย

อย่างที่ผมบอก ความสำคัญอยู่ที่บริบทการเมือง ทัศนคติของกษัตริย์ อำนาจของกษัตรยิ์ในความเป็นจริงของแต่ละประเทศ