WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, October 18, 2009

Reuters: บทวิเคราะห์: ทำไมสุขภาพของกษัตริย์ไทยสามารถทำให้ตลาดตื่นตระหนก ANALYSIS-Why the Thai king's health can panic markets

ที่มา Thai E-News

โดย Andrew Marshall นักข่าวทางด้านความเสี่ยงทางการเมืองของเอเซีย
ที่มา Reuters
แปลโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
18 ตุลาคม 2552



บทวิเคราะห์: ทำไมสุขภาพของกษัตริย์ไทยสามารถทำให้ตลาดตื่นตระหนก

มันเป็นเรื่องที่ต้องห้ามสำหรับคนไทยที่จะพูดถึงความกลัวของพวกเขาเกี่ยวกับว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อรัชกาลของกษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดชซึ่งมีพระชนมายุ 81 พรรษา ได้สิ้นสุดลง แต่ปฏิกิริยาของตลาดหุ้นไทยเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมามันพูดออกมาได้ดังกว่าคำพูด

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยได้ตกลงอย่างฮวบฮาบเมื่อวันพุธและพฤหัส และค่าเงินบาทก็ได้อ่อนค่าลงเพราะความวิตกกังวลเรื่องสุขภาพของกษัตริย์ แม้จะมีการดีดตัวกลับวันศุกร์ แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าแม้แต่ข่าวลือเพียงนิดเดียวสามารถทำให้มีการเทขายหุ้นอย่างกระหน่ำ มันแสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลของคนไทยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของรัชกาลและการที่ตลาดจะถูกกระทบอย่างหนัก

"อย่าเชื่อข่าวลือในตลาด ขอให้เชื่อแต่คำประกาศของสำนักพระราชวังเท่านั้น" โฆษกของสำนักพระราชวังกล่าว

มันแน่ชัดว่าถึงแม้ว่าความกลัวเกี่ยวกับสุขภาพของกษัตริย์จะผ่านพ้นไป นักลงทุนก็ยังเป็นห่วงอย่างมากว่าอะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า

ไม่เคยมีการสนทนากันในสาธารณะเกี่ยวกับภยันตรายต่างๆเพราะประเทศไทยมีกฏหมายหมิ่นฯที่เคร่งครัดซึ่งห้ามไม่ให้มีการพูดถึงบทบาทของกษัตริย์และปัญหาที่อาจเกิดขึ้น การวิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับอนาคตของสถานการณ์การเมืองแทบจะไม่มี และนักลงทุนต่างชาติก็มีข้อมูลไม่มากเกี่ยวกับความเสี่ยงที่พวกเขากำลังเผชิญ

แต่นักวิเคราะห์กล่าวเป็นการส่วนตัวว่าอาจจะมีช่วงที่วุ่นวายอยู่นานหรือแม้แต่ความไม่สงบ และนั่นคือสาเหตุที่ตลาดอ่อนไหวต่อข่าวลือเกี่ยวกับการประชวร

ความแตกแยกและทางตัน

สิ่งที่ทำให้ประเด็นการสืบทอดราชบัลลังค์มันอันตรายมากตอนนี้ก็เพราะประเทศไทยถูกผูกไว้กับความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมมาหลายปีระหว่างผู้ที่สนับสนุนและผู้ที่ต่อต้านอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรผู้ซึ่งถูกโค่นล้มโดยรัฐประหารสามปีก่อนและปัจจุบันลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ

พ.ต.ท.ทักษิณได้เข้ามามีอำนาจเมื่อปี 2544 และสัญญาที่จะดำเนินนโยบายเพื่อคนยากจน และได้ชนะการเลือกตั้งสมัยที่สองโดยเสียงข้างมากที่มากกว่าเดิมในปี 2548 การสนับสนุนจากคนยากจนในชนบทที่มากมายต่อพ.ต.ท.ทักษิณหมายความว่าเขาได้รับเสียงมากพอที่จะบริหารประเทศโดยไม่จำเป็นต้องทำการต่อรองให้ผลประโยชน์กับข้าราชการและทหารหลังฉากเหมือนที่ทำอยู่โดยทั่วไป

อำนาจที่เพื่มมากขึ้นของพ.ต.ท.ทักษิณและฐานเสียงที่ไม่มีใครสามารถเจาะได้ รวมถึงข้อกล่าวหาเรื่องคอร์รัปชั่น ได้เป็นเสียงเตือนภัยกับชนชั้นสูงที่เดิมเป็นผู้มีอำนาจในประเทศ และทหารก็ได้ก่อรัฐประหารขึ้น

ประเทศไทยตอนนี้แตกแยกเป็นสองกลุ่มที่เป็นปรปักษ์ต่อกันอย่างรุนแรง กลุ่ม "เสื้อแดง" ที่สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งพวกเขาโกรธแค้นที่รัฐบาลที่พวกเขาเลือกมาถูกโค่นล้มโดยทหาร หรือตุลาการ และโดย "เสื้อเหลือง" -- ซึ่งเป็นรอยัลลิสต์ ทหาร และคนในเมืองที่สนับสนุนนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ความขัดแย้งได้ก่อให้เกิดความไม่สงบหลายครั้งซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความน่าลงทุนของของประเทศไทย เมื่อปีที่แล้วผู้ประท้วงต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณได้ปิดกั้นสนามบินสองแห่ง และในเดือนเมษายนที่ผ่านมาผู้ประท้วง "เสื้อแดง" ได้บุกเข้าไปในที่ประชุมสูงสุดของเอเซียที่พัทยาซึ่งทำให้ต้องมีการยกเลิกการประชุมไป

ประเทศซึ่งเคยจัดว่าเป็นที่ๆมีเสถียรภาพของภูมิภาคกำลังถูกมองว่าเป็นประเทศที่ไร้สมรรถภาพ ในปี 2545 ดัชนี World Governance ของธนาคารโลกจัดให้ความมีเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทยอยู่ที่ 59.1 จาก 100 และเมื่อปี 2551 การจัดอันดับดิ่งลงอยู่ที่ 12.9

บทบาทของสถาบันกษัตริย์

โดยทฤษฎีแล้วสถาบันกษัตริย์ในประเทศไทยอยู่เหนือความแตกแยกทางการเมือง กษัตริย์ภูมิพลเป็นกษัตริย์ที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ที่ไม่มีอำนาจทางการเมืองเป็นทางการ และก็ได้รับความเคารพรักโดยทั่วไปจากคนไทยที่ถือว่า เป็นศูนย์รวมของความสามัคคีในประเทศที่กำลังมีความแตกแยก

แต่กระนั้น ในช่วงระยะเวลา 6 ทศวรรษที่ครองราชย์ กษัตริย์ภูมิพลได้ขยายอิทธิพลทางการเมืองและเข้าแทรกแซงอย่างเปิดเผย 3 ครั้งในช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งระหว่างทหารและบุคคลที่มาจากการเลือกตั้ง นอกเหนือจากนั้น วังถูกมองโดยคนไทยหลายคนว่าเข้าข้างฝ่ายที่ต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ สนิทสนมกับผู้ที่วางแผนรัฐประหาร และถูกมองว่าเป็นพันธมิตรกับ "เสิ้อเหลือง" ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ก็ได้ส่งสัญญาณการสนับสนุนต่อกลุ่มเคลื่อนไหวที่ต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณเมื่อปีที่แล้วโดยการเสด็จเข้าร่วมงานศพของผู้ประท้วงสตรี "เสื้อเหลือง"

ดังนั้นทางวังได้ถูกดึงเข้ามาในความขัดแย้ง และต่อมาความขัดแย้งบางส่วนก็เข้ามาเกี่ยวข้องกับความเหมาะสมของบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ผู้สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณต้องการให้การเลือกตั้งเป็นตัวกำหนด ซึ่งจะทำให้รัฐบาลที่พวกเขาเลือกมาสามารถบริหารได้โดยไม่มีชนชั้นสูงเข้ามาก้าวก่าย

ผู้ที่สนับสนุนสถาบันฯ โต้แย้งว่าประชากรในชนบทไม่มีการศึกษาเพียงพอที่จะทำให้ประชาธิปไตยทำงานได้ ดังนั้นทหาร ข้าราชการ และชนชั้นสูงจึงต้องมีอำนาจควบคุมนโยบายโดยทั่วไป

เป็นเพราะกษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพรักอย่างกว้างขวาง คนไทยมีความสบายใจต่ออิทธิพลที่ท่านมี และทุกฝ่ายในความขัดแย้งนี้ย้ำถึงความจงรักภักดีต่อบัลลังค์ แต่พระโอรสของกษัตริย์ภูมิพล **เซ็นเซอร์ **

ผลลัพธ์ก็คือการเคลื่อนย้ายอย่างมหึมาของดุลอำนาจ -- "เสื้อแดง" น่าจะแสดงความกล้ามากขึ้นที่จะปฏิเสธอิทธิพลทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการปราบปรามโดยชนชั้นสูงที่กลัวว่าสถาบันกษัตริย์จะสูญเสียอิทธิพล

ความขัดแย้งที่ได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงไปแล้วจะขยายตัวขึ้นอีก และเสถียรภาพระยะยาวที่นักลงทุนต้องการเห็นจะอยู่ห่างออกไปไกลอีก

ANALYSIS-Why the Thai king's health can panic markets

Fri Oct 16, 2009 6:39am EDT

By Andrew Marshall, Asia Political Risk Correspondent

SINGAPORE, Oct 16 (Reuters) - It is taboo for Thais to publicly voice their fears about what might happen when the reign of their ailing 81-year-old King Bhumibol Adulyadej ends. But the reaction of Thai markets this week spoke louder than words.

Thailand's bourse .SETI tumbled on Wednesday and Thursday and the baht THB= slid on concerns about the king's health. There was a recovery on Friday, but the fact that even vague rumours could spark a sharp sell-off showed just how worried Thais are about a change of monarch, and how badly Thailand's markets will be hit.

"Don't believe the market rumours. Only believe the palace's statements," said a Royal Household Bureau spokesman.

It is clear, though, that even if this health scare passes, investors are deeply concerned about what might lie ahead.

The dangers are never discussed in public because Thailand has strict lese majeste laws that forbid talk of the monarchy's role and possible problems on the horizon. Frank analysis of the political outlook is a rarity, and so many foreign investors have only a hazy idea of the risks they face.

But analysts say privately that there could be a prolonged period of turmoil and even significant civil unrest, and this is why markets are so vulnerable to rumours about his health.

DIVISIONS AND DEADLOCK

What makes the succession issue so dangerous now is that Thailand has been locked for years in a political and social conflict between supporters and opponents of populist former prime minister Thaksin Shinawatra, who was ousted in a military coup three years ago and now lives in self-imposed exile.

Thaksin swept to power in 2001, promising a raft of policies aimed at the poor, and won a second term with an even stronger majority in 2005. Thaksin's huge support from the rural poor meant he had a big enough majority to govern without the usual backroom deals and concessions to the bureaucracy and military.

Thaksin's growing power and impregnable electoral base, plus accusations of corruption, alarmed the elite groups who have traditionally run Thailand, and the military launched a coup.

Thailand is now divided into two bitterly opposed camps: the pro-Thaksin "red shirts" who are furious that successive governments they voted for were toppled by the military or judiciary; and the "yellow shirts" -- royalists, the military and urban Thais, who back Prime Minister Abhisit Vejjajiva.

The conflict has sparked several bouts of unrest that have damaged Thailand's economy and investment attractiveness. Last year, anti-Thaksin protesters blockaded Bangkok's two main airports, and in April "red shirt" protesters stormed an Asian summit in Pattaya, forcing its cancellation.

A country once regarded as a haven of regional stability is increasingly viewed as a basket case. In 2002, the World Bank's World Governance Indicators rated Thai political stability at 59.1 out of 100. By 2008, that rating had dived to 12.9.

THE MONARCHY'S ROLE

In theory, Thailand's monarchy is above the country's political divisions. Bhumibol is a constitutional monarch, with no formal political powers, and he is widely respected by Thais who regard him as a unifying force in a fractured country.

Yet during his six decades on the throne, Bhumibol expanded his influence on politics, and explicitly intervened three times during periods of conflict between the military and elected officials. Furthermore, the palace is seen by many Thais as having taken sides against Thaksin over the past three years.

The king's chief adviser, Privy Councillor Prem Tinsulanonda, was very close to many of the coup plotters, and is regarded as a key ally of the "yellow shirts". Bhumibol's wife, Queen Sirikit, also signalled support for the anti-Thaksin movement last year by attending the funeral of a female "yellow shirt" protester.

So the palace has been drawn into the conflict, and in turn the conflict has become partly about the appropriate role of the monarchy. Thaksin's supporters want the ballot box to prevail, so governments they elect can rule without meddling by the elites.

Many monarchists argue that the rural population are not well enough educated for democracy to work, so the military, bureaucracy and elites should have wide control over policy.

Because Bhumibol is so widely respected in Thailand, most Thais are comfortable with the influence he wields, and all sides in the conflict stress their loyalty to the crown. But Bhumibol's son and presumed heir, Crown Prince Maha Vajiralongkorn, is regarded far less favourably by most Thais.

The result will be a huge shift in the balance of power -- the "red shirts" are likely to be bolder in their rejection of the monarchy's political influence, which could in turn provoke a crackdown by elites worried the monarchy is losing influence.

The conflict that has already done so much damage would escalate. And the long-term stability that investors want to see would be further away than ever. (Editing by John Chalmers)