ที่มา บางกอกทูเดย์
ติดเครื่องได้ทันที สำหรับไอเดีย “นครปัตตานี” เขตปกครองพิเศษ ที่จะมาดับไฟใต้ที่ “บีเจ” หรือ “บิ๊กจิ๋ว” พล.อ.ชวลิตยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย ขายไอเดียให้ ส.ส.พรรคเพื่อไทยและพรรครัฐบาลได้ซี๊ด! กันอีกครั้ง“พรรคเพื่อไทยเสนอแนวทางนครปัตตานี ที่มีลักษณะคล้ายกับนครเชียงใหม่ คือให้มีการออกพระราชบัญญัติให้ประชาชนสามารถดูแลตัวเอง โดยให้เกียรติกับประชาชนในพื้นที่ แต่ยังอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายไทยส่วนรายละเอียดขึ้นอยู่กับรัฐบาล”เป็นคำอธิบายจาก “บิ๊กจิ๋ว” เจ้าของฉายาในอดีต “ขงเบ้งแห่งกองทัพ”ก่อนจะอธิบายลงลึกอีกนิดว่า“นครปัตตานีเหมือนเชียงใหม่ และกทม. (กรุงเทพมหานคร) คือต้องออกพระราชบัญญัติให้มีขอบเขตดูแลตนเองโดยเฉพาะวิถีมุสลิมของประชาชนที่นั่นแต่การดำเนินการใดๆ ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายไทย คือให้เกียรติให้ดูแลตนเองได้ในระดับหนึ่ง”พิจารณาจากคำแถลงก็ยังไม่มีรายละเอียดอะไรมากนัก และที่สำคัญ พล.อ.ชวลิตก็ยอมรับในอีกประโยคหนึ่งว่า “รายละเอียดต้องมีการพูดคุยกันไม่พูดก็คงไม่รู้ ”้ และคงต้อง “ขึ้นอยู่กับรัฐบาล” อีกด้วยฉะนั้นหากต้องการ “ถอดรหัส”แนวคิดของ พล.อ.ชวลิต ต้องย้อนไปพิจารณาบทสัมภาษณ์เก่าๆ ของเขาซึ่งเจ้าตัวเคยพูดเรื่องนี้เอาไว้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวมากที่สุด เมื่อเดือน ส.ค.2550 ในช่วงปลายของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในหนังสือที่ชื่อ“การต่อสู้ครั้งสุดท้าย” ที่ พล.อ.ชวลิตเคยเขียนเอาไว้เป็นประวัติศาสตร์กรอบความคิดที่เป็นดั่งคัมภีร์ของการจัดการ “ความขัดแย้ง” ในมุมมองของ“บิ๊กจิ๋ว” ก็คือ ในสงครามที่เป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ที่เราเรียกว่าการก่อการร้ายนั้น ไม่มีทางที่จะได้ชัยชนะด้วยการ
ใช้ปฏิบัติการทางทหารแต่จะต้องใช้ปฏิบัติการทางการเมืองเพราะการเอาชนะทางการเมืองคือชัยชนะที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด“เมื่อไหร่ที่บอกว่าชนะแล้ว เพราะล้อมปราบได้ 150 คน อันนี้ถือว่าอันตรายอย่างที่สุด” พล.อ.ชวลิตกล่าวเอาไว้เมื่อกว่า 2 ปีที่แล้วในครั้งนั้น พล.อ.ชวลิต ยังเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ซึ่งก็คือการเอาชนะทางความคิดว่า มีอยู่ 3 ทฤษฎีใหญ่ๆ โดยทั้งหมดปรากฏอยู่ในหนังสือที่ชื่อ “การต่อสู้ครั้งสุดท้าย” ด้วยกล่าวคือ
1. ทฤษฎีดอกไม้หลากสี หมายถึงการทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้แม้จะมีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม เพราะสังคมของคนสามจังหวัดภาคใต้ในอดีต คือสังคมของความเป็นมิตร ความปรองดองไม่ว่าจะเป็นไทยพุทธหรือมุสลิม ซึ่งวันนี้ต้องเรียกกลับมาให้ได้
2. ทฤษฎีถอยคนละสามก้าว หมายถึงต้องมีผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้เสียสละ และตัดสินว่าจะไม่อยู่ร่วมในกระบวนการแห่งความขัดแย้ง ซึ่งความจริงไม่จำเป็นต้องถอยทั้งสองฝ่าย แค่ถอยเพียงฝ่ายเดียวก็ได้ผลแล้วเพราะจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งตีไม่ถึง และ
3. ทฤษฎีนครปัตตานี หมายถึงการให้อำนาจคนในพื้นที่ได้ปกครองและดูแลตัวเอง ในรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น“นครรัฐปัตตานีก็คือการให้อำนาจการปกครองและดูแลตัวเอง เพราะไม่มีประเทศไหนหรอกที่มีชนกลุ่มน้อยอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนแล้วจะไม่ให้อำนาจในการดูแลตัวเอง แม้กระทั่งประเทศที่มีการปกครองในระบอบเผด็จการ ยังให้มากกว่านี้เลย คือให้เป็นเขตปกครองพิเศษด้วยซํ้าไป”จากท่าทีในอดีต ถอดรหัสได้ว่า“นครปัตตานี” ซึ่งเป็นหนึ่งในสามทฤษฎีว่าด้วยการเอาชนะทางความคิดในสงครามที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ พล.อ.ชวลิต หาใช่ข้อเสนอการตั้ง“เขตปกครองพิเศษ” ไม่?เป็นแต่เพียง
การจัดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษขนาดใหญ่กว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาล เพื่อให้มีการเลือกตั้ง“ผู้นำระดับนคร” ของตัวเองรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่มีสิทธิมีเสียงเลือกตั้งผู้ำนำของตนเองนั้นมีรูปแบบที่ใี่ช้เหมือนกันทั่วประเทศอยู่ 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)แต่ทั้ง 3 รูปแบบนี้เป็นการบริหารงานท้องถิ่นที่ซ้อนอยู่ภายใต้ “การบริหารราชการส่วนภูมิภาค” ซึ่งมี “ผู้ว่าราชการจังหวัด” ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลในส่วนกลางปกครองอยู่อีกชั้นหนึ่งอย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอีก 2 แห่งคือ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยาโดยเขตปกครองพิเศษทั้ง 2 แห่งมีลักษณะการปกครองที่คล้ายกัน คือ มีการเลือกตั้งผู้บริหารเอง และปกครองด้วยรูปแบบที่ไม่ขึ้นตรงกับผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ขึ้นตรงกับ กระทรวงมหาดไทยโดยตรงดังนั้น อำนาจเต็มจึงอยู่ที่ “ผู้บริหาร”ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์หวั่นใจว่า...ในอนาคตจะไม่สามารถบริหารจัดการอำนาจแบบพิเศษนี้ได้ จึงต้องติดตามกันอีกยกว่า ไอเดียนี้จะนำมาสู่การปฏิบัติได้หรือไม่ได้