WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, November 4, 2009

พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร” ไม่อยู่ภายใต้ข้อระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศ

ที่มา thaifreenews

บทความพิเศษ

อดีตข้าราชการตำรวจ “พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร” ไม่อยู่ภายใต้ข้อระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547 และ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติปี 2547

กระแสข่าวปัจจุบันต่างให้ความสนใจกับการที่รัฐบาลดำเนินการถอดยศของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร แต่กลับไม่มีสื่อแขนงใด ให้ความสนใจ ในตัวบทกฎหมายและระเบียบปฏิบัติในเรื่อง การที่รัฐบาลจะใช้อำนาจในการถอดยศของอดีตนายกรัฐมนตรี ว่าทำได้แค่ไหน เพียงใด ผู้เขียนเห็นว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นชี้ขาดและสำคัญอย่างยิ่งว่าสิ่งที่รัฐบาลจะกระทำมีกฎหมาย หรือระเบียบรองรับหรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่ารัฐบาลไม่มีกฎหมายให้อำนาจที่จะให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติในการถอดยศ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้ เพราะ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติปี 2547 มาตรา 4, มาตรา 11 ใช้บังคับเฉพาะบุคคลซึ่งยังคงรับราชการเป็นตำรวจอยู่เท่านั้น ดังนั้นการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอาศัยความตาม มาตรา 11 ออกระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ไว้ในข้อ 1 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอำนาจถอดถอนผู้ที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้วจึงเป็นการขัดต่อ พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 โดยชัดแจ้ง กล่าวคือ ถ้าดูตาม มาตรา 4 จะเห็นได้ว่า “ ข้าราชการตำรวจ” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือน จากเงินงบประมาณ หมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึง ข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย ส่วน มาตรา 11 อยู่ในลักษณะ 2 ว่าด้วยการจัดระเบียบราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้วางหลักเกณฑ์สำหรับการบริหารราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยระบุดังนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าส่วนราชการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติราชการที่นายกรัฐมนตรี และ ก.ต.ช.กำหนด รวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

(2) ……..

(3) ..........

(4) วางระเบียบ หรือทำคำสั่งเฉพาะเรื่องไว้ให้ข้าราชการตำรวจหรือพนักงานสอบสวนปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้อำนาจหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่น

จากมาตรา 11 (4) ข้างต้นเห็นได้โดยแจ้งชัดว่า ระเบียบซึ่งออกโดยอาศัยมาตรานี้ ต้องเป็นเรื่องที่ออกไว้ให้ข้าราชการตำรวจหรือพนักงานสอบสวนปฏิบัติเท่านั้น ไม่มีเนื้อความใดๆที่ให้อำนาจในการออกระเบียบไปบังคับใช้กับอดีตข้าราชการตำรวจ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออกระเบียบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2547 ว่าด้วยการถอดยศตำรวจโดยอ้างหรืออาศัยอำนาจตาม มาตรา 11 (4) ดังกล่าวข้างต้น ก้าวล้วงไปถึงการถอดยศคนที่พ้นจากการเป็นตำรวจแล้วย่อมเป็นการออกระเบียบที่ผิดกฎหมาย หรือไม่มีกฎหมายให้อำนาจ พูดง่ายๆ หรือกล่าวโดยสรุปคือ ระเบียบดังกล่าวถือเป็นโมฆะ หรือเท่ากับเป็นระเบียบเถื่อน

แม้คณะกรรมการกฤษฎีกา จะตีความประเด็นการถอดยศ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติสามารถกระทำได้ ผู้เขียนในฐานะเป็นนักกฎหมายคนหนึ่งไม่อาจจะยอมรับได้เพราะมาตรา 4 ประกอบมาตรา 11 ดังที่ได้นำเรียนเสนอข้างต้น เป็นเนื้อความที่ชัดแจ้ง เข้าใจง่ายแทบไม่ต้องอาศัยการตีความใดๆ ดังนั้นการที่รัฐบาลจะสั่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการถอดยศ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรโดยอาศัยระเบียบเถื่อนหรือระเบียบที่ตกเป็นโมฆะจึงเป็นประเด็นที่พึงสังวรณ์ให้จงหนัก และผู้เขียนอยากเรียกร้องให้ผู้ที่อยู่ในแวดวงตำรวจทั้งที่รับราชการอยู่หรืออดีตข้าราชการตำรวจ ตลอดจนนักการเมือง ประชาชนผู้รักความเป็นธรรมจะต้องช่วยกัน หยิบยกประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นมาพิจารณาเพื่อให้รัฐบาลหันกลับมาพิจารณาว่าการจะทำอะไรก็ตาม สิ่งที่ต้องตระหนักคือกฎหมาย กฎระเบียบที่เป็นหลักเกณฑ์ของบ้านเมือง รวมทั้งต้องตีความหรือบังคับใช้อย่างตรงไปตรงมา ปราศจากอคติและการเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะ เมื่อผู้เขียนชี้ประเด็นให้เห็นว่าระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจปี 2547 ข้อ 1 ที่อาศัยความตามมาตรา 11 (ซึ่งไม่ได้ให้อำนาจไว้) ไปถอดยศคนที่พ้นจากการเป็นตำรวจแล้ว จึงเป็นการผิดกฎหมายโดยแจ้งชัด

บทสรุปรัฐบาลควรจะหยุดการไล่ล่าบุคคลคนเดียวกลั่นแกล้งทุกวิถีทางโดยไม่คำนึงถึงกฎระเบียบของบ้านเมือง ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่ทำให้บ้านเมืองดีขึ้น เศรษฐกิจไม่ได้รุ่งเรือง ปากท้องประชาชนไม่ได้รับการดูแล รัฐบาลจึงควรเอาเวลามาทุ่มเทให้กับการพัฒนาประเทศ และจัดการกับการคอรัปชั่นของโครงการต่างๆซึ่งเป็นสิ่งที่พึงกระทำอย่างยิ่งจะเป็นการดีกว่า

อาจารย์ มธ.เสื้อแดง

30 ตุลาคม 2552