WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, November 2, 2009

วิกฤตกาลฮอนดูรัสคลี่คลาย รัฐบาลรักษาการยอมคืนตำแหน่ง “เซลายา”

ที่มา ประชาไท

สถานการณ์การเมืองหลังการรัฐประหารในฮอนดูรัสที่ยึดเยื้อมากว่า 4 เดือน ใกล้เข้าสู่บทสรุปอีกขั้นเมื่อรัฐบาลรักษาการยอมรับข้อตกลงคืนตำแหน่ง “เซลายา” เนื่องจากเกรงว่าการเลือกตั้งในเดือน พ.ย. จะไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ รัฐสภาฮอนดูรัสบอกเลื่อนลงมติคืนตำแหน่งเซลายาไปเป็นวันที่ 3 พ.ย.

มานูเอล เซลายา ซึ่งยังคงอยู่ในสถานทูตบราซิลประจำฮอนดูรัส
เล่นกีตาร์ระหว่างที่มีญาติมาเยี่ยมภายในสถานทูต เมื่อ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา
(ที่มา: Reutres/daylife.com)
ประธานาธิบดีบารัค โอมาม่า ของสหรัฐฯ กล่าวว่า รัฐบาลรักษาการของฮอนดูรัสยอมตกลงให้ประธานาธิบดีมานูเอล เซลายากลับคืนตำแหน่ง เนื่องจากเกรงว่าประชาคมโลกจะไม่ยอมรับการเลือกตั้งที่จะขึ้นในอีกไม่นานนี้
คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายในฮอนดูรัสคือ มานูเอล เซลายา ประธานาธิบดีผู้ถูกทำรัฐประหารและถูกบังคับให้ออกนอกประเทศเมื่อ 28 มิ.ย. ที่ผ่านมา และ โรเบอร์โต มิเชลเลตตี ประธานาธิบดีในนามรัฐบาลรักษาการของฮอนดูรัสที่ขึ้นดำรงตำแหน่งหลังการรัฐประหาร
โดยในการเจรจาวันที่ 29 ต.ค. ทั้งสองฝ่ายก็มีมติร่วมกันว่าจะสร้างรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ ซึ่งจะทำหน้าที่ไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งในเดือนถัดไป และยอมให้เซลายาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไปจนถึงหมดวาระในเดือนมกราคมปี 2010
รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ฮิลลารี่ คลินตัน ชื่นชมความร่วมมือในครั้งนี้ว่าเป็น "การฝ่าวิกฤติ" รอยเตอร์รายงานว่าความคืบหน้าในการเจรจาเกิดขึ้นหลังจากที่กลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ เดินทางไปร่วมเจรจาในฮอนดูรัสเพื่อสร้างแรงกดดัน
"มันเป็นชัยชนะของประชาธิปไตยในฮอนดูรัส" เซลายากล่าว "พวกเราพึงพอใจ พวกเรามองในแง่ดีว่ากำลังจะมีการฟื้นฟูเกิดขึ้น"
ขณะที่โรเบอร์โต มิเชลเลตตี ผู้ที่เคยไม่ยอมรับการคืนตำแหน่งประธานาธิบดีให้เซลายามาโดยตลอดก็ยอมถอย เขากล่าวในการแถลงข่าวคืนวันที่ 29 ต.ค. ว่า "ผมสั่งให้ทีมเจรจาลงนามสัญญาข้อตกลงที่จะเริ่มทำให้ปัญหาการเมืองภายในประเทศจบลง"
อย่างไรก็ตาม มิเชลเลตตีบอกว่า เซลายาจะสามารถกลับสู่ตำแหน่งได้หลังการลงมติจากรัฐสภา ภายใต้ศาลสูงของฮอนดูรัส โดยในข้อตกลงยังได้ระบุให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้งวันที่ 29 พ.ย. ที่จะถึงนี้ และโอนถ่ายอำนาจจากกองทัพไปสู่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ซึ่งทางสภากล่าวว่าจะรอพิจารณาเรื่องนี้ไปจนถึงวันอังคาร (3 พ.ย.) โดยในข้อตกลงนั้นไม่ได้ระบุเส้นตายที่แน่ชัดในการคืนตำแหน่งแกเซลายา แต่ทางด้านทูตจากประเทศต่าง ๆ ก็เรียกร้องในสภาฮอนดูรัสมีมติออกมาโดยเร็ว ส่วนเซลายากล่าวผ่านสถานีวิทยุเรดิโอโกลโบว่า จะต้องมีการแต่งตั้งรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติภายในวันพฤหัสบดี (5 พ.ย.) นี้
โทมัส แชนนอน และ ดาเนียล เรสเตรโป เจ้าหน้าที่สภาความมั่นคงของทำเนียบขาวในแผนกละตินอเมริกา เป็นผู้เตือนให้มิเชลเลตตีเห็นว่าประเทศฮอนดูรัสจะยิ่งโดดเดี่ยวตัวเองออกจากนานาชาติหากการเลือกตั้งไม่เป็นที่ยอมรับจากประชาคมโลก
โดยที่ผ่านมา ทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และผู้นำละตินอเมริกาหลายคน กดดันรัฐบาลรักษาการให้เซลายากลับเข้าดำรงตำแหน่งจนกว่าจะหมดวาระ และขู่ว่าพวกเขาจะไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งในเดือน พ.ย.หากประชาธิปไตยในประเทศยังไม่กลับคืนมา
มิเชลเลตตีกล่าวว่าในข้อตกลงจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงสำหรับเรื่องเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เขายังเรียกร้องให้ประชาคมโลกยกเลิกมาตรการลงโทษฮอนดูรัสกรณีรัฐประหาร เช่น การยับยั้งเงินสนับสนุน และการยกเลิกวีซ่าด้วย
ทางด้าน อิเลียน่า รอส-เลทิเนน หนึ่งในคณะกรรมการด้านการต่างประเทศจากพรรคริพับลิกัน ที่วิจารณ์โอบาม่าในเรื่องการสนับสนุนเซลายาเสมอมาบอกว่า ประชาคมโลกไม่ควรตั้งข้อสงสัยกับการเลือกตั้งในเดือน พ.ย. และหวังว่าข้อตกลงร่วมกันครั้งนี้จะช่วยให้การเลือกตั้งในฮอนดูรัสปราศจากการแทรกแซงหรือบีบบังคับ
อิเลียน่า ยังได้เรียกร้องให้สหรัฐฯ คืนการสนับสนุนฮอนดูรัสและยกเลิกการระงับวีซ่า ซึ่งเป็นมาตรการของสหรัฐฯ ในการตอบโต้รัฐประหารที่ฮอนดูรัส
ที่มา แปลและเรียบเรียงจาก
Zelaya seals deal with Honduras rival, Nicholas Kralev, Washington Times, 31-10-2009
Honduras' Zelaya set to return to power, Sean Mattson, Reuters, 30-10-2009