ที่มา บางกอกทูเดย์
พฤศจิกายน..เดือนแห่งการ “ชำระจับจ่าย” เพราะเป็นช่วงของการเปิดเทอมแม้ว่ารัฐบาลจะประกาศให้เรียนฟรี!15 ปี...แต่ยกเว้น “ค่าบำรุง” ที่ทางสถาบันเรียกเก็บและผู้ปกครองต้องควักเงินจ่ายเองบวก ลบ คูณ หาร ค่าบำรุง จำนวนก็ไม่ได้ทิ้งห่าง “ค่าเทอม” สักเท่าไหร่?สำหรับผู้ปกครองแล้ว การสนับสนุนการศึกษาให้ลูกหลาน ไม่ใช่ปัญหา ทว่าปัญหาอยู่ที่ “คุณภาพการศึกษา”ของไทย..ที่ยังมีความเหลื่อมลํ้าต่างระดับ ระหว่างคนจน คนรวยคนเมือง คนชนบทถึงฤดูแห่งการเปิดเทอมบางกอกทูเดย์จึงถือโอกาสหยิบยกมา“เอ็กซเรย์” กันสักหน่อย..คะแนนสอบ กลายเป็นเป้าหมายของการศึกษา.. ในขณะที่มาตรการการศึกษาหรือแม้แต่การวัดผลในแต่ละสถาบันต่างกันโดยสิ้นเชิงวิชา ที่ได้รับการจับตาและหยิบยกขึ้นเป็นเครื่องหมายบ่งชี้ความเก่ง คือวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์สังคมมองผ่านความจริง .. ความจริงที่ว่าสมองมี 2 ซีก แบ่งเป็นซีกซ้ายและซีกขวา ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่จำเป็นต้องเก่งวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์เหมือนๆ กันระบบการศึกษามิควรผูกขาดกับ “ระดับคะแนน”หัวใจสำคัญคือการมอบความรู้ควบคู่กับการปลูกฝังให้เด็กคิดเป็น มิใช่เรียนเพื่อหวังกอบโกย แข่งขันชัยชนะคือเป้าหมายการสอนให้เด็กคิดเป็น มีความสำคัญมากกว่าสอนให้เด็กทำคะแนนให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนลืมเรื่องคุณธรรม เหลือเพียงการเอาชนะอย่างไร้เหตุผลชัยชนะที่นำมาซึ่งหน้าตาให้ตนเอง พ่อแม่ โรงเรียน และครูอาจารย์เท่านั้นระบบการศึกษาที่ใช้ตัวเลขเป็นตัวชี้วัดคุณภาพ ส่งผลให้แต่ละโรงเรียนต้องเร่งระดมเพิ่มตัวเลขกันขนานใหญ่ครอบครัวก็ส่งเสริมเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้กับลูกด้วยการเร่งรัดเรียนกวดวิชา ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนเข้ามหาวิทยาลัยชีวิตของเด็กจึงเต็มไปด้วยตัวเลขตอนเด็กก็เป็นตัวเลขเกรดเฉลี่ยยามโตขึ้นตัวเลขก็เปลี่ยนเป็นรายได้ชีวิตจึงเต็มไปด้วยการคำนวณเป็นตัวเลขรายได้ มากกว่าคำนวณเป็นคุณภาพในการ “ให้” แก่สังคมการศึกษาไทยหากต้องมีการรักษา ก่อนลงมือผ่าตัด คงต้องเอ็กซเรย์กันทุกส่วนเพราะมันเป็นการศึกษาไทยป่วยเรื้อรัง
มานานผู้ใหญ่ในสังคมควรทำตัวให้เป็นแบบอย่าง เพราะเด็กมักซึมซับพฤติกรรมของผู้ใหญ่ได้ดีจากการดู การเห็นจนกลายเป็นความเคยชิน มากกว่าการสอนด้วยคำพูดปัจจุบัน “รัฐบาล” ปฏิบัติการด่ากันเพื่อชาติ ทุกวัน หรือประเภท“ผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ” ก็มีเกลื่อนมีให้เลียนแบบโดยไม่ต้องดิ้นรนในส่วนของการจัดการศึกษาในโรงเรียน การพาณิชย์เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษา ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาไทย“ติดลบ”ปัญหาของการศึกษาไทยการขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัย คือส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด ที่ทำให้“การศึกษา”ด้อยคุณภาพการที่รัฐเสียงบประมาณเพื่อซื้อคอมพิวเตอร์ อาจไม่คุ้มกับเงินที่เสียไปจำนวนมหาศาลปัญหาของการจัดการ การศึกษาส่วนหนึ่งอยู่ที่สอนอย่างไรเด็กจึงจะคิดให้เป็น ส่วนสำคัญคือ คุณครูที่ต้องมีความพร้อมในการสอนปัจจุบัน มีความเหลื่อมลํ้าระหว่างครูแต่ละวิชา บางโรงเรียนมีครูบางสาขาวิชาน้อยเกินไปไม่พอเพียงบางวิชามีมากเกินความจำเป็นหลักสูตรการศึกษา เปลี่ยนแปลงกระทั่งคุณครูปรับตัวไม่ทัน!ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทยที่ต้องผ่าตัด คือ ทำอย่างไรเด็กถึงจะมีคุณธรรม จริยธรรมปัญหานี้ต้องวางแผนกันตั้งแต่ในระดับนโยบาย มากกว่าที่จะโยนให้ครูในโรงเรียนรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียวการสร้างคุณธรรมคือการปลูกฝัง!!การให้เขียนรายงานบันทึกการทำความดีมันเป็นเพียงเปลือก เพราะการเขียนกับทำจริงมันคนละเรื่องงานการปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่เรื่องเล่นๆ และเล็กๆเมื่อประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล และมี จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ลูกหม้อประชาธิปัตย์ คุมกระทรวงศึกษาธิการเราเลยมีความหวังว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์จะ “ยกระดับมาตรฐานการศึกษาไทย”ให้ดีขึ้นได้ เพราะที่ผ่านมาประชาธิปัตย์ประกาศเสมอว่า ให้ความสำคัญกับการศึกษาเยาวชน1 ปี สำหรับการบริหารของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ยังไม่มีอะไรเป็นหน้าเป็นตาจากกระทรวงศึกษาธิการ ช่วยโชว์ฝีมือทีเถอะ เพราะ “จุรินทร์” ไม่ใช่รัฐมนตรีขัดตาทัพและมิได้เป็นรัฐมนตรีนอมินีที่ไม่เคยล่วงรู้ไม่สนใจงานด้านการศึกษาไม่ใช่หรือ?.