WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, November 4, 2009

ข้อยกเว้นส่งผู้ร้ายข้ามแดน

ที่มา ไทยรัฐ

บทความของ ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายคำว่า การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ไว้สั้นๆง่ายๆ โดยทั่วไปแล้วเป็นช่องทางประชาคมระหว่างประเทศในการที่จะติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดหรือผู้ถูกกล่าวหาหนีไปประเทศอื่น

แต่ด้วยข้อจำกัดของ อำนาจอธิปไตย เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากรัฐใดรัฐหนึ่งก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตย เหนือกว่ารัฐนั้นไม่ได้

จึงเกิดความร่วมมือระหว่างประเทศในการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนขึ้นมา โดยต้องขีดเส้นใต้ประโยคที่ว่า เป็นความร่วมมือ จะไปบังคับกดดันย่อมไม่ได้เช่นกัน หลักใหญ่ใจความก็คือต้องได้รับความยินยอมจากประเทศนั้นก่อน จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

แม้จะไม่มีสัญญาระหว่างกัน รัฐก็จะสามารถใช้หลักต่างตอบแทนได้

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อมีคำร้องขอให้ส่งผู้ร้าย ข้ามแดนแล้วก็จะได้รับตัวตามคำร้องขอเสมอไป

จะต้องมีกฎเกณฑ์เงื่อนไขในการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเป็นตัวกำหนดด้วย โดยทั่วไปก็คือ ความผิดนั้นจะต้องเป็นความผิด ที่ทั้งสองประเทศบัญญัติว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเรียกฐานความผิดนั้นว่าอะไรก็ตาม

ต้องมีการ ระบุโทษขั้นต่ำของการกระทำความผิดไว้เป็นมาตรฐาน และเมื่อมีการส่งตัวให้ดำเนินคดี รัฐที่ขอตัวจะสามารถพิจารณาคดีและลงโทษตามที่ร้องขอไว้เท่านั้น

ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นที่เป็นสากลก็คือ ประเด็นความผิดทางการเมือง ซึ่งก็จะมีปัญหาอยู่ไม่น้อย เนื่องจากคำว่าความผิดทางการเมืองสามารถมีความเห็นที่แตกต่างกันได้

แบ่งเป็นความผิดทางการเมืองโดยแท้ เช่น ความผิดฐานกบฏ การยุยงปลุกปั่นทางการเมือง การทำจารกรรม การต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมือง การวิจารณ์ทางการเมือง เป็นต้น

ส่วนความผิดที่มี ลักษณะเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับการเมือง เช่น ในระหว่างที่มีการชุมนุมประท้วงอาจมีการกระทำความผิดทางอาญาพ่วงเข้ามาด้วย ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาก็อาจจะต่อสู้ว่าแยกออกจากการชุมนุมประท้วงไม่ออก อาจถือได้ว่าเป็นลักษณะเกี่ยวข้องกับการเมืองได้

หรืออย่างกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อาจจะต่อสู้ว่าที่ถูกตัดสินดำเนินคดีอาญา เพราะมีเหตุผลอันเกี่ยวเนื่องมาจากเหตุการณ์ยึดอำนาจที่ผ่านมาก็ได้

นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ที่จะต้องได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม ศาลจะหยิบยกสิ่งเหล่านี้มาเป็นเหตุผลในการพิจารณายกเว้นการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนได้ทั้งสิ้น ยิ่งถ้าประจักษ์ว่าการกระเหี้ยนกระหือรือให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองด้วยแล้ว เอวัง.

หมัดเหล็ก
mudlek@hotmail.com