ที่มา ประชาไท ถึงหลักการการให้เงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะดีเพียงใด แต่บางครั้งก็สร้างปัญหาเพิ่มขึ้นให้กับผู้ได้รับผลกระทบ ที่แทนจะมาช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นได้ กลับต้องปวดหัวกับปัญหาที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงด้วย เพราะขึ้นชื่อด้วยเงินแล้ว ใครๆ ก็ต้องการ ปมปัญหานี้อาจนำพาไปถึงขั้นสร้างความแตกแยกกันเองได้ ปัญหาน่าปวดหัวใครคือทายาท แม้ในหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบของรัฐระบุชัดในบางส่วนว่า เงินเยียวยาประเภทไหนใครเป็นผู้ได้รับ เช่น ทุนการศึกษา แต่ในส่วนของเงินช่วยเหลือก้อนโตที่สุด มักมีปัญหาในการจัดการ โดยเฉพาะกรณีเสียชีวิต เนื่องจากมีปัญหาในการตีความว่า เงินก้อนนี้ใครสมควรได้รับ ทายาทคือใคร นายแพทย์สุภัทร ยกตัวอย่างว่า หญิงวัยกลางคนถูกยิงเสียชีวิต ขณะที่เธอเป็นคนหาเลี้ยงคนในบ้านที่ประกอบด้วย ป้าที่พิการกับหลานอีก 2 คน ถ้าเป็นเช่นนี้ เงินช่วยเหลือเยียวยาควรจ่ายให้ใคร “หากจ่ายให้พ่อแม่และลูกๆ ของเธอ ซึ่งไม่ได้อาศัยอยู่ด้วยกัน ก็ย่อมขัดกับหลักการเยียวยาที่มุ่งบรรเทาความเดือนร้อนของคนที่อยู่ข้างหลังของเธอ คือ ป้ากับหลานอีก 2 คน” อีกตัวอย่างหนึ่ง มาจากข้อมูลผู้ขอรับทุนจากมูลนิธิฯ คือ นางนูรวาตี ทุยเลาะ อายุ 32 ปี ซึ่งสามีเธอที่เป็นผู้ใหญ่บ้านถูกยิงเสียชีวิตที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา แต่เงินช่วยเหลือจากรัฐไม่ตกมาถึงมือเธอ เนื่องจากเธอเป็นภรรยานอกสมรส หลังจากสามีตาย เธอจึงพาลูกอายุ 2 ขวบ กลับไปอยู่อาศัยอยู่กับแม่ที่อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เธอยังต้องช่วยเลี้ยงดูลูกอีก 3 คน ที่เกิดจากสามีคนแรกที่อาศัยอยู่กับแม่เธอด้วย ถามว่าเงินช่วยเหลือควรจะให้ใคร ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะชายมุสลิมใน 3 จังหวัดหลายคนมีภรรยามากกว่า 1 และมีลูกอีกเป็นขบวน อีกกรณีหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ คือ การเสียชีวิตของผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ที่มีปัญหากันระหว่างภรรยากับแม่สามีในเรื่องเงินช่วยเหลือจากรัฐ 500,000 บาท “เรื่องเมียกับแม่สามีแย่งเงินกันมีเยอะ จนทำให้ทางจังหวัดต้องเข้าไปแก้ปัญหา” นายภาณุ กล่าว นายภาณุ ได้ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาที่จังหวัดนราธิวาสว่า นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสร่วมมือกับผู้นำศาสนาอิสลาม เข้าไปไกล่เกลี่ยจนทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ ถือเป็นต้นแบบของการแก้ปัญหาได้เลย เมื่อเป็นเช่นนั้น คณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์และอำนวยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฯ จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ปฏิบัติ โดยจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีสิทธิ์รับเงิน ตามลำดับความสำคัญ นั่นคือ ผู้ที่ผู้เสียชีวิตรับผิดชอบดูแลอยู่ หรือเป็นผู้อยู่ในอุปการะของผู้เสียชีวิต โดยให้ตกลงกันว่าใครจะได้รับเท่าไหร่ ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนคู่สมรสมุสลิมหากตกลงกันไม่ได้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกับประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้ตัดสิน เข้าไม่ถึงการเยียวยา หลังจากมีการกำหนดหลักเกณฑ์ บวกมีการตั้งศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาฯประจำอำเภอแล้ว ปัญหาผู้ได้รับผลกระทบที่ตกสำรวจค่อยๆ หมดไป เนื่องจากหลังเกิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ทั้ง 3 ฝ่ายจะเข้าตรวจสอบเพื่อดำเนินการรับรอง 3 ฝ่ายทันที่ รวมทั้งยังให้ผู้ที่ต้องได้รับการเยียวยา ยื่นเอกสารขอรับการช่วยเหลือได้ที่ศูนย์เยียวยาฯ ประจำอำเภอ ซึ่งตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอได้ทันทีด้วยเช่นกัน นายแพทย์สุภัทร กล่าวว่า ปัญหาในปัจจุบันอยู่ที่การรับรองกับไม่รับรองเท่านั้น ไม่น่าจะมีผู้ตกสำรวจอีกแล้ว ดังนั้น ผู้ที่จะไม่ได้รับการช่วยเหลือ มีเพียงกลุ่มเดียว คือผู้ที่ไม่ได้รับการรับรองจากทั้ง 3 ฝ่ายหรือรับรองเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น หรือได้รับการช่วยเหลือเยียวยาแต่ไม่ครบ 100% ตามหลักเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มที่เข้าไม่ถึงการเยียวยาของภาครัฐอยู่อีกหนึ่งกลุ่ม คือ กลุ่มผู้ก่อเหตุหรือผู้เสียชีวิตจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มนี้หมดสิทธิที่จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐแน่นอน และมีจำนวนมากพอสมควร นายแพทย์สุภัทร กล่าวว่า ในกลุ่มนี้ ทางมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้มีแผนที่จะเข้าไปช่วยเหลือในเรื่องการประกอบอาชีพในปี 2554 หากพบว่า เป็นผู้ที่มีฐานะยากจน เช่นเดียวกับการช่วยช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบที่มีฐานะยากจนรายอื่นๆ แต่นายแพทย์สุภัทร มองว่า ไม่เสมอไป ซึ่งนั่นเป็นสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบเองที่จะปฏิเสธการเยียวยาจากรัฐ อย่างไรก็ตาม แม้เป็นฝ่ายที่เชื่อว่าอยู่ตรงข้ามหรือเป็นคู่ต่อสู้กับรัฐไทย บางส่วนรัฐยังเลือกที่จะให้การช่วยเหลือเยียวยาด้วย เช่น ญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 ได้แก่ เหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ เหตุสังหารทีมฟุตบอลสะบ้าย้อย เป็นต้น การช่วยเหลือดังกล่าว ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีผู้ได้รับการช่วยเหลือในกรณีนี้รวมกว่า 200 คน โดยการเยียวยามี 2 รูปแบบคือ 1.ให้การศึกษา ให้เครื่องอุปโภคบริโภค การทำบุญ 2.การส่งเสริมอาชีพ เช่น อาชีพเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ฝ่ายที่รัฐไม่อยากเยียวยา นายฮัมดี แวสะมะแอ หนุ่มวัย 25 ปี ชาวบ้านคลองช้าง ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี คือคนที่ยิง ร.ท.สุรชัย ศิลานันท์ ทหารจากหน่วยเฉพาะกิจปัตตานีที่ 24 เสียชีวิตขณะปะทะกันในหมู่บ้านของตัวเอง ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่ยิงตอบโต้จนเสียชีวิตในตอนเย็นวันที่ 26 กรกฎาคม 2552 นายฮัมดีเสียชีวิตก่อนถึงวันจัดงานเลี้ยงแต่งงานของตัวเองเพียง 10 วัน ในขณะที่ร.ท.สุรชัยในวัย 29 ปี ก็กำลังจะเข้าสู่ประตูวิวาห์ที่บ้านเกิดตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์เช่นกัน แต่ทั้งคู่ต้องมาเสียชีวิตในบ้านเกิดเหตุหลังเดียวกัน แม้ครอบครัวของร.ท.สุรชัยยากจนข้นแค้นเพียงใด แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างเต็มที่ตามสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับจากรัฐ รวมทั้งจากหน่วยงานต้นสังกัดอีกมากมาย ที่ผ่านมา ร.ท.สุรชัยเป็นกำลังหลักของครอบครัวและยังต้องส่งเสียน้องๆ น้องอีก 3 คน ได้เรียนหนังสือด้วย ส่วนสาวเจ้าก็ได้แต่รอเก้อ ส่วนครอบครัวของนายฮัมดีแม้จะมีฐานะดีกว่า แต่แน่นอนไม่รับการเยียวยาใดๆ จากรัฐเลย นอกจากเยียวยากันเองเท่านั้น ในขณะที่ว่าทีภรรยาของฮัมดี ซึ่งเป็นชาวบ้านกาเดาะ ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีก็ได้ตั้งครรภ์แล้ว เนื่องจากได้อยู่กินกันมาเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากทำพิธีนิกะห์ตามหลักศาสนาอิสลามแล้ว วันนี้ลูกสาวของฮัมดีกำลังโตวันโตคืนแม่กับแม่สามีช่วยกันเลี้ยงดู พ.ท.หาญพล เพชรม่วง ผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 153 อดีตผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 24 กล่าวว่า สุดยอดของการเป็นทหารคือการได้รับเหรียญบางระจันกับได้รับพระราชทานเพลิงศพ อย่างที่ร.ท.สุรชัยผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับ “แต่คงเป็นไปไม่ได้ ที่รัฐจะเข้าไปเยียวยาครอบครัวของฮัมดี เพราะชัดเจนว่าฮัมดีเป็นคนยิงเจ้าหน้าที่เสียชีวิต อย่างมากที่สุดก็แค่เข้าไปพูดคุยทำความเข้าใจกับคนในครอบครัวเท่านั้น” คือคำยืนยันของพ.ท.หาญพล
รับเงินเยียวยา – บรรดาลูกๆ ของข้าราชการตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าแถวรับทุนการศึกษาที่สถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553
พวกปฏิเสธการช่วยเหลือจากรัฐ
นอกจากนี้ยังมีผู้ปฏิเสธการช่วยเหลือเยียวยาจากภาครัฐอยู่ด้วย ซึ่งนายภาณุ ระบุว่า พวกที่ปฏิเสธเพราะเชื่อว่า เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ก่อเหตุเสียเอง ทั้งๆ ที่มีหลายครั้งที่กลุ่มอาร์เคเค หรือ กองกำลังของฝ่ายก่อความไม่สงบแต่งเครื่องแบบคล้ายเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วไปก่อเหตุฆ่าตัดตอนพวกเดียวกันเองที่หันมาร่วมมือกับรัฐ
เพื่อไทย
Friday, August 13, 2010
คลี่ปมเยียวยา (ตอนที่2) สารพันปัญหาเงินเป็นตัวตั้ง
เด็กกำพร้าและสตรีหม้ายชายแดนใต้
สถิติเด็กกำพร้าและสตรีหม้ายที่ได้รับการเยียวยาจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ 4 มกราคม 2547-30 เมษายน 2553
จังหวัด
เด็กกำพร้า
(ราย)
สตรีหม้าย
(ราย)
นราธิวาส
1437
640
ยะลา
953
595
ปัตตานี
1355
730
สงขลา
135
70
รวม
3880
2035