WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 12, 2010

NGOs กับการเมือง

ที่มา ประชาไท


NGOs หรือ Non Government Organizations คือ องค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ หรือจะเรียกองค์กรนอกรัฐก็ได้ แต่ในประเทศนี้ เราเรียกตัวเองและถูกเรียกว่า “องค์กรพัฒนาเอกชน” แรกเริ่มเดิมทีเป็นองค์กรที่เข้ามาสนใจงานสงเคราะห์คนยากคนจน รวมถึงครอบครัวผู้พิการและทหารผ่านศึกจากสงคราม ต่อมาก็พัฒนาการเรื่อยมาสอดประสานไปกับเงื่อนไขการเมือง เศรษฐกิจ ประชาคมโลก ที่เปิดมากขึ้น ทำให้นักพัฒนาเอกชนเพิ่มมากขึ้น เริ่มสนใจปัญหาเชิงลึกของสังคม การแก้ไขไปที่ต้นตอ ซึ่งก็คือปัญหาในระดับโครงสร้าง ความไม่เท่าเทียม ความไม่ยุติธรรม และพลังอำนาจต่อรองในทางการเมือง ซึ่งต่อมานำมาสู่การเคลื่อนไหวมากขึ้น ใหญ่ขึ้น หลากหลายขึ้น อาทิ เคลื่อนไหวต่อรองหรือประกันราคาข้าว เคลื่อนไหวสวัสดิภาพแรงงาน เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพรัฐธรรมนูญ ฯลฯ

ยิ่งเมื่อขบวน NGOs เติบโตเข้มแข็งในลักษณะรวมประเด็นปัญหา ทำงานเป็นขบวนแล้วร่วมขบวนเสนอแนวทางแก้ไขในระดับนโยบายการเมือง การแก้ไขกฎหมาย การเรียกร้องมาตรการต่างๆ และการร่วมกำหนดนโยบายแผนพัฒนาในอนาคต ก็ยิ่งทำให้ขบวนการ NGOs จำนวนหนึ่งทำงานและร่วมมือกันเป็นขบวนมากขึ้น มีศูนย์ประสานงานแต่ละภาค และกระจายกันลงพื้นที่ทำงานในด้านต่างๆ จากนั้นก็นำปัญหามาเคลื่อนไหว เรียกร้อง รณรงค์ให้สังคมรับรู้ ตระหนักและร่วมแก้ไขปัญหา ส่งผลให้ด้านหนึ่งหลายๆ ปัญหาได้รับการแก้ไข หลายๆ ปัญหาถูกรับรู้มากขึ้น แต่ที่น่าสนใจคือ สร้างประสบการณ์ให้ประชาชน คนรากหญ้ารู้จักและสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อสู้เรียกร้องเพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง กดดันทิศทางนโยบายการเมือง ผลักดันกฎหมาย นโยบายที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์ประชาชนในระดับล่าง และตรวจสอบบทบาทการเมืองตัวแทน เป็นต้น พัฒนาการเหล่านี้ ใช้เวลาเดินอยู่หลายสิบปี กว่าจะเห็นภาพประชาชนแห่แหนมาเดินร่วมกันบนท้องถนน ซึ่งภาพเหล่านี้หากย้อนไปสัก 7-8 ปี ขึ้นไป หลายคนคงคุ้นหูคุ้นตาขบวนประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่ปรากฏออกมาบนสื่ออาทิ สมัชชาเกษตรกรรายย่อย ภาคอีสาน (สกอ.ย.) สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) เครือข่ายป่าชุมชน สหภาพแรงงาน สมัชชาคนจน (สคจ.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดิน ฯลฯ จากนั้น ก็ถูกเรียกบทบาทและพัฒนาการนี้ในทางการเมืองว่า “การเมืองภาคประชาชน” ซึ่งต้องยอมรับว่าพัฒนาการทางการเมืองที่เข้มแข็งมากขึ้นของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ที่ได้เดินทางมาถึงจุดนี้ จุดที่ประชาชนสนใจตื่นตัวและกล้าที่จะออกมามีส่วนร่วม แสดงจุดยืนและชูมือบนท้องถนนนั้น คุณูปการส่วนหนึ่งมาจากการสร้างและส่งเสริมโดยงานพัฒนาเอกชนตลอดระยะเวลาหลายสิบปี

ผลพวงจากการสะสมงานปัญหาในระดับโครงสร้างพบว่า นโยบายการเมืองและกลไกทำงานแบบภาครัฐที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน นั่นเองที่ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียม การช่วงชิงและปล้นทรัพยากรมโหฬาร ตลอดจนการถูกละเมิดสิทธิชุมชนเรื่อยมา ทำให้ขบวน NGOs เป็นคู่ต่อสู้คู่ปรับกับรัฐบาลเรื่อยมา แทบทุกรัฐบาล โดยเฉพาะในยุคที่ผู้นำรัฐบาลเป็นนักธุรกิจใหญ่ สามารถควบคุมการบริหารงานรัฐผ่านกลไกราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ขยายขนาดเศรษฐกิจแบบทุนนิยมออกสู่ตลาดและการค้าอย่างเต็มกำลัง ในระหว่างที่ฝ่ายการเมืองบางกลุ่มได้ประโยชน์ มีอำนาจ ก็นำมาสู่การสูญเสียอำนาจ ผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม จึงเกิดขบวนการขับไล่รัฐบาล ที่มีหลายกลุ่มเข้ามาร่วมมือ ในขณะที่ขบวน NGOs ร่วมในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต่อมาก็เรียกกันง่ายๆ รวมๆ ว่า “กลุ่มคนเสื้อเหลือง” และจากนั้นก็นำมาสู่เหตุการณ์รัฐประหารยึดอำนาจ โดย คมช.

ตลอดระยะเวลาในการขับไล่รัฐบาลทุนนิยมครั้งนั้นนอกจากบทบาท นายสนธิ ลิ้มทองกุล แล้ว บทบาท NGOs ค่อนข้างโดนเด่นสำคัญ นำโดย 5 เสือพันธมิตร จำลอง ศรีเมือง, พิภพ ธงไชย, สุริยะไส กตะศิลา, สมศักดิ์ โกศัยสุข, และ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นอกจากนั้นยังมีนักวิชาการสายประชาชนอีกนับพันชีวิต จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศร่วมลงชื่อสนับสนุนขบวนการขับไล่อดีตนายกฯ คนนี้ เพราะเชื่อว่า นี่คือประชาธิปไตยทางตรง

หลังรัฐประหารความคิด NGOs และนักวิชาการเสื้อเหลืองก็แตกโพล๊ะ จำนวนหนึ่งยุติบทบาทเนื่องจากรับสภาพความจริงเรื่องการรัฐประหารไม่ได้ เพราะถือว่านี่คือการฆาตกรรมอำพรางจิตวิญญาณประชาธิปไตย อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่เห็นร่วมในการขับไล่ระบอบนายทุนมาแต่ต้นเพราะเห็นว่า การขับไล่เช่นนี้ เป็นการไม่เคารพระบบ กติกาและกลไกการเมืองแบบตัวแทน ซึ่งก็เสมือนทำลายระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน ในขณะที่ NGOs และนักวิชาการบางส่วนคิดว่า ต้องถอนรากถอนโคนลุยและกำจัดต่อจึงร่วมงาน ร่วมมือ ร่วมคิดกับรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองเสียงข้างน้อยต่อ ส่วน NGOs และนักวิชาการเสื้อแดง กลับโดดเด่นชัดขึ้น เคลื่อนไหวทิ่มแทงแรงขึ้น ชัดเจนขึ้น รวดเร็วลุกลามเหมือนไฟลามทุ่ง โดยเฉพาะจากโซนภาคอีสานและเหนือ จนมาสู่การรวมพลคนเสื้อแดงครั้งใหญ่ เมื่อเดือนเมษา ต้นปี 2552

จากนั้นขบวนการ NGOs เมืองไทยก็เริ่มแตกแยกทางความคิดกันชัดเจนมากขึ้นๆ โดยเฉพาะช่วงระหว่างหลังจากฝ่ายพรรคการเมืองนายทุนเก่าชนะการเลือกตั้ง เมื่อปี 2550 เป็นต้นมา ทำให้ขบวนการ NGOs เสื้อเหลือง เสื้อแดง ควานหาพื้นที่สื่อทุกรูปแบบเพื่อต่อสู้และจัดตั้งมวลชนไว้เผชิญหน้า เกิดขบวนการ coppy ชี้นำขึ้นมากมายในสังคม ทุกอย่างระบาด แรง เร็ว อลหม่าน จนมาสู่การปะทะกัน ในสนามความคิดต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงเมษา-พฤษภาเดือดปีนี้เอง (2553)

ภาพสะท้อนที่มองเห็น คือบังเกิดกองทัพตัวแทน เสื้อเหลือง เสื้อแดง ออกมาระดมข่าว ข้อมูล โจมตี ใส่กันอย่างดุเดือด แม้ว่า ที่สุดแล้วสถานการณ์เสื้อแดงจะด้อยกำลังกว่ามากก็ตาม แต่การปรากฏตัวเคลื่อนไหวของ NGOs เสื้อแดงชัดเจนขึ้นและภาพก็ใหญ่ขึ้นซึ่งจริงๆ ก็เนื่องจากสะสมตกผลึกทางความคิดร่วมกันเรื่อยมา ตั้งแต่การประกาศตนเป็นแนวร่วมไม่เอารัฐประหาร จนมา กลุ่ม นปช. สามารถปลุกพลังประชาชนให้ลุกขึ้นอย่างรวดเร็วๆ ท่ามกลางการกีดกัน ก่นด่า วิจารณ์แทบทุกวิถีทางจากอำนาจฝ่ายรัฐ สื่อบางหัวและขบวนการ NGOs สายเหลืองขวาจัด นิยมเจ้า ในขณะที่ NGOs สายแดงเริ่มเสียงแผ่วในการปฏิเสธว่าไม่ได้มีจุดยืนสนับสนุนอดีตผู้นำรัฐบาลนายทุน จนในที่สุด สงครามทั้งสองสีก็เหมือนสงครามจริงๆ ต่างสร้างวาทกรรมรายวัน โจมตี และที่สำคัญมีขบวนการดึงเอาสถาบันมาเป็นเครื่องมือ แต่ข้อเสนอว่าแท้ที่จริง ว่าสาเหตุที่เคลื่อนไหวต่อสู้ เฉกเช่นเมื่อครั้งพยายามสร้าง การเมืองภาคประชาชนกลับหลุดหายไป จากนั้น ขบวนการพัฒนาประชาธิปไตยจริงๆ จังๆ เกี่ยวกับการเมืองเพื่อให้ประชาชนเลือกนั้น ก็ค่อยๆ น้อยลง มีแต่ภาพรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคายไปทั่วพื้นที่สื่อ ซึ่งสิ่งที่พบมากขึ้นกลับเป็นข้อเสนอในเชิงจุดยืนความคิดตน

จนถึง ณ วันนี้ บทบาท NGOs กับการทำงานพัฒนาสังคมแผ่วลง เสียงกู่ก้องร้องเรียนสะท้อนปัญหาชาวบ้าน ปัญหาจากพื้นที่ ความเดือดร้อนของคนชายขอบ ล้วนแต่แผ่วเบาลง NGOs หลายคนหันไปละเลงปั่นข่าว สร้างกระแสสังคมโจมตีรายวันอยู่บนพื้นที่สื่อหรือในไซเบอร์เน็ต อาทิ ใน Facebook Hi5 Blog จนเปรอะเปื้อน !! ส่งผลให้บรรยากาศงานพัฒนาเต็มไปด้วยความอึมครึม ปิดเงียบ เก็บงำ เพราะไม่มีใครอยากก้าวล่วงออกมาจากกลุ่ม จากองค์กรของตน

อยากให้ย้อนไปยืนมองจุดยืนเดิมเมื่อครั้งตอกย้ำหนักแน่นเรื่องขบวนการการเมืองภาคประชาชน คือกระตุ้นให้ประชาชน เข้าใจ รู้สึก มีสำนึกและมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อสร้างวัฒนธรรม สร้างกลไก สร้างพื้นที่ให้ประชาชนคนชั้นล่าง สร้างช่องทางสื่อสารให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้มีโอกาสมาร่วมกำหนด ตรวจสอบ มากขึ้น ทำให้ระบอบประชาธิปไตยได้เดินมาสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง เพื่อกระจายผลประโยชน์ได้ทั่วถึงมากขึ้นแต่สภาพวันนี้ไม่ใช่เช่นนั้นอีกแล้ว หลายคนก้าวมาเป็นผู้ชี้นำสังคมการเมือง บ้างนำฐานมวลชนมาเคลื่อนไหวกดดัน หลายคนผันตัวเองขึ้นไปเป็นเครื่องมืออำนาจรัฐ ไปเป็นสมุนแกนนำ หลายคนไปเป็นกลไกแก้ปัญหาภาพลักษณ์มากกว่าหาทางออก หรือ ทำหน้าที่กำจัดฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล หรือคอยส่งกระแสเสียงให้ปรองดองสันติ อหิงสา และหลายคนหันหลังให้ขบวนการ NGOs ไปเสียเลย

คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ถ้า NGOs เมืองไทยจะมีหรือแสวงหาจุดยืนทางความคิด จุดยืนทางการเมือง แต่กระนั้นก็ต้องถามแนวความคิดเมื่อครั้งหนึ่งว่า คนทำงานพัฒนาเอกชนสนใจที่จะเน้นไปที่กระบวนการสร้างพลัง สร้างพื้นที่ สร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนักในสิทธิ การมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็นรากฐานประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง มากกว่า หรือจะพาสังคมถาโถม พาประชาชนเล่นการเมือง โดยตรง

ที่สำคัญ ปัจจุบันนี้ NGOs คิดก้าวไปไกลถึงขนาดวางยุทธวิธีช่วงชิงหรือยึดอำนาจรัฐกันไปแล้ว หรือบ้างคนก็คิดตั้งพรรคการเมืองเพื่อลงแข่งขัน แต่ทุกๆทางเลือก ล้วนแต่เป็นสิทธิ เสรีภาพ ที่ NGOs ไทยสามารถเลือกได้เพียงแค่อยากถาม ลงไปตรงๆ กลางใจในฐานะนักพัฒนาสังคม ว่าสถานการณ์เป็นเช่นนี้ เราจะพาสังคมเดินร่วมกันได้อย่างไร

อย่าบอกนะว่าคำตอบ นั้นอยู่ในสายลม ....