WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 14, 2010

ความตายของ'ฟาบิโอ' กับ ความพยายามไม่ให้ความจริงปรากฏ : พวกคุณกลัวอะไรหรือครับ ???

ที่มา Thai E-News


โดย คุณเกษียร เตชะพีระ
ที่มา เวบไซต์ นสพ.มติชน
14 สิงหาคม 2553

ตอนที่ 1 : “แด่ฟาบิโอ โพเลนกี”

ฟาบิโอ โพเลนกี ช่างภาพอิสระชาวอิตาลีวัย ๔๘ ปี ทำงานถ่ายภาพให้นิตยสารใหญ่หลายแห่งเช่น Vanity Fair, Vogue, Marie Claire และ Elle เป็นต้น ตลอด ๒๙ ปีที่ประกอบวิชาชีพนี้ เขาเที่ยวตระเวนถ่ายภาพไปราว ๗๐ ประเทศทั่วโลก เขาเคยนำภาพถ่ายไปแสดงนิทรรศการทั้งที่ Cité des Sciences et de l’Industrie อันเป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ณ กรุงปารีสและในงาน Paris Book Expo เขายังเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์และร่วมงานสร้างภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับพ่อลูกนักมวยชาวคิวบาที่พ่อเป็นแชมป์มวยโอลิมปิก ส่วนลูกเป็นแชมป์มวยแห่งชาติของคิวบาด้วย

อิซาเบลลา โพเลนกี น้องสาวของฟาบิโอ เล่าในการแถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ศกนี้ว่า ฟาบิโอเป็นคนมีจิตวิญญาณเสรี เปิดใจกว้าง คบหาง่าย ยึดมั่นคุณค่าที่ตนเชื่อถือ และรักสันติ เขารักเมืองไทย อยากอยู่ในเมืองไทย และได้เลือกเมืองไทยเป็นบ้าน เพราะเขารักผู้คนที่นี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเธอรู้สึกขอบคุณคนไทยบางคนที่เสี่ยงชีวิตช่วยนำฟาบิโอส่งโรงพยาบาล

สองวันก่อนเสียชีวิตด้วยคมกระสุนกลางถนนระหว่างทหารบุกล้อมปราบที่ชุมนุมราชประสงค์ของ นปช. ฟาบิโอได้เขียนข้อความสั้น ๆ ไว้ในหน้า Facebook ของเขา ซึ่งอิซาเบลลาอ่านให้ฟังทั้งน้ำตาว่า:

“ทุก ๆ วันเหมือนของขวัญที่เราได้มา ฉะนั้นจงทำให้ดีที่สุดเพื่อที่จะได้เป็นสุข ด้วยรักแด่ทุกคน”

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

เมื่อเดือนกรกฎาคมศกนี้ Reporters Without Borders (ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน) อันเป็นองค์กร เอ็นจีโอระหว่างประเทศที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์และประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ได้เผยแพร่รายงานการสืบสวนเรื่อง “Thailand: Licence to Kill” (ประเทศไทย: ใบอนุญาตฆ่า http://en.rsf.org/IMG/ pdf/REPORT_RSF_THAILAND_Eng.pdf ) เขียนโดย Vincent Brossel & Nalinee Udomsinn เพื่อประมวลเสนอข้อมูลจากประจักษ์พยานเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อสื่อมวลชนทั้งไทยและเทศที่เกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิตที่ผ่านมารวม ๑๐ กรณี โดยยกกรณีการตายของ ฟาบิโอ โพเลนกีขึ้นมาเป็นอันดับแรกสุด รายงานระบุข้อมูลเกี่ยวกับกรณีนี้ไว้ที่หน้า ๔ – ๕ ว่า: -

ช่างภาพ ฟาบิโอ โพเลนกี ถูกยิงตายราว ๑๐.๔๕ น. วันที่ ๑๙ พฤษภาคมใกล้สวนลุมพินี ห่างใจกลางที่ชุมนุมเสื้อแดงราวหนึ่งกิโลเมตร โพเลนกีถูกยิงในสภาพสวมหมวกกันน็อคขณะเกิดการปะทะอย่างรุนแรงระหว่างทหารกับผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่ป้องกันบังเกอร์อยู่ มีผู้อื่นถูกสังหารอีก ๔ คนในช่วงการปะทะนี้

มาซารุ โกโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นพยานรู้เห็นการตายของโพเลนกี เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ Reporters Without Borders ฟังว่า: -

***ถาม: คุณช่วยบรรยายสภาพที่คุณเป็นพยานรู้เห็นการตายของฟาบิโอให้หน่อยได้ไหม?
มาซารุ โกโตะ: ผมเห็นฟาบิโอหนแรกกลางเดือนเมษายนระหว่างการชุมนุมในกรุงเทพฯซึ่งผมอาศัยอยู่มา ๙ ปีแล้ว เรากลายเป็นเพื่อนกัน…ผมอยู่ใกล้เขาตอนเขาถูกฆ่า เราอยู่ตรงแยกถนนสารสินตัดกับราชดำริในกรุงเทพฯ ใกล้สวนลุมพินี กองทัพเริ่มโจมตี นปช.ที่นั่นเช้าวันนั้น ฟาบิโอกับผมกำลังถ่ายภาพจากฝั่งนปช. คุณจะว่าเราอยู่ตรงแนวหน้าสุดก็ได้ กองทัพเริ่มระดมยิงหนักหน่วงขึ้นราว ๑๐ โมง ผมอยากออกจากแยกนั้นเพราะผู้ชุมนุมคนหนึ่งเพิ่งบอกผมว่าพลซุ่มยิงกำลังจะยิงใส่เรา เรากำลังถอนตัวอยู่ทีเดียวเมื่อผมสังเกตเห็นร่างคน ๆ หนึ่งอยู่บนถนนลาดยางข้างหลังผม ผมรู้ทันทีว่านั่นคือฟาบิโอ ผมบอกไม่ถูกว่ากระสุนยิงมาจากไหน

ผมไม่แน่ใจว่าเขาถูกฆ่าเพราะเป็นนักข่าวหรือเปล่า กระสุนที่ยิงสวนกันไปมาหนาแน่นมากตอนนั้น ไม่มีการยับยั้งชั่งใจกันต่อไปแล้วไม่ว่าจะในฝ่ายทหารหรือนปช

ภาพฟาบิโอถูกยิงโดย Masuro

*** ถาม: กล้องถ่ายรูปของฟาบิโอหายไป คุณรู้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้น?
มาซารุ โกโตะ: เมื่อเขาถูกยิง เราพยายามดึงเขาให้พ้นวิถีกระสุน มีการเผยแพร่ภาพวีดิโอที่พวกเรากำลังลากเขาในตอนหลัง คุณจะเห็นชายคนหนึ่งแต่งตัวเหมือนนักข่าวกุมมือข้างหนึ่งของฟาบิโอและกล้องของเขาไว้ ตั้งแต่นั้นมาเราก็ไม่เจอกล้องถ่ายรูปนี้เลย เรากำลังหามันอยู่

*** ถาม: คุณคิดว่าฟาบิโอถูกหมายหัวในฐานที่เป็นนักข่าวหรือเปล่า?
มาซารุ โกโตะ: มีข่าวลือแพร่สะพัดตั้งแต่กลางพฤษภาคมว่าพลซุ่มยิงไม่ทราบฝ่าย อาจเป็นฝ่ายกองทัพหรือนปช.ก็ได้ กำลังจะฆ่านักข่าว คนบางคนอาจอยากให้วิกฤตเลวร้ายลงเพื่อประโยชน์ของตน พอฆ่านักข่าวได้ คุณก็จะยกระดับความวุ่นวายขึ้นไปอีก แต่ผมไม่มีหลักฐานว่าข่าวลือนี้มีข้อเท็จจริงอะไรรองรับ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยได้แนะนำว่าอย่าไปที่บางแห่งที่ถือว่าอันตรายเกินไป

*** ถาม: คุณคิดว่าทางตำรวจไทยชันสูตรพลิกศพอย่างถี่ถ้วนไหมหลังฟาบิโอตาย?
มาซารุ โกโตะ: ศพของเขาถูกฌาปนกิจอย่างรวดเร็วหลังเขาตาย ผมไม่แน่ใจว่าตำรวจได้ชันสูตรพลิกศพอย่างถี่ถ้วนหรือเปล่า

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

ทาง Reporters Without Borders ได้สัมภาษณ์บุคคลอีกคนหนึ่งเกี่ยวกับการตายของโพเลนกี คือ นักถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีชาวสหรัฐฯชื่อ แบรด คอกซ์ เขาอยู่ในที่เกิดเหตุการยิงและตัวเองก็ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืนด้วย คอกซ์เป็นผู้สร้างหนังสารคดีเรื่อง “ใครฆ่าเจีย วิเจีย?” เกี่ยวกับกรณีฆาตกรรมนักเคลื่อนไหวสหภาพแรงงานชาวเขมรคนหนึ่งซึ่งหนังดังกล่าวถูกสั่งห้ามฉายในกัมพูชา

***** ถาม: เกิดอะไรขึ้นครับ?
แบรด คอกซ์: ผมไม่เคยพบฟาบิโอมาก่อน ตอนนั้นผมเลือกไปอยู่ตรงแยกถนนตัดกันทางฝั่งบังเกอร์เสื้อแดง มีการระดมยิงจากฝ่ายกองทัพมาหนักทีเดียว พวกเสื้อแดงก็ตอบโต้ด้วยระเบิดเพลิงและระเบิดทำเอง กระสุนนัดหนึ่งยิงถูกยางรถยนต์ข้างหน้าผมห่างหัวผมแค่ ๔๐ เซนติเมตร พอเกือบ ๑๑ โมง ผมเห็นการเคลื่อนไหวบางอย่างบนถนนโพ้นออกไป ผมก็เลยไปดูแล้วกลับมาที่เขตเสื้อแดง ตอนกลับนี่แหละที่ผมรู้สึกปวดแปลบที่เข่าขวาและรู้ตัวว่าถูกยิงเข้าแล้ว แต่ดูเหมือนจะไม่หนักหนานัก ผมหันกลับเพื่อพยายามมองว่ามันยิงมาจากไหนและตอนนั้นแหละที่ผมเห็นฟาบิโอกองอยู่กับพื้นห่างไปไม่ถึง ๑๐ เมตร ผมเริ่มถ่ายหนังไว้เมื่อนักข่าวคนอื่นและพวกเสื้อแดงลากเขาไปหาที่กำบังแล้วเอาเขาขึ้นมอเตอร์ไซค์ แต่มันก็สายไปเสียแล้ว

ฟาบิโอถูกบรรทุกซ้อนหลังมอเตอร์ไซค์ส่งโรงพยาบาล

***** ถาม: เกิดอะไรกับกล้องถ่ายรูปของเขา?
แบรด คอกซ์: ในฟิล์มหนังที่ผมถ่ายคุณจะเห็นชายคนหนึ่งดูเหมือนจะเป็นนักข่าวเข้าไปช่วยฟาบิโอและถือกล้องของเขาอยู่ แต่ไม่ได้ยื่นกล้องคืนให้มา (ชมหนังข่าวเหตุการณ์ตอนนี้ได้ที่ www.youtube.com/ watch?v=BhPydgjZ9GI )

***** ถาม: ฟาบิโอถูกหมายหัวในฐานที่เป็นนักข่าวหรือเปล่า?
แบรด คอกซ์: ผมพูดไม่ได้เต็มปากเต็มคำว่าใครยิงฟาบิโอกับผม ผมคิดว่าเราถูกยิงโดยกระสุนจากทหารหรือพลซุ่มยิง ตอนที่พวกเขายิงเรา มีคนอยู่บนถนนแถวนั้นไม่มากนักและพวกเสื้อแดงที่อยู่ใกล้ที่สุดก็ห่างออก ไปกว่า ๑๐ เมตร ดังนั้นผมจึงไม่เข้าใจว่าทำไมเราถึงถูกยิงใส่ เราตกเป็นเป้าหมายหรือโดนลูกหลงกันแน่? ผมก็ไม่รู้ ผมกำลังถือกล้องถ่ายหนังตัวใหญ่อยู่และก็เห็นได้โดยง่ายว่าผมเป็นชาวต่างชาติ แต่ฟาบิโอเขาใส่ชุดดำ เป็นไปได้ไหมว่าพวกนั้นหลงเข้าใจผิดไปว่าเขาเป็นพวกเสื้อดำคนหนึ่ง?
======================================================

ตอนที่ 2 : "ความตายที่รอคำตอบของฟาบิโอ"

รายงานพิเศษของ The Committee to Protect Journalists (CPJ-คณะกรรมการปกป้องนักข่าว-อันเป็นองค์การอิสระที่ไม่แสวงกำไรเพื่อส่งเสริมเสรีภาพหนังสือพิมพ์ทั่วโลกด้วยการปกป้องสิทธิของนักข่าวที่จะรายงานข่าวโดยไม่ต้องกลัวถูกเล่นงานตอบโต้) เรื่อง "In Thailand unrest, journalists under fire" (ในเหตุไม่สงบในประเทศไทย นักข่าวถูกยิงใส่-http://cpj.org/reports/ 2010/07/in-thailand-unrest-journalists-under-fire.php) เขียนโดย Shawn W. Crispin ผู้แทนอาวุโสของ CPJ ประจำเอเชียอาคเนย์และเผยแพร่เมื่อ 29 กรกฎาคม ศกนี้

ได้ระบุถึงกรณีสังหารฟาบิโอ โพเลนกี ว่า: ในกรณีการยิงโพเลนกี, การสอบสวนที่อึมครึม

การตายของฟาบิโอ โพเลนกี ช่างภาพชาวอิตาเลียน เป็นศูนย์รวมเรื่องเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฉบับต่างๆ ที่มาประชันขันแข่งกัน โพเลนกีวัย 48 ปีถูกฆ่าด้วยกระสุนปืนเช้าวันที่ 19 พฤษภาคม ศกนี้ระหว่างรายงานข่าวปฏิบัติการทางทหารเพื่อขับไล่ผู้ชุมนุมออกจากบริเวณถนนราชดำริอันเป็นเขตพื้นที่การชุมนุมประท้วงที่ซับซ้อนพิสดารซึ่ง นปช.ได้สร้างขึ้นในย่านการค้าสุดยอดของกรุงเทพฯ

แบรดลี คอกซ์ นักทำหนังสารคดีผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เล่าว่า เช้าวันนั้นก่อนเกิดเหตุทหารได้ยิงปืนประปรายจากด้านหลังเครื่องกีดขวางเข้าใส่พื้นที่ห่างออกไป 200 เมตรซึ่งอยู่ใต้การควบคุมของ นปช. คอกซ์บอกว่าทั้งเขากับโพเลนกีได้บันทึกภาพผู้ประท้วงคนหนึ่งถูกยิงที่ขาเวลาประมาณ 10.45 น.

เวลา 10.58 น. เมื่อรู้สึกว่าการยิงสงบลงพักหนึ่ง คอกซ์เล่าว่า เขาก็ออกจากบังเกอร์ที่ นปช.คุมอยู่ไปยังถนนที่เกือบโล่งร้างเพื่อสืบดูว่าความปั่นป่วนวุ่นวายในหมู่ผู้ประท้วงห่างไปราว 30-40 เมตรนั้นมันเรื่องอะไรกัน คอกซ์บอกว่าเขาเชื่อว่าโพเลนกีตามหลังเขาไปห่างกันไม่กี่ก้าว ขณะวิ่งไปตามถนน คอกซ์รู้สึกปวดแปลบด้านข้างของขา ปรากฏว่ากระสุนนัดหนึ่งเฉี่ยวหัวเข่าเขาบาดเจ็บเล็กน้อย เมื่อเขาหันกลับไปมองในทิศทางของกองทหาร เขาก็เห็นโพเลนกีแผ่หราอยู่กับพื้นข้างหลังเขา 2-3 เมตร ตอนนั้นโพเลนกีสวมหมวกกันน็อคสีฟ้าเขียนคำว่า "สื่อสิ่งพิมพ์" ทั้งหน้าหลังและติดปลอกแขนสีเขียวเพื่อบอกว่าเขาเป็นนักข่าวที่ปฏิบัติงานอยู่

"ตอนนั้นผมรู้สึกว่าเราถูกยิงพร้อมกันเป๊ะเลย บางทีอาจจะโดยกระสุนนัดเดียวกันด้วยซ้ำไป" คอกซ์กล่าว และเสริมว่า เขาไม่ได้ยินเสียงปืนหนึ่งหรือหลายนัดที่ยิงถูกเขาหรือโพเลนกี "ผมไม่รู้ว่าใครยิงผมหรือฟาบิโอ แต่ถ้าทหารกำลังพยายามยิงพวกเสื้อแดงละก็ มันไม่มีใครอยู่รอบตัวพวกเราเลยนี่ครับ ... ทหารกำลังยิงใส่สิ่งของหรือผู้คนแบบไม่เลือก"

ภาพวิดีโอที่คอกซ์ถ่ายเหตุการณ์บรรดานักข่าวและผู้ประท้วงช่วยกันหามร่างโพเลนกีออกจากถนนขึ้นรถมอเตอร์ไซค์ไปยังโรงพยาบาลแถวนั้นดูเหมือนจะแสดงให้เห็นว่ากระสุนเจาะเข้าตัวโพเลนกีทางใต้รักแร้ซ้ายและทะลุออกสีข้าง รายงานข่าวต่างๆ ระบุว่าเขาเสียชีวิตแล้วเมื่อไปถึงโรงพยาบาลในท้องที่ เจ้าหน้าที่ไม่ได้รายงานว่าพบหัวกระสุนใดๆ

ครอบครัวของโพเลนกีได้แสดงความห่วงกังวลที่รัฐบาลสนองตอบต่อการตายของเขาอย่างอึมครึม อิซาเบลลา โพเลนกี น้องสาวของเขาบอก CPJ ว่า ครอบครัวเธอได้ร้องขอรายงานชันสูตรพลิกศพทางการครั้งแล้วครั้งเล่าแต่ยังไม่ได้รับ เธอกล่าวว่าตำรวจกับกระทรวงยุติธรรมบอกเล่าขัดกันว่าตำแหน่งบาดแผลของพี่ชายเธออยู่ตรงไหนแน่ ซึ่งเธอเองก็ไม่ทันได้เห็นร่างเขาก่อนฌาปณกิจ เธอยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าทรัพย์สินส่วนตัวของโพเลนกีหลายรายการรวมทั้งกล้องถ่ายรูปและโทรศัพท์หายไป ความขัดแย้งและคลุมเครือทำนองนี้ทำให้เธอยิ่งหวั่นวิตกว่าโพเลนกีอาจถูกหมายหัวในฐานที่เป็นนักข่าวก็เป็นได้

เธอกับเพื่อนร่วมงานของโพเลนกีกลุ่มหนึ่งจึงร่วมกันปะติดปะต่อวิดีโอคลิปต่างๆ ที่บ้างก็ได้จากนักข่าวผู้อยู่บริเวณข้างเคียงกับโพเลนกีและบ้างก็ดาวน์โหลดจากแหล่งไม่ทราบชื่อบนอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาขึ้นเป็นลำดับเหตุการณ์การเคลื่อนไหวก่อนและหลังการยิง เท่าที่ทราบไม่มีฟิล์มภาพตัวเหตุการณ์การยิงนั้นเอง วิดีโอคลิปอันหนึ่งแสดงภาพชายสวมหมวกกันน็อคสีเงินที่ไม่รู้ว่าเป็นใครเข้าถึงตัวโพเลนกีหลังถูกยิงเป็นคนแรก ฟิล์มภาพสั้นๆ นั้นแสดงภาพเขาคลำไปรอบอกโพเลนกีและกระแทกเข้ากับกล้องถ่ายรูปของโพเลนกีอยู่ประเดี๋ยวหนึ่ง ขณะที่ชายสวมหมวกกันน็อคสีเหลืองที่ไม่รู้ว่าเป็นใครอีกคนคุกเข่าลงและถ่ายรูปโพเลนกีไว้

ฟิล์มภาพของคอกซ์ดูจะแสดงภาพชายคู่เดียวกันอยู่ในหมู่คนที่เคลื่อนย้ายร่างของโพเลนกีออกจากถนนไปขึ้นรถมอเตอร์ไซค์ที่พาเขาไปโรงพยาบาล ภาพของชายสวมหมวกกันน็อคสีเงินถูกตีพิมพ์ทั้งในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและมติชน แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่รู้ว่าเขากับชายสวมหมวกกันน็อคอีกคนหนึ่งนั้นเป็นใครกันแน่ อิซาเบลลา โพเลนกี กล่าว

นายปณิธาน วัฒนายากร โฆษกรัฐบาล ไม่ตอบคำถามจาก CPJ เกี่ยวกับการยิงโพเลนกี รวมทั้งคำกล่าวอ้างที่ว่าตอนนั้นทหารยิงไม่เลือกหน้า หรือรายละเอียดของกรณีการยิงรายอื่นๆ นายเสก วรรณเมธี อัครราชทูตของสถานทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ตอบข้อห่วงใยของ CPJ กว้างๆ ในจดหมายลงวันที่ 14 มิถุนายนว่า "รัฐบาลเสียใจที่เกิดการสูญเสียชีวิตและยึดมั่นที่จะสืบสวนกรณีการตายทั้งหลายอย่างเต็มที่และเที่ยงธรรม....."

ล่าสุด Shawn Crispin ยังได้รายงานความคืบหน้ากรณีนี้ไว้ในเว็บล็อกของ CPJ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ศกนี้ ภายใต้หัวข้อ "In Polenghi case, autopsy shared but more needed" (ในคดีโพเลนกี เผยผลชันสูตรพลิกศพแล้ว แต่ต้องทำมากกว่านี้) http://cpj.org/blog/2010/08/in-polenghi-case-autopsy-shared-but-more-needed.php ว่า: -

.....อย่างไรก็ตาม กว่าสองเดือนต่อมา (หลังการตายของฟาบิโอ) มันก็ไม่ปรากฏชัดว่าทางการไทยกำลังพยายามทำดีที่สุดเพื่อไขคดีนี้ให้กระจ่างและนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม

อิซาเบลลา โพเลนกี น้องสาวของเขา ได้แสดงความห่วงใยดังกล่าวนั้น ณ ที่แถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ (ที่ 30 กรกฎาคม ศกนี้) ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยในกรุงเทพฯ ทาง CPJ เราได้ร่วมขึ้นเวทีเพื่อนำเสนอรายงานพิเศษเรื่อง "ในเหตุไม่สงบในประเทศไทย นักข่าวถูกยิงใส่" ซึ่งสืบสวนกรณีการตายและบาดเจ็บต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้กับนักข่าวในประเทศไทย รวมทั้งการยิงโพเลนกีจนเสียชีวิตด้วย

ในบรรดาข้อเสนอแนะต่างๆ ของเรา CPJ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยร่วมมือกับผู้สืบสวนอิสระและเปิดเผยผลการชันสูตรพลิกศพทางการรวมทั้งหลักฐานเชิงนิติเวชอื่นๆ ปรากฏว่ารัฐบาลไม่ได้ตอบสนองผลการสืบสวนของเราอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แม้ว่าดูเหมือนทางราชการจะรับฟังข้อเสนอแนะของ CPJ ประการหนึ่ง

ในวันพฤหัสบดี (ที่ 29 กรกฎาคม ศกนี้) อันเป็นวันเผยแพร่รายงานของ CPJ ข้างต้น ตำรวจกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้พบกับอิซาเบลลา โพเลนกี เป็นการส่วนตัวและนำผลการชันสูตรพลิกศพคดีพี่ชายของเธออย่างเป็นทางการให้เธอดูเป็นครั้งแรก ตำแหน่งบาดแผลที่แน่ชัดของโพเลนกีจะเป็นร่องรอยให้สืบเสาะได้ว่าเขาถูกยิงโดยทหารจากระดับพื้นถนนหรือโดยผู้ประท้วงที่อยู่บนตึกข้างเคียง

ในที่แถลงข่าว อิซาเบลลา โพเลนกี ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลการชันสูตรพลิกศพและเน้นว่าเป้าหมายของการพบปะกับทางเจ้าหน้าที่ซึ่งสถานทูตอิตาลีช่วยจัดให้นั้นก็เพื่อ "ร่วมด้วยช่วยกัน" และหาทางประกันให้มั่นใจว่าการสืบสวนของของทางการ "กำลังดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งเธอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่สืบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษถือการค้นหากล้องถ่ายรูปและโทรศัพท์ของโพเลนกีที่หายไปคืนมาเป็นเรื่องสำคัญก่อนอื่นทั้งด้วยเหตุผลทางนิติเวชศาสตร์และทางอารมณ์ความรู้สึก

อิซาเบลลา โพเลนกี กล่าวว่า เธอเข้าใจว่าการสืบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ "อาจนานหลายปี" แต่ก็บอกว่าถ้าหากไม่มี "ความรุดหน้า" ใดๆ ในสองเดือนข้างหน้าแล้วเธอก็คงจะกลับมาเมืองไทยอีกเพื่อกดดันในเรื่องที่เธอห่วงใย

พรรคพวกเพื่อนฝูงของฟาบิโอซึ่งหลายคนเป็นนักข่าวชาวต่างชาติผู้มาหลงรักเมืองไทย อาศัยอยู่เป็นเหย้าและตั้งใจจะเอาเป็นเรือนตายเหมือนกัน ได้เล่าให้ฟังว่าพวกเขาพิศวงงงงันมากว่าเพราะเหตุใดก็ไม่รู้หน่วยราชการต่างๆ ไม่ว่าอำอวด, อีเอสไอ, หรืออ๋ออออ๋อ ต่างพากันยัวะเป็นฟืนเป็นไฟที่พวกเขาพยายามร่วมด้วยช่วยกันหาความกระจ่างเกี่ยวกับสภาพการณ์การตายของฟาบิโอ โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าใครเป็นคนเอาการ์ดบันทึกข้อมูล (memory card) และกล้องถ่ายรูปของฟาบิโอไป รวมทั้งช่วยกันจัดแถลงข่าวให้อิซาเบลลา น้องสาวของฟาบิโอ

แล้วจู่ๆ เพื่อนชาวอเมริกันที่นำภาพวิดีโอที่เขาถ่ายไว้ตอนฟาบิโอตายมาเปิดเผยก็ถูกดำเนินการขับไล่ออกจากประเทศและข้างภรรยาที่เป็นคนไทยของเพื่อนคนนั้นก็ถูกคุมตัวด้วยอำนาจพิเศษ, โทรศัพท์บางเบอร์ที่เพื่อนๆ ของฟาบิโอใช้ติดต่อประสานงานกันก็ชักมีอาการรบกวนแปลกๆ, เวลาพวกเขาไปไหนมาไหนก็มีคนหน้าตาบ้องแบ๊วคอยติดตามยังกับนิยายสืบสวนสอบสวน.....

นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,
รัฐมนตรีองอาจ คล้ามไพบูลย์,
อธิบดีธาริต เพ็งดิษฐ์,
โฆษกปณิธาน วัฒนายากร,
ผู้การสรรเสริญ แก้วกำเนิด

ไม่แปลกหรือครับ ที่หน่วยงานราชการซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบสืบสวนสอบสวนหาความจริงทุกกรณีการตายที่เกิดขึ้นช่วงเหตุการณ์ เมษา-พฤษภาอำมหิต ที่ผ่านมา ทั้งการตายของฟาบิโอและคนไทยกับชาวต่างชาติอื่นๆ อีก 90 คน

ดูเหมือนจะพยายามนานัปการที่จะไม่ให้คนอื่นเขาทำความจริงให้ปรากฏต่อสาธารณะ?

พวกคุณกลัวอะไรหรือครับ?