WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 11, 2010

ศีลกับปัญญา

ที่มา บางกอกทูเดย์


เห็นข่าวนายกฯ พูดถึงศีล 5 ก็ประหลาดใจ...เพราะคำว่า ศีล 5 นั้น เป็นหลักพระพุทธศาสนาที่สอนให้คนทั่วไปทำความดี เว้นความชั่ว

ชาวพุทธทั่วไปย่อมรู้จักดีว่า ศีล 5 คือ การห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ห้ามลักทรัพย์ ห้ามประพฤติผิดในกาม ห้ามพูดปด ห้ามเสพสิ่งมึนเมา

เรื่องของศีล 5 นั้น มีความหมายในทางธรรมอย่างชัดแจ้ง และศีลนั้นเกี่ยวข้องกับปัญญา เป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน ดังที่จะยกความมาให้พิจารณาดังต่อไปนี้

จากความตอนหนึ่งในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าเคยตรัสถามพราหมณ์ผู้หนึ่งเรื่องคุณสมบัติของความเป็นพราหมณ์ว่า ประกอบด้วยอะไรบ้าง

พราหมณ์ตอบว่า...คุณสมบัติของผู้เป็นพราหมณ์ในคัมภีร์พระเวทประกอบด้วย 1. มีชาติดี คือเกิดจากบิดามารดาเป็นพราหมณ์สืบสายมา 7 ชั่วบรรพบุรุษ 2. ท่องจำมนต์ในพระเวทได้ 3. มีรูปงาม 4. มีศีล 5. เป็นผู้ฉลาดมีปัญญา

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อว่า...ถ้าจะตัดคุณสมบัติของความเป็นพราหมณ์ออกบ้าง อะไรตัดได้ อะไรตัดไม่ได้

พราหมณ์ตอบว่า...คุณสมบัติแรกที่ตัดได้คือข้อมีรูปงาม คุณสมบัติที่สองจะตัดได้คือข้อท่องจำมนต์ และคุณสมบัติที่จะตัดได้ต่อไปคือ ข้อมีชาติดี

สำหรับคุณสมบัติที่ตัดไม่ได้คือ มีศีล กับ มีปัญญา สองข้อนี้ตัดไม่ได้ลดไม่ได้ มิเช่นนั้น ไม่นับว่าเป็นพราหมณ์

พราหมณ์ยกตัวอย่างต่อไปว่า...หลานพราหมณ์คนหนึ่ง มีรูปงามผิวพรรณดี ท่องจำมนต์เก่ง มีชาติดีเกิดจากบิดามารดาที่เป็นพราหมณ์มา 7 ชั่วบรรพบุรุษ

แต่ก็ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา รูปผิวพรรณ มนต์ ชาติ จะทำอะไรได้

เมื่อใดพราหมณ์เป็นผู้มีศีล มีปัญญา รวม 2 คุณสมบัติดังนี้ จึงควรบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ และควรเรียกตัวเองว่า “พราหมณ์”

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อว่า...ถ้าลดศีลหรือปัญญาออกอีกข้อหนึ่ง พอจะกำหนดคุณสมบัติของพราหมณ์ได้หรือไม่

พราหมณ์ตอบว่า...ลดไม่ได้ เพราะศีลชำระปัญญา ปัญญาชำระศีล ในที่ใดมีศีลในที่นั้นมีปัญญา ในที่ใดมีปัญญาในที่นั้นมีศีล

ศีลกับปัญญากล่าวได้ว่าเป็นยอดในโลก เปรียบเหมือนใช้มือล้างมือ ใช้เท้าล้างเท้า ศีลกับปัญญาก็ชำระกันและกันฉันนั้น

พระพุทธเจ้าจึงตรัสรับรองภาษิตของพราหมณ์ว่า “ถูกต้อง”
บทความวันนี้นำเรื่องศีลกับปัญญาในพระไตรปิฎกฉบับประชาชนมาสรุปให้ได้อ่าน เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับศีล 5 ที่นายกฯ พูดไว้ ผู้อ่านคงเข้าใจได้มากขึ้น

นอกจากเรื่องศีล 5 ที่มีการห้ามไว้ในเรื่องการฆ่าสัตว์ไว้เป็นประการแรกนั้น สัตว์ที่ห้ามฆ่าย่อมหมายถึงมนุษย์ด้วย

จึงสามารถนำพุทธภาษิตที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มากล่าวถึงได้ดังนี้
บุคคลผู้อาศัย ราคะ โทสะ โมหะ แล้วฆ่าสัตว์ ทำลายสงฆ์ ย่อมตกนรก
ผู้อ่านจะคิดต่อได้ไหมว่า...บุคคลใดฆ่าสัตว์โดยเฉพาะมนุษย์ด้วยกัน หรือใช้ให้มีการฆ่า หรือรู้ว่ามีการฆ่าคนอื่นเพื่อตน แล้วยังไม่สำนึกบาปหรือเกรงกลัวบาป

บุคคลนั้นกับพวกย่อม “ตกนรก” มิสามารถออกกฎใดมานิรโทษการตกนรกไปได้!