WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 12, 2010

เสรีภาพทางวิชาการ

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ คอลัมน์ที่13



สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ส่งหนังสือเวียนถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อขอความร่วมมือ ช่วยสอดส่องดูแลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางด้านการเมืองของแกนนำนักศึกษา

โดยระบุว่า เนื่องจากมีแกนนำนักศึกษาบางกลุ่มจัดแสดงละครเวทีแสดงความคิดเห็นด้านการเมือง ในลักษณะบิดเบือนสถานการณ์ทางการเมือง อันเป็นการปลุกระดม ยั่วยุให้เกิดความความแตกแยกในสังคม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรุนแรงภายในประเทศได้

กรณีนี้มีนักวิชาการ และนักศึกษาหลายคนออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านในทันที

นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า หนังสือดังกล่าวมีเจตนาที่ดี แต่อาจเกิดปัญหาในทางปฏิบัติ

เพราะมหาวิทยาลัยบางแห่งอาจตีความไปในแง่ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิ และเสรีภาพของนักศึกษา อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญได้

นายภัทรนันท์ ลิ้มอุดมพร นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตโฆษกกลุ่มนักเรียนเพื่อประชาธิปไตย บอกว่า เรื่องนี้มองได้ 2 มุม ในมุมของรัฐบาลอาจมองถึงความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยในสังคม

แต่ในมุมของนักศึกษา ถือว่าเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเมืองผ่านละครเวที ไม่ได้มีนัยยะอื่นแอบแฝง หนังสือที่ว่าจึงขัดแย้งกับความคิดในระบอบเสรีประชาธิป ไตยเป็นอย่างมาก

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 รับรองเสรีภาพของบุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทั้งการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา

และในมาตรา 50 ยังระบุถึงเสรีภาพในทางวิชาการไว้ด้วยว่า การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมือง หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อธิบายไว้ว่า คำว่า "เสรีภาพทางวิชาการ" นำมาใช้กันแพร่หลายในช่วงกลางทศวรรษ 2500 หรือเมื่อประมาณ 40 ปีมานี้ ซึ่งเป็นช่วงที่เกิด "อาชีพนักวิชาการ" ในมหาวิทยาลัยขึ้นอย่างแท้จริง และเป็นกลุ่มเป็นก้อน

คำว่า "ความเป็นเลิศทางวิชาการ" (academic excellence) กลายเป็นคำขวัญของคณาจารย์จำนวนหนึ่งที่มีความคิดแบบ "เสรีนิยม" (liberal thinking) ต้องการสร้าง "อุดมศึกษา" ของชาติให้เป็นเรื่องของภูมิปัญญาอย่างแท้จริง

เป็นอิสระจาก "รัฐข้าราชการ" อันเป็นปรากฏการณ์ของระบอบ "คณาธิปไตย" ที่มีทหาร เช่น จอมพล ป. พิบูลสงคราม, จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, จอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นผู้นำในยุคนั้น

นักวิชาการเหล่านี้เชื่อว่า "เสรีภาพ" เป็นเสมือนปุ๋ยแห่งความอุดมสมบูรณ์ ที่จะหล่อเลี้ยงให้ต้นกล้า "วิชาการ" หรือ "มหาวิทยาลัย" เจริญเติบโตได้

แนวคิดนี้มีผลกระทบอย่างสูงต่อวงการมหาวิทยาลัย และความรู้สึกนึกคิดของนิสิตนักศึกษาในช่วง 14 ตุลาคม 2516 จนถึง 6 ตุลา 2519

ดร.ชาญวิทย์ ยกตัวอย่าง เหตุการณ์คุกคามเสรีภาพทางวิชาการในห้วงเวลาที่ผ่านมา

อาทิ การจำกัดเสรีภาพในการเผยแพร่ (จำหน่าย) หนังสือและสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ Coup for the Riches ของ อาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์ หรือในกรณีของนิตยสารกึ่งวิชาการอย่าง "ฟ้าเดียวกัน"

รวมทั้งการสั่งเก็บและห้ามจำหน่ายหนังสือ "ภาพลักษณ์ปรีดี พนมยงค์" ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ถึงวันนี้ แม้ "เสรีภาพทางวิชาการ" ของไทยจะพัฒนามาเกือบครึ่งศตวรรษ

แต่ก็ยังถูกคุกคามจากรัฐอยู่เรื่อยมา