WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 14, 2010

ย้อนปมร้าวประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ รายงานพิเศษ




การตีกลับโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี มูลค่า 6.4 หมื่นล้านของกระทรวงคมนาคม ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่ผ่านมา

ไม่ใช่ครั้งแรกที่ครม. ไม่ยอมอนุมัติโครงการดังกล่าว แต่เป็นการสั่งให้นำกลับมาศึกษา ทบทวน และตั้งกรรมการขึ้นมาดูแลทุกครั้งที่คมนาคมเสนอเรื่อง

โครงการนี้จึงกลายเป็นปมความขัดแย้งสำคัญระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคภูมิใจไทย

บรรยากาศการโต้คารมระหว่างนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ระหว่างที่ครม.พิจารณาเรื่องนี้

ระอุถึงขั้นนายโสภณ ประชดว่า "ถ้าวันนี้ไม่จบก็ไม่ทำแล้ว เอาไปทำกันเองเลยแล้วกัน"

โครงการเช่ารถเมล์ ถูกเบรกตั้งแต่แรกเริ่ม ครม.ตีกลับ ตัดยอดเช่าจาก 6,000 คัน มูลค่าแสนกว่าล้าน เหลือ 4,000 คัน มูลค่า 6.4 หมื่นล้าน และให้สภาพัฒน์ ไปศึกษาว่าการเช่าคุ้มหรือไม่

ก่อนจะให้กระทรวงคมนาคม ไปทำแผนกำหนดปฏิทินทั้งการเออร์ลี่รีไทร์พนักงาน การตั้งอู่เอ็นจีวีขึ้นมารองรับ

ข้ามมาถึงปี "53 มติครม. ครั้งล่าสุด ได้ตั้งคณะกรรมการทบทวน 3 ประเด็นที่ครม.คาใจ ประกอบด้วยแผนรองรับพนักงานที่ไม่สมัครใจลาออกก่อนเกษียณ รถเมล์ฟรี และรถร่วมบริการที่จะมีผลกระทบต่อโครงการ

พร้อมมอบหมาย นายไตรรงค์ สุวรรณ คีรี เป็นประธาน มีกรอบการทำงาน 2 เดือน

หลังมติดังกล่าว การประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันรุ่งขึ้นก็ล่มไม่เป็นท่า เป็นไปตามคำเตือนล่วงหน้าของแกนนำพรรคภูมิใจไทย

เช็กยอดส.ส.ที่ขาดประชุม พบมีส.ส.จากทุกพรรค แต่ผิดสังเกตตรงที่พรรคภูมิใจไทยที่ขาดประชุม 9 คนนั้น 8 คน เป็นส.ส.ในกลุ่มของนายเนวิน ชิดชอบ

ขณะที่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา พ่อของนายเนวิน ที่นั่งทำหน้าที่ประธาน ไม่กดบัตรแสดงตน

แล้วยังใช้ความเก๋าสั่งนับองค์ประชุม เมื่อไม่ครบก็สั่งปิดประชุมทันที

เป็นการเรียกนับองค์ประชุมทั้งที่ส.ส.ลงชื่อ ครบแล้ว ผิดจากที่เคยปฏิบัติจนพรรคประชาธิปัตย์ข้องใจ

ปฏิกิริยาของพรรคภูมิใจไทย ชัดเจนถึงความไม่พอใจ

นายโสภณ ยืนยันชี้แจงครม.ได้หมดทุกเรื่อง แต่ที่ครม.ไม่อนุมัติเป็นเพราะความเชื่อ

นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ยอมรับผู้ใหญ่ในพรรคภูมิใจไทยหลายคนมีความรู้สึกกับมติครม. ที่ออกมาต่างจากทุกครั้งที่ผ่านๆ มา แม้ข่าววงในจะระบุความไม่พอใจ แต่การให้สัมภาษณ์ต่อสาธารณะจะเป็นไปในลักษณะประนีประนอม บอก ปัดความขัดแย้ง

พรรคภูมิใจไทยอาจคิดว่า "เหลืออด" แล้วก็ได้

เพราะความขัดแย้งของ 2 ฝ่าย ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก และไม่ได้มีแค่เรื่องรถเมล์เอ็นจีวี เพียงเรื่องเดียว

ความเห็นแย้งในการบริหารงานระหว่าง 2 พรรค เริ่มมาตั้งแต่ช่วงต้นของรัฐบาล

13 พ.ค.52 ครม. มีมติเบรกการระบายสต๊อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4.49 แสนตัน ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของภูมิใจไทยเช่นกัน

บรรยากาศการประชุมครม. หนนั้น เดือดถึงขั้นนายกฯ สั่งให้นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน ที่เข้าชี้แจงออกจากห้องประชุม

ด้าน นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ถึงกับน้ำตาคลอเบ้า หลุดปากนายกฯ 2 มาตรฐาน

ปลายส.ค. รอยร้าวระหว่างประชาธิปัตย์กับภูมิใจไทย ปะทุขึ้นที่กระทรวงพาณิชย์อีกครั้ง

เมื่อนางพรทิวา เสนอแต่งตั้ง นายยรรยง พวงราช ขึ้นเป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ แต่นายกฯ ไม่หยิบขึ้นมาพิจารณา และเลื่อนการพิจารณาถึง 3 ครั้ง 3 ครา

กระทั่งนายยรรยง เข้าพบพูดคุยกับนายกฯ เป็นการส่วนตัว ครม.จึงมีมติแต่งตั้ง

เหตุผลการเลื่อนมองกันไปหลายมุม บ้างว่ามาจากการเข้าชี้แจงเรื่องสต๊อกข้าวโพด ที่นายยรรยง กล้าต่อปากต่อคำนายกฯ จนถูกเชิญออกจากห้องประชุม

ข่าวอีกทางระบุ นายกฯ เล็งแต่งตั้งนายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เพราะต้องการให้ความสำคัญกับการส่งออกเพื่อฉุดเศรษฐกิจ

บางกระแสว่าเป็นการยื้อเพื่อแลกเสียงโหวตแต่งตั้งผบ.ตร. ที่ขณะนั้นเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาล

ซึ่งประเด็นผบ.ตร. ก็เป็นอีกข้อขัดแย้งหนึ่งของประชาธิปัตย์ กับภูมิใจไทย ด้วยเช่นกัน

ตอนนั้น นายกฯ ผลักดัน พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ขึ้นสู่ตำแหน่ง

แต่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาด ไทย หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) กลับประกาศชัดเจนว่าสนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย

ปัญหาความขัดแย้งของ 2 พรรค ทำให้คาดเดากันไปถึงการพิจารณางบประมาณ ในวันที่ 18-19 ส.ค. ที่จะถึงนี้

ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ดูเชื่อมั่นกับเสียงสนับสนุนอย่างยิ่ง

นั่นอาจเพราะ การแต่งตั้งผบ.ตร. ที่คาราคาซังมานานนับปีได้เสร็จสิ้นลงแล้ว

อีกทั้ง การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารประจำปีก็จบลงด้วยดี

นอกจากนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ยังเบิกโรงตีปี๊บสังคมสวัสดิการ เพื่อใช้หาเสียงครั้งหน้าอย่างต่อเนื่องแล้ว

เป็นการขยับเข้าสู่โหมดเลือกตั้งเข้าไปทุกขณะ

ขณะที่พรรคภูมิใจไทย แม้จะเห็นการตระเตรียมความพร้อมอยู่บ้าง แต่ก็ยังเป็นรองโดยเฉพาะกระแส

ยิ่งถ้าวัดจากโครงการรถเมล์เอ็นจีวี จะเห็นว่าผลสำรวจออกมาทีไรไม่เข้าตาประชาชนสักที ถึงขั้นเป็นโครงการ "สร้างชื่อเสีย" ของรัฐบาลเลยด้วยซ้ำ

จึงไม่แปลกที่พรรคประชาธิปัตย์ จะมั่นใจในเสียงโหวตงบประมาณ

พร้อมระบุ หากไม่ผ่านนายกฯ ก็ต้องยุบสภาตามที่กฎหมายกำหนด

แล้วจะมีใครกันที่นั่งเป็นรัฐบาลอยู่ดีๆ อยากให้ยุบสภาก่อนวาระ