WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 14, 2010

จารึกเกียรติยศ 65 ปีวันสันติภาพ(ตอนที่2):สมพงษ์ ศัลยพงษ์"ผมเป็นคนไทย มาทำงานเพื่อชาติ.."

ที่มา Thai E-News



สมพงษ์ ศัลยพงษ์ (แซล)ในชุดนายทหารเสรีไทย เขาได้รับมอบภารกิจลับเล็ดลอดเข้าประเทศเพื่อประสานงานกับเสรีไทยในประเทศ เพื่อกอบกู้ชาติ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งไทยถูกญี่ปุ่นรุกรานยึดครองอยู่ แต่ถูกตำรวจไทยยิงหายไปกลางลำน้ำโขง แม้ในปัจจุบันญาติๆยังหวังว่าเขาอาจจะยังไม่ตาย

เรียบเรียงโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา หนังสือตำนานเสรีไทย โดย ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร
14 สิงหาคม 2553


หมายเหตุไทยอีนิวส์:เมื่อ 65 ปีที่แล้วนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทยได้ประกาศสันติภาพเมื่อ 16 สิงหาคม 2488 มีผลสำคัญยิ่งยวดทำให้ไทยไม่ต้องตกเป็นประเทศแพ้สงครามโลกครั้งที่2 ไม่ต้องถูกยึดครองหรือแบ่งแยกจากมหาอำนาจผู้ชนะสงคราม ซึ่งมีผู้เคยกล่าวไว้ว่าไม่เช่นนั้นไทยก็คงไม่พ้นต้องเสียกรุงครั้งที่3 อันเป็นผลพวงหลักจากความเคลื่อนไหวของขบวนการใต้ดินเสรีไทย อย่างไรก็ตามควรต้องจารึกไว้ด้วยว่า มีวีรชนผู้เสียสละชีพ และอุทิศตัวอย่างยืนหยัดเพื่อชาติในขบวนการหลายท่าน ซึ่งเราขอทยอยนำเสนอเพื่อเชิดชูเกียรติวีรชนของประชาชาติไทย ณ โอกาสวันสันติภาพมาถึงในปีนี้

กับทั้งเป็นการเตือนสติบรรดาขบวนการล้าหลังคลั่งชาติที่กระหายเลือดกระหายสงคราม เป็นปฏิปักษ์ต่อสันติภาพอยู่ในเวลานี้


สมพงษ์กับครอบครัวไปพักผ่อนที่ชายทะเลหัวหินเมื่อเดือนเมษายน2481ก่อนเดินทางไปศึกษาที่อเมริกา จนทุกวันนี้ญาติของสมพงษ์ยังหวังอย่างเต็มเปี่ยมว่าเขาอาจยังไม่เสียชีวิตจากคราวปฏิบัติงานเสรีไทย โดยหากมีชีวิตอยู่เขาจะมีอายุ92ปีในตอนนี้

สมพงษ์ ศัลยพงศ์( แซล ):ผมเป็นคนไทยแท้ๆไม่ควรยิงผมเลย ผมมาทำงานเพื่อชาติ


วีรประวัติ-สมพงษ์ ศัลยพงษ์ ได้รับพระราชทานยศพันตรีหลังเสียสละชีพเพื่อชาติ ขณะปฏิบัติงานเสรีไทยพร้อมกับสหายศึกอีก2รายคือพันตรีการะเวก ศรีวิจารณ์ และพันตรีจำกัด พลางกูร รายนามของทั้ง 3 ท่านถูกจารึกไว้ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมาจนตราบทุกวันนี้

ชาตะ- 16 มิถุนายน 2461
มรณะ-11 มิถุนายน 2487 ขณะอายุ 26 ปี หากมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบันจะมีอายุ 92 ปี
กำเนิด-บุตรของร.ต.เกียรติ ศัลยพงษ์ (ผู้พิพากษา) และนางบุญมี ศัลยพงษ์
การศึกษา-มัธยม สวนกุหลาบวิทยาลัย สหรัฐอเมริกา
-อุดมศึกษา เป็นนักเรียนแพทย์ที่สอบชิงทุนมาศึกษาวิชาเภสัชกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฟิลาเดเฟีย สหรัฐอเมริกา

การปฏิบัติงานเสรีไทย-หลังจากไทยถูกญี่ปุ่นยึดครองในวันที่8ธันวาคม2484 ในปีรุ่งขึ้นสมพงษ์ สมัครเข้าเป็นสมาชิกเสรีไทยในอเมริกา ที่ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัคราชทูตไทยประจำสหรัฐฯเป็นหัวหน้าและก่อตั้งเสรีไทยและมีพ.ท.หม่อมหลวงขาบ กุญชร เป็นหัวหน้าเสรีไทยสายสหรัฐฯฝ่ายทหาร เข้ารับการฝึกอบรมกับหน่วยทหารอเมริกันคือO.S.S.นาน9เดือน ต่อมาได้รับยศร้อยโท ชื่อรหัส"แซล"

นักเรียนแพทย์สมพงษ์เป็นคนเรียนหนังสือเก่งมาก สอบชิงทุนหลวงได้ไปศึกษาต่อทางด้านเภสัชกรรมศาสตร์ ฟิลาเดลเฟีย ก่อนสมัครเป็นเสรีไทย ภายหลังประเทศถูกญี่ปุ่นยึดครอง

-มีนาคม2486 แซลซึ่งอายุย่าง26ปีเดินทางออกจากสหรัฐฯร่วมกับเสรีไทย19นายเพื่อเล็ดลอดสู่มาตุภูมิประเทศไทย ด้วยเรือลิเบอร์ตี้ผ่านคลองปานามาไปมหาสมุทรแปซิฟิก ตัดเข้าตอนใต้ออสเตรเลีย ย้อนขึ้นเหนือผ่านมหาสมุทรอินเดียขึ้นบกที่บอมเบย์ ฐานที่มั่นฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียช่วงกลางเดือนมิถุนายน2486 ใช้เวลาเดินทางรวม 95 วัน ฝึกเพิ่มเติมกับO.S.S.ที่ชายแดนพม่า

-สิงหาคม2486 ย้ายไปจุงกิงนครหลวงของจีนคณะชาติ ซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร และย้ายไปที่คุนหมิง จีนตอนใต้

-มกราคม2487 ฐานปฏิบัติการO.S.S.จัดตั้งที่ซือเหมาตอนใต้ของยูนนาน ใกล้พรมแดนลาว(ซึ่งตอนนั้นหลายเมืองของลาวเป็นอาณาเขตของไทย)และวางแผนส่งเสรีไทย10นายเล็ดลอดเข้าประเทศ เพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญคือนำสารจากรัฐบาลสหรัฐฯไปรับรองขบวนการเสรีไทยในประเทศว่ากำลังต่อสู้เพื่อเอกราช และไทยจะมีรัฐบาลพลัดถิ่นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นผู้รุกรานยึดครองไทย

-ปลายเดือนกุมภาพันธ์2487 ร.ท.สมพงษ์ และร.อ.การเวก(ยศขณะนั้น)กับเสรีไทยสายอเมริกาชุดแรก10คนได้รับภารกิจเล็ดลอดเข้าประเทศไทย โดยออกจากซือเหมาเดินทางไปพำนักที่เมืองลา สิบสองปันนาราวเดือนเศษ ที่รอนานเพราะทางจีนคณะชาติหน่วงเหนี่ยวไม่สนับสนุนภารกิจตามที่ให้คำมั่นสัญญาไว้ จึงต้องหาผู้นำทางคนไทยเชื้อสายจีนพาไปเมืองพงสาลี ล่องเรือตามลำน้ำโขงถึงเมืองหลวงพระบาง

การปฏิบัติภารกิจนี้เสียงอันตรายรอบด้าน เพราะต้องหลบหลีกทหารญี่ปุ่น ขณะที่ไม่ได้รับการสนับสนุนภารกิจแต่ถ่วงรั้งจากจีนคณะชาติที่เป็นเจ้าของพื้นที่ ส่วนเสรีไทยในประเทศก็ยังติดต่อกันไม่ได้เลย ประเทศอยู่ภายใต้การบริหารของจอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งร่วมมือกับญี่ปุ่น และโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนและกำชับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องถิ่นจับกุมตัวจารชนไทยที่ลักลอบเข้าประเทศ

-10 มิถุนายน 2487 ข้ามโขงเข้าแดนไทยที่ตำบลบ้านด่าน อำเภอเชียงแมน จังหวัดล้านช้าง(ขณะนั้นเป็นดินแดนของไทยที่ได้คืนจากฝรั่งเศส) มีเป้าหมายจะเดินทางต่อไปที่หนองคาย แต่คนนำทางพาไปพบสารวัตรกำนันในตอนเย็น และกำนันได้ขอยึดปืนไว้ เพราะได้รับคำสั่งจากรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงครามให้จับกุมจารชน

-11 มิถุนายน 2487 ตำรวจเชียงแมนจับกุมการะเวกและสมพงษ์ข้อหาจารชนและยึดปืนพกไว้ ตามคำสั่งรัฐบาลต้องส่งทั้งสองไปที่กรุงเทพฯ แต่ตำรวจกลับควบคุมตัวเป็นเชลยลอยเรือไปกลางลำน้ำโขง เมื่อเวลาราว15.40น.ส.ต.ท.สมวงษ์ จันทศร และพลตำรวจถึง มูลพิชัย ได้ยิงปืนใส่ทั้งสอง และผู้นำทาง ร.อ.การะเวกกับผู้นำทางเสียชีวิตทันที

ส่วนร.ท.สมพงษ์ยังไม่ตายร้องครวญครางอยู่ และเนื่องจากได้แสดงความบริสุทธิ์ใจด้วยการมอบอาวุธปืนให้ตำรวจไปแล้วก็ไม่คิดว่าจะถูกยิง และคิดว่าไทยด้วยกันควรมีน้ำใจรักชาติปกป้องมาตุภูมิ ร.ท.สมพงษ์จึงพูดขึ้นว่า"ผมเป็นคนไทยแท้ๆผมมาทำงานเพื่อชาติ ไม่ควรยิงผมเลย"

แต่ตำรวจทั้งสองไม่ปรานีมุ่งค้นสมบัติที่เสรีไทยทั้งสองนำติดตัวมา และเมื่อได้ทองคำที่ทั้งสองได้รับจากO.S.S.มาใช้ในงานกู้ชาติก็โยนร.ท.สมพงษ์ลงน้ำโขงเพื่อให้ตาย แต่ความที่ร่างใหญ่แข็งแรงร.ท.สมพงษ์ได้ว่ายเข้ามาเกาะเรือไว้ พลตำรวจถึงเอาปืนจ้องคนพายเรือสั่งให้เอาไม้พายค้ำไปที่ตัวร.ท.สมพงษ์ให้จมน้ำตาย แต่เขาก็ดิ้นหลุดดำน้ำไปเกาะอยู่ที่แก่งหินกลางน้ำ คนพายเรือถูกสั่งใพยเรือตามไป แล้วพลตำรวจถึงยิงใส่ร.ท.สมพงษ์2-3นัด แล้วร่างของร.ท.สมพงษ์ก็จมหายไปท่ามกลางกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว


เรือลำนั้นกลับมาที่สถานีตำรวจเชียงแมนเวลา17.00น.แล้วอ้างว่าจารชนขัดขืนต่อสู้แย่งชิงปืนตำรวจจึงถูกวิสามัญฆาตกรรม จากนั้นยึดปืน,กระสุนปืน,พันธบัตร,ทองคำ,เครื่องรับส่งวิทยุไว้ ศพของ"แครี่"การะเวกกับคนนำทางถูกทิ้งไว้หน้าสถานีตำรวจ จนเย็นวันรุ่งขึ้นจึงนำไปขุดฝังไว้หลังสถานี ส่วนศพของสมพงษ์ไม่มีผู้พบเห็นทำให้ญาติยังฝังใจมาจนทุกวันนี้ว่าเขายังไม่ตายจากเหตุการณ์ครั้งนั้น

แม้กระทั่งถึงทุกวันนี้ ญาติตระกูลศัลยพงษ์ทุกคน ยังหวังเต็มเปี่ยมว่า สมพงษ์ น่าจะยังไม่ตาย และอาจมีเหตุผลบางอย่างที่ปรากฏตัวไม่ได้ ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ เขาจะมีอายุ 92 ปี

-เวลาไล่เลี่ยกันร.อ.โผนเดินทางตามหลังทั้งสองมา2สัปดาห์ และก่อนข้ามโขงได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของทั้งสองและแจ้งข่าวไปยังเสรีไทยสายอเมริกาในอีก1เดือนต่อมา ทำให้เสรีไทยในไทยทราบจึงแต่งตั้งข้าราชการทั้งฝ่ายปกครองและฝ่ายตำรวจมายังชายแดนเพื่อคอยช่วยเหลือเสรีไทยให้เล็ดลอดเข้าประเทศได้สำเร็จ

16 สิงหาคม 2488-ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ และหัวหน้าขวนการเสรีไทยประกาศสันติภาพ หลังญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และไทยไม่ต้องตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม และไม่ถูกมหาอำนาจผู้ชนะแบ่งแยกเป็นไทยเหนือ-ไทยใต้

-30 ตุลาคม 2488 หลังสงครามยุติลงมีการรื้อฟื้นคดีสังหาร 2 เสรีไทย แต่ 2 ตำรวจมือสังหารโหดหลบหนีข้ามไปฝั่งลาว มีการขุดศพแครี่กลับสู่มาตุภูมิกรุงเทพฯ

-ค่ำวันที่ 25 กันยายน 2488 ปรีดี พนมยงค์ "รูธ"หัวหน้าขบวนการเสรีไทย กล่าวปราศรัยก่อนสลายขบวนการเสรีไทยตอนหนึ่งว่า

"ขอให้ท่านได้สำนึกถึงวีรกรรมของเพื่อนร่วมตาย ซึ่งต้องเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ครั้งนี้คือนายจำกัด พลางกูร ,นายการะเวก ศรีวิจารณ์ และนายสมพงศ์ ศัลยพงศ์ ชีวิตเขาสิ้นไปเพื่อได้มาซึ่งเอกราช และความคงอยู่ของชาติไทย ซึ่งชาวไทยไม่ควรลืม"


10 กุมภาพันธ์ 2497-รัฐบาลสหรัฐฯมอบเหรียญ"เมดัล ออฟ ฟรีดอม"ให้แก่เสรีไทยผู้เสียสละชีวิตทั้งสอง ถ้อยความตอนหนึ่งว่า
"วีรกรรมและการเสียสละอันใหญ่หลวงเป็นพิเศษของร้อยโทสมพงษ์นั้นย่อมปรากฎเป็นเกียรติคุณความดียิ่งแก่ตนเอง แก่ประเทศ และแก่สหรัฐอเมริกาด้วย"


เจือ ศัลยพงษ์ ผู้พี่ชายรับเหรียญกล้าหาญ"เมดัลออฟฟรีดอม"จากทูตวิลเลียม โดโนแวน 10 ปีหลังการเสียสละชีพเพื่อชาติของสมพงษ์

ท่วงท่าบุคคลิกของสมพงษ์-ร้อยเอกนิคอล สมิธ นายทหารอเมริกัน พี่เลี้ยงเสรีไทยชุดแรกที่ลักลอบเข้าปฏิบัติภารกิจลับในประเทศ บันทึกถึงเขาว่า "แซลมีน้ำหนักเกินกว่า70ก.ก.(160ปอนด์)ร่างใหญ่สมบูรณ์ด้วยกล้ามเนื้อ ใจเร็ว และฉุนเฉียวประเภทไม่กลัวใครหรือสิ่งใดทั้งนั้น ก่อนมาปฏิบัติงานเสรีไทยเขาเป็นนักเรียนแพทย์ที่สอบชิงทุนมาศึกษาวิชาเภสัชกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฟิลาเดเฟีย

ส่วนกำนันที่แจ้งตำรวจมาจับเสรีไทยทั้งสองพูดถึงสมพงษ์ว่า"พูดคล้ายกับคนลาว แต่พูดลาวไม่ชัด หน้าตาก็เหมือนคนไทย"

ความเป็นคนรูปร่างใหญ่น้ำหนักเกิน70ก.ก.ฉุนเฉียวไม่กลัวใครทั้งสิ้น เขาจึงถูกจับคู่กับการะเวก ศรีวิจารณ์(แครี่)ซึ่งร่างเล็กหนักเพียง 55 ก.ก.เล็ดลอดเข้าประเทศไทย แต่ทั้งสองต้องเสียสละชีพเพื่อชาติในคราวนั้น

********
16 สิงหาคม2553-ครบ 65 ปีวันสันติภาพไทย-รำลึกวันสันติภาพ ไทยพ้นสถานะประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการและหัวหน้าขบวนการเสรีไทยขณะประกาศแถลงสันติภาพ

รำลึกถึงเหตุการณ์วันที่ 16 สิงหาคม 2488 นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในขณะนั้น และเป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยได้ออกประกาศสันติภาพ สาระสำคัญคือประกาศว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐฯ และอังกฤษของรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นโมฆะไม่ผูกพันกับประชาชนชาวไทย ที่ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น และให้สถานะของประเทศกลับไปมีไมตรีอันดีกับ2ประเทศมหาอำนาจเหมือนก่อนประกาศสงคราม และพร้อมจะร่วมมือทุกวิถีทางกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลกนี้

ด้วยคำประกาศสันติภาพดังกล่าว ทำให้ไทยไม่ต้องผูกพันกับญี่ปุ่นและรอดพ้นการตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม มีเอกราชโดยสมบูรณ์ สมควรที่ชาวไทยผู้รักชาติจะได้หวนรำลึกถึงบุญคุณของบรรพชนในคราวนั้น

***กิจกรรมโครงการงาน 110 ปีชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ และ 65 ปีสันติภาพไทย ในเดือนสิงหาคม 2553

วันจันทร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓

๑. งานครบรอบ ๖๕ ปี วันสันติภาพไทย เริ่มเวลา ๐๗.๑๕ น. - ๑๒.๐๐ น.

ณ ลานอาคารเสรีไทยอนุสรณ์ สวนเสรีไทย ถ.เสรีไทย ซอย ๕๓ เขตบึงกุ่ม กทม.

๒. ฝ่ายเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม จัดฉายภาพยนตร์เรื่อง "พระเจ้าช้างเผือก" พร้อมกันทั่ว ประเทศ ( ๗๖ จังหวัด) โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

ส่วนกลางจัดฉาย ณ ลานหอศิลปวัฒนธรรมเเห่งกรุงเทพมหานคร เวลา ๑๘.๐๐ น. หลังเคารพธงชาติ (ชมฟรี)
คลิกอ่านบทความของโดม สุขวงศ์ เกี่ยวกับThe King of the White Elephant ที่http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=43&s_id=18&d_id=14

๓. การแสดงละครเวทีเรื่อง "คือผู้อภิวัฒน์"

วันเสาร์ที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๙.๓๐ น.
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๔.๓๐ น.
ณ ห้องประชุม มล.ตุ้ย ชั้นที่ ๘ อาคาร HB 7 คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
บัตร ๒๐๐ บาท นศ. ๑๐๐ บาท
สอบถามรายละเอียด โทร. ๐๘๖ ๗๒๘ ๖๘๒๘ / ๐๘๑ ๕๖๒ ๔๖๓๖

วันศุกร์ที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. และ ๑๘.๓๐ น.
ณ ห้องประชุม ดร.ไสว สุทธิพิัทักษ์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์