WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 12, 2010

ความอยุติธรรม

ที่มา โลกวันนี้


บทบรรณาธิการ
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ปีที่ 11 ฉบับที่ 2861 ประจำวัน พฤหัสบดี ที่ 12 สิงหาคม 2010
โดย หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน


นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน มอบหมายให้ทนายความไปพบอัยการสูงสุดเพื่อร้องขอความเป็นธรรมกรณีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยื่นหนังสือให้อัยการเร่งรัดสั่งคดีกับแกนนำ นปช. ซึ่งจะครบอำนาจฝากขังตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 84 วัน ในวันที่ 7 กันยายนนั้น อาจจะฟ้องให้ดำเนินคดีการแทรกแซงอัยการสูงสุด

และในสัปดาห์หน้าจะตั้งกระทู้ถามนายพีระพันธุ์ในเรื่องนี้เช่นกัน รวมถึงกรณีจุดที่มีการยิง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ที่มีข่าวว่าอยู่บริเวณโรงแรมของแม่ยายนายพีระพันธุ์ ทั้งยังมีข่าวการใช้งบราชการลับผ่านกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไปยังอัยการบางคนเพื่อให้เร่งดำเนินคดีกับแกนนำ นปช. ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีรัฐมนตรีคนใดมีพฤติกรรมเช่นนี้

กรณีนายพีระพันธุ์มีหนังสือไปยังอัยการเพื่อเร่งรัดคดีแกนนำ นปช. ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็ยากที่จะปฏิเสธได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควรและน่าตำหนิอย่างยิ่ง ส่วนจะมีผลต่อการฟ้องแกนนำ นปช. หรือไม่นั้น ฝ่ายอัยการเองก็ต้องอึดอัดใจ เพราะอัยการเป็นหน่วยงานอิสระเช่นเดียวกับศาล

แม้แต่ดีเอสไอซึ่งมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน หากยังอยู่ภายใต้การกำกับของฝ่ายการเมืองก็ยากจะพ้นข้อครหาเป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ เหมือนการทำงานของดีเอสไอขณะนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากถึงความไม่เป็นธรรมและไม่โปร่งใส ขณะที่อธิบดีดีเอสไอยังก็เป็นกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีบทบาทสำคัญในการกล่าวหาและจับกุมคนเสื้อแดง

เรื่องของกระบวนการยุติธรรมจึงเป็นประเด็นหรือปัญหาสำคัญของบ้านเมือง ซึ่งที่ผ่านมากรณีตุลาการภิวัฒน์ก็เป็นบทเรียนให้เห็นแล้วว่ามีผลต่อความเชื่อถือและศรัทธาอย่างไรกับองค์กรตุลาการ ซึ่งถือเป็นองค์กรสุดสุดท้ายองค์กรเดียวที่ประชาชนจะพึ่งพา

ขณะที่กระบวนการยุติธรรมเบื้องต้นไม่ว่าตำรวจและอัยการก็ถูกครหาเรื่องความยุติธรรมและเลือกปฏิบัติ เช่นเดียวกับองค์กรอิสระต่างๆที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นหนึ่งในวิกฤตของบ้านเมือง ไม่ว่าจะเป็นศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ฯลฯ

เพราะวันนี้วิกฤตที่เกิดขึ้นก็ถือเป็นความหายนะของบ้านเมืองอย่างยิ่งแล้ว แต่หากประชาชนยังพึ่งไม่ได้แม้แต่สถาบันตุลาการก็ถือว่าวงการยุติธรรมไทยย่อยยับและอัปรีย์ถึงที่สุดแล้ว