WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 9, 2010

นักวิชาการชี้กรณี"พระวิหาร"แค่"เกม" แนะร่วมมือข้ามวัฒนธรรมดีกว่า

ที่มา มติชน


เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดเสวนาเรื่องมรดกโลกกับปัญหาเขตแดน โดยนางสาวมรกต เจวจินดา ไมยเออร์ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กล่าวว่า การนำเรื่องเขาพระวิหารมาใช้ปลุกกระแสชาตินิยมในขณะนี้ เป็นการเล่นเกมการเมืองมากกว่า มัวแต่เถียงกันแทนที่จะหาทางแก้ปัญหา ซึ่งควรจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในเชิงมูลค่าเพิ่มมากกว่ามองว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนของใคร


นางสาวมรกตกล่าวว่า เรื่องนี้ควรมองไปข้างหน้า เพื่อผลักดันให้เป็นมรดกข้ามเขตแดน และสร้างประโยชน์จากที่มีอยู่ แต่สิ่งสำคัญคือ ไทยต้องจริงใจต่อเพื่อนบ้าน ต้องยอมรับว่าไม่ได้โดดเดี่ยว ขณะนี้ไทยกำลังปฏิเสธกระแสของอาเซียน เรื่องดังกล่าวกำลังสะท้อนว่าประเทศไทยต้องการอยู่คนเดียวใช่หรือไม่ ในกรณีของเยอรมนีและโปแลนด์ที่มีพื้นที่ทับซ้อนเหมือนเขาพระวิหาร แต่สามารถสร้างประโยชน์จากพื้นที่นั้นได้ โดยการพัฒนาเป็นแหล่งมรดกโลกที่สำคัญ โดยไม่อิงเรื่องเขตแดน เนื่องจากมีสหภาพยุโรปที่ทำให้เกิดความเป็นปึกแผ่น ขณะที่ไทยเองกำลังผลักดันความเป็นอาเซียน แต่กลับปฏิเสธเสียเอง


นางสาวมรกตกล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ ไทยควรจะร่วมมือกับกัมพูชาในการรักษามรดกโลก ต้องถามตัวเองว่าจะไปขัดแย้งเพื่ออะไร เราจะผลักดันให้นำไปสู่ความร่วมมือข้ามวัฒนธรรมได้หรือไม่


"รัฐบาลคงจะยื้อต่อไป เพื่อประโยชน์หลายอย่าง ซึ่งประเมินว่าไทยยังไม่มีความแข็งแกร่งทางกองทัพเพียงพอที่จะสู้รบกับใคร คงจะอยู่กันไปอย่างนี้ โอกาสที่จะหาทางออกมีน้อยมาก แต่โอกาสที่จะสร้างประโยชน์จากจุดนี้มีมากกว่า ซึ่งไทยยังผลักดันแหล่งท่องเที่ยวของไทยเองเป็นมรดกโลกน้อยกว่ากัมพูชา เมื่อเทียบกับรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวที่กัมพูชาขอยื่นเป็นมรดกโลกไปแล้วหลายแห่ง" นางสาวมรกตกล่าว


นายอัครพงษ์ ค้ำคูณ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า การหารือระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มรักชาตินั้น เป็นเหมือนตาบอดคลำช้าง ไม่มีใครได้อะไร หาประโยชน์อะไรไม่เจอ อยากให้ทุกฝ่ายมองไปข้างหน้า ตีความเรื่องที่เกิดขึ้นให้ถ่องแท้ ส่วนเรื่องบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) กับกัมพูชาเมื่อปี 2543 ที่มีข้อถกเถียงว่าจะรับหรือไม่รับนั้น ต้องพิจารณาว่า หากไม่รับแล้วจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบอย่างไร


นายอัครพงษ์กล่าวว่า เอ็มโอยูดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ในเขตแดนของไทยหลายส่วน หากยกเลิกเอ็มโอยู อาจได้รับผลกระทบหลายด้าน เช่น พื้นที่ในเขตหมู่บ้านร่มเกล้า ที่ประเทศลาวอาจยื่นขอให้ตีความเพื่อดึงกลับไปเป็นเขตแดนของลาวด้วย โดยสิ่งที่ไทยกำลังทำอยู่ ต้องดูว่ากำลังแลกกับอะไร แลกกับการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจหรือแลกกับการเสียศักดิ์ศรีที่ไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร


"ขอประณามว่า สิ่งที่กลุ่มเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติกำลังทำอยู่ เหมือนกำลังทำลายชาติ ซึ่งผมเองก็รักชาติเหมือนกัน การเรียกร้องในระยะแรกเป็นสิ่งดีที่ทำให้ต่างประเทศตระหนักว่าไทยไม่ยอมรับในคำตัดสิน แต่ระยะหลังเหมือนเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ทางที่ดีควรหาทางขึ้นทะเบียนเขาใหญ่ก่อน เพราะตอนนี้ยังไม่มีการส่งแผนจัดการกรณีเขาใหญ่ รวมถึงเขาพนมรุ้ง หรือปราสาทหินพิมายเลย ขณะที่กัมพูชาส่งรายชื่อขึ้นทะเบียนไปแล้วหลายแห่ง" นายอัครพงษ์กล่าว


นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีต ส.ว.ตากกล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลจะทำได้คือ ใช้ช่องทางของเอ็มโอยูปี 2543 เป็นเครื่องมือ ต้องปักหลักเขตแดนให้เสร็จสิ้นก่อน แต่ไทยคงหนีไม่พ้นการปะทะกับกัมพูชาบ้าง ซึ่งทางออกมีสองทางคือ ถ้าไม่รบกันไปเลย ก็ต้องยื่นให้ศาลโลกตัดสินอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม พื้นที่ดังกล่าวเป็นของไทย คงต้องหาทางทำให้เขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นของไทยได้หรือไม่ โดยแยกส่วนที่เป็นของไทยและกัมพูชาชัดเจน