WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 11, 2010

สัมมนาแนวทางปรองดองที่พิษณุโลก "ศิโรตม์" แนะเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ที่มา ประชาไท


ม.ราชภัฏพิบูลสงครามจัดสัมมนา “หนึ่งร้อยห้าสิบวันสู่แนวทางปรองดองแห่งชาติ” ตัวแทนสื่อชี้เหตุความขัดแย้งมาจากสื่อที่กลุ่มผลประโยชน์ใช้เป็นเครื่องมือ เชื่อจะปรองดองได้สื่อต้องเป็นกลาง ด้าน ส.ส.เพื่อไทยเชื่อแนวปรองดองยังมีจุดอ่อนเรื่องการถูกตรวจสอบ "ศิโรตม์" เชื่อยังไม่ขัดแย้งขั้นแบ่งประเทศ เสนอสร้างความไว้วางใจในสังคมด้วยการเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

การจัดสัมมนาหัวข้อ “หนึ่งร้อยห้าสิบวันสู่แนวทางปรองดองแห่งชาติ” เมื่อ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) ที่มาของภาพ: ข่าวสารศรีพิบูล, 6 ส.ค. 53, หน้า 1

เมื่อวันที่ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 2 อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ (อาคาร IT) มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) จ.พิษณุโลก มีการจัดสัมมนาหัวข้อ “หนึ่งร้อยห้าสิบวันสู่แนวทางปรองดองแห่งชาติ” โดยสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยมีวิทยากรประกอบด้วย นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์ นายลัญจกร โกศัย สื่อมวลชนและนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นายนิยม ช่างพินิจ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.พิษณุโลก ดำเนินการเสวนาโดย ผศ.ดร.จักษ์ พันธุ์ชูเพชร อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ตัวแทนสื่อชี้จะปรองดองได้ สื่อต้องเป็นกลาง

นายลัญจกร โกศัย สื่อมวลชนและนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ตอบคำถามที่ผู้ดำเนินรายการถามว่าข้อคำถามที่ว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเกิดจากสื่อมวลชนหรือไม่ โดยนายลัญจกร ตอบว่า ตัวแทนจากสื่อมวลชนเห็นว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้ความเป็นอุดมคติต่อวิชาชีพของสื่อมวลชนลดลงและถูกใช้เป็นเครื่องมือของกลุ่มผลประโยชน์

ประการหนึ่ง คือ ความจำเป็นทางเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนต้องการการสนับสนุนทางการเงิน ผนวกกับการนำเสนอของสื่อมวลชนเป็นไปในเชิงพาณิชย์ในลักษณะต้องตอบสนองต่อความต้องการบริโภคข่าวที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค และอีกประการหนึ่ง เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสื่อมวลชนกับกลุ่มผลประโยชน์

เหตุปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์สื่อเสนอข่าวข้างเดียวจนสามารถแยกได้อย่างชัดเจนว่าสื่อเป็นกระบอกเสียงให้กลุ่มก้อนทางการเมืองฝ่ายใด ทั้ยังลดทอนความสามารถในการวิเคราะห์ที่ควรจะเป็นของสื่อมวลชน สำหรับแนวทางสู่ความปรองดองแห่งชาติและแก้ไขปัญหาดังกล่าวในฐานะสื่อมวลชนเห็นว่า สื่อมวลชนต้องทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลางและตระหนักถึงเป้าหมายไปที่หน้าที่ที่แท้จริงของตน

ส.ส.เพือไทยชี้ปรองดองยังมีจุดอ่อนเรื่องการถูกตรวจสอบ แนะแก้ไขปัญหาความเป็นธรรม

นายนิยม ช่างพินิจ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.พิษณุโลก กล่าวยอมรับว่าในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกมีความขัดแย้งเกิดขึ้นตั้งแต่ระดับครัวเรือน แต่ไม่มีความรุนแรงเช่นในพื้นที่อื่น อย่างไรก็ดีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในภาพรวม ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ

เขาเห็นว่าสื่อเป็นตัวแสดงหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างสองฝ่าย นอกจากนี้ยังมีตัวแสดงที่สำคัญอีกตัวแสดงหนึ่ง คือ ผู้นำประเทศหรือนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ 4 ประการ ได้แก่ การปกป้องอธิปไตย การรักษาความสงบภายในประเทศ การรักษาความชอบธรรมและความเสมอภาค และการรักษาสุขภาพหรือชีวิตของประชาชน

นายนิยมยังเห็นว่าแนวทางปรองดองของรัฐบาลอภิสิทธิ์เป็นสิ่งที่ดี แต่ยังมีจุดอ่อนในเรื่องความเป็นธรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ พร้อมทั้งเสนอว่าสมาชิกวุฒิสภาน่าจะเป็นตัวกลางในการปรองดองได้ดีที่สุด นอกจากนี้การนำนโยบายปรองดองไปสู่การปฏิบัติยังมีประเด็นที่ควรคำนึงในเรื่องการยอมรับจากประชาชนในเรื่องการกระจายทรัพยากรและปฎิรูปประเทศ ทั้งนี้ได้เรียกร้องให้การแก้ไขปัญหาความเป็นธรรมในสังคมไทยกระทำไปบนพื้นฐานของหลักนิติรัฐและนิติธรรม

ศิโรตม์เชื่อยังไม่ถึงขั้นแยกประเทศ แนะเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สร้างความไว้วางใจในสังคม

ด้านนายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ตนมองความแตกต่างและความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา สังคมไทยเองเป็นสังคมที่มีความขัดแย้งมาโดยตลอด หากนับมองย้อนไปในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางความคิดต่อระบอบการปกครองก่อน พ.ศ. 2475 ความขัดแย้งต่อทางเลือกในการนำพาประเทศเข้าสู่สงครามโลก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รวมทั้งความขัดแย้งทางการเมืองครั้งสำคัญในอดีตที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2516, 2519 และ 2535 ดังที่เคยปรากฏและรับรู้กันโดยทั่วไปแล้ว

อย่างไรก็ตามความขัดแย้งในสังคมไทยในปัจจุบันนั้น ศิโรตม์เห็นว่ามีความรุนแรงและแตกต่างจากความขัดแย้งในหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ทั้งในมิติระดับของความรุนแรงและมิติในการจัดการความขัดแย้ง ในมิติระดับของความรุนแรง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากกว่าความขัดแย้งในครั้งก่อนหน้าเมื่อพิจารณาในเชิงปริมาณของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

ในขณะที่หากจะมองถึงมิติการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งมีความแตกต่างจากการจัดการความขัดแย้งในเหตุการณ์ในอดีต ความแตกต่างในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน มาจากการสร้างภาพและผูกติดแบบเหมารวมของคนเสื้อสีต่างๆ ในสังคม จนหล่อหลอมให้ไปสู่การสร้างฐานคิดของผู้คนในสังคมในการไม่ยอมรับหลักการบางอย่างที่จะไม่ละเมิดหรือกระทำรุนแรงกับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นหลักการบางอย่างที่ทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้ เช่น หลักกฎหมาย หรือ หลักความชอบธรรม

รัฐบาลในฐานะที่ควรกระทำตัวเป็นองค์การที่ให้ความเป็นธรรมกับกลุ่มต่างๆ อย่างเท่าเทียมก็มิได้ทำหน้าที่ดังกล่าว กลับนำตัวเข้าไปพันพัวกับความขัดแย้งมากเกินไปจนลดทอนความเป็นกลางและน่าเชื่อถือของรัฐบาลเอง การตั้งคณะกรรมการเป็นแกนนำในการปรองดองหรือตรวจสอบข้อเท็จจริงของรัฐบาล แม้จะมีการคัดเลือกผู้มีความน่าเชื่อถือในวงสังคมเป็นแกนนำกลับสร้างความแคลงใจให้กับกลุ่มคนที่อยู่ตรงข้ามฝ่ายรัฐบาลอยู่ไม่น้อย และทำให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งหรือองคาพยพที่เกี่ยวข้องทำงานด้วยความยากลำบาก หากจะก้าวพ้นการมองกลุ่มก้อนทางการเมืองในขั้นตัวข้ามด้วยสายตาที่ปราศจากอคติ

ทางออกของความขัดแย้งทางการเมืองไทยสู่การปรองดองอย่างแท้จริงนั้น ศิโรตม์เสนอว่า แนวทางปรองดองจะสำเร็จได้ต้องมีการสร้างเงื่อนไข โดยเห็นว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงควรมาจากการเลือกสรรของรัฐสภาเพื่อลดแรงตึงและการมองแบบเหมารวมขององคาพยพที่มีอำนาจเกี่ยวข้อง

ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลควรยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพราะการคง พ.ร.ก. ฉุกเฉินทำให้รัฐบาลสามารถกระทำรุนแรงแบบเหมารวมต่อผู้ที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงได้เรื่อยๆ เช่น กรณีที่กระทำกับเด็กมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงรายที่ถือป้าย “ที่นี่มีคนตาย” การยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นการส่งสัญญาณที่ดีว่ารัฐบาลจะยุติการกระทำบางอย่างที่เป็นการคุกคามและทำร้ายผู้บริสุทธิ์ในสังคม ทั้งยังก่อให้เกิดความไว้วางใจและความเป็นธรรมในสังคมอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย นอกจากนี้ในระดับสังคม ฝ่ายต่างๆ ในสังคมต้องยอมรับฟังความจริงของฝ่ายที่เห็นตรงข้าม เพื่อลดภาวการณ์มองแบบเหมารวมของคนแต่ละสี และสร้างให้ทั้งสองฝ่ายมีวุฒิภาวะทางสังคมร่วมกัน

ต่อข้อซักถามเรื่องพัฒนาการของความขัดแย้งในสังคมไทยในปัจจุบัน ศิโรตม์เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองไทยยังไม่ถึงจุดที่จะยกระดับถึงขั้นแบ่งประเทศ เพราะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มสีสองสีหลักมีความขัดแย้งส่วนตัวเข้าไปเกี่ยวพันอยู่มาก ทั้งยังยากที่จะพัฒนาเป็นการเมืองแบบสองขั้วเช่นที่เกิดขึ้นในอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา เพราะการเมืองแบบสองขั้วจะเกิดขึ้นในสังคมที่มีสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างมาก