WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 14, 2010

อัครมหาเตโช "ฮุน เซน"

ที่มา thaifreenews


โดย Porsche


ประเทศไทยกับประเทศกัมพูชามีพรมแดนติดกันยาวถึงเกือบ 800 กิโลเมตร

ถ้าใช้ทหาร 1 คนยืนทุก 1 เมตร เราต้องให้ทหารถึง 800,000 นาย

เมื่อโลกนี้ยังไม่มีเทคโนโลยี่ใดสามารถย้ายประเทศที่มีพรมแดนติดกันให้หนีห่างจากกันได้

"ไทย" และ "กัมพูชา" จึงต้องเป็น "เพื่อนบ้าน" กันต่อไป

เพียงแต่เราจะเลือกว่าจะมี "ความสัมพันธ์" ฉัน "เพื่อน" กันแบบใด

"เพื่อนรัก"

หรือ "เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด"

นับตั้งแต่รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นต้นมา ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับ "กัมพูชา" มาตลอด

ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี เมืองไทยเปลี่ยน "นายกรัฐมนตรี" แล้ว 10 คน

พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายอานันท์ ปันยารชุน
พล.อ.สุจินดา คราประยูร
นายชวน หลีกภัย
นายบรรหาร ศิลปอาชา
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายสมัคร สุนทรเวช

และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

แต่นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ยังเป็นคนเดิม

"สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเตโช ฮุน เซน"

ต้องยอมรับว่าความสัมพันธ์ระหว่าง "ไทย-กัมพูชา" อยู่ในภาวะเลวร้ายที่สุดก็คือ
ในสมัยรัฐบาล "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"

ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชื่อ "กษิต ภิรมย์"

ส่วนหนึ่งเพราะมีตัวเร่งปฏิกิริยาชื่อ "ทักษิณ ชินวัตร" ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดียิ่งกับ "ฮุน เซน"

แต่ส่วนสำคัญมาจากท่าทีของ "อภิสิทธิ์" ในช่วงที่เป็น "ผู้นำฝ่ายค้าน"
ที่อภิปรายเรื่อง "เขาพระวิหาร" ในสภาผู้แทนราษฎร

และ "กษิต" ในฐานะ "วิทยากร" บนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

"ทัศนคติ" ที่แสดงผ่านบทบาท "ฝ่ายค้าน" ของทั้ง 2 คนย่อมสร้างความแค้นเคืองให้กับ "ฮุน เซน"
และได้ปฏิกิริยาให้เห็นจนความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศเลวร้ายลงเรื่อยๆ

ในยุคที่ "อภิสิทธิ์" เป็นนายกฯ และ "กษิต" เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

จนถึงขั้นที่หวั่นเกรงว่าจะเกิด "สงคราม" ระหว่างประเทศ

เพื่อช่วงชิงพื้นที่แค่ 1,500 ไร่



จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง คือ เรื่องปราสาทเขาพระวิหาร

ปมขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2505 ถูกจุดขึ้นมาอีกครั้งใน พ.ศ. นี้

เริ่มตั้งแต่ที่ "กลุ่มพันธมิตรฯ" ใช้ประเด็นนี้ในการเคลื่อนไหวไล่รัฐบาล "สมัคร สุนทรเวช"

โดย "อภิสิทธิ์-กษิต" มี "จุดยืน" เดียวกันกับกลุ่มพันธมิตรฯ

จนกระทั่ง "อภิสิทธิ์-กษิต" เปลี่ยนตำแหน่งยืนใหม่จาก "ฝ่ายค้าน" เป็น "รัฐบาล"

กลุ่มพันธมิตรฯ เริ่มปลุกกระแส "ชาตินิยม" ขึ้นอีกครั้งจากประเด็น "เขาพระวิหาร"
และทวงถาม "จุดยืน" เดิมของ "อภิสิทธิ์"

การเคลื่อนไหวจบลงแบบ "แฮปปี้เอ็นดิ้ง" เมื่อ

1.กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ชุมนุมใหญ่ทั้งที่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยไม่ถูกจับกุม

2."อภิสิทธิ์" ยอมขึ้นปราศรัยและตอบคำถามบนเวทีพันธมิตรฯ

และ
3. "แกนนำ" พันธมิตรฯ ได้ออกโทรทัศน์ร่วมกับ "อภิสิทธิ์"

ในทางการเมืองการส่งลูกระหว่าง "อภิสิทธิ์" กับ "กลุ่มพันธมิตรฯ" ได้จุดกระแส "ชาตินิยม" ขึ้น
สามารถชิง "พื้นที่ข่าว" กลบกระแสด้านลบของรัฐบาลที่เริ่มเพลี่ยงพล้ำมากขึ้นเรื่อยๆ

แต่การจุดกระแสดังกล่าวได้ทำให้ความสัมพันธ์กับ "กัมพูชา" เลวร้ายยิ่งกว่าเดิม

การปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ ของ "อภิสิทธิ์" ประกาศใช้มาตรการด้านการทูต
และการทหารกับกัมพูชา กลายเป็นประเด็นที่ "ฮุน เซน" หยิบยกขึ้นมาเพื่อฟ้อง "สหประชาชาติ"

"กัมพูชาขอยืนยันว่าจะไม่ใช้กองกำลังทหารกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่กัมพูชามีสิทธิปกป้องอธิปไตยของตน

การที่ไทยขู่ว่าจะใช้กองทหารแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวชายแดนนั้น
ข้าพเจ้าขอให้ท่านแจ้งให้สมาชิกสหประชาชาติทุกประเทศทราบในสิ่งที่เกิดขึ้น"

คือ ประโยคตบท้ายในหนังสือของ "ฮุน เซน"

ความเก๋าของ "ฮุน เซน" ที่ครองอำนาจมานาน และต้องเดินเกมการทูตบนเวทีโลก
ตั้งแต่ยังรบกับ "เขมร 3 ฝ่าย" ทำให้ "กัมพูชา" เหนือกว่า "ไทย" อย่างชัดเจน

"ฮุน เซน" นั้นมีสไตล์การทูตไม่เหมือนใคร

ในขณะที่ใช้ท่าที "นักเลง" กับ "อภิสิทธิ์-กษิต" แบบไม่สนใจมารยาททางการทูต

แต่ทุกครั้งที่ความขัดแย้งเริ่มคุกรุ่นมากขึ้น "ฮุน เซน" จะตะโกนฟ้ององค์กรระหว่างประเทศทันที

เขาใช้ความเป็น "ประเทศเล็ก" เรียกคะแนนสงสาร

เหมือนกับไทยจะรังแกประเทศเพื่อนบ้านที่อ่อนด้อยกว่า

ในขณะเดียวกันปฏิกิริยาของนานาชาติกับไทยในหลายเรื่องไม่สู้ดีนัก

กลุ่มอาเซียนที่ไทยเคยมีบทบาทระดับ "ผู้นำ" มาก่อน กลับมอง "ไทย" เป็น "ตัวปัญหา"
ทั้งกรณี "ม็อบเสื้อแดง" และความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อแนวทาง "รวมอาเซียน" ให้เป็นหนึ่ง

กรรมการยูเนสโกจากหลายประเทศก็มีท่าทีในทาง "บวก" กับ "กัมพูชา" มากกว่า

จน "อภิสิทธิ์" ต้องเล่นไม้แข็งขู่ถอนตัวจาก "ยูเนสโก"

ณ วันนี้ภาพลักษณ์ของ "ไทย" ในเวทีโลกไม่ได้ดีเหมือนในอดีต



การเลือกเล่นเกม "เขาพระวิหาร" ของ "อภิสิทธิ์" จนบดบังมิติด้านอื่นของความสัมพันธ์
ระหว่าง "ไทย-กัมพูชา"

เป็นเกมที่ไทยมีแต่เสียเปรียบ

เพราะคำตัดสินของ "ศาลโลก" เมื่อปี 2505 เป็นประโยชน์กับ "กัมพูชา" มากกว่า "ไทย"

ไม่แปลกที่ไทยจะพยายามจำกัดวงให้อยู่ในระดับ "ทวิภาคี"

ไม่ยอมให้ประเทศใดเข้ามายุ่งเกี่ยว

ในขณะที่ "กัมพูชา" ก็เรียกร้องให้ "ต่างชาติ" เข้ามาไกล่เกลี่ย เพราะเชื่อว่าฝ่ายตนได้เปรียบในข้อกฎหมาย

และบางครั้งก็ขู่ถึงขั้นจะฟ้องศาลโลก

พระราชดำรัสของในหลวงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2535 จึงเป็น "ทางออก" ที่ดีที่สุด

"ทั่วตลอดเขตแดนไทยกับต่างประเทศเป็นปัญหาอย่างนี้ทั้งนั้น
ไม่ทราบว่าตรงไหนเป็นเขตไทยและเขตต่างชาติ ถึงโดยมากในเขตแดน
ระหว่างประเทศทุกประเทศทุกแห่งที่ทำกันอย่างมีวัฒนธรรม
เขตแดนคือหลักเขตแดนอยู่แห่งหนึ่ง
และมีระยะหนึ่งที่ไม่ใช่ประเทศนี้
และประเทศโน้นถึงจะทำให้ไม่มีปัญหา
และแก้ปัญหาได้ บางประเทศในยุโรปมีบ้านหลังคาเรือนเดียวกัน
ประตูข้างหนึ่งอยู่ประเทศหนึ่งนี้มีแต่เขาก็ไม่บ้าบอที่จะบอกว่ามายึดกันไปยึดกันมา
แต่ต้องมีข้อตกลงกันว่าเขตที่ชายแดนที่วางไว้สองข้างนั้นอย่าไปทำกิจกรรมใดๆ
หรืออีกอย่างคือทำกิจกรรมร่วมกัน"

แม้ "อภิสิทธิ์" จะเป็นคนหยิบยกพระราชดำรัสดังกล่าวเพื่อใช้ "สยบ" กลุ่มพันธมิตรฯ

แต่ดูเหมือนว่าการแก้ปัญหาของ "อภิสิทธิ์" จะยังไม่สุกงอมในแนวทางนี้

"ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ" ที่มีมิติต่างๆ มากมาย กลับถูกบดบังเพียงแค่ปราสาทพระวิหาร

ลืมไปว่ายังมีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับกัมพูชา การค้า และผลประโยชน์ร่วมกันต่างๆ มากมาย

"บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" เคยสรุปในหนังสือ "แฉเอกสารลับที่สุด ปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505-2551" ว่า
ปัญหาปราสาทพระวิหารเป็นเพียงปัญหาเดียวในความสัมพันธ์พหุมิติ
การรักษาผลประโยชน์ของเรา เราก็ต้องทำ
แต่จะทำอย่างไรไม่ให้เสียสัมพันธ์ทุกมิติดังที่เคยตัดความสัมพันธ์ทางการทูตทั้ง 2 ครั้ง ระหว่างปี 2500-2509

"เราจะจำกัดปัญหาไม่ให้ลุกลามไปทำลายพหุมติติแห่งความสัมพันธ์อย่างไร นี่คือ
โจทย์ใหญ่ที่คนที่รับผิดชอบต่อบ้านเมืองต้องคิด

และจะคิดได้รอบคอบก็โดยอาศัยสติและปัญญา"



http://info.matichon.co.th/weekly/member/wk_txt.php?srctag=MDkxMzA4NTM=