WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 11, 2010

ย้อนยุคมืด-ห้ามน.ศ.ล้อการเมือง

ที่มา ข่าวสด


รายงานพิเศษ




สมชาย ปรีชาศิลปกุล

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

มุขล้อการเมือง ที่บรรดานิสิต นักศึกษา นำมาล้อเลียนผ่านละครเวที หรือการทำกิจกรรมต่างๆ

ที่มุ่งเสียดสีการเมืองผ่านมุมมองขำขัน มากกว่าจะให้ถือเป็นจริงเป็นจัง

กลายเป็น "ตลกร้าย" ถึงขนาดที่ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ยอมรับไม่ได้

กระทั่งมีหนังสือเวียนของ สกอ. หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ไปถึงผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาให้ควบคุมดูแล

อาจารย์ในมหาวิทยาลัย และอดีตนักศึกษาที่เคยเคลื่อนไหวต่อสู้ในเหตุการณ์ทางการเมือง มองต่างมุมอย่างไร



สมชาย ปรีชาศิลปกุล

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน อาจารย์นิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กรณีนี้สัมพันธ์กับการที่นัก เรียนและนักศึกษาเชียงราย ออกมาแสดงความเห็นทางการเมือง ผมขอตำหนิ สกอ. เรื่องนี้อันตรายมาก สกอ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลการศึกษาระดับอุดมศึกษา กำลังทำในสิ่งที่ไม่เข้าท่าอย่างมากที่สุด

น่าเป็นกังวลมากเพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ ดูแลด้านการศึกษาไม่เข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สกอ.น่าจะมีปัญญาที่ลุ่มลึก กว้างขวาง ตระหนักในเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ผมห่วงว่าหน่วยงานที่ดูแลด้านการศึกษาไม่มีความเข้าใจเรื่องนี้ การวางกรอบทิศทางเรื่องการศึกษาจึงเป็นแบบนี้

ลองตั้งคำถามว่าหากเด็กในมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมยกย่องนายกฯ อภิสิทธิ์ หรือรัฐบาล สกอ.จะเห็นว่าการจัดกิจกรรมดังกล่าวมีปัญหาหรือไม่ ซึ่งผมคิดว่าไม่มีอยู่แล้ว แต่การแสดงความคิดเห็นที่ต่างจากรัฐบาลกลายเป็นปัญหา

แม้หนังสือเวียนจะออกมาในลักษณะขอร้อง ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารแต่ละสถาบันบ้าจี้ไปกับอำนาจรัฐมากน้อยแค่ไหน ซึ่งส่วนใหญ่ก็บ้าจี้ทั้งสิ้น เป็นการตีกรอบการทำกิจกรรมของนักศึกษา ซึ่งต่อไปที่ทำได้คือการตักบาตร หรือเข้าขบวนแห่วันสงกรานต์

จาตุรนต์ ฉายแสง

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์



ในสังคมประชาธิปไตย เรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐานมาก แทบไม่ต้องมาถกเถียงกันว่าคนยอมรับหรือไม่ คำถามใหญ่คือ ภายใต้บรรยากาศแบบนี้หรือที่เราจะปฏิรูปประเทศไทย หากปิดกั้นความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐบาลก็ปฏิรูปไม่ได้ คนที่เห็นต่างอาจไม่ได้ออกมาพูด แต่ความขัดแย้งยังซุกอยู่ใต้พรม

จริงๆ แล้วเราควรยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่เฉพาะแต่การยกเลิกการประกาศใช้ในพื้นที่ต่างๆ แต่ยกเลิกตัวกฎหมายซึ่งให้อำนาจรัฐอย่างกว้างขวาง

ผมสนับสนุนการแสดงออกของนักศึกษาในทางการเมือง ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ไม่ใช่เฉพาะคนที่สนับสนุนเสื้อแดง เสื้อสีอื่นก็ต้องมีเสรีภาพในการแสดงออก หากไม่ใช่การด่าพ่อล่อแม่ ทุกฝ่ายควรมีสิทธิในการแสดงออก

ถ้ามีเสียงสะท้อนจำนวนมาก สกอ.ก็ควรยกเลิกหนังสือเถอะ เพราะออกมาได้ก็แย่แล้ว ถ้าเป็นปี 2500 ยังโอเค แต่ไม่น่าเกิดขึ้นในพ.ศ.นี้



ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดูจากหนังสือเวียนแล้ว ข้อความเขียนว่าขอความร่วมมือควบคุม สอดส่อง ดูแลการจัดแสดงละครเวทีให้มีความเป็น กลางทางการเมือง หลีกเลี่ยงการปลุกระดมยั่วยุ หรือสร้างความแตกแยกในสังคม

และสร้างความเข้าใจกับนักศึกษาทุกระดับ เพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดความสามัคคีในสังคม และความสงบสุขภายในประเทศ แต่ไม่ได้ห้ามให้จัดกิจกรรมแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการขอความร่วมมือเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ส่วนนี้อาจจะเกิดปัญหาได้ในทางปฏิบัติ เนื่องจากมาตรฐานของแต่ละมหาวิทยาลัยมีความแตกต่างกัน ในส่วนของ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงออกอย่างเต็มที่ แต่อยู่ในขอบเขตและไม่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น

ทั้งนี้ สกอ.ไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดี แต่ผมอยากจะแนะนำว่าควรจะส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงออก หรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้ เพราะนักศึกษามีสิทธิ์แสดงออก หรือแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ตามสิทธิและเสรีภาพตามระบอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

แต่จะทำอย่างไรให้นักศึกษาแสดงออกอย่างมีขอบเขต ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นและเกินขอบเขตของรัฐธรรมนูญ



จาตุรนต์ ฉายแสง

อดีตรมว.ศึกษาธิการ

บรรยากาศดังกล่าวเหมือนกับเหตุการณ์ก่อน 14 ตุลา 16 และหลัง 6 ตุลา 19 ที่รัฐบาลพยายามปิดกั้นสิทธิเสรีภาพทางวิชาการของนิสิต นักศึกษา จนทำให้เกิดความกดดัน บีบคั้น และสร้างความรู้สึกร่วมของสังคม ปะทุออกมาในการแสดงออกรูปแบบอื่นๆ

การแสดงละครล้อเลียนถือเป็นการระบายออกตามปกติของสังคมที่ไม่ค่อยจะเป็นประชาธิปไตย ที่ไม่สามารถพูดความจริงได้ก็ต้องออกมาในแนวล้อเลียน เสียดสี

การไปปิดกั้น หรือกดดันก็จะทำให้การแสดงออก หรือความกล้าคิดกล้าทำ กล้าเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาลดน้อยลง หรืออาจจะส่งผลให้ไปแสดงออกในทางอื่นได้

ที่จริงแล้ว สกอ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปควบคุมนิสิต นักศึกษาของแต่ละสถาบัน สกอ.มีหน้าที่ประสาน การสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินการของแต่ ละสถาบันการศึกษา หรือจะเข้ามามีส่วนร่วมในกรณีที่มีการกระทำผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทะเลาะวิวาท การรับน้อง

จึงน่าสังเกตว่าเหตุใดจึงออกหนังสือเวียนในลักษณะที่ไม่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตัวขึ้นมา อาจถูกกดดันจากรัฐบาลมา เพราะเป็นที่แน่นอนว่าหากมีการเล่นละครเสียดสี เป้าหมายหลักก็ต้องเป็นรัฐบาลที่กุมอำนาจ

ขณะนี้ก็ได้แต่หวังว่าสถาบันการศึกษาต่างๆ คงจะไม่สนับสนุนแนวคิดของสกอ. และปล่อยให้นิสิต นักศึกษา ของตัวเองทำกิจกรรมที่เป็นสิทธิเสรีภาพในทางวิชาการ และทางความคิดได้

แต่อาจคาดหวังในเรื่องดังกล่าวไม่ได้มากเท่าใด เพราะในเหตุการณ์ที่มีการจับกุมนักเรียน นักศึกษาเชียงรายที่ชูป้ายระบุถึงการคงพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และระบุว่ามีคนตายในเหตุการณ์การสลายการชุมนุม ประชาคมมหา วิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาไม่ได้ออกมา ปกป้องและทวงสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นทางวิชาการให้นักเรียนนักศึกษาเหล่านี้เลย

อาจเป็นเพราะการตื่นตัวทางสิทธิเสรีภาพของสถาบันเหล่านี้ยังน้อยไปก็เป็นไปได้



พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

อาจารย์รัฐศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การพยายามไปคุมกิจกรรมนักศึกษา หากเป็นกลุ่มที่ทำละครชวนฝันคงไม่เกี่ยวข้อง แต่จะมีผลทางอ้อมกับกลุ่มอิสระในมหาวิทยาลัยที่มีกิจกรรมการเมือง

หนังสือของ สกอ. ทำให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีเครื่องมือในการสร้างความปลอดภัยให้ตัวเองในการปิดปากประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว และไม่รู้ว่าออกประกาศเรื่องนี้มาในเงื่อนไขอะไร อิงกับพ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องขัดรัฐธรรมนูญ

นักศึกษาที่ถูกห้ามทำกิจกรรมก็คงต้องไปทำกิจกรรมกันนอกมหาวิทยาลัย เพราะถูกตีกันไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล มีผลในการสร้างความกลัวกับนักศึกษาอยู่บ้าง

ผลที่จะตามมา นอกจากเป็นการปิดกั้นศิลปะสร้างสรรค์หนึ่งแล้ว ก็ไม่สามารถไปบังคับสิ่งอื่นๆ ได้ มีแต่จะทำให้เกิดความคับแค้นใจ ก็จะไปหาทางออกผ่านเฟซบุ๊ก

อยากให้รู้ว่าไม่สามารถทำให้คนจงรักภักดีต่อระบบการเมืองได้ด้วยการบังคับ