สุดอัปยศ! กกต. ประกาศ “ยกคำร้อง” อุ้ม คมช.พ้นผิดกรณี “เอกสารลับ” อ้างไม่พบการกระทำที่เกิดความเสียหายต่อพรรคพลังประชาชน และไม่มีการขออนุมัติงบประมาณดำเนินการเรื่องดังกล่าว ผลการพิจารณาสร้างความกังขาสุดสุด ระบุการอ้าง ม.309 ในการยกเว้นเอาผิดก็ชี้ชัดว่าการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้ว แถมมีการรับเรื่องไปพิจารณาตามกระบวนการ ต้องชี้ถูก-ผิดเท่านั้น ด้านพปช.ขอดูเอกสารยืนยันการยกเลิกคำสั่ง เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจและเรียกความเชื่อมั่นคืนมาให้ กกต.
ในที่สุดการชี้ขาดกรณี “เอกสารลับ คมช.” ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ซื้อเวลามานานก็ได้ข้อสรุปที่เป็นไปตามความกังวลของหลายฝ่ายที่มีมาก่อนหน้านี้ว่า จะเป็นการหาทางออกให้กับคณะมนตรีวามมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) โดย กกต. ทั้ง 5 คน มีมติยกคำร้องของสมันธ์ประชาธิปไตย ที่ร้องว่า คมช. วางตัวไม่เป็นกลางในการเลือกตั้ง อันเนื่องมาจากเนื้อหาในเอกสารลับดังกล่าว มีข้อความระบุถึงการสกัดกั้นพรรคพลังประชาชนอย่างชัดแจ้ง
รวมทั้งมีการกำหนดกิจกรรมเป็นขั้นเป็นตอน มีการระบุถึง “การชี้นำแกมบังคับ” เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจไม่เลือกพรรคการเมืองบางพรรค และตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการ
โดยที่มติของ กกต. ที่มีออกมาในวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมานั้น ได้กลายเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง และนำมาซึ่งความเคลือบแคลงสงสัยในความเที่ยงตรงของ กกต. และกังวลต่อเนื่องไปถึงการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยมี กกต. เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อย
ในการประชุมของ กกต.ดังกล่าว ได้ใช้เวลานานประมาณ 1 ชั่วโมง และในที่สุดก็มีมติ 4 ต่อ 1 ให้ยกคำร้อง แต่อย่างไรก็ดีเสียงส่วนน้อยที่เป็นของ นางสดศรี สัตยธรรม นั้น ก็ไม่ใช่เป็นการเห็นตรงกันข้าม เพียงแต่ระบุความเห็นว่า กกต. ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบ คมช. ซึ่งนัยหนึ่งก็คือเป็นการที่ กกต. ทั้ง 5 คนมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ กกต. พ้นจากการรับผิดชอบการวางตัวไม่เป็นกลาง
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. กล่าวถึงการออกเสียงของนางสดศรี เป็นการให้ความเห็นว่าว่าา กกต. ไม่มีอำนาจที่จะเข้าไปตรวจสอบการทำงานของ คมช. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 ซึ่งเป็นการกระทำที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
ส่วนอีก 4 เสียงของคณะกรรมการเห็นว่า กกต. มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบได้ แต่ก็เห็นว่าให้มีการยกคำร้องที่ทางสมาพันธ์ประชาธิปไตยยื่นฟ้องร้องต่อ กกต. เนื่องจากเห็นว่าไม่มีการกระทำใดๆ ของ คมช. ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพรรคพลังประชาชน และไม่พบการขออนุมัติงบประมาณเพื่อทำการปฏิบัติตามเอกสาร
ทั้งนี้ กกต. จะไม่สอบสวนประเด็นเอกสารจิรง เอกสารปลอม อีกแล้ว และจะไม่ตรวจสอบว่ามีฝ่ายใดผิดหรือไม่ผิด ส่วนในเรื่องของการยกเลิกคำสั่งของ คมช. ไปยังหน่วยงานทหารใต้บังคับบัญชานั้น กกต. ได้ให้ตัวแทน คมช. ลงลายมือชื่อรับรองในบันทึกถ้อยคำที่ได้มาให้คำชี้แจงเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ที่ผ่านมา
เมื่อถามถึงการนำผลการสอบสวนของคณะกรรมการชุดที่มี นายสุพล ยุติธาดา เป็นประธาน มาประกอบการตัดสินใจหรือไม่น้น นายอภิชาต กล่าวว่ากรรมการชุดนายสุพล เป็นเพียงแต่ช่วยเข้าไปสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงให้ และมีการลงมติเสนอมายัง กกต. เท่านั้น
พร้อมทั้งยืนยันว่าไม่มีการกดดันจาก คมช. แต่อย่างใด
ขณะที่ทางด้าน คมช. ก็รีบออกมารับลูกยืนยันว่าไม่มีการแทรกแซงการทำงานของ กกต.
พล.อ.
ส่วนการฟ้องกลับน้นจะมีการหารือกับสมาชิก คมช.ว่าจะดำเนินการหรือไม่ อย่างไรโดยจะต้องหารือร่วมกับ พล.อ.
พร้อมทั้งยืนยันว่า จากนี้ไป คมช.จะวางบทบาทตามปกติต่อการเลือกตั้ง และจะไม่มีการใช้แนวทางอื่นอีก
ขณะที่ พล.อ.
ส่วนที่ คมช.ยังไม่ฟ้องร้องนาย
ขณะที่ทันทีที่ กกต. มีมติออกมาดังกล่าว ก็ได้เกิดเป็นประเด็นวพากษ์วิจารณ์ว่าเหมือนกับ กกต. ไม่ให้เกียรติและไม่ให้ความสำคัญกับมติของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนเลย ทั้งที่มีการดำเนนการเป็นขั้นเป็นตอนครบถ้วย และอาศัยหลักการทางกฎหมายอย่างชัดแจ้ง อีกท้งคณะกรรมการทั้งหมดยังล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสิ้น
ทั้งยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเสมือนเป็นการหลอกใช้คณะผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว เป็นการฟอกความผิดให้กับ คมช.
นายสุพล ยุติธาดา ประธานคณะกรรมการสอบสวนกรณีเอกสารลับ กล่าวในครั้งแรกที่ได้ทราบผลการพิจารณาของ กกต. เพียงสั้นๆ ว่า “ไม่อยากจะพูดเลย”
แต่ในโอกาสต่อมานายสุพล ก็ใมห้สัมภาษณ์อีกครั้ง โดยระบุว่า ไม่มีความเห็นใดๆ ต่อข้อสรุปของ กกต. เพราะกรรมการชุดตนนั้นเป็นเพียงคณะกรรมการที่แค่มาช่วยสอบสวนข้อเท็จจริงให้ โดย กกต. เป็นผู้แต่งตั้งขึ้นมา
หลังจากที่คณะกรรมการสอบสวนได้เสนอรายงานสรุปมติเรื่องเอกสารลับยื่นต่อ กกต. แล้ว ถือว่าหมดหน้าที่ และเมื่อเสนอไปแล้ว กกต. ไม่เห็นว่าเป็นไปตามที่เสนอก็ไม่ว่าอะไร พร้อมทั้งยืนยันว่าไม่น้อยใจที่ กกต. เห็นว่าคณะกรรมการชุดตนไม่มีหน้าที่มาช่วยตัดสิน เพียงมาช่วยทำงานเฉยๆ
ด้านนายกำชัย จงจักรพันธ์ หนึ่งในกรรมการชุดสอบสวนเอกสารลับ กล่าวว่ายังไม่ทราบถ้อยคำวินิจฉัยของ กกต. เป็นลายลักษณ์อักษร เพียงแต่ทราบข่าวจากสื่อมวลชน จึงไม่อาจจะให้ความเห็นใดๆ ในเรื่องนี้ได้ แต่ก็ยังเชื่อว่า กกต. ใช้ดุลยพินิจที่เหมาะสมแล้ว ต้องเคารพคำตัดสินของ กกต. ไม่ว่าทาง กกต. จะใช้เหตุผลใดมาประกอบอ้างให้มีการยกคำร้องกรณีนี้ก็ตาม
ขณะที่ทางด้านพรรคพลังประชาชนที่เนื้อหาในเอกสารลับมีการพาดพิงถึง และยังถูก คมช. จ้องจะเล่นงานกล่าวหาปลอมแปลงเอกสาร ต่างก็ออกมาให้ความเห็นถึงประเด็นดังกล่าว ภายหลัง กกต. มีมติยกคำร้อง ที่มีผู้ร้องเรียน คมช. ดังกล่าว
นาย
ด้านนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่า ลำพังเพียงเอกสารลับที่มีการส่งไปตามหน่วยงานราชการต่างๆ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า อาจจะมีการวางตัวไม่เป็นกลางของข้าราการ และเป็นคำสั่งที่ก่อให้เกิดการปฎิบัติ อย่างนี้ก็ถือว่ามีการสั่งการแล้ว ซึ่งการสั่งการเช่นนี้ก็ยังมีอยู่จนปัจจุบัน โดยไม่มีหลักฐานใดๆ ที่แสดงว่ามีการออกหนังสือยกเลิกเอกสารเดิม ดังนั้นกกต.มั่นใจได้อย่างไรว่า การกระทำเหล่านี้ไม่เข้าข่ายความผิด
ทั้งนี้หาก กกต.มีหลักฐานที่เป็นเอกสารว่ามีการยกเลิกคำสั่งในเอกสารลับจริง ก็ควรที่จะเปิดเผยให้สาธารณะชนได้รับรู้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดความคลางแคลงใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกกต.อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หวังว่ากกต.ซึ่งเป็นผู้กุมบังเหียนการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์จะได้ทำหน้าที่ให้สมกับที่ประชาชนไว้วางใจ และประชาคมโลกเฝ้ามอง
นาย
ที่อ้างว่าได้มีการระงับการกระทำดังกล่าวไปแล้วนั้น เรามีข้อสังเกตว่าแผนปฏิบัติการในเอกสารลับเริ่มตั้งแต่ 14 กันยายน ก่อนมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งในวันที่ 25 ตุลาคม จึงสงสัยว่า ระหว่างนี้มีการกระทำแล้วหรือยัง กกต.พิสูจน์ได้อย่างไร บางคำสั่งไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณ คำสั่งระงับอย่างเป็นทางการก็ยังไม่เห็น สิ่งที่ กกต.ชี้ขาดไปน่าจะวิจารณ์ได้ว่าบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่
ด้าน พ.ต.ท.
ส่วนนายแพทย์เหวง โตจิราการ กรรมการสมาพันธ์ประชาธิปไตย ในฐานะผู้ร้องเรียนเรื่องดังกล่าวต่อ กกต. กล่าวว่า อย่างไรก็ตามก็เคารพในมติของ กกต. แต่หากมองในฐานะประชาชนทั่วไปและในฐานะคนไทยคนหนึ่งว่าเพียงแค่มีเอกสารแสดงเจตนาก็น่าจะมีความชัดเจนแล้ว รวมทั้งการอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 309 ที่เป็นการยกเว้นการเอาผิด ก็หมายถึงว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งการกระทำดังกล่าวก็ไม่น่าจะถูกต้องและน่าจะมีความผิด
ทางด้านนายจรัญ ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก เพราะเมื่อ กกต.รับเรื่องร้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเอกสารลับฉบับดังกล่าวแล้ว แสดงว่าคำร้องนั้นมันมีมูลแล้ว แล้วจะมายกคำร้องง่ายๆได้อย่างไร
การที่ กกต. สั่งยกคำร้องเช่นนี้ ย่อมเกิดผลลัพท์ที่ดีกับคมช. โดยทางคมช. จะไม่ต้องรับผิด หรือรับโทษอะไรเลย เมื่อถามว่า กกต. มีเจตนาช่วย คมช. หรือไม่นั้น คงต้องพิจารณาที่เจตนาให้ละเอียดอีกทีหนึ่ง และตนเองจะจับตาเรื่องนี้ต่อไป
อนึ่ง มีการตั้งข้อสังเกตด้วยว่าเมื่อมีการนำเรื่องเอกสารลับเข้าสู่กระบวนการพิจารณาไปแล้ว จึงพ้นจากขั้นตอนการยกคำร้อง ขั้นตอนจะต้องเป็นการชี้ว่ามีความผิดอย่างไร หรือไม่เท่านั้น
ทั้งยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยว่าการพิจารณาของ กกต.ชุดใหญ่ ที่ไม่ได้อาศัยข้อมูลของกรรมการสืบสวนสอบสวน ใช้หลักฐานหรือข้อมูลในการพิจารณาน้อยมาก และตัดสินจากคำบอกเล่าและคำยืนยันเพียงวาจาของ คมช. เท่านั้น ไม่มีการตรวจสอบเรื่องที่น่าสงสัยอีกหลายประเด็น อย่างเช่น โครงการประชาธิปไตยสีขาว ของ คมช. ที่มีสาระสำคัญสอดคล้องกับเนื้อหาในเอกสารลับ ก็ไม่มีการนำมาพิจารณา
(ประชาทรรศน์รายสัปดาห์)