WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 13, 2007

'ไฮ-ทักษิณ' ร้อนฉ่า(อีก)แล้วกม.ใหม่บล็อกเว็บไซต์ไม่ง่าย



และแล้วเว็บไซต์ "ไฮ-ทักษิณ ดอตเน็ต" ก็สร้างกระแสฮือฮาให้การเมืองไทย และแวดวงไอซีทีอีกครั้ง หลังเผยแพร่คลิปวิดีโอที่เต็มไปด้วยอักษรย่อ เอ่ยถึงแกนนำพรรคการเมืองที่ลงสนามเลือกตั้งในครั้งนี้ ร้อนถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องส่งหนังสือด่วนถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบ
"ธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ" ผู้ตรวจราชการและโฆษกกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่า ก่อนที่ กกต.จะทำหนังสือขอความร่วมมือมา กระทรวงไอซีทีมีการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว ผ่านการทำงานของศูนย์เฝ้าระวังและตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร โดยยึดกรอบอำนาจของกระทรวงที่มีหน้าที่กำกับดูแลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และเมื่อ กกต.ขอความร่วมมือมาก็พร้อมให้ความร่วมมือแต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบอำนาจของกระทรวง ไอซีทีและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ทั้งนี้ กกต.ขอให้ไอซีทีตรวจสอบและส่งข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกพรรคการเมือง พรรคการเมือง หรือได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมือง ที่มีการเสนอข้อความจูงใจด้วยการใส่ร้าย ที่หมิ่นเหม่หรือฝ่าฝืนมาตรา 53 (5) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 เพื่อให้ กกต.ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
กรณีเว็บไซต์ไฮ-ทักษิณดอตเน็ต ไอซีทีก็เฝ้าระวังอยู่ ทางฝ่ายกฎหมายกำลังพิจารณาว่าเข้ามาตรา 14 (1) และ 14 (2) พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่ห้ามเผยแพร่ข้อความเท็จทำให้ผู้อื่นเสียหายหรือไม่
แต่ถ้าเป็นการหมิ่นประมาทอย่างเดียวจะถือเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เสียหายที่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดำเนินการหรือถ้าพิสูจน์ได้ว่าเว็บไซต์ดังกล่าวทำขึ้นโดยพรรคการเมืองหรือได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองให้มีการใส่ร้ายกันก็จะผิดกฎหมายเลือกตั้งที่ กกต.มีอำนาจกำกับดูแล หากเจ้าหน้าที่ตำรวจพิสูจน์และแจ้งให้ไอซีทีทราบเป็นทางการ กระทรวงไอซีทีก็จะยื่นเรื่องไปยังศาลเพื่อขอให้ปิดกั้นเว็บไซต์ดังกล่าว
"การปิดกั้นเว็บไซต์ในขณะนี้ไม่สามารถทำได้ตามอำเภอใจแล้ว ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงหรือผิดต่อศีลธรรมอันดีเท่านั้น ที่สำคัญต้องขออำนาจศาลตามที่ พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กำหนดไว้"
แหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีทีเปิดเผยด้วยว่า ขณะนี้กระทรวงไอซีทีตรวจสอบเว็บไซต์ของ ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองทุกเว็บ พบว่ามีการโพสต์ข้อความโจมตีกันตามประสานักการเมือง แต่ไม่ได้หนักหนาร้ายแรงอะไร และยังไม่มีเว็บใดเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือตามกฎหมายเลือกตั้ง กรณีเว็บไฮ-ทักษิณเอง กระทรวงไอซีทีคอยตรวจสอบตลอด แต่สิ่งที่เผยแพร่ ณ ตอนนี้ ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการใดๆ ได้
"ถือเป็นหน้าที่ของผู้เสียหายที่ต้องดำเนินการ ยิ่งข้อมูลที่เผยแพร่ส่วนใหญ่ใช้อักษรย่อด้วยแล้ว การจะเอาผิดฐานหมิ่นประมาทก็ทำได้ยาก และถ้าต้องการเอาผิดตามกฎหมายเลือกตั้งก็เป็นหน้าที่ของ กกต.ที่ต้องพิสูจน์ตัวตน และที่มาของแหล่งเงินสนับสนุนอีกด้วย
เพราะเว็บดังกล่าวจดทะเบียนในนามบริษัท กระทรวงไอซีทีเองไม่มีอำนาจดำเนินการแต่อย่างใด"
หน้า 38--จบ--

--ประชาชาติธุรกิจฉบับวันที่ 13 - 16 ธ.ค. 2550--