WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, December 11, 2007

ฟันธงเศรษฐกิจไทยกู่ไม่กลับ



มูลนิธิไทยพึ่งไทยได้จัดสัมมนาเรื่อง 'ไทยพึ่งไทย ทางรอดเศรษฐกิจ' โดยมีนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีต รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษว่าขณะนี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง โดยเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มถดถอยลงเรื่อยๆ มีผลจากแรงกดดันจากปัจจัยทั้งในและนอกประเทศ

โดยปัจจัยนอกประเทศคือราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในระยะสั้นจะได้เห็นราคาน้ำมันดิบแตะ 100 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลแน่ หลังจากนั้นจะแกว่งตัวในระดับ 90-100 เหรียญต่อไปอีก 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศผู้นำเข้าน้ำมันเช่นไทย ทำให้ มีต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง และทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว แต่หากรัฐบาลไปตรึงราคาน้ำมันก็จะมีปัญหาต่อเสถียรภาพการเงินและการคลังของประเทศ ดังนั้น อนาคตจะได้เห็นการปิดตัวของโรงงานปูนซีเมนต์



นอกจากนี้ ยังคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดรองรับสินค้าส่งออกสำคัญของไทยจะชะลอตัวและการที่สหรัฐฯพยายามกดค่าเงินเหรียญสหรัฐฯให้อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น ซึ่งความผันผวนนี้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อเศรษฐกิจโลกมากมายรวมทั้งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย



ส่วนปัจจัยในประเทศนั้นเศรษฐกิจไทยเริ่มชะลอตัวมาตั้งแต่ปี 48 ตั้งแต่เริ่มมีความไม่แน่นอนทางการเมืองทำให้การลงทุนทั้งของภาครัฐและเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศชะงักงันทั้งหมด ส่วนการลงทุนภาครัฐที่ไม่เกิดเพราะรัฐบาลไม่ตัดสินใจและยังเกิดจากปัญหาด้านการหาเงินกู้ลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เพราะ ระบบการปกครองของประเทศไม่เป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก ซึ่งตนไม่เชื่อว่าหลังการเลือกตั้งจะสามารถเรียกความมั่นใจของนักลงทุนคืนมาได้



และสุดท้ายคือปัญหาความไม่มั่นใจในระบบการปกครอง ซึ่งการเลือกตั้งจะทำให้เกิดรัฐบาลผสม ไม่มีความเข้มแข็งและเป็นระบบที่สร้างความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ทำให้ นโยบายเศรษฐกิจมีความเปลี่ยนแปลง ขณะที่ระบบข้าราชการก็จะไม่ทำงานรองรับนโยบายได้ เพราะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในหลายกระทรวงถูกสอบสวนจำนวนมาก เฉพาะกระทรวงการคลังโดนไป 43 คน กระทรวงเกษตรฯโดนไปเกือบครึ่ง แม้รัฐบาลใหม่จะใส่เกียร์ 5 รถก็ไม่วิ่งเพราะข้าราชการใส่เกียร์ว่างหมด



'สิ่งที่น่าห่วงคือการยอมรับของนานาประเทศต่อผลการเลือกตั้ง ปัญหาการยอมรับรัฐบาลหลังการเลือกตั้งก็ถือเป็นปัญหาเหมือนที่เกิดขึ้นขณะนี้ที่นานาประเทศไม่ยอมรับรัฐบาลปัจจุบัน รวมทั้งไม่แน่ใจว่าหลังการเลือกตั้งแล้วระบบต่างๆจะกลับสู่ภาวะปกติ ทั้งระบบการใช้กฎหมาย ระบบยุติธรรม ระบบการกล่าวหารวมถึงทหารจะกลับเข้าสู่กรมกองอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่ ซึ่งหากไม่เป็นเช่นนั้น สิ่งเหล่านี้จะซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบางและมีแนวโน้มชะงักงัน ทั้งปัญหาเงินเฟ้อและการปลดคนงาน ซึ่งตนยังเชื่อว่า สิ่งที่วิตกกังวลอยู่นี้จะยังอยู่กับเราไปอีก 4-5 ปีเป็นอย่างน้อย'



นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬา-ลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตช้า ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ดังนั้น การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคงดำเนินนโยบายการเงินด้วยการใช้ 'อินเฟร์ชั่นทาร์เก็ต' จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้นส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น การใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ประชาชนมีภาระสูงขึ้น และทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น ในภาวะแบบนี้ ธปท. ควรเปลี่ยนมาใช้จีดีพีทาร์เก็ตแทนจึงจะเหมาะสมที่สุด



นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลยังต้องทำต่อไปโดยในระยะเวลา 4-5 ปีข้างหน้า รัฐบาลยังมีเงินอัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 500,000 ล้านบาทโดยเงินดังกล่าวมาจากการจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้นปีละ 7-8% 'เงินที่อัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นำเงินไปลงทุนในเรื่องของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ระบบขนส่งมวลชน การสื่อสารโทรคมนาคม และการชลประทาน เป็นต้น'.


จาก http://www.hi-thaksin.org/home.php