ในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรับประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 13-14 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์การค้านิทรรศการนานาชาติ กรุงเทพฯ (ไบเทค บางนา) ภายใต้หัวข้อ “เมืองไทยในระยะเปลี่ยนแปลง” ได้มีการนำเสนอรายงานการวิจัยในหัวข้อต่างๆที่น่าสนใจ โดยการประชุมย่อยที่ว่าด้วยเรื่องราวของการรัฐประหหารและบทบาทของทหารกับการเมือง มีผลงานชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ทหารกับการเมืองไทย : วังวนแห่งรัฐประหาร ที่นำเสนอโดย พล.อ.ดร. การก่อรัฐประหารโดยกองทัพมักจะถูกมองว่า เป็นการถอยหลังเข้าคลอง คือ การยึดอำนาจจากรัฐบาลที่บริหารประเทศด้วยความชอบธรรมแล้ว คณะทหารเข้ายึดอำนาจและทำหน้าที่ปกครองแทนหรือ แต่งตั้งรัญบาลขึ้นบริหารประเทศเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ทหารมักอ้างว่า การเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองเป็นเพราะต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองของสังคมนั้นให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น คือ เมื่อสังคมเกิดปัญหาความสับสนวุ่นวายมากจนถูกยกขึ้นเป็นประเด็นทางการเมืองจนเกิดช่องวางทางการเมืองขึ้นโดยไม่มีสถาบันอื่นใดจะแก้ไขได้ จึงเปิดโอกาสให้ทหารเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองด้วยการทำรัฐประหารและยึดอำนาจ แต่การกระทำเช่นนั้น หมายความว่า เมื่อใดที่ทหารได้เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองเมื่อนั้นการเมืองได้ก้าวเข้าไปสู่กองทัพด้วยเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นกับการเมืองของหลายประเทศ โดยเฉพาะกับการเมืองของไทย ที่วงเวียนอยู่ในวงจรอุบาทว์ (The Vicious Circle of Thai Politices) คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองและมีความขัดแย้งกัน เกิดปัญหาความไม่ลงรอยระหว่างพรรคการเมืองหรือ กับรัฐบาลนำไปสู่การชุมนุมเดินขบวนต่อต้านเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจนขยายตัวออกไป หรือกับรัฐบาลนำไปสู่การชุมชุมเดินขบวนต่อต้านเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจนขยายตัวออกไป เป็นวิกฤตการณ์ทางการเมือง ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจ และสังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศที่รุมเร้ารัฐบาลจนเกิดความง่อนแง่น ขาดเสถียรภาพ ยิ่งพรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาล มีหลายพรรคเกิดความขัดแย้งกันมากขึ้น และท้ายสุดจะมีการเรียกร้อง ให้ทหารเป็นอัศวินม้าขาว เข้ามาแก้ปัญหาให้ และทำให้ทหารต้องเข้ามาแทรกแซงการเมืองจนกลายเป็นวงจรอุบาทว์ หรือวัฏจักรแห่งความชั่วร้าย ปัจจัยที่ทำให้กองทัพเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง คือปัจจัยภายในประเทศ (สถาบัน/กองทัพ และเงื่อนไขในการทำรัฐประหาร) และปัจจัยภายนอกประเทศ (อิทธิพล/ภัยคุกคามจากภายนอก/ประเทสอาณานิคมเดิม) การทำรัฐประหารของไทยที่ผ่านมาไม่ได้หมายความว่ารัฐประหารจะทำสำเร็จได้ทุกครั้ง ในจำนวนรัฐประหารได้ทั้งหมด 24 ครั้ง (รวมทั้งครั้งล่าสุด 19 กันยายน 2549) พบว่าผู้ก่อการรัฐประหาร ประสบผลสำเร็จเพียง 13 ครั้ง และล้มเหลวถึง 11 ครั้ง คิดเป็นอัตราส่วนความสำเร็จความล้มเหลว เท่ากับ 13 ต่อ 11 ครั้ง หรือ คิดเป็นร้อยละ 54.17 ต่อ 45.83 เท่ากับว่าอัตราความเสียงในการทำรัฐประหารที่จะทำสำเร็จหรือล้มเหลวนั้นค่อนข้างสูง นอกจากนั้นการปฏิวัติและรัฐประหารที่ผ่านมาทั้ง 24 ครั้งในรอบ 75 ปี นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 เป็นต้นมา จากสถิติที่ออกมาพบว่า จะมีการทำรับประหารหนึ่งครั้งต่อทุกๆ 3 ปี 1 เดือนกับอีก 4 วันเศษ หรือกล่าวสั้นๆว่า ในการพัฒนาทางการเมืองของไทยทุกๆ 3 ปี 1 เดือน จะมีการทำรัฐประหารเกิดขึ้น ไม่ว่ารัฐประหารครั้งนั้นจะสำเร็จหรือล้มเหลว ในอดีตที่ผ่านมาทหารไทยมักเข้าแทรกแซงทางการเมืองในลักษณะที่เรียกว่า เล่นการเมืองแบบที่ต้องการอยู่เหนือการเมือง (Politics of wanting to be above politics) คือ ทหารจะเข้าแทรกแซงทางการเมืองโดยเป็นผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นโดยการใช้อิทธิพลอยู่เบื้องหลังนักการเมืองหรือฝ่ายพลเรือน เนื่องจากทหารมักไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน ส่วนใหญ่ของกรเข้าแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทยจึงมักเข้ามาในรูปแบบของการได้รับการแต่งตั้ง จากรัฐบาลพลเรือนให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการบริหารประเทศ บทความนี้ต้องการที่จะเสนอมาตรการหรือวิธีการที่จะให้ทหารถอนตัวออกจากการแทรกแซงทางการเมืองและกลับเข้ากรมกองตามเดิม คือทำให้ทหารมีความเป็นทหารอาชีพมากขึ้น(Professionalism) และการยอมรับในความเป็นผู้นำของฝ่ายพลเรือน (Civilian Supremacy) สำหรับมาตรการให้ทหารถอนตัวออกจากการเมือง ตามแนวทางดังนี้ 1. การลดจำนวนกำลังพลของทหาร (Demobilization) ลงให้เหลือเพียงเท่าที่จำเป็นโดยการกำหนดหรือวางแผนโครงสร้างการจัดการทางทหารเสียใหม่ หมายถึง การทำให้หน่วยทหารมีขนาดเล็กลงและกำลังพลน้อยลง แต่มีประสิทธิภาพ(จิ๋วแต่แจ๋ว) 2. การสร้างทหารให้มีความเป็นทหารอาชีพ (Professionalism) และเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางทหารอย่างแท้จริง (Military Expert) ด้วยการให้การศึกษาทางวิชาการด้านการทหารมากขึ้น มีทุนด้านการศึกษาการทหารทั้งในและนอกประเทศ ฝึกรบร่วมกับประเทศพันธมิตร ส่งทหารให้ร่วมรบกับองค์การสหประชาชาติ เพิ่มขีดความสามารถของอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ทันสมัย การให้งบประมาณหรือจัดสรรเงินเดือนที่เพียงพอให้แก่ทหารในการยังชีพ และดำรงความมีเกียรติและสัชชศักดิ์ศรีของทหาร 3. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นสิ่งที่ทหารต้องคิดและพิจารณาให้ดีก่อนทำการรัฐประหาร เพราะกองทัพไม่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจดีเท่ากับพลเรือน และประสบการณ์ในการบริหารประเทศด้อยกว่า ถ้าทหารทำรัฐประหารย่อมสงผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ตกต่ำลง และการถูกคัดค้านจากโลกภายนอก รวมถึงต้องศึกษาพิจารณาถึงผลจากการลงโทษ (Sanction) ของประเทศที่ต่อต้านการทำรับประการอีกด้วย ดังนั้น ทางที่ดีคืออย่าทำรัฐประหารถ้าเห็นว่ายังไม่ถึงทางตันจริงๆ 4. การยอมรับในลัทธิความเป็นผู้นำหรือความเหนือกว่าของผู้บริหารฝ่ายพลเรือน(Civilian Supremacy Doctrine) หลักการที่สำคัญคือ พลเรือนเป้ฯผู้กำหนดภาระกิจหน้าที่ของตนจากพลเรือนด้วย หมายถึง ทหารจะยอมรับในความเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา(Subordinate) หรือการยอมรับสิ่งที่เป็นรองจากผู้นำฝ่ายพลเรือน แต่จากความไร้ประสิทธิภาพของสถาบันทางการเมืองโดยตรงหรือโดยใช้อิทธิพลเข้าแทรกแซง หลักการของการยอมรับในความเหนือกว่าของผู้บริหารฝ่ายพลเรือน จึงใช้ได้ผลฝนโลกตะวันตกมากกว่า แต่การเสนอแนวคิดนี้ขึ้น เพื่อให้ทหารในประเทศกำลังพัฒนาตระหนักและยอมรับในความเหนือกว่าของพลเรือน ด้วยการเน้นย้ำในหน้าที่หลักของทหาร คือความป้องกันและรักษาความมั่นคงภายในประเทศ ด้วยเหตุนี้ถ้าจะให้ด้วยหลักการความเหนือกว่าของพลเรือนที่มีต่อทหารเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และเป็นไปตามทฤษฎีของความสัมพันธ์ระหว่างทหารและพลเรือน จึงเป็นความจำเป็นที่ทั้งสองฝ่ายคือทหารและพลเรือน ยอมรับในหลักการทฤษฎีนี้ร่วมกัน ถ้าเกิดความขัดแย้งกัน หมายถึงทหารไม่ยอมรับในความเหนือกว่า ของพลเรือนทฤษฎีนี้ก็ใช้ไม่ได้ และอาจทำให้ทหารก่อรัฐประหารขึ้นอีก รัฐประหารเป็นมากกว่าการเข้ายึดอำนาจจากรัฐมาเป็นของทหาร หมายถึง รัฐประหารหยั่งรากลึกลงไปในสังคม ที่ประกอบด้วยชีวิตทางการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งยากที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง รัฐประหารถือเป็นทางออกทางการเมือง ถ้าการเมืองถึงทางตันไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ จะมีการเรียกร้องให้ทหารทำรับประหาร วงจรอุบาทว์ทางการเมืองที่มีรัฐประหารเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญจึงยากที่จะหลุดพ้นไปจากการเมืองไทย ดังนั้น รับประหารเกิดขึ้นได้เสมอ เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ผลสรุปของบทความนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า ในอนาคตถ้าประเทศไทย ประสบปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่แตกแยกและสับสนวุ่นวาย โอกาสที่เกิดรัฐประหารครั้งต่อไปย่อมมีความเป็นไปได้ สูงและอาจไม่ทิ้งช่วงระยะเวลานานเกินไป เพราะผู้ทำรัฐประหารครั้งต่อไป จะพิจารณาศึกษาจากตัวอย่างการทำรับประหารที่เกิดขึ้นเมื่อ 19 กันยายน 2549 ซึ่งได้รับการต้อนรับจากประชาชน เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการทำรัฐประหารครั้งใหม่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ไกลเกินความจริง และนั้นหมายความว่า วงจรอุบาทว์ หรือวัฏจักรแห่งความชั่วร้ายทางการเมืองมีโอกาสที่จะอยู่คู่กับสังคมไทยเสมอ
ประเทศที่มีการพัฒนาการทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมน้อย โอกาสที่จะถูกแทรกแซงทางการเมืองด้วยการทำรัฐประหารโดยกองทัพย่อมเป็นไปได้สูง การที่สังคมมีความแตกแยก และคนในสังคมขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้นทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเด็นหลักคือ การฉ้อราษฎร์บังหลวงล้วรเป็นเหตุให้ทหารนำมาใช้เป็นสาเหตุในการยึดอำนาจด้วยการทำรัฐประหาร และทำหน้าที่เป็นนักการเมืองชั่วคราว (Interim politicians)
บทบาททางการเมืองของทหารหลังจากการทำรัฐประหารแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ 1)การเข้าครอบครองทางการเมือง ของคณะทหารโดยตรง (Military Domination) ด้วยการทำหน้าที่เป็นผู้ปกครอง (Ruler) หรือเข้าบริหารประเทศเสียเอง และ 2) การมีอิทธิพลในทางการเมืองของผู้นำกองทัพ (Military Influence) หลังจากทำรัฐประหารสำเร็จ ทหารได้แต่งตั้งคณะบุคคลขึ้นมาทำหน้าที่ปกครองหรือบริหารราชการโดยมีคณะทหารเป็นผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง