WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 31, 2008

‘ผู้พันปุ่น’ยำใหญ่‘กริพเพน’โคตรแพง

* จี้ทัพอากาศแจงเหตุราคาสูง 2 เท่าตัว
“ศิธา ทิวารี” ออกโรงยำกองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบินรบ “กริพเพน” แพงผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการจัดซื้อของประเทศอื่นแล้วแพงจนน่าตกใจ มีราคาสูงกว่าถึง 2 เท่าตัว ส่วนตัวเครื่องบินดีจริง แต่ราคาสูงกว่า เอฟ-16 ที่กองทัพอากาศคุ้นเคยถึง 4 เท่า แถมยังมีเงื่อนงำการจ่ายเงินค่ามัดจำที่โยกมาจากงบประมาณบำรุงกองทัพสูงจนผิดปกติ ระบุบรรดาผู้เกี่ยวข้องจะต้องออกมาชี้แจงให้ประชาชนหายสงสัย ขณะที่ “ชูศักดิ์ ศิรินิล” ชี้ชัดการสั่งซื้อฝูงบินรบ ส่อผิด ม.190 เพราะผลกระทบผูกพันทางเศรษฐกิจ

จากประเด็นข้อกังขาในการจัดซื้อเครื่องบินรบ “กริพเพน” ของกองทัพอากาศในยุค พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข เป็น ผบ.ทอ. และรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ด้วยมูลค่า 19,000 ล้านบาท ในลักษณะงบประมาณผูกพัน 5 ปี ที่มีการอนุมัติอย่างรวดเร็วในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และมีการตั้งข้อสงสัยทั้งเรื่องของการจัดซื้อที่อ้างว่าเป็นแบบ G To G รวมไปถึงเรื่องของราคา ระยะเวลาเตรียมการ การโยกงบประมาณ ตลอดจนข้อสงสัยที่ส่อว่าอาจจะมีผู้ได้รับผลประโยชน์หลายพันล้านบาทตามที่ “นสพ.ประชาทรรศน์” นำเสนอไปแล้วนั้น

พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ออกให้สัมภาษณ์ตอบโต้กรณีดังกล่าวว่า กองทัพอากาศไม่มีอำนาจที่จะส่งเรื่องเข้าสภาเพราะเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภา ดังนั้นภาระดังกล่าวเป็นหน้าที่ของ ครม. หากเรื่องนี้ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้อง ก็ยังมีเรื่องการจัดซื้อทำสัญญาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลอีกจำนวนมากมาย

ขณะที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการจัดซื้อครั้งนี้อาจเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา190 วรรคสอง ว่า เรื่องนี้ต้องดูว่าเป็น เรื่องสนธิสัญญาหรือไม่ หากเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศเหมือนกับกรณีที่นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ถูกศาลวินิจฉัยเรื่องการเซ็นลงนามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ก็เข้าข่ายสนธิสัญญา

อย่างไรก็ตาม ตนมองว่ากรณีกองทัพอากาศสั่งซื้อเครื่องบินกริพเพน เข้าข่ายวรรคสองของมาตรา 190 เต็มประตูอยู่แล้ว เพราะมีผลกระทบผูกพันทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ซึ่ง เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัย คงจะตอบแทนศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้

ทางด้าน น.ต.ศิธา ทิวารี อดีตโฆษกพรรคไทยรักไทย กล่าวว่าเรื่องการจัดซื้อเครื่องบินรบกริพเพนต้องแบ่งการพิจารณาเป็น 2 ประเด็น ประการแรกคือเรื่องของสมรรถนะ และประการที่สองความคุ้มค่าของจำนวนเงินที่จัดซื้อไป ซึ่งถ้ามองในส่วนของกองทัพถือว่าเครื่องบินขับไล่ชนิดนี้สมรรถนะดีกว่าเครื่องบินขับไล่เอฟ 16 และกองทัพกำลังมีความต้องการทดแทน

แต่หากมองดูงบประมาณที่จะต้องเสียไปในการจัดซื้อครั้งนี้ ราคาสำหรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ถือว่าสูงมาก ที่สำคัญเท่าที่เห็นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ราคาซื้อเครื่องบินรุ่นนี้แค่กว่า 40 ดอลลาร์สหรัฐ แต่กองทัพของไทยกลับซื้อถึงลำละกว่า 90 ดอลลาร์สหรัฐ จะเห็นว่าแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งส่วนตัวก็ไม่สามารถให้คำตอบตรงนี้ได้

“เราพิจารณาจากกองทัพ เราก็อยากได้ แต่การที่จะเอาเงินภาษีของประชาชนมาใช้ในส่วนนี้มากขนาดนี้ มันเหมาะสมหรือเปล่า ต้องให้กองทัพเป็นคนตอบ โดยส่วนตัวที่เป็นนักบินถ้าถามว่าอยากได้หรือไม่ก็อยากได้ แต่เราสั่งซื้อในรัฐบาลเผด็จการ เราจึงไม่สามารถตรวจสอบงบประมาณตรงจุดนี้ได้”

น.ต.ศิธา กล่าวต่อไปว่า นักบินในกองทัพอากาศไม่มีใครต้องการพูดถึงกรณีงบประมาณที่สูงเกินไปในการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่กริพเพน เพราะกลัวว่าจะไม่ได้เครื่องบิน ซึ่งในฐานะนักบินแล้ว ใครๆ ก็ต้องการเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ มาไว้ในกองทัพ เพื่อแสดงศักยภาพของกองทัพ แต่นักบินทุกคนในกองทัพอากาศต่างก็ทราบว่าราคาเครื่องบินแพงกว่าปกติ

“เมื่อเทียบกับราคาเครื่องบินขับไล่เอฟ 16 แล้วถือว่าราคาเครื่องบินกริพเพนสูงกว่า 4 เท่า แต่เมื่อมองที่สมรรถนะ ถือว่าดีกว่า ส่วนค่าบำรุงนั้นไม่ได้ต่างกันมากนัก แต่เงินที่กองทัพนำไปจ่ายรอบแรกเพื่อเป็นค่ามัดจำนั้นสูงผิดปกติ จึงเห็นสมควรว่ากองทัพจะต้องมีการพิจารณาในส่วนนี้”

อย่างไรก็ตาม ในข่าวที่มีการพูดถึงของสมนาคุณเป็นเครื่องบินลำเลียงนั้น น.ต.ศิธา ปฏิเสธว่าไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่เท่าที่ทราบคือมีเครื่องแอร์บอนด์เออร์ลี่อายที่ติดมากับเครื่อง ถ้ารวมงบที่ต้องใช้ไปทั้งหมดในการจัดซื้อเครื่องบินและของสมนาคุณแล้ว ยังถือว่าราคาพอเข้าใจได้ แต่ถ้ามาแจ้งว่างบทั้งหมดเฉพาะค่าเครื่องบินนั้น ถือว่าสูงมากเกินไป ไม่มีทางเป็นไปได้

“เรื่องความจำเป็นไม่ติดใจ แต่กองทัพจะต้องตรวจสอบราคาเปรียบเทียบจากประเทศอื่นว่า ราคานั้นๆ ตรงกับของเราหรือเปล่า อีกทั้งของเราอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของรัฐบาลด้วย ต้องการให้กองทัพอากาศออกมาคลี่คลายความสงสัยต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อความสง่างามของกองทัพเอง” น.ต.ศิธา กล่าว

จากข้อมูลในวิกิพีเดีย ระบุว่า ราคาขายต่อลำ ในปี 2541 อยู่ที่ 25 ล้านดอลลาร์ และในปี 2549 ราคา 45-50 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหากเป็นไปตามนั้นมูลค่าของเครื่องบินดังกล่าวที่ทางการไทยจัดซื้อรวม 12 ลำ จะเท่ากับเพียง 600 ล้านดอลลาร์หรือราว 20,400 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 34 บาทต่อดอลลาร์) ขณะที่กองทัพอากาศของไทยระบุซื้อเครื่องบินดังกล่าวจากสวีเดนถึง 34, 500 ล้านบาท