WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 2, 2008

นิติศาสตร์ต้องเป็นธรรม(จบ)

คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

ความจริง การแสวงหาความยุติธรรมที่อยู่เหนือถ้อยคำตามตัวอักษรของตัวบทกฎหมาย น่าจะเป็น “หลักมโนธรรม”

“มโนธรรม” ในที่นี้มิใช่หมายถึง “อำเภอใจ” แต่เป็น “มโน” หรือ “จิตใจ” ที่เที่ยงธรรม อยู่เหนือ “อคติ” ทั้งหลายทั้งปวง และประกอบด้วยเหตุผล และศีลธรรมจรรยา หรือเป็นความรู้สึกที่ตระหนักได้ถึงความเป็นธรรมที่พึงเป็น หรือเป็นสามัญสำนึกของมนุษย์ในการรับรู้ได้ถึง “ความยุติธรรม”

ในการพิจารณาคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกกล่าวหากรณีซุกหุ้นเมื่อหลายปีก่อนนั้น มีนักกฎหมายหลายคนพยายามชักจูงว่า คดีนี้ต้องใช้หลักการพิจารณาอย่างเคร่งครัดตามตัวอักษรเท่านั้น ซึ่งเป็นความเห็นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ มีความผิด การพูดดังกล่าวนั้นจึงเป็นการอ้างอย่างสับสนว่า การพิจารณาอย่างเคร่งครัดตามตัวอักษรเช่นนั้น คือ “หลักนิติธรรม”

ดังนั้น การใช้กฎหมายโดยตีความกฎหมายอย่างเคร่งครัดตามตัวอักษร ถือเอาแต่ความหมายตามตัวหนังสือซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรของตัวบทกฎหมายเป็นหลักพิจารณาเท่านั้น โดยมิได้คำนึงถึง “เจตนารมณ์” หรือความยุติธรรมอย่างอื่น นอกเหนือไปจาก “ความยุติธรรมตามตัวบทกฎหมาย” จึงขัดกับ “หลักนิติธรรม” ในความหมายที่แท้จริง

กฎหมายนั้นมิใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตกลงมาจากสวรรค์ที่ไหน แต่ “กฎหมาย” เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น นอกจากจะเป็นกฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้แก้ปัญหาให้กับสังคมมนุษย์แล้ว กฎหมายยังเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งในการใช้เพื่อประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรม เพื่ออำนวยความยุติธรรม และอำนวย “ความผาสุก” ให้กับผู้คนในสังคมอีกด้วย

5.คดีตัวอย่างที่เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในปัญหาคุณธรรมและยุติธรรม
5.1 คดียุบพรรคการเมือง : พรรคไทยรักไทย คำถามว่า ทำไมจึงยุบพรรคเดียว อีกพรรคไม่ยุบ เหตุผลที่ใช้เขียนในคำพิพากษามีลักษณะใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย ประจานพรรคที่ถูกยุบอย่างไรหรือไม่ เหล่านี้เป็นข้อสงสัยที่คนที่มีความรู้มักตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็นว่า คำวินิจฉัยชี้ขาดของตุลาการรัฐธรรมนูญอาจจะไม่อาจใช้เป็นบรรทัดฐานในทางกฎหมายมหาชนได้ ปัญหาการออกกฎหมายย้อนหลังให้เป็นผลร้าย ซึ่งตุลาการรัฐธรรมนูญเห็นว่าห้ามใช้กับกฎหมายอาญาเท่านั้น

ซึ่งในความเห็นของผู้เขียนในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนกฎหมายมหาชน เห็นว่า ในเรื่องกฎหมายไม่มีผลย้อนหลังนี้มีหลักการคือ “ย้อนหลังไปเป็นโทษไม่ได้” ทั้งการย้อนหลังไปเป็นโทษกับสิทธิทางแพ่ง สิทธิทางอาญา และกับสิทธิทางการเมือง คือจะย้อนหลังไปเป็นผลร้ายกับสิทธิของพลเมืองไม่ได้ ซึ่งสิทธิของพลเมืองเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ เป็นสิทธิการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง

กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือแสวงหาความยุติธรรม ไม่ใช่เพื่อจุดมุ่งหมายทำลายล้าง แต่ต้องใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม ดังนั้น ไม่ใช่แต่ในกฎหมายอาญาเท่านั้นที่กฎหมายห้ามมีผลย้อนหลัง แต่ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน หลักนี้ก็ต้องห้ามด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายมหาชนซึ่งอยู่ภายใต้หลักนิติธรรม ซึ่งคำว่า “นิติ” หรือ “นีติ” นั้น ที่แท้จริงมีความหมายถึงการปกครองบ้านปกครองเมืองโดยกฎหมาย

“นิติ” หรือ “นีติ” นั้นไม่ได้แปลว่า กฎหมาย ตามที่เข้าใจทั่วไปในการศึกษาวิชานิติศาสตร์ หรือตามที่เข้าใจว่าคณะนิติศาสตร์คือคณะที่สอนกฎหมาย แต่ความหมายที่แท้จริงของนิติ หรือนีติ แปลว่า การปกครองบ้านปกครองเมืองโดยกฎหมาย และเป็นการปกครองที่เป็นธรรม

การปกครองโดยกฎหมายที่เป็นธรรมนี้ ประชาชนคนไทยได้ฟังปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรัสในตอนขึ้นครองราชย์แล้วว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

5.2 กฎหมายที่ดี (Good Law)
การปกครองบ้านปกครองเมืองโดยกฎหมายที่เป็นธรรม นั้นก็คือ ต้องมีกฎหมายที่ดี (Good Law) ซึ่งกฎหมายที่ดีจะมีลักษณะสำคัญอยู่ 5 ประการ คือ
1) กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นการทั่วไป กล่าวคือ กฎหมายมีผลใช้บังคับทั่วไป มิได้มุ่งหมายใช้กับกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือบุคคลในบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
2) กฎหมายต้องมีความชัดเจนแน่นอน
3) กฎหมายต้องไม่มีผลย้อนหลัง
4) กฎหมายต้องไม่ขัดต่อหลักความได้สัดส่วน
5) กฎหมายต้องไม่กระทบต่อเนื้อหาอันเป็นแก่นแท้ของสิทธิและเสรีภาพ

กฎหมายใดก็ตามที่มุ่งให้เกิดผลแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ย่อมขัดต่อหลักแห่งความเสมอภาค และย่อมขัดกับหลักกฎหมายที่ดี ความไม่ขัดต่อหลักความได้สัดส่วนก็มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความสมดุลที่เป็นธรรม เพื่อให้ทุกฝ่ายดำรงอยู่ได้ ส่วนที่ว่ากฎหมายต้องไม่ขัดแย้งต่อเนื้อหาอันเป็นแก่นแท้ของสิทธิและเสรีภาพนั้นก็คือ พลเมืองทุกคนมีสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่จะกระทำหรือดำเนินการอย่างใดๆ ได้ รวมทั้งสิทธิดำเนินการในทางการเมือง

ดังนั้น กฎหมายใดก็ตามที่จำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ โดยมุ่งหมายให้เกิดผลร้ายกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ย่อมไม่ใช่กฎหมายที่ดี

5.3 ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วรวม 18 ฉบับ ซึ่งมีการแก้ไข ยกเลิก เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์และกาลเวลา จึงเห็นได้ว่า แม้แต่รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ก็ยังมีทั้งที่ดีและที่ไม่ดี ซึ่งอาจจะแบ่งออกได้เป็น รัฐธรรมนูญแบบเผด็จการ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนรัฐธรรมนูญที่ดีก็จะมีบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ แม้ว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบบ้าง ค่อนใบบ้าง เต็มใบบ้าง แล้วแต่จะแบ่งแยกกัน

รัฐธรรมนูญแบบเผด็จการ 6 ฉบับ ที่มีลักษณะเผด็จการ คือ
1.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2502
2.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2515
3.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2519
4.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2520
5.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534
6.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549

รัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 (27 มิ.ย. 2475) เป็นการปกครองแบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภา

รัฐธรรมนูญ 11 ฉบับ เป็นรัฐธรรมนูญแบบรัฐสภา คือ
1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475
2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489
3.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2490
4.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2492
5.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2495
6.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2511
7.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2517
8.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521
9.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534
10.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540
11.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 นี้ ก็ยังมีปัญหากฎหมายอีกหลายประการ

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า กฎหมายใดที่ขัดแย้งกับหลักการของกฎหมายที่ดี ที่เป็นสากล หรือขัดกับหลักนิติธรรมแล้ว ก็ควรที่จะแก้ไขได้ด้วยกระบวนการทางรัฐสภา

ส่วนสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ซึ่งมาเป็นมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 นั้น คนทั่วไปมักเข้าใจว่า เมื่อตนเองมีสิทธิแล้วจะทำอะไรก็ได้ จึงใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น ในการเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าในทางกฎหมายมหาชนจะถือว่า “สิทธิคืออำนาจ” ที่เรียกร้องให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตามสิทธิหรือต้องไม่ขัดขวางการใช้สิทธินั้น แต่การใช้สิทธิดังกล่าวก็มิใช่ว่าจะไม่มีข้อจำกัด นอกจากจะต้องใช้สิทธิภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดแล้ว

การใช้สิทธิดังกล่าวต้องสุจริต คือ ไม่ไปก้าวก่าย รุกล้ำลิดรอนสิทธิตามกฎหมายของผู้อื่น และการใช้สิทธิต้องไม่ละเมิดหรือขัดแย้งต่อกฎหมายอื่นด้วย

แท้ที่จริงแล้ว มาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มีจุดมุ่งหมายคือ ให้บุคคลมีสิทธิในการต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่ง “การกระทำที่กระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ” ถ้าจะกล่าวให้ตรงๆ ก็คือ เป็นสิทธิในการต่อต้านการรัฐประหาร นั่นเอง เพราะการรัฐประหารหรือการปฏิวัติ เป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติรับรองเอาไว้เลย ดังนั้น หากมีการปฏิวัติรัฐประหาร ประชาชนก็มีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีได้ ซึ่งเป็นสิทธิของประชาชนที่จะต่อต้านการปฏิวัติรัฐประหาร โดยรัฐธรรมนูญเขียนรับรองสิทธินี้เอาไว้

5.4 กรณีการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30
ในประเด็นความชอบด้วยกฎหมายตามหลักนิติธรรม ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ข้อ 2 วรรคสอง บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีกฎหมายห้ามมิให้บุคคลใดดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ หรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในการดำรงตำแหน่ง มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่การได้รับแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการตรวจสอบ

ซึ่งข้อความดังกล่าวขัดแย้งกับหลักนิติธรรมที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 3 เพราะเป็นการแต่งตั้งบุคคลที่มีความเห็นขัดแย้งเป็นปฏิปักษ์ เป็นฝ่ายตรงข้าม หรือเป็นบุคคลที่เป็นคู่กรณีกับผู้ถูกกล่าวหา มานั่งพิจารณา ซึ่งอาจทำให้การวินิจฉัยมีอคติ ไม่เป็นธรรม ซึ่งขัดต่อหลักความปราศจากส่วนได้เสียซึ่งถือเป็นหลักรัฐธรรมนูญ ประกาศ คปค. (ฉบับที่ 30) นั้น ตามหลักลำดับศักดิ์แห่งกฎหมายก็เทียบเท่าพระราชบัญญัติ จึงไม่อาจจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญซึ่งมีศักดิ์แห่งกฎหมายสูงสุดได้

กรณีข้างต้นมีข้อสังเกตคือ แม้แต่ผู้พิพากษาและตุลาการในองค์กรศาลยังอาจถูกคัดค้านได้ในกรณีมีส่วนได้เสีย หากจะมาเป็นองค์คณะที่นั่งพิจารณาคดี และในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องคัดค้าน ผู้พิพากษาที่มีส่วนได้เสีย แต่ใน คตส. คณะกรรมการ คตส. กลับได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นที่จะถูกคัดค้าน ทั้งที่ คตส. ก็เป็นองค์กรที่พิจารณาปัญหาทางกฎหมายเช่นเดียวกัน

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง เป็นกรณีตัวอย่างจากต่างประเทศในประเด็น “ความมีส่วนได้เสียของผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดี” ที่ขัดแย้งกับหลักแห่งความเป็นกลาง ได้แก่ คดีปิโนเช่ต์ (Pinochet) ซึ่งความมีส่วนได้เสียของผู้พิพากษาเป็นเหตุให้ศาลสภาขุนนาง (ศาลสูงอังกฤษ) ต้องพิพากษายกเลิกคำพิพากษาเดิมทั้งหมด เพราะเหตุที่มีผู้พิพากษาท่านหนึ่ง “มีส่วนได้เสียห่างๆ ในคดี” อันเป็นกรณีขัดต่อหลักแห่งความเป็นกลาง (Freedom from Interest or Freedom from Bias) ซึ่งเป็นหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ (Natural Justice) ตามกฎหมายอังกฤษ หลักแห่งความเป็นกลางนี้ไม่จำเป็นต้องถึงขนาดที่มีผลประโยชน์จริงๆ หรือมีอคติจริงๆ เพียงแต่อยู่ในฐานะเป็นที่สงสัยว่าอาจจะมีผลประโยชน์ หรืออาจจะมีอคติเท่านั้น ก็ต้องห้ามเป็นผู้พิจารณาแล้ว

ความเห็นของ Lord Browne–Wilkinson ในคดีปิโนเช่ต์ ได้นำคำพิพากษาของ ลอร์ด เฮวาร์ด มาอ้างด้วยว่า “...เป็นความสำคัญขั้นพื้นฐานที่ว่า ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดความยุติธรรมเท่านั้น แต่ต้องทำให้คนเห็นปรากฏชัดเจนและปราศจากข้อสงสัยใดๆ ว่ามีความยุติธรรมเกิดขึ้นจริง...”

ในคดีนี้ปรากฏว่า จากเหตุที่ผู้พิพากษาท่านหนึ่งอาจจะมีส่วนได้เสียในคดี ซึ่งขัดต่อหลักแห่งความเป็นกลาง ผู้พิพากษาศาลสูงจึงมีความเห็นพ้องกันให้พิพากษากลับคำพิพากษาเดิม โดยให้มีการพิจารณาคดีใหม่ และให้มีการตั้งองค์คณะผู้พิพากษาชุดใหม่ที่ไม่ใช่ชุดเดิมขึ้นมาทำหน้าที่พิจารณาคดีนี้แทน และปิโนเช่ต์ก็ไม่ต้องถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศสเปนในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน

รศ.ดร.ภูริชญา วัฒนรุ่ง
ภาควิชากฎหมายมหาชน
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง