WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 2, 2008

นิติศาสตร์ต้องเป็นธรรม (1)

คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

บทความนี้มุ่งเสนอความเป็นจริงในแวดวงนิติศาสตร์ของไทย ว่ามีการพัฒนาความคิด องค์ความรู้ ที่สอดคล้องกับความเป็นธรรมที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยอย่างไร

บทความนี้ต้องการแสดงให้เห็นถึงทิศทางของนิติศาสตร์ในด้าน “การเรียนการสอนวิธีคิด” ให้กับบุคลากรในแวดวงนิติศาสตร์ว่า ทิศทางของนิติศาสตร์ที่ถูกต้อง ตั้งอยู่บนฐานแห่งความยุติธรรมที่เหมาะสมเป็นธรรมนั้น ควรจะเป็นอย่างไร

จากบทความของ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ (ปี 2517) เรื่อง นักนิติศาสตร์หลงทางหรือ ซึ่งได้จบท้ายโดยถามคำถามว่า “นักนิติศาสตร์หลงทางหรือ?” และมีคำตอบว่า นักนิติศาสตร์ไม่ได้หลงทาง แต่นักนิติศาสตร์ไม่มีแม้แต่จุดหมายปลายทาง ถ้านักนิติศาสตร์ของเราจะหลงทางโดยมีจุดหมายปลายทาง เราน่าจะพอใจเสียยิ่งกว่า เพราะอย่างน้อยที่สุดเราก็พอจะทราบได้ว่าจุดหมายปลายทางของเราอยู่ ณ ที่ใด

1.จากบทสรุปว่า นักนิติศาสตร์ไม่หลงทาง แต่นักนิติศาสตร์ไม่มีแม้แต่จุดหมายปลายทางนั้น ฟังแล้วน่าตกใจ
แต่ในปัจจุบันนี้อาจจะน่าตกใจมากยิ่งกว่าคำว่าหลงทาง หรือไม่มีจุดหมายปลายทาง นั่นก็คือ นิติศาสตร์ขาดคุณธรรม ขาดความเป็นธรรม

จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปผลการวิจัย สรุปประเด็นได้ดังนี้ คือ


1.หลักสูตรการศึกษาวิชากฎหมายยังมีเนื้อหาที่เน้นหนักไปในทางผลิตบุคลากรออกมาทำงานด้านอัยการ และผู้พิพากษา เป็นเป้าหมายหลักที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งต้องการนักกฎหมายที่มีความรู้ที่ลึกซึ้ง หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

2.นักกฎหมายขาดความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.นักกฎหมายขาดทักษะในการใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ

4.นักกฎหมายขาดคุณธรรม

5.นักกฎหมายมีข้อจำกัดในการใช้ภาษาและเทคโนโลยี

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลมาจาก ในปัจจุบันนี้ผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากทุกวงการ ทั้งในด้านของคุณภาพ อันได้แก่ ความรู้ความสามารถ และในด้านของคุณธรรม ซึ่งหมายถึง ความมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ

จากข้อสรุปข้อที่ 1 หลักสูตรการศึกษาวิชากฎหมายมีเนื้อหาหนักไปทางผลิตบุคลากรออกมาทำงานด้านอัยการ ผู้พิพากษา เป็นเป้าหมายหลัก ไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งต้องการหนักกฎหมายที่มีความรู้ลึกซึ้ง และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

เหตุผลสนับสนุน ในข้อที่ 1 นี้ ผู้เขียนบทความซึ่งเป็นอาจารย์สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัยมานานถึง 32 ปี ขอแสดงข้อคิดเห็นในเชิงบวกหรือเห็นด้วยกับข้อสรุปที่ 1 กล่าวคือ ในอดีตการจัดหลักสูตรในมหาวิทยาลัยของรัฐเน้นหลักสูตรแต่กฎหมายเอกชน เน้นเนื้อหาหนักไปทางผลิตบุคลากรออกมาทำงานด้านอัยการ ผู้พิพากษา เป็นหลัก ตัวอย่างของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 ก็มีลักษณะการจัดหลักสูตรที่เน้นแต่ในเรื่องเอกชน

จนกระทั่งปี พ.ศ.2536 มีการปรับปรุงหลักสูตร เพิ่มวิชาหลักกฎหมายมหาชนเข้าไปแต่ก็น้อยวิชา จากปี 2514 จนถึงปัจจุบัน 2551 เป็นเวลาถึง 37 ปีแล้ว มีการปรับปรุงหลักสูตร 2 ครั้ง คือ ครั้งที่หนึ่ง ปี พ.ศ.2536 ซึ่งห่างจากปีแรกถึง 24 ปี ส่วนครั้งที่สองห่างจากการปรับปรุงครั้งแรก (2536) 15 ปีจนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีการปรับปรุงหลักสูตร ซึ่งในกฎหมายของ ก.พ.ร.จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 4-5 ปี

การจัดการศึกษานิติศาสตร์ในปัจจุบันจึงมิใช่เป็นการมุ่งผลิตนักกฎหมายเพื่อให้มาเป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ เหมือนกับการจัดการเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมา แต่ผู้สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ในสังคมหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษากฎหมายทนายความ นักการเมือง และกระจายไปอยู่ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

การประกอบวิชาชีพตุลาการ ผู้พิพากษา ทนายความ ในศาลที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญที่แตกต่างออกไป เช่น นักกฎหมายที่เชี่ยวชาญกฎหมายเอกชน ควรทำงานในศาลยุติธรรม แต่ในศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ควรอย่างยิ่งที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลปกครอง ควรเป็นนักกฎหมายมหาชนที่มีความเชี่ยวชาญระบบวิธีคิดวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายมหาชน ที่แตกต่างจากระบบกฎหมายเอกชน

กฎหมายเป็นวิชาชีพที่ให้คุณให้โทษแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง และกระทบต่อประเทศชาติอย่างมาก ดังนั้นการผลิตนักกฎหมาย ไม่มีความรู้ที่ลึกซึ้ง หรือไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จึงเป็นสิ่งที่อาจก่อให้เกิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัย ตัดสินคดี และอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ความวุ่นวายของสังคม ความแตกแยกในประเทศชาติ

ปัจจุบันระบบกฎหมายในประเทศไทยมีการแยกระบบกฎหมายออกเป็น 2 ระบบอย่างชัดเจน คือ ระบบกฎหมายเอกชน (ที่ใช้อยู่ในศาลยุติธรรม) และ ระบบกฎหมายมหาชน (ในศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ฯลฯ เป็นต้น) ดังนั้น นักกฎหมายที่นั่งพิจารณาคดีเอกชนในศาลยุติธรรมที่มีความเชี่ยวชาญในกฎหมายเอกชน จึงไม่ควรไปนั่งพิจารณาคดีในศาลที่ต้องการบุคคล หรือนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายมหาชน การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกา 6 คน (อีก 3 คนมาจากศาลปกครอง) ไปเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ และไปนั่งพิจารณาคดีที่เป็นปัญหาทางกฎหมายมหาชน (คดียุบพรรคไทยรักไทย)

จึงเป็นการแต่งตั้งที่ไม่ได้บุคคลที่มีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายมหาชน หรือมีแนวคิดยึดหลักการทางกฎหมายมหาชน อาทิ หลักนิติรัฐ หลักประชาธิปไตย หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักประโยชน์สาธารณะ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หลักความคุ้มค่า หลักความได้สัดส่วน และหลักอื่นๆ อีกมากมายหลายประการ ซึ่งเป็นหลักการแนวความคิด ทฤษฎีทางกฎหมายมหาชน และใช้นิติวิธีทางกฎหมายมหาชนประกอบการพิจารณา ซึ่งผู้พิพากษาศาลฎีกาในศาลยุติธรรมอาจไม่คุ้นเคยในระบบวิธีคิดในหลักกฎหมายดังกล่าว หากไปนั่งพิจารณาในศาลที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญทางกฎหมายมหาชน

ดร.หยุด แสงอุทัย ปรมาจารย์ทางกฎหมาย ได้กล่าวถึงการศึกษากฎหมายในมหาวิทยาลัย ไว้ดังนี้

“การศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัย เป็นการศึกษาให้รู้แจ้งเห็นจริง ประกอบด้วยเหตุด้วยผล ซึ่งต้องอาศัยทฤษฎีเป็นรากฐาน ฉะนั้นจึงเป็นความคิดที่ผิด ที่คิดว่าทฤษฎีไม่เป็นของจำเป็น เรียนไปก็เสียเวลา ควรศึกษาทางปฏิบัติดีกว่า การศึกษาในทางปฏิบัติโดยไม่รู้ถึงทฤษฎี ย่อมเป็นการศึกษาที่มีอันตรายเพราะเป็นการศึกษาที่ไม่มีหลักสำหรับคิด”
การศึกษานิติศาสตร์ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปประกอบวิชาชีพ และสามารถทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน แม้ว่าผู้ศึกษาและสำเร็จกฎหมายหรือนิติศาสตร์จะออกไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง และฐานะที่แตกต่างกัน แต่อาจกล่าวได้ว่า นักกฎหมายหรือนักนิติศาสตร์มีหน้าที่หลักประการหนึ่งที่ตรงกันคือ “การใช้กฎหมาย” ดังนั้นการศึกษานิติศาสตร์จึงมีเป้าหมายหลักในการเป็นสถาบันที่ผลิตผู้ใช้กฎหมาย

กระบวนการใช้กฎหมายมี 3 ขั้นตอน คือ

1.การวินิจฉัยข้อเท็จจริง การใช้กฎหมายเริ่มต้นด้วยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ในสภาวการณ์เช่นใด นักกฎหมายจำเป็นต้องเข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้เข้าใจและถ่องแท้

2.การวินิจฉัยข้อกฎหมาย เมื่อผ่านขั้นตอนของการศึกษาและค้นหาข้อเท็จจริงแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปรับข้อกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริงนั้น นักกฎหมายจึงจำเป็นต้องรอบรู้ในข้อกฎหมายทั้งปวง เข้าใจนิติวิธีและวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้น หากนักกฎหมายปรับใช้ข้อกฎหมายที่ไม่เหมาะกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ก็เปรียบเสมือนแพทย์ที่วินิจฉัยโรคผิด ขั้นตอนสุดท้ายต่อไปคือ การให้ยารักษาก็ผิดพลาดไปด้วย

3.การวินิจฉัยผลตามกฎหมาย เมื่อปรับข้อกฎหมายที่จะใช้กับข้อเท็จจริงนั้นๆ แล้ว นักกฎหมายจะต้องพิจารณาผลในทางกฎหมายให้ได้ว่า การกระทำนั้นผิดกฎหมายใด และผู้กระทำต้องรับผลอย่างไร มีผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องหรือบุคคลอื่นหรือไม่

ในเรื่องการใช้การตีความกฎหมาย ผู้เขียนในฐานะอาจารย์ผู้สอนกฎหมายมหาชน ขอเสนอแนวคิดในประเด็นนี้ว่า นักกฎหมายควรแยกให้ออกว่า คดีที่ตนเองวินิจฉัยเป็นคดีประเภทใด กล่าวคือ เป็นปัญหาทางกฎหมายเอกชน หรือเป็นปัญหาทางกฎหมายมหาชน ซึ่งได้แก่ ปัญหาทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือปัญหาทางกฎหมายปกครอง หรือเป็นปัญหาทางกฎหมายอาญา ทั้งนี้ เพราะปรัชญาพื้นฐานของของกฎหมายทั้ง 3 ประเภทนั้นมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ

1.ปรัชญากฎหมายแพ่งซึ่งเป็นกฎหมายเอกชน ตั้งอยู่บนหลักแห่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันของคู่กรณี และหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งเจตนาและเสรีภาพในการทำสัญญา

2.ปรัชญากฎหมายอาญา คือ ความสมดุลระหว่างโทษของผู้กระทำความผิดอาญา กับความสงบเรียบร้อยของสังคม

3.ปรัชญากฎหมายมหาชน ได้แก่ การประสานดุลยภาพระหว่าง “ประโยชน์สาธารณะ” ซึ่งเป็นประสิทธิภาพในการบริหารงานของรัฐ กับ “การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเอกชน” ซึ่งเป็นประโยชน์ส่วนตัวของเอกชน

ในประเด็นการใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย ในการแสวงหาข้อยุติในกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน ก็มีความแตกต่างกัน ดังนี้

ในการแสวงหาข้อยุติของปัญหาในระบบกฎหมายเอกชนนั้น จะประกอบไปด้วย 1.ข้อเท็จจริง 2.ข้อกฎหมาย และ 3.การตีความและการปรับบทข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมาย

ส่วนการแสวงหาข้อยุติของปัญหาในระบบกฎหมายมหาชน จะประกอบไปด้วย 1.ข้อเท็จจริง 2.ข้อกฎหมาย 3.การตีความและการปรับบท 4.การวิเคราะห์เหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ของรัฐ

เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นเรื่องกฎหมายเอกชนที่มีปรัชญาพื้นฐานตั้งอยู่บนความเสมอภาค ความสมัครใจของคู่กรณี หลักศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนาและเสรีภาพในการทำสัญญา หากนำหลักกฎหมายเอกชนมาพิจารณาโดยตรงในเรื่องที่เป็นปัญหาทางกฎหมายมหาชน ก็อาจทำให้คำวินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้องได้ ตัวอย่างคดีฉีกบัตรเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง

ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน ศาลแต่ละศาลก็ใช้เหตุผลตีความที่แตกต่างกัน เช่น ศาลจังหวัดพิจิตรลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือน แต่ให้รอการลงอาญา ขณะที่ศาลจังหวัดสงขลายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ หรือศาลอาญายกฟ้อง โดยให้เหตุผลที่อ้างว่า บัตรเลือกตั้งอยู่ในครอบครองของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นกรรมสิทธิของผู้มีสิทธิเลือกตั้งแล้ว

ในประเด็นนี้เราจะพิจารณาเห็นได้ว่า เหตุผลที่ศาลนำมาใช้อ้างนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ โดยพิจารณาเนื้อหาของข้อเท็จจริงว่า บัตรเลือกตั้งโดยทั่วไปถือเป็นเอกสารของทางราชการ ไม่ใช่เป็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การฉีกบัตรเลือกตั้งจึงควรเป็นการกระทำที่ผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง ศาลจะลงโทษแล้วรอการลงโทษไว้ ก็เป็นดุลพินิจที่ทำได้ แต่ในประเด็นเกี่ยวกับ สิทธิเลือกตั้งนั้น ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนเจ้าของสิทธิ และเป็นสิทธิเฉพาะตัว หรือ เป็นสิทธิของพลเมืองของรัฐหรือพลเมืองของประเทศไทยที่จะใช้สิทธินี้ คนต่างด้าวย่อมไม่มีสิทธิ หรือไม่อาจอ้างสิทธิพลเมืองประเภทนี้ได้ ในรัฐธรรมนูญกำหนดให้การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน ที่จะไปลงคะแนนออกเสียง หากไม่ไปใช้สิทธิก็จะมีบทลงโทษ เช่น สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ ไม่ได้

รศ.ดร.ภูริชญา วัฒนรุ่ง
ภาควิชากฎหมายมหาชน
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง