WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 2, 2008

ถูกตามทฤษฎี ประชาชนได้อะไร

คอลัมน์: คุยเฟื่องเรื่องเศรษฐกิจไทย

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน พบกันอีกครั้งกับเรื่องราวของเศรษฐกิจที่ไม่น่าจะมีข่าวดีมากนักสำหรับคนไทยเรา ท่านผู้อ่านครับ วันนี้ถ้าท่านผู้อ่านติดตามข่าวสารบ้านเมืองในเวลานี้ ท่านจะเห็นว่ามีแต่เรื่องราวที่ต้องแก้ปัญหาทั้งนั้น และเป็นเรื่องใหญ่ๆ และชี้ชะตาความเป็นความตายของบ้านเมืองเกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศกัมพูชา ณ จุดเขาพระวิหาร ปัญหาการเมืองทั้งเรื่องใบแดงของพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งพรรคชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังประชาชน

หรือแม้กระทั่งผู้นำรัฐบาลถูกตรวจสอบอย่างหนัก จากฝ่ายตรงข้ามอย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้าประเทศ อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ประเทศไทยเรายังหาทางควบคุมไม่ได้ อย่างปัญหาราคาพลังงาน ที่ขณะนี้มีผลกระทบมาถึงความเป็นอยู่ของประชาชน และสุดท้ายทางฝ่ายกระทรวงการคลัง

โดยการบริหารของฝ่ายรัฐบาล ได้ออกนโยบาย “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อไทยทุกคน” เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน (นโยบายบรรเทาทุกข์) เป็นการชั่วคราว เพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้กับประชาชน และในเวลาใกล้เคียงกัน ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งดูแลนโยบายการเงิน ก็ออกนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน 0.25% โดยให้เหตุผลเพื่อที่จะชะลอการเกิดเงินเฟ้อ ผ่านทางการลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจลง

ซึ่งทั้ง 2 นโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน และการขึ้นดอกเบี้ยมาตรฐาน ถ้าดูเผินๆ โดยประชาชนทั่วไปก็รู้สึกว่า ไม่เห็นจะน่าเป็นอะไรเลย แต่ในทางวิชาการ ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ดูเหมือนจะขัดกันอย่างมากเลย ตามความเห็นของผู้เขียน ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ และขัดแย้งกันอย่างไร เอาเป็นว่าผู้เขียนขออนุญาตวิจารณ์ตามหลักเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ เสียก่อน เพื่อให้ได้เข้าใจในแนวคิดของแต่ละนโยบาย

1.นโยบายการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยอาศัยธุรกรรมทางเศรษฐกิจ ท่านผู้อ่านครับ ตามที่ผู้เขียนได้ร่ำเรียนมาในหลักวิชาการเศรษฐศาสตร์ ในตำราเกือบทุกเล่มมักจะบอกว่า การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคนั้น ให้ตระหนักว่าการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ให้เป็นความคิดหลังสุด ยกเว้นหาทางแก้ไขใดๆ มิได้แล้ว จึงให้มาคิดว่าควรจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นหรือลง

โดยดูจากเงื่อนไขและปัญหาทางเศรษฐกิจ ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ในตำราบอกว่า การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะเมื่อปรับแล้วจะมีผลอย่างรวดเร็วต่อโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจทันที ถ้าดูตามทฤษฎี นั่นหมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเห็นว่า นี่เป็นทางออกสุดท้ายแล้ว

สำหรับการแก้ปัญหาเงินเฟ้ออันเกิดจากต้นทุนการผลิต (พลังงาน) เพิ่มขึ้น ตามทฤษฎีแล้ว การปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะมีผลต่อผู้กู้เงินจากสถาบันการเงิน ทั้งสินเชื่อเพื่อการบริโภค และสินเชื่อทางธุรกิจ เพราะอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะไปเพิ่มภาระในการจ่ายชำระคืนเงินกู้ของผู้กู้ให้แก่สถาบันการเงิน ณ จุดนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดที่ว่า ผู้กู้เงินเพื่อการบริโภค และผู้กู้เงินเพื่อดำเนินธุรกิจ ก็จะลดการใช้จ่ายในการซื้อหาสินค้า นั่นหมายความว่า ความต้องการซื้อ-ขายสินค้าและบริการจะลดลง และราคาสินค้าและบริการก็จะไม่สามารถขยับสูงขึ้นได้ ตัวนี้เองที่จะทำให้เป้าหมายการชะลอเงินเฟ้อสัมฤทธิผล เพราะราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นส่วนสนับสนุนทำให้เกิดเงินเฟ้อ ถ้าราคาไม่ปรับตัวสูงขึ้น ก็หมายความว่า อัตราเงินเฟ้อไม่เพิ่มขึ้น นี่เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่สอนกันมาทุกมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ผู้เขียนคิดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยคงมองว่า หลังจากที่แก้ปัญหาเงินเฟ้อได้ ก็จะแก้ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทได้โดยการไม่ให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวมากไป เพราะถ้าค่าเงินบาทอ่อนตัวลงไป นั่นหมายความว่า ประเทศไทยต้องนำเข้าพลังงานในราคาที่แพงขึ้น และจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ ซึ่งจะไปซ้ำเติมปัญหาที่เกิดขึ้นอีก ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์บอกว่า

ถ้าหากว่าเกิดอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศเพิ่มขึ้น มันจะส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการที่จะต้องแพงขึ้น ทำให้การส่งออกสินค้าและบริการมีปัญหา ถ้าเกิดต่อเนื่อง เงินทุนสำรองระหว่างประเทศก็จะลดลง พร้อมๆ กับความต้องการถือเงินบาทลดลง สุดท้าย อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลบาทก็จะอ่อนค่าลง และมันก็จะมีปัญหาอย่างที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งสมมติฐานเอาไว้ ตามที่ผู้เขียนได้วิเคราะห์ข้างต้น

2.นโยบายการคลังที่ออกผ่านแนวทาง “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อไทยทุกคน” โดยกระทรวงการคลัง ไม่ต้องพูดเรื่องการตอบรับครับ เพราะผลตอบรับดีมาก แกนหลักของมาตรการนี้ก็คือ การเพิ่มรายได้ และการลดรายจ่ายของประชาชนลงไป โดยผ่านมาตรการต่างๆ ท่านผู้อ่านครับ ตามทฤษฎีแล้วบอกว่า นโยบายการคลัง คือการบริหารทั้งการใช้จ่ายภาครัฐ และการจัดเก็บภาษีรายได้ โดยวิธีการเพิ่มหรือลดรายจ่ายภาครัฐ และการเพิ่มหรือลดการจัดเก็บภาษีรายได้ ทั้งบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และภาษีสรรพสามิต

โดยใน 6 มาตรการนี้ ใช้หลักการลดการจัดเก็บภาษี และในเวลาเดียวกัน ก็เพิ่มการใช้จ่ายเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ในเวลาเดียวกันให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น จะได้ไปกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจดำเนินการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และนอกจากนี้ยังช่วยชะลออัตราเงินเฟ้อได้ด้วย เพราะนโยบายนี้ได้มีการลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันลง มีผลทำให้ราคาน้ำมันที่ขายในตลาดลดลง

ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับราคาขายปลีกน้ำมัน แลผลโดยอ้อม ในทางจิตวิทยาผู้ประกอบการก็จะชะลอการขึ้นราคาสินค้าลง เพราะต้นทุนพลังงานลดลง ดังนั้น 6 มาตรการนี้ก็จะไปชะลออัตราเงินเฟ้อลงในช่วงระยะสั้น เป็นการบรรเทาทุกข์ให้แก่ประชาชน

ทั้ง 2 นโยบายต่างก็มีข้อเสียตามคำวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการ แต่ในความคิดของผู้เขียนแล้ว นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีข้อเสียมากกว่านโยบายของกระทรวงการคลัง เพราะเหตุว่า บนพื้นฐานของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอทำนั้น เป็นยาค่อนข้างจะแรงมาก เพราะไปกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของผู้ประกอบการโดยตรงทันที อีก 0.25%

ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเรื่องของการขึ้นราคาสินค้าและบริการ แต่หากผู้ประกอบการขึ้นราคาไม่ได้ คำถามก็คือ แล้วเขาจะมีกำไรพอจะดำเนินกิจการต่อไปได้หรือไม่ หรือแม้กระทั่ง ถ้าขึ้นราคาสินค้าแล้ว ผู้ประกอบการจะขายสินค้าได้พอที่จะทำให้สายป่านของการดำเนินธุรกิจอยู่ได้หรือไม่ เพราะทฤษฎีการขึ้นดอกเบี้ยคือ การต้องการให้ความต้องการสินค้าและบริการลดลง คำตอบก็คือ

ถ้าผู้ประกอบการใดอยู่ได้ก็อยู่ หากอยู่ไม่ได้ก็ต้องปิดกิจการไปอย่างถาวร ซึ่งมันผิดหลักของการบริหารประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก แต่กลับจะกลายเป็นความถูกต้องของทฤษฎีที่ร่ำเรียนมามากกว่า อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นคือว่า นโยบายการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อยับยั้งเงินเฟ้อเป็นแนวคิดเพียงด้านเดียว ลืมมองถึงผลกระทบต่อสังคม ที่อธิบายได้ยากในเชิงวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้กล่าวถึงความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ

โดยเฉพาะเงินสำรองระหว่างประเทศ ที่เป็นตัวแปรที่บอกถึงความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจได้ วันนี้ประเทศไทยมีเงินสำรองระหว่างประเทศอย่างน้อย 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งก็มากมายกว่าปกติตามประวัติศาสตร์ครับ ดังนั้นในความคิดของผู้เขียนแล้ว เราไม่ต้องไปกลัวหรอกครับว่า ค่าเงินบาทจะอ่อนไปเกินกว่าเหตุ ซึ่งสถานการณ์อาจจะมีบ้างที่อ่อนค่าลง แต่ไม่ขึ้นหรือลงไปมากๆ จนค่าเงินบาทไม่มีเสถียรภาพ

เอาละ ข้อเสียในเรื่องนี้ก็รอดูเอาว่าจะมีผลออกมาเป็นอย่างไร 2-3 เดือนก็น่าจะรู้ผลแล้วครับ สถิติการจดทะเบียนบริษัท และเสียงด่าของนักธุรกิจ จะเป็นดัชนีชี้วัดความถูกต้องของการใช้นโยบาย

ในขณะที่นโยบายการคลังนั้นไม่มีข้อเสียหรืออย่างไร มีเหมือนกันครับ คือว่า รัฐบาลนั้นประเมินว่าการจัดเก็บภาษีจะเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ และรายได้ที่ประเมินว่ามากกว่าเป้านี่แหละ จะเป็นเม็ดเงินที่นำมาใช้จ่ายในนโยบาย 6 มาตรการ มันเหมือนกับการนำอนาคตมาใช้ในปัจจุบัน ถ้าเก็บเกินกว่าเป้าหมายก็ชนะ แต่ถ้าเก็บไม่เกินกว่าเป้าหมาย อาจจะมีปัญหาในเรื่องของการหาเงินมาบริหารหรือมาใช้หนี้นโยบาย 6 มาตรการ ทั้งนี้ผู้เขียนคิดว่าไม่น่าเป็นห่วงครับ ถึงแม้จะเก็บรายได้ไม่เกินกว่าเป้าหมาย ยังไงรัฐบาลก็ต้องหาเงินมาให้ได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะมันเป็นหน้าที่ครับ ถ้ารัฐบาลไม่ทำการลงทุนแบบนี้ แล้วใครจะมาทำให้ ถ้ามัวแต่บริหารแบบเด็กวัด แล้วเมื่อไรจะเป็นเถ้าแก่เสียที

ผู้เขียนหมายถึง มัวแต่ประหยัด กินข้าวกับน้ำปลา ไม่กล้าไปติดหนี้เพื่อเอาเนื้อหนังมากินกับข้าว ก็ต้องนั่งหน้าแห้งเหมือนเวลาเก่าๆ ผู้เขียนสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับ 6 มาตรการครับ

ดร.ญาณกร แสงวรรณกูล