WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, August 22, 2008

ปรส.อัปยศ? เมื่อไร ปชป.จะตอบเสียที! (1)

คอลัมน์ : ฮอตสกู๊ป

เว็บไซต์
http://www.prachachonthai.com ได้เผยแพร่บทความชิ้นสำคัญของนายจันทร์มาแล้ว แฉสาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และข้อมูลสำคัญกรณี ปรส. อัปยศที่เกิดขึ้นในอดีต ที่มาจากการกำหนดนโยบายและมาตรการทางการเงินของรัฐบาลในช่วงเวลานั้น
มีเนื้อหาและข้อมูลดังนี้

“วิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 ถือได้ว่าเป็นวิกฤติทางการเงินการคลังครั้งที่รุนแรงที่สุดในประวัติชาติไทย สร้างความเสียหายนับล้านล้านบาท ส่งผลกระทบถึงแวดวงธุรกิจเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนอย่างถ้วนทั่ว ความเสียหายเหล่านี้ไม่ได้มีสาเหตุจากการบริหารการเงินการคลังในอดีตที่ผิดพลาดเท่านั้น แต่การบริหารและแก้ไขปัญหาหลังวิกฤติกลับเป็นตัวซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายยิ่งขึ้น

เพื่อให้การติดตามอ่านบทความนี้ให้สามารถเข้าใจได้อย่างกระจ่างชัด บทความนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ภาคส่วน คือ 1.สาเหตุแห่งวิกฤติ และ 2.กรณี ปรส. อัปยศ

สาเหตุแห่งวิกฤติ
การเกิดขึ้นของวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เป็นการเกิดขึ้นของหลายสาเหตุที่ได้ก่อตัวมาก่อนหน้านั้นนานหลายปี จนสถานการณ์ถึงขั้นสุกงอม ตกอยู่ในสถานะที่อ่อนไหวเสมือนต้นไม้ที่พร้อมจะล้มได้ทุกขณะ เมื่อมีลมกระโชกเพียงเบาๆ ก็ล้มครืนลงทันที

การก่อตัวของวิกฤตินี้เริ่มจาก
1.การขาดดุลการค้ามานับสิบปี ในรัฐบาลต่างๆ หลายรัฐบาล ทั้งที่การส่งออกในหลายๆ ช่วงมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่แท้จริงแล้วตัวเลขการนำเข้ากลับสูงกว่า เมื่อขาดดุลการค้า ค่าเงินบาทที่น่าจะมีค่าที่ลดลง แต่เนื่องจากเราเอาเงินบาทไปผูกติดกับยูเอสดอลลาร์ ก็เลยคงที่อยู่ที่ประมาณ 25 บาทตลอดมา ซึ่งก็เป็นค่าที่ผิดจากค่าที่แท้จริงของเงินบาทควรจะเป็น

2.การเปิดเสรีทางการเงินแบบไม่มีมาตรการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ทำให้มีการกู้เงินนอกเข้ามาเกิดขึ้นมากมาย ส่วนใหญ่เพื่อเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์และตลาดทุน แต่ไม่ใช่การลงทุนในภาคการผลิต...ที่สำคัญต้องเข้าใจก่อนว่าการไหลของเงินทุนนั้น มีธุรกรรมได้ 3 แบบ คือ IN-OUT, OUT-IN และ OUT-OUT แต่หลังจากการเปิดเสรีทางการเงิน ธุรกรรมแทบจะทั้งหมดกลับเป็นแบบ OUT-IN อย่างเดียวเท่านั้น นั่นหมายความว่า มีแต่การกู้เข้ามาลูกเดียว มันก็เลยเกิดความไม่สมดุล ที่เลวร้ายยิ่งกว่าก็คือ หนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้เงินกู้ระยะสั้น ซึ่งเมื่อครบกำหนดจะต้องชำระคืนทันที

3.การล้มลงของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จากการดำเนินการอย่างไม่โปร่งใส ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในหมู่เจ้าหนี้ต่างชาติ และเริ่มระแวงสงสัยในเรื่องความมั่นคงของสถาบันการเงินต่างๆ ของไทย

4.เมื่อค่าเงินผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงมากๆ ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้นักเก็งกำไรค่าเงินสามารถเข้ามาโจมตีเพื่อหากำไรจากค่าเงินได้ และเผอิญธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงนั้นได้เอาเงินสำรองของประเทศเข้าทำการต่อสู้ค่าเงินอย่างไร้สติจนหมดหน้าตัก

5.และเมื่อเจ้าหนี้ทราบข่าวนี้ ก็ทำการทวงหนี้คืนในทันที ในจำนวนหนี้ทั้งหมดในระยะนั้นเป็นหนี้ระยะสั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ไม่สามารถชำระคืนให้เจ้าหนี้ได้ทัน

รวมๆ แล้วนี่คือสาเหตุของวิกฤติในครั้งนั้น
* เปิดคำวินิจฉัยของ ศปร. "วิกฤติครั้งนี้เริ่มมาจากเอกชน แต่รัฐมีส่วนทำให้ปัญหาบานปลายอย่างไม่มีขีดจำกัด"

บทสรุปจากรายงานที่จัดทำโดยคณะกรรมการการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.) เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล ซึ่งก็มีรายละเอียดดังนี้

ข้อบกพร่องของโครงสร้างระบบการบริหารการเงินอันนำไปสู่วิกฤตการณ์ และความไม่มีประสิทธิภาพในการตัดสินใจเชิงนโยบาย

วิกฤตการณ์เศรษฐกิจไทยครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากการก่อหนี้ของภาคเอกชน แต่การดำเนินนโยบายการเงินของรัฐก็มีส่วนทำให้ปัญหาการก่อหนี้บานปลายอย่างแทบไม่มีขีดจำกัด

ขั้นตอนของความเพลี่ยงพล้ำในการดำเนินนโยบายการเงิน ลำดับได้ดังนี้

1.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจเลือกที่จะไม่ให้เปิดตลาดทุนเสรีตั้งแต่ พ.ศ.2533 แต่ ธปท. ก็เลือกที่จะให้เปิด การตัดสินใจให้เปิดครั้งนั้นนับว่าเป็นผลพวงของแนวนโยบายที่เป็นมาโดยต่อเนื่องเป็นระยะยาวนาน และสะท้อนความต้องการของฝ่ายการเมืองในขณะนั้นอย่างเต็มที่ เมื่อนายวิจิตรเข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการ ก็สานต่อนโยบายนั้นอย่างขะมักเขม้น ถึงขั้นเปิดวิเทศธนกิจซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่าย

2.เมื่อ ธปท. เลือกที่จะเปิดตลาดเงินตลาดทุนให้เสรีแล้ว ธปท. ก็ควรเลือกที่จะให้อัตราแลกเปลี่ยนยืดหยุ่นมากกว่านี้ แต่ ธปท. ก็เลือกที่จะรักษาช่วง (band) อัตราแลกเปลี่ยนที่แคบมากไว้ จะมาเริ่มพิจารณาก็ในเดือนเมษายน 2539 ซึ่งสายไปเสียแล้ว เพราะหลังจากนั้นอีกไม่กี่เดือน ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็รุนแรง จนทำให้ ธปท. กลัวที่จะดำเนินการใดๆ อีกต่อไป เพราะเกรงว่าจะส่งสัญญาณผิดให้กับตลาด

3.เมื่อ ธปท. เลือกที่จะรักษาอัตราแลกเปลี่ยนที่แคบไว้เช่นนั้น ก็หมายความว่า แนวนโยบายทางด้านอุปสงค์รวม จะต้องมีความระมัดระวัง (CONSERVATIVE) เป็นพิเศษ โดยเฉพาะในระยะตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นต้นมา นโยบายการคลังเป็นเรื่องของรัฐบาลและรัฐสภาก็จริงอยู่ แต่ ธปท. ก็มิได้ผลักดันอย่างจริงจังให้รัฐบาลดำเนินนโยบายเกินดุล ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงนั้น ส่วนนโยบายการเงินที่ดึงปริมาณเงินในประเทศก็ไร้ผล เพราะถูกลบล้างด้วยเงินกู้จากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

4.เมื่อ ธปท. ไม่สามารถใช้นโยบายการคลังหรือการเงินได้ ก็ควรจะใช้มาตรการไม่ให้เงินกู้ไหลเข้าประเทศอย่างมากมายเสียตั้งแต่ต้น แต่มาตรการที่ประกาศเป็นมาตรการที่อ่อน และนำมาใช้เมื่อสายไปแล้ว คือ หลังจากที่ไทยมีหนี้สินระยะสั้นในระดับสูงมากเกินไปเสียแล้ว

ที่กล่าวมาแล้วเป็นบทสรุปของ ศปร. เกี่ยวกับสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นปัญหาที่ก่อเกิดจากการเปิดเสรีทางการเงินแบบผิดๆ ต่อไปนี้คือเหตุผล

* ทฤษฎี (Incompatibility of Trinity)
การเงินระหว่างประเทศมีหลักการพื้นฐานที่เรียกว่า “หลักการที่เข้ากันไม่ได้ของ 3 สิ่ง” (Incompatibility of Trinity) คือ
1.การใช้นโยบายการเงินที่เป็นของตัวเอง (Independence Monetary Policy)
2.การคงอัตราแลกเปลี่ยนแบบตายตัว (Fixed Exchange Rate)
3.การเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยเสรี (Freedom of Capital Movement)

ความหมายคือประเทศหนึ่งประเทศใดไม่สามารถจะทำทั้ง 3 สิ่งนี้ได้พร้อมๆ กัน เช่น ถ้าเราเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบตายตัว (Fixed Exchange Rate) และใช้นโยบายการเงินที่เป็นของตัวเอง (Independent Monetary policy) เราก็จะไม่สามารถปล่อยให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยเสรี (Freedom of Capital Movement) ได้

เหมือนครั้งหนึ่งประเทศไทยเคยใช้ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และที่ประเทศจีน มาเลเซีย กำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน

เหตุผลง่ายๆ คือ การใช้เงินสกุลของตนเอง แต่ไปผูกติดกับเงินสกุลอื่น ย่อมก่อให้เกิดค่าเงินที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริงเมื่อค่าเงินเพี้ยนจากความเป็นจริงมากๆ ก็จะเปิดโอกาสให้สามารถทำกำไรจากค่าเงินได้ และยิ่งเมื่อมีองค์ประกอบที่สามเข้ามาอยู่ในที่เดียวกันคือ เปิดเสรีให้เงินทุนสามารถไหลเข้าออกได้โดยไม่มีการควบคุมการโจมตีค่าเงิน ก็สามารถกระทำได้อย่างง่ายดาย

ตัวอย่างของการที่มีองค์ประกอบเพียง 2 สิ่ง (ไม่ครบสาม) ที่เห็นง่ายๆ คือ ของไทยช่วงก่อนเปิดเสรีที่เรามีเงินสกุลของตนเอง และผูกติดค่าเงินไว้กับดอลลาร์ แต่ไม่ได้เปิดเสรีทางการเงิน เราปลอดภัยและรอดพ้นจากการโจมตีมาได้

อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศมาเลเซีย มาเลเซียก็ตกเป็นเป้าการโจมตีค่าเงินเช่นเดียวกับไทย แต่มาเลเซียมีผู้นำที่ฉลาดและกล้าหาญ โดยกล้าออกกฎหมายควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน ทำให้มาเลเซียสามารถฝ่ามรสุมทางการเงินในช่วงเวลานั้นมาได้โดยไม่เสียหาย

ด้วยทฤษฎีนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า เมื่อรัฐบาลสมัยนั้นจะเปิด BIBF (การเปิดเสรีทางการเงิน) แต่ไม่ได้คำนึงถึงหลักสากลว่าควรจะปล่อยค่าเงินลอยตัวในระดับหนึ่ง คือการเปิดช่องว่างให้มีการโจมตีค่าเงินได้