WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 18, 2008

ผู้ลี้ภัยทางการเมืองไปอังกฤษ

ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และภรรยา จะเสนอเรื่องเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองในประเทศอังกฤษหรือไม่อย่างไร แต่สาเหตุสำคัญที่นานาอารยประเทศทั่วโลกรับรู้ทั่วกันก็คือ การตัดสินใจพำนักอยู่ที่อังกฤษของครอบครัวชินวัตร เป็นผลพวงมาจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ของคณะเผด็จการทหาร คมช. ที่ออกลูกออกหลานว่านเครือกลายเป็น “ผลไม้เป็นพิษ” เล่นงานฝ่ายตรงข้ามอย่างไร้ความเป็นธรรม
ผลมาจากเหตุ การวิเคราะห์ปัญหาจึงต้องมองที่เหตุ อย่าตัดตอนเชื่อตามฝั่งฝาเผด็จการที่ร้องแรกแหกกระเชอไม่หยุดไม่หย่อน พากันตีความว่า อดีตนายกรัฐมนตรีและภรรยาเป็นผู้ร้าย
ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไรก็ตาม ลองมาสำรวจตรวจตราดูกันสักหน่อยว่า มีบุคคลสำคัญของโลกในอดีต ใครบ้างที่ขอลี้ภัยทางการเมืองในประเทศอังกฤษ ซึ่งเรียงตามเวลามีดังนี้
*นโปเลียน โบนาปาร์ต (20 เม.ย. 1808 - 9 ม.ค. 1873) ช่วงเวลาที่ลี้ภัยในอังกฤษ 1808-1846 เหตุที่ลี้ภัย ราชวงศ์โบนาปาร์ตถูกโค่น
นโปเลียน โบนาปาร์ต ใช้ชีวิตในฐานะผู้ลี้ภัยการเมืองอยู่ในอังกฤษ ตราบกระทั่งปี 1848 จึงเดินทางกลับมาตุภูมิ และได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ชีวิตของ หลุยส์ โบนาปาร์ต ต้องลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศตั้งแต่เกิด เนื่องจากการเมืองในรุ่นพ่อ ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 1 เมื่อราชวงศ์ถูกโค่นลงจากราชบัลลังก์ ทั้งสมาชิกของราชวงศ์ได้ลี้ภัยไปยังประเทศสหราชอาณาจักร จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2391 ที่ประเทศฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ ถูกโค่นราชบัลลังก์ มีการสถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และ หลุยส์ นโปเลียน ตัดสินใจลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐ และได้รับชัยชนะ
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจาก หลุยส์ นโปเลียน ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเพียง 4 ปีให้หลัง ได้พยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญยืดวาระประธานาธิบดี ทำรัฐประหาร ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำเผด็จการ รื้อฟื้นระบอบกษัตริย์ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในที่สุด
*คาร์ล มาร์กซ์ (5 พ.ค. 1818 - 14 มี.ค. 1883) ช่วงเวลาที่ลี้ภัย 1849-1883 เหตุที่ลี้ภัย ถูกคุกคามจากทางการ มาร์กซเป็นนักทฤษฎีสังคมการเมืองผู้ประกาศว่า “ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมา ล้วนแต่ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น” และเป็นผู้สร้างรากฐานของแนวคิดมาร์กซิสม์และสังคมนิยม
เขาต้องลี้ภัยเนื่องจากความคิดทฤษฎีของเขาเอง นำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยของตัวเขา ประเทศแรกที่เขาลี้ภัยไปคือ ฝรั่งเศส และเบลเยียม ตามลำดับ แล้วกลับมาเยอรมนีในปี 1849 เมื่อกลับมาสู่มาตุภูมิเขาได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ "New Rhenish Newspaper" ในปีเดียวกันนั้นเขาถูกดำเนินคดีถึง 2 ครั้ง เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานปลุกปั่นให้ก่อกบฏ แม้ว่าผลการพิจารณาคดีทั้ง 2 ครั้งนั้น เขาจะไม่มีความผิดก็ตาม อย่างไรก็ดี หนังสือพิมพ์ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นก็ถูกปิด และเขาต้องลี้ภัยไปฝรั่งเศสอีกครั้ง แต่ก็ต้องเผชิญกับการคุกคาม กระทั่งตัดสินใจหลบหนีเข้าอังกฤษ
มาร์กซลี้ภัยไปอังกฤษในเดือนพฤษภาคม ปี 1849 และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นจนกระทั่งเสียชีวิตในปี 1883 ในระหว่างนั้นมาร์กซยังคงผลิตงานความคิดอย่างต่อเนื่อง
*ซุน ยัตเซ็น (12 พ.ย. 1866 - 12 มี.ค. 1925) ช่วงเวลา 1896-1897 สาเหตุที่ลี้ภัย ถูกทางการของราชวงศ์ชิงไล่ล่าด้วยค่าหัว 1,000 หยวน เนื่องจากเป็นผู้นำก่อการปฏิวัติที่กวางโจว ซุน ยัตเซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง และประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีน เป็นแกนนำคนสำคัญในการโค่นล้มราชวงศ์ชิง ก่อนการปฏิวัติใหญ่โค่นราชวงศ์ชิงในจีนจะเริ่มขึ้นนั้น ซุน ยัตเซ็น ในฐานะแกนนำซึ่งถูกทางการหมายหัว หลังจากประสบความล้มเหลวในการปฏิวัติที่กวางโจว ทางการตั้งค่าหัวของเขาไว้ที่ 1,000 หยวน ด้วยพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดี ที่ได้รับการศึกษาจากฮาวายและฮ่องกง ซุน ยัตเซ็น ลี้ภัยอยู่ในแถบยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น โดยอาศัยช่วงเวลาที่ลี้ภัยไปตามประเทศต่างๆ ระดมผู้สนับสนุนแนวทางการปฏิวัติไปพร้อมๆ กัน
ซุน ยัตเซ็น ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศในระหว่างปี 1895 จนถึงเหตุการณ์อันลือลั่น เรื่องการลักพาตัวเขาเกิดขึ้นขณะที่เขาลี้ภัยอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 1896 เขาถูกลักพามากักตัวไว้ที่สถานกงสุลรัฐบาลราชวงศ์ชิงในกรุงลอนดอน ดร.ซุน ถูกกักตัวอยู่เป็นเวลา 12 วัน และในท้ายที่สุดข่าวการลักพาตัวผู้นำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจีนที่เกิดขึ้นในกรุงลอนดอน ก็ล่วงรู้ถึงหูนักหนังสือพิมพ์ กลายเป็นข่าวใหญ่ กดดันให้รัฐบาลจีนขณะนั้นต้องยอมปล่อยตัวเขาออกมา หลังจากนั้น ซุน ยัตเซ็น ยังคงพำนักที่อังกฤษเป็นเวลาอีกปีกว่า โดยศึกษาทฤษฎีการเมืองไปด้วย และเดินทางกลับไปสู่ขบวนการปฏิวัติอีกครั้งในปี 1897 โดยอาศัยญี่ปุ่นเป็นที่พำนักและเป็นฐานก่อการปฏิวัติ ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องยาวนาน ก่อให้เกิดการปฏิวัติและลุกฮือจากชนชั้นชาวนาและชนชั้นล่าง การประท้วงการขูดรีดภาษีในมณฑลต่างๆ และการปฏิวัติซินไฮ่โดยชนชั้นนายทุน ในเดือนตุลาคม 1911 จนกระทั่งวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1912 จักรพรรดิปูยีก็ประกาศสละราชสมบัติพร้อมๆ กับการสิ้นสุดของรัฐบาลราชวงศ์ชิง ที่ดำเนินมากว่า 260 ปี ซุน ยัตเซ็นเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของจีน ในวันปีใหม่ ปี 1912
*ซิกมันด์ ฟรอยด์ (6 พ.ค. 1856 - 23 ก.ย. 1939) ปีที่ลี้ภัย 1938–1939 สาเหตุที่ลี้ภัย ถูกคุกคามจากพรรคนาซี ซิกมันด์ ฟรอยด์ เกิดในสาธารณรัฐเช็ก และย้ายมาศึกษาและทำงานเป็นจิตแพทย์ที่ออสเตรีย เขาให้กำเนิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์อันโด่งดัง เขาลี้ภัยไปลอนดอนในปี 1938 เนื่องจากช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่นาซีเข้ายึดครองประเทศออสเตรีย ฟรอยด์เสียชีวิตที่ลอนดอนด้วยโรคมะเร็งในลำคอ ในปี 1939
*Caetano Veloso (7 ส.ค. 1942 - ปัจจุบัน) ช่วงเวลา 1969–1972 เหตุที่ลี้ภัย ถูกคุกคามจากทางการ เวโลโซเป็นนักดนตรี นักเขียน นักแต่งเพลง และเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วย เขาเกิดและเติบโตในบราซิล บทเพลงของเขาถูกทางการบราซิลมองว่าเป็นบทเพลงที่มีเป้าหมายทางการเมือง เขาถูกจับกุม 2 ครั้ง และลี้ภัยไปอังกฤษในปี 1969 ก่อนที่จะเดินทางกลับสู่บราซิลอีกครั้งในปี 1972
*ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (9 มี.ค. พ.ศ.2458 - 28 ก.ค. พ.ศ.2542) ช่วงเวลาลี้ภัย พ.ศ.2519–2542 เหตุที่ลี้ภัย ถูกไล่ล่าจากฝ่ายขวา เนื่องจากเหตุการณ์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519
ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การล้อมปราบนักศึกษาเกิดขึ้นในเช้าวันนั้น ภายหลังจากที่กลุ่มนิสิตนักศึกษาได้รวมตัวกันต่อต้านการเดินทางเข้าประเทศของ จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นเวลาหลายวันก่อน ดร.ป๋วย ถูกกล่าวหาว่า เป็นฝ่ายซ้ายและอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของนักศึกษา ขณะเดียวกันก็ถูกนักศึกษาโจมตีว่าเป็นฝ่ายขวา เนื่องจากพยายามพูดจายับยั้งการเคลื่อนไหวของนักศึกษา เวลา 20.00 น. ของวันเดียวกัน ดร.ป๋วย เดินทางออกจากประเทศไทย มุ่งหน้าสู่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และพำนักอยู่ที่นั่นอย่างถาวรจนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 24 กรกฎาคม 2542
*เบนาซีร์ บุตโต (21 มิ.ย. 1953 - 27 ธ.ค. 2007) ช่วงเวลาที่ลี้ภัย 1984 เหตุที่ลี้ภัย ความขัดแย้งทางการเมืองในปากีสถาน เบนาซีร์ บุตโต ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของปากีสถาน ซึ่งถูกลอบสังหารไปเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ปีที่แล้ว เธอต้องลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ 2 ช่วง ทั้งนี้ในระหว่างที่อยู่ในประเทศปากีสถานก็ต้องเผชิญกับการถูกกักบริเวณและถูก ‘ขังเดี่ยว' อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่พ่อของเธอถูกโค่นอำนาจลงโดย นายพลเซีย อุล ฮัก ผู้ที่ต่อมากลายเป็นเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศปากีสถานอยู่เป็นเวลาถึง 10 ปี (1978-1988)
เมื่อ ซัลฟิการ์ อาลี บุตโต พ่อของเบนาซีร์ ถูกทำรัฐประหารในปี 1978 เบนาซีร์ซึ่งเป็นทายาททางการเมือง ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เริ่มจากถูกกักบริเวณ และจากนั้นก็ถูกขังเดี่ยวในคุกกลางทะเลทราย เบนาซีร์ลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษในปี 1984 โดยให้เหตุผลต่อทางการว่า เธอต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาอาการหูชั้นกลางอักเสบ ปี 1988 เบนาซีร์กลับเข้าสู่สนามการเมืองปากีสถาน โดยได้คะแนนเสียงท่วมท้นจากประชาชน ส่งผลให้เธอก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวัยเพียง 35 ปี แต่หลังจากนั้นเพียง 2 ปี เธอก็ถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่น ถูกสั่งถอดถอน แต่กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 อีกครั้งในปี 1993 ปี 1999 เบนาซีร์ บุตโต และ อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี สามี ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 5 ปี และปรับเงินจำนวน 8 ล้าน 6 แสนดอลลาร์สหรัฐ ด้วยข้อหารับเงินจากบริษัทสัญชาติสวิส เพื่อติดสินบนในการหลบเลี่ยงภาษี ศาลสูงกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในเวลาต่อมา และตัวเธอเองยืนยันว่า ข้อกล่าวหาต่างๆ ถูกสร้างขึ้นโดยฝ่ายตรงข้าม ก่อนที่บุตโตจะเดินทางกลับสู่ปากีสถาน เพอร์เวซ มูชาร์ราฟ ประธานาธิบดีได้ลงนามนิรโทษกรรมบรรดานักการเมือง เพื่อเปิดทางให้กับการเจรจาจัดสรรอำนาจกับ นางเบนาซีร์ บุตโต ลี้ภัยการเมืองอยู่ในดูไบตั้งแต่ปี 1998 และเดินทางกลับสู่ปากีสถานเพื่อรณรงค์หาเสียงเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2007 เพื่อลงแข่งขันในสนามเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีหน้า โดยหวังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 3 แต่ที่สุดก็ถูกลอบสังหารในวันที่ 27 ธันวาคม 2007
*มีร์ซา ตาฮีร์ อาหมัด (18 ธ.ค. 1928 - 19 เม.ย. 2003) มีร์ซา ตาฮีร์ อาหมัด กาหลิบที่ 4 เป็นผู้นำของมุสลิมอามาดียะห์ เกิด เติบโต และได้รับการศึกษาในกรุงละฮอร์ ปากีสถาน มีร์ซา ตาฮีร์ อาหมัด ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์อามาดียะห์ ซึ่งถ่ายทอดผ่านดาวเทียม เพื่อนำเสนอข่าวสารข้อมูลของมุสลิมอามาดียะห์ ซึ่งผู้ศรัทธาในความเชื่อตามแนวทางของอามาดียะห์นั้นมีอยู่แพร่หลาย แต่ก็ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงในหลายประเทศ โดยปัจจุบันนี้ มีเพียงประเทศอินเดียเท่านั้นที่ยอมรับยอย่างเป็นทางการว่า อามาดียะห์คือมุสลิม ขณะที่ในประเทศอินโดนีเซียกลับถูกปฏิเสธ และต่อต้านด้วยความรุนแรง มีร์ซา ตาฮีร์ อาหมัด ลี้ภัยอยู่ในประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี 1984 และเสียชีวิตที่นั่นในปี 2003
*นาวาซ ชารีฟ (25 ธ.ค. 1949 - ปัจจุบัน) ช่วงเวลาที่ลี้ภัย 2007 เหตุที่ลี้ภัย ความขัดแย้งทางการเมืองกับกลุ่มทหาร นาวาซ ชารีฟ เป็นนักการเมืองของพรรคมุสลิมแห่งปากีสถาน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของปากีสถาน 2 สมัย สมัยแรก 1 พฤศจิกายน 1990 - 18 เมษายน 1993 สมัยที่ 2 เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 1997 - 12 ตุลาคม 1999 และผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พรรคมุสลิมแห่งปากีสถานซึ่งมีนาวาซเป็นผู้นำ กับพรรคประชาธิปไตยประชาชนแห่งปากีสถาน ซึ่งมีสามีของนางเบนาซีร์เป็นผู้นำพรรคชั่วคราว ได้คะแนน 2 ใน 3 ของที่นั่งในสภา และร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาล พร้อมทั้งร่วมกันยื่นญัตติถอดถอนประธานาธิบดี เพอร์เวซ มูชาร์ราฟ ออกจากตำแหน่ง และสอบสวนพิจารณาความผิด การเมืองในปากีสถานยังคงร้อนระอุอย่างไม่มีวี่แววว่าจะหาข้อยุติได้ในเร็ววัน
การพ้นจากตำแหน่งของนาวาซทั้ง 2 สมัย เกิดขึ้นเนื่องจากถูกถอดถอน และถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานคอร์รัปชั่น เช่นเดียวกันกับที่นางเบนาซีร์ต้องเผชิญ
นาวาซ ชารีฟ ลี้ภัยออกนอกประเทศตั้งแต่ปี 1999 ถึงปี 2007 อังกฤษ เป็นประเทศสุดท้ายที่เขาพำนัก และประกาศเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2007 ว่าจะกลับมาสู้เกมการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย โดยไม่หวาดกลัวต่ออิทธิพลของผู้นำทหาร