WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, August 22, 2008

ปรส.อัปยศ? เมื่อไร ปชป. จะตอบเสียที! (2)

*ความผิดพลาดครั้งนี้ต่อให้เชิญเทวดามาบริหารก็ยังพังอยู่ดี...
การล้มลงของเศรษฐกิจ เกิดขึ้นในช่วงของรัฐบาลก่อนหน้าปี 2540 จริง แต่สาเหตุมันได้ก่อตัวมาจากหลายๆ รัฐบาลก่อนหน้านั้นแล้ว แต่มาสุกงอมเอาในช่วงของรัฐบาล พล.อ.ชวลิต การกู้เงินไอเอ็มเอฟ ดูได้จากการไปลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) ฉบับที่ 1 เซ็นในช่วงของรัฐบาล พล.อ.ชวลิต แต่ส่วนที่เหลือ ตั้งแต่ฉบับที่ 2-8 เป็นของรัฐบาลต่อมา ที่รัฐบาลชุดนั้นไม่ได้พยายามทัดทานมาตรการต่างๆ ที่ไอเอ็มเอฟแนะนำให้รัฐบาลนำมาปฏิบัติ ทั้งที่มาตรการเหล่านั้นล้วนเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายได้อย่างมากที่สุด แต่รัฐบาลกลับยอมไอเอ็มเอฟ ทำให้ประเทศไทยไร้ซึ่งศักดิ์ศรีและเกียรติศักดิ์ เปรียบเหมือนการตกเป็นทาสของไอเอ็มเอฟโดยไม่ฟังเสียงทัดทานของสื่อมวลชนและประชาชน
ความเสียหายจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไปต่อสู้ค่าเงินที่เสียหายไป นับหมื่นล้านยูเอสดี แต่ความผิดพลาดในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยรัฐบาลในช่วงนั้น กลับสร้างความเสียหายมากกว่า เป็นหลายเท่าทวีคูณ
กรณี ปรส. อัปยศ
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การสูญเสียจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงนั้น นอกจากการสูญเสียในการต่อสู้กับค่าเงินแล้ว การเสียหายจากการดำเนินนโยบายแก้ปัญหาต่างๆ นั้น กลับรุนแรงมหาศาลมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น
1.การปิดสถาบันการเงิน 56 แห่งเป็นการถาวร โดยไม่มีมาตรการช่วยเหลือใดๆ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายทางการเงินอย่างใหญ่หลวง และกระทบไปถึงภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง เนื่องจากไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ กับสถาบันการเงินที่มีพันธะทางการเงินกันอยู่ นักธุรกิจชาวไทยจึงต้องล้มระเนระนาด และล้มหายตายจากไปบนถนนสายธุรกิจ อย่างไม่มีวันจะหวนกลับคืนมาได้ เพราะไม่สามารถเดินบัญชีหมุนเวียนทางการเงินได้
2.มาตรการ 14 สิงหาคม ที่รัฐบาลชุดชวน หลีกภัย ใช้เงินภาษีของประชาชนไปดำเนินมาตรการอุดหนุนพยุงสถานภาพของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เงินที่ใช้ในมาตรการดังกล่าวนี้ ถูกกล่าวหาว่าเป็นการ “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” โดยไม่เกิดผลใดๆ ต่อประชาชน อีกทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลชุดนั้น ในอดีตเคยเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีผลประโยชน์ทับซ้อนอะไรหรือเปล่า? ช่วยตอบอย่างเสียงดังฟังชัดให้ประชาชนทั้งประเทศได้ยินด้วย
3.รัฐบาลชุดที่แล้วได้ใช้มาตรการไม่ให้เงินไหลออกไปนอกประเทศ ด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์อย่างสูงลิบลิ่ว เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในธนาคารพาณิชย์บางแห่งสูงกว่าร้อยละ 20 โดยคาดหวังให้เป็นปัจจัยล่อให้เงินทุนที่ไหลออกไปยังต่างประเทศไหลกลับเข้าประเทศ แต่ในสภาวการณ์เช่นนั้น มันคือการประหารธุรกิจในประเทศอย่างกว้างขวาง เป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับธุรกิจจนสุดจะแบกรับได้ ประกอบกับปัญหาที่วิกฤติยิ่งสำหรับนักธุรกิจในขณะนั้น คือการไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ ภาคผู้ประกอบการจึงต้องประสบกับการล้มละลายไปโดยไม่ได้รับความเหลียวแล ช่วยเหลือใดๆ
ยิ่งกว่านั้น เป้าหมายที่จะเรียกเงินทุนให้ไหลกลับเข้าประเทศก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ เนื่องจากไทยในขณะนั้น ยังขาดปัจจัยสำคัญที่จะให้เงินทุนไหลเข้า นั่นคือความมั่นใจจากตลาดเงิน ตลาดทุน นั่นเอง

*ในที่นี้ขอยกเพียง 3 ประการนี้มากล่าวถึง
ขอลงลึกในรายละเอียดในเรื่องการปิดสถาบันการเงิน 56 แห่ง เพราะส่วนนี้ทำให้เราเสียหายไปกว่า 400,000 ล้านบาท จากการปิดสถาบันการเงิน และนำสินทรัพย์ของสถาบันเหล่านี้ออกขายในราคาถูกๆ
เรื่องก็คือ ในสมัยรัฐบาลของ พล.อ.ชวลิต มีการสั่งปิดสถาบันการเงิน 58 แห่งเป็นการชั่วคราว เมื่อเดือนตุลาคม 2540 เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์สำหรับการปฏิรูปและฟื้นฟูสถาบันการเงินเหล่านั้น เพื่อให้ธุรกรรมต่างๆ ของธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ หลังการฟื้นฟูโดยได้ตั้ง ปรส. ขึ้นมาเพื่อดำเนินการในครั้งนั้น...เหมือนแพทย์ทำการวินิจฉัยโรคก่อนลงมือรักษา
ครั้นมีรัฐบาลต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2540 ก็ได้สั่งปิดถาวร 56 ใน 58 สถาบันการเงิน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2540 ในช่วงก่อนการประกาศปิดสถาบันการเงินแบบถาวรนั้น ในช่วงแรกสื่อต่างๆ ก็คาดเดาว่า อย่างเก่งก็คงปิดสักสิบกว่าราย แล้วก็ลดลงมาเป็นคาดว่า จะมีสถาบันการเงินรอดได้ 16 แห่งในช่วงอาทิตย์สุดท้ายก่อนการประกาศ
เอาเข้าจริง สถาบันการเงินของไทยเป็นมะเร็งขั้นสุดท้าย 56 ใน 58 แห่ง นั่นคือการวิเคราะห์ในสายตาของรัฐบาลขณะนั้น แต่ในสายตาบุคคลทั่วไปต่างงง รวมถึงตัวผู้เขียนด้วย หาเหตุผลไม่ได้ว่าที่ทำกันเช่นนี้ มันเป็นการฟื้นฟูหรือทำลายกันแน่ จนเมื่อเห็นวิธีการประมูลทรัพย์สินให้ต่างชาติในราคาถูกๆ แล้ว จึงได้ถึงบางอ้อว่า กลุ่มนี้เขาวางแผนไว้อย่างแยบยลจริงๆ
ล่าสุด ผลสอบ “ศปร.3” ออกมาแล้ว และได้ชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากล และความผิดพลาดของ ปรส. ตั้งแต่ต้นจนปลาย (ลองหาอ่านในหนังสือ “เปลือยธารินทร์” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผู้จัดการ ที่เดี๋ยวนี้กลายเป็น "หนังสือหายาก" ไปแล้ว)