WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, August 19, 2008

เรื่องดีๆ ของคนดีที่ประชาชนรัก

ช่วงนี้มีโทรศัพท์เข้ามาที่กองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์มากมาย ล้วนแล้วแต่แสดงความเห็นอกเห็นใจอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทุ่มเททำงานเพื่อบ้านเมืองและประชาชนคนไทยมาเกือบ 6 ปี ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลูกหลานได้รับการศึกษาอย่างดี เกิด เจ็บไข้ได้ป่วย ก็มีหมอตามโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค จึงเป็นที่รักของคนในระดับรากหญ้า คนที่ด้อยโอกาส คนที่รอคอยโอกาส
แม้แต่ในสังคมโลก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เป็นที่ยอมรับในความรู้ความสามารถของอดีตนายกรัฐมนตรีคนเก่งคนนี้ จึงเป็นที่อิจฉาตาร้อน เกิดความริษยาจากคนที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติบ้านเมือง เพราะมองว่าจะเป็น “ก้างขวางคอ” ชิ้นใหญ่ ในการที่พวกเขาจะมามีอำนาจ มาหาผลประโยชน์ต่างๆ
โดยพยายามทำลาย ต้องการให้ออกไปจากการเมืองมาโดยตลอด หาเรื่องประท้วงขับไล่มาจนถึงวันนี้
ในบ้านเรา การให้โอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้อยู่อย่างมีศักดิ์มีศรีในสังคมนั้น เป็นเรื่องที่เห็นกันได้ยาก แม้จะมีอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก
ยิ่งตอนนี้ ปัญหาสังคมกำลังทวีความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ทั้งคนยากไร้ คนชรา คนพิการ เด็กด้อยโอกาส มีปัญหาเพิ่มมากขึ้น การแก้ไขปัญหาต้องกระจายความรับผิดชอบ ชุมชนต้องช่วยชุมชน
ดังนั้น “กองทุนหมู่บ้าน” ที่มีการบริหารจัดการจนมีผลกำไร จะได้กันเงินส่วนนี้จัดเป็น “สวัสดิการชุมชน” เข้าไปช่วยเหลือดูแลชุมชนต่อไป
ในส่วนที่เกินความสามารถของกองทุนนั้น ทางอำเภอ และส่วนราชการ รวมทั้ง อบต. จะเข้าไปช่วยเหลือ หากปัญหาเกินกว่านั้น ทางจังหวัด ส่วนราชการ กาชาดจังหวัด ตลอดจนภาคเอกชน จะเข้าไปให้การช่วยเหลือ ที่ผ่านมาสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ดีตามลำดับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
ที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาความยากจนตามโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ที่พูดถึงกันมากคือ “เงินผัน” เป็นการผันเงินไปให้ประชาชนในสมัยรัฐบาล ม.รว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อปี 2518 นั้น รัฐบาลต้องการช่วยผ่อนเบาปัญหาเศรษฐกิจอันหนักหน่วงให้ประชาชนในชนบท โดยการผันเงินไปให้สภาตำบลจ้างแรงงานชาวบ้านที่ไม่มีงานทำ ให้ช่วยกันพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ถนนหนทาง แหล่งน้ำ สะพาน ฯลฯ เพื่อคนยากจนเหล่านั้นจะได้มีรายได้
ขณะเดียวกันก็เป็นการเอื้ออำนวยประโยชน์แก่การผลิตและการดำเนินชีวิตของผู้คนในชุมชน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน
ส่วนการกระจายเงินงบประมาณไปให้การสนับสนุนโครงการ “กองทุนหมู่บ้าน” ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐบาลนั้น มีจุดมุ่งหมายจะช่วยให้ “กลุ่มออมทรัพย์” ของชาวบ้าน ที่เกิดขึ้นตามหมู่บ้านต่างๆ ได้มีเงินทุนเพิ่มขึ้น และสามารถผ่อนเบาความยากลำบากในการดำเนินชีวิตของชาวบ้านที่เป็นสมาชิกได้มากขึ้น
โดยกำหนดวัตถุประสงค์กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองไว้ว่า
1.เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำหรับการลงทุน เพื่อการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย การบรรเทาเหตุฉุกเฉินและความจำเป็นเร่งด่วน
2.ส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการเงินทุนของตนเอง ซึ่งการใช้จ่ายเงินของกลุ่มออมทรัพย์ที่ยกระดับขึ้นเป็นกองทุนหมู่บ้าน ก็เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ของกองทุน
ในวันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ได้เป็นประธานกดคอมพิวเตอร์ออนไลน์ โอนเงินกองทุนหมู่บ้านไหลสู่หมู่บ้านทั่วประเทศ ในงวดแรก 7,125 หมู่บ้าน จำนวน 7,125 ล้านบาท ผ่านระบบของ ธนาคารออมสิน 5,001 หมู่บ้าน และระบบของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 2,124 ล้านบาท กระจายในจังหวัดต่างๆ 64 จังหวัด
พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวหลังทำพิธีโอนเงินให้กับคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจังหวัดต่างๆ ซึ่งมีการถ่ายทอดผ่านดาวเทียมด้วยว่า การเตรียมความพร้อมของหมู่บ้านส่วนใหญ่ยังล่าช้า ทำให้การโอนเงินล่าช้า ขณะที่รัฐบาลใจร้อนกว่าประชาชนเสียอีก จึงอยากให้หมู่บ้านที่รับเงินไปแล้วช่วยแนะนำหมู่บ้านที่ยังไม่มีความพร้อม เพื่อเร่งสร้างความพร้อมมากขึ้น
และขอให้ประชาชนนึกเสมอว่า เงินกองทุนดังกล่าวเป็นเงินทุนหมุนเวียนที่นำไปใช้สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เมื่อใครมีรายได้ก็ควรคืนเงินเพื่อให้คนอื่นได้ใช้ต่อ
เงินดังกล่าวถือเป็นศูนย์กลางที่จะสร้างความสามัคคี ขอให้ใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเงินดังกล่าวสามารถใช้เชื่อมโยงกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ได้
พ.ต.ท.ทักษิณ พูดถึงนโยบายกองทุนหมู่บ้านว่า มั่นใจว่าจะแก้ปัญหาความยากจนได้ตรงจุด ในการช่วยเหลือประชาชนระดับล่างได้ และจะเป็นนโยบายที่หลายประเทศและหลายคนในประเทศไทยติดตามว่า จะประสบความสำเร็จหรือไม่ หลังจากเคยโจมตีนโยบายดังกล่าวมาก่อน
สำหรับโครงการกองทุนหมู่บ้านนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ออกตัวไว้แล้วว่า โอกาสที่เงินจะรั่วไหลคงไม่มี แต่หนี้เสียอาจจะมีบ้างแต่ไม่มากนัก
โครงการนี้ต้องการให้แหล่งทุนเข้าไปถึงชาวบ้าน และอยากให้นำเงินดังกล่าวมาสร้างงาน ให้สามารถยืนอยู่บนลำแข้งของตัวเองได้อย่างยั่งยืน
แต่บางคนไม่รู้เรื่อง พอรัฐบาลพูดเรื่องนี้ก็มีคนมาดูถูกว่า คนอย่างชาวบ้านจะไปจัดการได้อย่างไร เพราะมีประสบการณ์จากโครงการมิยาซาวา ซึ่งมันคนละเรื่องกัน โครงการมิยาซาวาเป็นการผลาญเงิน แต่กองทุนหมู่บ้านเป็นการเอาเงินให้ชาวบ้านสร้างตัว
"อย่าไปนึกว่าเงินนี้เหมือนใบปลิวที่เอามาโปรย ถ้าถามว่าวันนี้เงินกว่าหมื่นล้านพร้อมหรือไม่ ขอตอบว่าพร้อมแล้ว จะให้ลงพรุ่งนี้ก็ได้ แต่ไม่ต้องการให้ชาวบ้านคิดว่าเงินนี้แจกฟรี แล้วใช้ตามสบาย แต่จะเป็นเงินหมุนเวียนในหมู่บ้าน" อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวและว่า ต้องการกรรมการและผู้นำชุมชนที่มีความเสียสละ เป็นคนที่ชาวบ้านเลือกขึ้นมา และตนเห็นด้วยที่จะให้หน่วยราชการมาเป็นพี่เลี้ยง หากหมู่บ้านไหนบริหารเงินมีประสิทธิภาพ และต้องการเงินหมุนเวียนสูงขึ้น รัฐบาลคงพิจารณาเป็นรายกรณีไป
ในรัฐบาลนี้ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และ รมว.คลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ทำพิธีจัดสรรและโอนเงิน “กองทุนเงินล้าน” ให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ และหมู่บ้านและชุมชนเดิมที่ยังไม่ได้จัดตั้งกองทุน 885 แห่ง หรือประมาณ 50% จากที่มีทั้งหมด 1,540 แห่ง ตัวแทนกองทุนใหม่ที่เข้ารับการโอนเงิน แบ่งเป็น โครงการของธนาคารออมสิน 658 กองทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 227 กองทุน
แบ่งเป็น ภาคกลาง 14 กองทุน ภาคตะวันออก 39 กองทุน ภาคตะวันตก 48 กองทุน ภาคเหนือ 284 กองทุน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 453 กองทุน และภาคใต้ 47 กองทุน
จนถึงวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีหมู่บ้านที่ขึ้นทะเบียนแล้ว 38,573 หมู่บ้าน ผ่านการรับรองสถานภาพแล้ว 24,953 หมู่บ้าน และผ่านขั้นตอนการอนุมัติระดับอำเภอ 15,162 หมู่บ้าน ผ่านขั้นตอนการอนุมัติระดับจังหวัด 11,866 หมู่บ้าน และมีกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการขึ้นทะเบียนความพร้อมจำนวน 11,665 หมู่บ้าน
ส่วนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนที่เหลือ คาดว่าเมื่อมีการเตรียมความพร้อมในทุกด้านแล้ว จะโอนเงินได้ทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ เพื่อให้หมู่บ้านและชุมชนทั้งหมดมีเงินทุนที่จะนำไปพัฒนาหมู่บ้านของตนเองให้เกิดความเข้มแข็งต่อไป
ในงานนี้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ที่ไบเทค บางนา รวมทั้งจะชี้แจงทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านของรัฐบาลขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย
มีการยืนยันจาก ดร.ประภากร สมิติ ผวจ.ชัยนาท ว่า ตั้งแต่ปี 2544 ปัจจุบันมีกองทุนใน จ.ชัยนาท ทั้งสิ้น 514 กองทุน เป็นเงิน 514,000,000 บาท กองทุนหมู่บ้านอนุมัติให้สมาชิกกู้ยืมเงินไปลงทุนประกอบอาชีพ ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ด้านอื่นๆ ได้แก่ การอบรม การประชุม ทัศนศึกษาดูงาน สร้างสาธารณประโยชน์ชุมชน ฯลฯ การให้การช่วยเหลือสงเคราะห์ชุมชนของกองทุนหมู่บ้านในช่วงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน 2551 รวม 5 เดือน จำนวน 2,658 คน เป็นเงิน 2,789,360 บาท กองทุนหมู่บ้านทั้ง 514 กองทุน ได้อนุมัติให้สมาชิกกู้ไปลงทุนประกอบอาชีพในด้านการเกษตร 26,537 ราย เป็นเงิน 105,370,210 บาท ด้านการค้าขาย 9,498 ราย เป็นเงิน 94,980,000 บาท ด้านช่าง 6,125 ราย เป็นเงิน 29,420,000 บาท ด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือน 2,796 ราย เป็นเงิน 27,920,000 บาท รวมทั้งสิ้น 44,956 ราย เป็นเงิน 257,910,210 บาท ผลจากการบริหารกองทุนหมู่บ้าน ทำให้มีผลกำไร ซึ่งกองทุนได้จัดสรรเงินดอกเบี้ยจากบัญชีที่ 1 ไปใช้ในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ชุมชนครั้งนี้
เรื่องดีๆ ที่มีคนส่วนใหญ่ของประเทศได้ประโยชน์อย่างนี้ ไม่ค่อยมีใครยกมาพูดถึง แต่พยายามหาสิ่งที่มันผิดพลาดไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีอยู่บ้าง มาป่าวประกาศ หวังทำลายความรักศรัทธาที่มีต่อรัฐบาลและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ในบ้านเรา ยังมีคนประเภทปากกล้าขาสั่นอีกมากมาย โดยเฉพาะที่สะพานมัฆวานฯ