WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 18, 2008

“ผลที่เกิดจากต้นที่เป็นพิษ ย่อมเป็นพิษ”

ค่ำคืนของวันที่ 10 สิงหาคม ที่ผ่านมา คงเป็นค่ำคืนที่หลายต่อหลายคนเฝ้าจับตาดู “เที่ยวบิน TG 615 ว่าจะปรากฏชื่อของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร โดยสารกลับมาที่สุวรรณภูมิหรือไม่
“ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี หัวหน้ารัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่ถูกคณะเผด็จการทหาร “คปค.” เข้าปล้น แย่งชิงอำนาจโดยการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังจากนั้นได้ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 อ้างตัวเป็นรัฐาธิปัตย์ เขียนกฎหมายที่เป็นกฎหมู่เสียใหม่ ให้กลายเป็นรัฐธรรมนูญที่หมกเม็ด ซ่อนกลเผด็จการ ซึ่งบังคับใช้และบีบบังคับฝ่ายการเมือง ทำให้เกิดปัญหาเช่นในปัจจุบัน
คณะเผด็จการทหารยังได้สถาปนา “องค์กรที่อ้างว่าเป็นอิสระ” เช่น คตส. และแต่งตั้งบุคคลที่มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยชอบธรรมของประชาชน ขบวนการข้างถนนที่ส่งเทียบเชิญให้ทหารเข้ามาทำการรัฐประหาร มาทำหน้าที่พุ่งเป้าเอาผิดกับ “อดีตนายกรัฐมนตรีและครอบครัว” ราวกับว่าจะต้องประหัตประหารผู้ชายที่ชื่อทักษิณ และครอบครัว ให้วางวาย
และแล้วเที่ยวบิน 615 ในคืนวันที่ 10 สิงหาคม จึงไร้เงาของอดีตนายกรัฐมนตรีและภรรยา
ช่วงบ่ายของวันที่ 11 สิงหาคม กองบรรณาธิการประชาทรรศน์จึงได้รับโทรสารลายมือของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ส่งแถลงการณ์ชี้แจงข้อเท็จจริงการไม่ไปรายงานตัวต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ประชาทรรศน์ รายสัปดาห์ ฉบับที่ 81 ประจำวันเสาร์ที่ 16 –วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พุทธศักราช 2551 ถือเป็นฉบับบันทึกประวัติศาสตร์ เพราะได้นำแถลงการณ์ซึ่งเขียนโดยลายมือของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ต่อการตัดสินใจที่จะไม่กลับมาประเทศไทยเพื่อมาต่อสู้คดี เพราะเหตุผลที่ว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม ที่ได้รับการสืบทอดอำนาจจากเผด็จการทหาร เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมืองให้สิ้นซาก โดยไม่สนใจหลักกฎหมาย หลักนิติธรรมสากล ดังใจความที่สำคัญตอนหนึ่งของแถลงการณ์ที่ระบุไว้ว่า “การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม และการใช้ระบบสองมาตรฐานที่เห็นได้อย่างชัดเจน ทำให้ผมและครอบครัว พร้อมด้วยผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็นับว่าหนักหนาแล้ว แต่ยังเทียบไม่ได้กับการที่ระบบกระบวนการยุติธรรมของประเทศ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ที่มีเกียรติมีความน่าเชื่อถือสั่งสมมาเป็นเวลายาวนานต้องเสื่อมลง เพราะถูกนำมาใช้ทางการเมืองจนขาดความเป็นกลาง ซึ่งเป็นผลเสียต่อประเทศอย่างใหญ่หลวง”
นอกจากแถลงการณ์ฉบับลายมือของอดีตนายกรัฐมนตรีตามตัวอย่างข้างต้น ประเด็นร้อนแรงที่ถูกนำมาถกเถียงทางสาธารณะ คงหนีไม่พ้นเรื่องของการลี้ภัยทางการเมือง ประชาทรรศน์ รายสัปดาห์ฉบับนี้ ได้นำเสนอมุมมองทางวิชาการของนักวิชาการจากสำนักต่างๆ ที่มีต่อการตัดสินใจของอดีตนายกรัฐมนตรี และการลี้ภัยทางการเมืองว่า สามารถทำได้หรือไม่ รวมทั้งทิศทางสังคมไทยหลังการตัดสินใจของอดีตนายกรัฐมนตรี
รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่า การขอลี้ภัยทางการเมือง ขึ้นกับประเทศอังกฤษจะยอมหรือไม่ ทั้งกล่าวว่า ควรจะขอลี้ภัยตั้งนานแล้ว ไม่ควรจะมาขึ้นศาล และรอให้ พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ออกมาก่อนค่อยเข้ามาในประเทศไทย “การลี้ภัยของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นเรื่องซับซ้อน ยิ่งเป็นประเด็นทางการเมืองด้วยแล้ว อาจจะต้องพิจารณากันหลายเรื่อง อย่างไรก็ตาม การลี้ภัยของอาชญากรการเมือง ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่ทำกันบ่อยๆ ซึ่งก็พบว่ามีทั้งวิธีการที่เป็นการลี้ภัยอย่างเป็นทางการเมืองและไม่เป็นทางการเมือง
หาก พ.ต.ท.ทักษิณ คิดจะหนีลี้ภัยจริง เห็นว่าควรจะลี้ภัยไปตั้งแต่แรกแล้ว ไม่ควรจะมาขึ้นศาลสู้คดี แต่โดยรวมเป็นสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถทำได้ และดีด้วย โดยอาจร้องขอต่อประเทศที่จะไปอาศัยอยู่ว่า ไม่ได้รับความยุติธรรมในการตัดสินคดี หรือกระบวนการไม่มีความชอบธรรม และบุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการไม่ได้มาจากการยอมรับของสังคม หรือเข้ามาโดยไม่เป็นไปตามครรลองของประชาธิปไตย”
ด้าน รศ.ประทุมพร วัชรเสถียร อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และอดีตอาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนให้อดีตนายกรัฐมนตรีลี้ภัยการเมือง ในประเทศอังกฤษ และเห็นว่าไม่ควรมาขึ้นศาลตั้งแต่แรก และคาดว่าการตัดสินใจเช่นนี้จะทำให้บ้านเมืองไทยสงบขึ้นระดับหนึ่ง “ในกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เห็นได้ชัดจากคดีต่างๆ สิ่งที่พึงปฏิบัติได้คือ 1.พ.ต.ท.ทักษิณ ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการศาล แต่ต้องมั่นใจว่าจะชนะคดีทุกคดี 2.รัฐบาลมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทันที และ 3.ปฏิวัติ แต่การจะปลุกทหารให้ขึ้นมาปฏิวัติเป็นไปได้ยาก เพราะทหารเข้ากับฝ่ายกลุ่มพันธมิตรฯ ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำการลี้ภัย ควรลี้ภัยทันที เพราะกลับมาอาจจะโดนหนัก เนื่องจากยังมีอีกหลายคดีที่พัวพัน และคิดว่าการลี้ภัยไปอาจจะทำให้บ้านเมืองสงบในระดับหนึ่ง”
ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการขอลี้ภัยทางการเมืองว่า “การขอลี้ภัยทางการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นสิทธิส่วนตัว ซึ่งหากเป็นตนก็คงทำเช่นกัน เนื่องจากถูกกลั่นแกล้ง และถูกคุกคามในการดำเนินคดีความที่ไม่เป็นธรรม ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองต่อไปจากนี้จะมีความสงบลงหรือไม่นั้น เราไม่ได้เป็นฝ่ายกำหนด แม้อยากจะให้ดีขึ้นมาเท่าไรก็ตาม”
ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยืนยันชัดเจนว่า อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ไม่จำเป็นต้องทำเรื่องผ่านสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR แต่อย่างใด เพราะเป็นผู้นำที่ถูกลอบสังหาร และถูกคดีความอาญาที่มีลักษณะเป็นการเมือง จึงเข้าข่ายยกเว้น
“หากมีการลี้ภัยของผู้นำที่ประสบปัญหาจากการรัฐประหาร ก็จะมีการพยายามพูดว่า ลี้ภัยไม่ได้ เพราะถูกดำเนินคดีความอาญา เป็นความผิดทางอาญา แต่ของอดีตนายกฯ เป็นคดีความอาญาที่มีลักษณะเป็นการเมือง เพราะเป็นการเมืองที่ฝ่ายยึดอำนาจตั้งองค์ต่างๆ ขึ้นมาตรวจสอบ ซึ่งก็เข้ากับหลักเกณฑ์ขอลี้ภัยทางการเมืองได้ และหากมีการลี้ภัยทางการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรีจริง คงจะช่วยให้คนส่วนหนึ่งสงบ และลดเงื่อนไขเพื่อมาโจมตีรัฐบาลพรรคพลังประชาชน และฝ่ายประชาธิปไตยได้ส่วนหนึ่ง แต่คงยังไม่ถึงขั้นที่จะช่วยให้สถานการณ์คลี่คลายไปเลยเสียทีเดียว ส่วนคดีความนั้น ก็ยังคงดำเนินอยู่ตามกระบวนการยุติธรรม”
สำหรับเรื่องคดีที่หลายฝ่ายกังขาว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น
ติดตามได้จากทนายความของอดีตนายกรัฐมนตรี และภรรยา ในคดีที่ดินรัชดาฯ คำนวณ ชโลปถัมภ์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ผ่านทางรายการ “จุดชนวนข่าว” ทางสถานีวิทยุ เอฟเอ็ม 105 หลังจากทราบคำแถลงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ขอลี้ภัยไปอยู่ประเทศอังกฤษ ยืนยันว่า หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่เดินทางกลับมาเมืองไทย คดีที่ คตส. พิจารณาส่งฟ้องจะพิจารณาต่อได้เพียงคดีเดียวคือ “คดีที่ดินรัชดาฯ” เท่านั้น ส่วนคดีอื่นจะไม่สามารถดำเนินการได้แต่อย่างใด
ประชาทรรศน์ รายสัปดาห์เล่มนี้ จึงเป็นอีกเล่มที่ห้ามพลาดเป็นอันขาด เพราะเป็น “บันทึกประวัติศาสตร์” ที่สำคัญอีกหน้าหนึ่ง ซึ่งจด จาร “อัตวินิจฉัย” ของอดีตนายกรัฐมนตรี กับการลี้ภัยทางการเมือง ในห้วงเวลา...สองมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรมแบบไทยๆ