WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, November 25, 2008

พลิกวิกฤติเจอวิกฤติ

มักจะพูดกันเสมอว่า ในวิกฤติย่อมมีโอกาส แต่ผมว่าวิกฤติบ้านเมืองครั้งนี้ มีแต่วิกฤติที่ซ้ำซ้อน โหมกระหน่ำกันเข้ามาเป็นระลอก ความผันผวนทางเศรษฐกิจ จะกระทบไปถึงธุรกิจทุกภาคส่วน เพราะการมุ่งผลกำไรทางเศรษฐกิจมากเกินไปจนลืมที่จะคำนึงถึงผลด้านลบที่จะตามมานั่นเอง

ยกตัวอย่างวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐฯ ความจริงน่าจะเตรียมตัวรับมือได้ตั้งแต่ต้นปีเพราะส่งสัญญาณมาตั้งแต่ เรื่องของการเก็งกำไรค่าเงิน ทองคำ มาจนถึงน้ำมัน ไม่เฉพาะที่มีการซื้อขายกันล่วงหน้าเท่านั้น แต่รวมไปถึงการซื้อขายกันในกระดาษ เป็นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ด้วย

เพราะฉะนั้นราคาของสินค้าจึง ไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดอย่างตรงไปตรงมา แต่มีปัจจัยอื่นๆนอกจากดีมานด์และซัพพลาย

เข้ามาเกี่ยวข้อง แทนที่ราคาน้ำมันตามความเป็นจริงจะอยู่ที่ 50-60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลก็สูงขึ้น 2-3 เท่าตัวในช่วงระยะเวลาไม่กี่เดือนเป็นต้น

เมื่อราคาของสินค้าถูกกลไกนอกตลาดเข้ามาแทรกแซง ก็พลอยผันผวนไปตามวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง เดิมทีคิดกันว่า วิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ที่ก่อให้เกิดหนี้เน่าของสหรัฐฯหรือซัปไพร์มจะกระทบ กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กับธุรกิจวัสดุก่อสร้างเท่านั้น แต่ปั่นป่วนไปถึงเรื่องการเงิน สินเชื่อ การบริโภคของประชาชน แล้วก็ไปสู่ภาคการ ผลิต ทุกประเภทอุตสาหกรรม

บานตะไท

จนบัดนี้ยังคำนวณไม่ได้ว่า ความเสียหายของวิกฤติเศรษฐกิจ ที่เกิดจากวิกฤติการเงินของสหรัฐฯครั้งนี้มีเป็นจำนวนเท่าไหร่ และจะสร้างความเสียหายอีกมากน้อยแค่ไหน ในเบื้องต้นคาดกันว่ามูลค่าของทรัพย์สินทั่วโลกจะหดหายไปเป็นจำนวนไม่น้อย

กลายเป็นวิกฤติส่งผลกระทบย้อนไปย้อนมาวนเวียนระหว่างตลาดทุน ภาคผลิตอุตสาหกรรม ภาคการเงิน ภาคแรงงานอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะหยุดวิกฤติได้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่และจะแก้กันอย่างไร

นอกจากจะต้องยอมรับความจริงถ้าจะต้องมีการเลิกจ้างมีการปิดกิจการ มีการล้มละลาย ของบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ แม้จะเกิดบริษัทใหม่ การลงทุนใหม่ตามมา ก็ไม่เหมือนเดิมเสียแล้ว อันเกิดจากความบอบช้ำทางด้านเศรษฐกิจซ้ำซากที่มีความรุนแรง และไม่มีมาตรการ ป้องกันความเสี่ยงเอาไว้รองรับ

มุ่งแต่เรื่องของผลประโยชน์ตอบแทน

ดังจะเห็นได้ว่า ประเทศยักษ์ใหญ่ด้านเศรษฐกิจเริ่มจะ หันมาจับมือกันเพื่อสร้างเกราะคุ้มกันเศรษฐกิจให้มากขึ้น หรือพูดภาษาชาวบ้านก็คือป้องกันที่จะเอาเปรียบทางด้านเศรษฐกิจกันมากเกินไป สังเกตได้ว่าจะมีองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเอเปค จี 20 หรืออาเซียนบวก 4 บวก 5 ไม่คำนึงว่าจะเป็นภูมิภาคใด เช่นเดียวกับเรื่องของจีดีพี หรือความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะร้อยละ 3 หรือร้อยละ 5 ก็ไม่แปลกแต่ขึ้นอยู่กับว่าจะทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพได้ อย่างไรมากกว่า.

หมัดเหล็ก