WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, November 26, 2008

กองทัพควงลิ่วล้อพันธมิตรฯบีบนายกฯไขก๊อก

ธาตุแท้ 'กองทัพ' ฉุดประเทศไทยสู่ 'มิคสัญญีกลียุค' ควบสมุนคมช.ลั่น 4 เงื่อนไข บีบ 'นายกฯสมชาย' ไขก๊อก! เตือนสติ 'กองทัพ' หยุดเหิมเกริมคิดปฏิวัติ-รัฐประหาร จับตาดีเดย์ 'รถถังเคลื่อน-กลิ่นอายรัฐประหารโชย' สาปส่ง 'บิ๊กป็อก' หากคิดการใหญ่ ฉีก รธน.กรุยทางเก้าอี้ 'ผู้นำเผด็จการ'

วันนี้ (26 พ.ย.) ที่กองบัญชาการกองทัพบก เมื่อเวลา 16.50 น.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ร่วม (คตร.)กล่าวภายหลังการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง กรมหรือเทียบเท่า นายกสมาคมทุกสาขาอาชีพ ประธานอุตสาหกรรมไทย ประธานหอการค้าไทย ประธานการท่องเที่ยวไทย ประธานสมาคมธนาคารไทย อธิการบดีทุกมหาวิทยาลัยเข้าร่วมประชุม เพื่อหารือแนวทางการยุติสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งใช้เวลาร่วม 2 ชั่วโมงครึ่งว่า ได้แถลงมติร่วมกับ นายสุรพล นิติไกรพจน์ ในวันนี้ คือ 1.แก้ปัญหาโดยใช้หลักประชาธิปไตย 2.จะไม่แก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง 3.เสนอให้นายกฯยุบสภา และจัดการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด 4.มีมติให้กลุ่มเคลื่อนไหว คือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ออกจากสนามบินสุวรรณภูมิโดยเร็วที่สุด และยุติการชุมนุมในทุกพื้นที่ โดยจะทำการยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรจากคตร.ต่อนายกฯอีกครั้งหนึ่ง

ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นการกดดันนายกฯหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวได้มีการหารือจากทุกภาคส่วนด้วยความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งทางคณะกรรมการเห็นว่านี่คือทางออกที่เหลืออยู่หนึ่งเดียว ที่จะแก้ไขปัญหาวิกฤตของชาติ และยืนยันไม่ได้เป็นการกดดันนายกฯแต่อย่างใด และหวังว่านายกฯจะนำข้อเสนอดังกล่าวกลับไปพิจารณา ซึ่งหากรัฐบาลไม่นำข้อเสนอไปไตร่ตรองทางดุลยพินิจของนายกฯเพื่อยุติความรุนแรงเราอาจจะต้องปฎิเสธความชอบธรรมในการบริหารประเทศรัฐบาลต่อไป ทั้งนี้เชื่อว่านายกฯจะเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจากอำนาจของรัฐบาลยังอยู่ครบทุกประการ ซึ่งยืนยันนี่ไม่ใช่การยึดอำนาจ

เมื่อถามว่าหากมีการดำเนินการตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้วแต่ทั้งสองฝ่ายกลับไม่ยินยอมนั้นจะทำอย่างไร ซึ่งคำถามดังกล่าวได้มอบหมายให้ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ตอบคำถาม โดยระบุว่า หากรัฐบาลดำเนินการตามข้อเสนอโดยการคืนอำนาจให้ประชาชนและกลุ่มพันธมิตรฯยังไม่ยุติการชุมนุม ก็เป็นเรื่องที่ทางแกนนำจะต้องตอบคำถามต่อสังคมถึงความชอบธรรมในการชุมนุม

เมื่อถามว่าทางคณะคตร.ยึดความชอบธรรมอะไรในการยื่นข้อเสนอดังกล่าวต่อรัฐบาล ในเมื่อพันธมิตรฯมีการชุมนุมที่ยืดเยื้อมาโดยตลอด พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ตคร.ได้อำนาจการแต่งตั้งจากรัฐบาล โดยมีตนเป็นประธาน ดังนั้นจึงถือว่ามีความชอบธรรม ทั้งนี้ตนมองว่าแนวทางดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ และเห็นว่านี่คือเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเสนอ ส่วนการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ชุมนุมก็ยังคงดำเนินไป โดยในเบื้องต้นจะต้องขอร้องให้มีการสลายการชุมนุมโดยสร้างความเข้าใจกับผู้ชุมนุมว่าการปะทะระหว่างสองฝ่ายอาจมีการเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อและจะเป็นเหตุให้ประเทศเกิดความล่มจม ซึ่งคิดว่าหากทางคณะกรรมการเร่งทำความเข้าใจทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ตระหนักถึงมติในที่ประชุมว่าเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดและสถานการณ์คงเบาบางลงบ้าง

ต่อข้อถามว่า หากมีการเสนอให้ปลด ผบ.ทบ.นั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เป็นมติคณะกรรมการร่วมฯ เราไม่ได้กดดันรัฐบาล เป็นเพียงข้อเสนอแนะ เพราะไม่เห็นหนทางอื่นที่จะแก้ปัญหาได้ ทางออกคือ นายกฯคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสิน กรอบของการพิจารณายึดถือแนวประชาธิปไตย เราไม่ได้ใช้ความกดดัน เป็นการเรียนด้วยความบริสุทธิ์ใจบนที่ตั้งของผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก ที่ถามว่าตำรวจ ทหารเฉยได้อย่างไรนั้น เราทำมาตลอดไม่ว่าจะเป็นการปกป้องไม่ให้กระทบกระทั่งกัน ปกป้องรักษาความสงบเรียบร้อย จนถึงขณะนี้ไม่มีหนทางอื่นแล้ว จึงต้องเรียนเสนอรัฐบาล และรัฐบาลคงจะนำมติของเราไปพิจารณา และขอให้ประชาชนร่วมแสดงออกให้รัฐบาลนำข้อเสนอของเราไปใคร่ครวญ และร่วมกันแก้ปัญหาโดยที่ประเทศชาติไม่บอบช้ำ

'จตุพร' จวก ผบ.ทบ.เอาคนพธม.มาเป็นเงื่อนไขเจรจา

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคพลังประชาชน ได้กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผาจินดา ระบุถึงผลการหารือว่าให้นายกรัฐมนตรียุบสภานั้น ว่า ตนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของผู้บัญชาการทหารบก เพราะนั่นหมายถึงหากต่อไปกลุ่มคนใดไม่พอใจการทำงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ก็ออกมาชุมนุมขับไล่อีก ส่วนจะมีชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงหรือไม่ คงต้องรอผลการหารือและมาตรการชัดเจนในวันพรุ่งนี้ ซึ่งการที่ นายสุรพล นิติไกรพจน์ ซึ่งเป็นคนของคมช.มาแถลงข่าวคู่กับพล.อ.อนุพงษ์ ก็แสดงให้เห็นว่า เป็นการลดความน่าเชื่อถือเพราะกำลังเอาคนของพันธมิตรฯมาเป็นเงื่อนไขในการเจรจา

นักวิชาการมช.ทวงคนหนุนม็อบแจงอารยะบ้าเลือด

อ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอคณะกรรมการติดตามสถานการณืร่วม (คตร.) โดยระบุว่าข้อเสนอดังกล่าวไม่มีหลักประกันว่าจะสามารถเป็นทางออกที่ดีที่สุดได้ โดยตนมองว่าการหาทางออกของวิกฤตปัญหาในขณะนี้ค่อนข้างยากพอสมควร และเป็นที่ทราบกันว่ากระบวนการทางกฎหมายในขณะนี้ยังไม่มีแกนหลักในการสั่งการ ทั้งนี้้คนที่เคยมีบทบาทในการให้ท้ายกลุ่มพันธมิตรฯๆไม่ว่าจะเป็น นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่ไม่ได้ออกมาแสดงหน้่าที่หลังกลุ่มพันธมิตรฯมีพฤติกรรมที่รุนแรงต่อเจ้าหน้าที่และฝ่ายตรงข้าม ควรที่จะต้องลุกขึ้นมาอธิบายพฤติกรรมของกลุ่มพันธมิตรฯที่ได้ล้ำกรอบของอารยะขัดขืนที่นานาประเทศสามารถยอมรับ มาเป็นเวลานานและเกินกว่าที่จะรับได้มากไปแล้ว

พร้อมกันนี้อ.สมชายกล่าวเสริมว่า ตนอยากจะทำการเสนอกลุ่มคนทีไม่ชื่นชอบในแนวทางของกลุ่มพันธมิตรประชานเพื่อประชาธิปไตย นี่คือสอ่งที่เราควรจะดำเนินการในเบื้องต้นโดยรูปแบบการตอบโต้จะต้องเป็นไปตามกรอบกฎหมายห้ามเลือกใช้่ความรุนแรงเด็ดขาดไม่ว่าจะอยุ่ฝ่ายสีอะไร

ส.ส.พปช.เตรียมเสนอนายกฯปลด'อนุพงษ์'

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ และส.ส.กลุ่มพลังประชาชน แถลงว่า ไม่ใช่หน้าที่ของพล.อ.อนุพงษ์ ที่จะเสนอให้นายกรัฐมนตรี และจะทำหนังสือเสนอถึงนายกรัฐมนตรีให้ปลด พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) และจะเสนอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)สอบสวนความผิดของ พล.อ.อนุพงษ์ ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 ในประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจรักษาความสงบของบ้านเมือง

'เติ้ง' เมินข้อเสนอยุบสภาโยน'สมชาย'ชี้ขาด

ภายหลังที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ร่วม แถลงผลการประชุมที่เสนอให้นายกรัฐมนตรียุบสภา และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยุติการชุมนุมนั้น นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวย้อนถามว่า ผบ.ทบ.สั่งพันธมิตรฯ ให้หยุดการชุมนุมได้หรือไม่ และถ้ารัฐบาลยุบสภาไปแล้ว คงไม่เกิดประโยชน์อะไร แล้วพล.อ.อนุพงษ์ รับประกันหรือรับผิดชอบได้หรือไม่ว่าพันธมิตรฯจะหยุดการชุมนุม ซึ่งตนคิดว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของ ผบ.ทบ.มากกว่า อย่างไรก็ตามยืนยันพรรคร่วมฯคงต้องหารือกัน แต่การจะให้นายกฯยุบสภา ต้องไปถามนายกฯ พรรคชาติไทยเป็นพรรคเล็กนิดเดียว

'จาตุรนต์'เตือนกองทัพ!อย่าฉวยโอกาส'ยึดอำนาจ'

นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ให้สัมภาษณ์กรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิไตย(พธม.)บุกยึดและปิดล้อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานที่ราชการหลายแห่ง ซึ่งเหตุกาณ์ขณะนี้ได้พัฒนาเข้าใกล้จะเป็น "กลียุค" เข้าไปทุกทีแล้ว เพราะการเคลื่อนไหวของพันธมิตรที่ใช้กำลังความรุนแรงและผิดกฏหมาย ไม่ได้มีจุดหมายแค่คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญหรือให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ออกไปเท่านั้น แต่ว่าต้องการที่จะให้นำไปสู่การปฎวัติยึดอำนาจหรือที่เรียกกันว่า "รัฐประหาร" และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่สิ่งที่เรียกว่าการเมืองใหม่

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า การที่เกิดเป็นความโกลาหลวุ่นวาย และเกิดความเสียหายต่อประเทศยับเยินอยู่ในขณะนี้ เป็นเพราะบ้านเมืองเราไม่มีการรักษากฎหมายมาตั้งแต่ต้นจนถึงขณะนี้ ซึ่งการอ้างเหตุผลว่าการรักษากฎหมายจะทำให้เกิดความรุนแรง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นคำพูดหรือความคิดที่ผิด ก็คือยิ่งไม่รักษากฎหมาย เพราะฉะนั้นสังคมไทยมาถึงจุดที่จะต้องเลือกระหว่างการรักษากฏหมายในเร็วๆนี้ หรือจะรอให้เกิดความเสียหายมากกว่านี้ แล้วค่อยไปรักษากฏหมายกัน แต่ว่าถ้าจะให้สังคมกลับมาสู้สภาพที่สงบสุขได้

"อย่างไรเสียก็ต้องรักษากฎหมาย ซึ่งตนอยากจะเสนอทางออกว่า 1.การรัฐประหารไม่ใช่ทางออก เพราะว่าอาจทำให้สงบได้ชั่วคราว พันธมิตรไชโยโห่ร้อง แต่หลังจากนั้นก็จะกลายเป็นความไม่สงบและจะนำไปสู่ความรุนแรงมากขึ้น เพราะการทำรัฐประหารเป็นการทำผิดกฎหมาย ขณะปัญหาของบ้านเมืองไม่ได้เป็นปัญหาการเมืองเท่านั้น อย่างที่ผู้นำเหล่าทัพอ้างอยู่ แต่มีปัญหาการทำผิดกฎหมายเป็นสาระสำคัญ เพราะฉะนั้นตนอยากเรียกร้องให้ประชาชาชนทุกฝ่ายที่มีเสียงส่วนใหญ่ที่ช่วยกันแสดงความเห็นไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของพันธมิตรและไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหารแล้ว ก็ควรจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับกลุ่มพันธมิตรเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นเหตุข้ออ้างในการทำรัฐประหาร"

ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐบาลก็ไม่ทราบว่านายอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เรียกฝ่ายความมั่นคงประชุมอะไรกันวันนี้ แต่ตนคิดว่ารัฐบาลต้องหนักแน่น นายกฯจะลาออกไม่ได้ เพราะหากนายกฯลาออกเท่ากับเป็นการซ้ำเติมปัญหา และปัญหาความไม่สงบก็ไม่จบสิ้น เพราะว่าหากนายกฯลาออกแล้วต้องมีการเลือกนายกฯคนใหม่และพรรคร่วมรัฐบาล ก็ต้องเสนอคนในพรรคพลังประชาชนขึ้นมาอีกและกลุ่มพันธมิตรฯก็ยังไม่เลิกยึดสนามบินสุวรรภูมิและสถานที่ราชการ จึงไม่ใช่ทางออก ซึ่งหากคิดเอาอนายกรัฐมนตรีคนนอกก็เท่ากับการฉีกรัฐธรรมนูญและเป็นการทำรัฐประหารนั่นเอง การลาออกจึงไม่ใช่การแก้ปัญหา

นายจาตุรนต์ กล่าวย้ำว่า สิ่งที่สำคัญที่จะช่วยในการแก้ปัญหาคือผู้นำกองทัพ ต้องยืนยันให้หนักแน่นว่าจะไม่ทำรัฐประหารและผบ.เหล่าทัพต้องมีความจริงใจในการช่วยแก้ปัญหาการกระทำผิดกฎหมาย การสร้างความเสียหายให้กับบ้านเมืองในขณะนี้ ซึ่งตนคิว่าในขณะนี้หากรัฐบาลเป็นคนประกาศใช้พรบ.มั่นคง หรือประกาศพรก.ฉุกเฉิน แต่ผู้นำเหล่าทัพยังนิ่งเฉยก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่ถ้าผู้นำเหล่าทัพริเริ่มและเสนอให้รัฐบาลทำตามประกาศใช้พรบ.มั่นคงหรือพรก.ฉุกเฉิน และเมื่อประกาศแล้วก็อาจไม่ต้องใช้ความรุนแรง และเข้าไปเจรจา เพราะเป็นความคิดริเริ่มของผู้นำเหล่าทัพ และผู้นำเหล่าทัพต้องแสดงท่าทีให้ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการกระทำผิดกฎหมายของกลุ่มพันธมิตรฯ

เมื่อพันธมิตรเห็นว่าไม่มีกองทัพเลิกให้ท้ายอย่างที่เป็นอยู่ พันธมิตรฯก็เลิกมีผู้เข้าร่วมและสนับสนุน จนกระทั่งต้องเลิกยึดสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะการที่พันธมิตรฯยึดสนามบินในขณะนี้ เพราะเชื่อว่าผู้นำเหล่าทัพให้ท้ายอยู่ และจ้องให้พัฒนาสถานการณ์นำไปสู่ความรุนแรง เพราะฉะนั้นผู้นำเหล่าทัพต้องปฎิเสธการยึดอำนาจ และการเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมายของพันธมิตรฯและพยายามเข้าไปเจรจา เท่านี้ก็สามารถยุติปัญหาได้

นายจาตุรนต์ กล่าวยังถึงกรณีที่ ผบ.ทบ.เรียกประชุมนั้น ตนหวังว่าไม่ใช่เรียกร้องให้นายกฯลาออก ซึงตนมองว่า หากวันนี้พล.อ.อนุพงษ์ จะเป็นนายกฯก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ หากเป็นนายกฯจริงท่านก็ต้องไปฉีกรัฐธรรมนูญก่อน และมีเพียงพันธมิตรฯเท่านั้นที่ไชโยโห่ร้องและดีใจ แต่ประชาชนทั้งประเทศต้องเจ็บปวดอย่างขมขื่นว่ากลุ่มอันธพาลกับประสบความสำเร็จในการยึดประเทศและเปลี่ยนแปลงการปกครอง และเป็นแบบอย่างให้คนกลุ่มอื่นมาเคลื่อนไหวลักษณะเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราจะรักษากฎหมายในตอนนี้หรือจะรอให้ประเทศเสียหายมากกว่านี้ก่อน