WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, May 31, 2009

ตัดวงจรอุบาทว์ หรือ จมปลักน้ำเน่า

ที่มา ไทยรัฐ
Pic_9575

ฉายภาพการเมืองเก่าถึงจังหวะ "พันธมิตร" กำเนิดพรรค

ปัญหาวิกฤติทางการเมือง

ที่ลุกลามขยายตัวกลายเป็นความขัดแย้ง แตกแยก ในสังคมรุนแรงขึ้นเรื่อยๆในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ

ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมอยากเห็นการคลี่คลาย อยากให้ บ้านเมืองกลับสู่ความสงบ อยากเห็นความสมานฉันท์ของคนในชาติ

ด้วยเหตุนี้จึงนำมาสู่การตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา ที่มีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นประธาน

มีภารกิจสำคัญในการหาแนวทางคลี่คลายปัญหาวิกฤติความขัดแย้งทางการเมือง รวบรวมประเด็นในการแก้ไขรัฐ-ธรรมนูญและปฏิรูปการเมือง เพื่อเสนอต่อรัฐสภา

แน่นอน แนวทางในการดำเนินการของรัฐสภาในเรื่องนี้ ย่อมหนีไม่พ้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราต่างๆที่มองว่า

เป็นปัญหาทำให้เกิดวิกฤติความขัดแย้ง

มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราที่ไม่เป็นธรรมกับบรรดานักการเมือง และกระทบต่อพรรคการเมือง

ส่งผลให้การทำงานของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ในการนำร่องศึกษาประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้

มีทั้งเสียงขานรับและเสียงคัดค้าน คละเคล้ากันไป

จากกรณีที่เกิดปัญหาวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองจนถึงขั้นต้องมีการหยิบยกขึ้นมาเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติในครั้งนี้


สะท้อนให้เห็นว่า ในห้วงที่ผ่านๆมา การเมืองซึ่งถือเป็นองค์ประกอบหลักในการแก้ไขปัญหาของประเทศ

ที่มีกระบวนการเริ่มตั้งแต่การเลือกตั้ง ผ่านเข้ามาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติในสภาฯ และฝ่ายบริหาร จัดตั้งรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดิน

ตั้งแต่เริ่มมีระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาในประเทศไทย จนมาถึงวันนี้ การเมืองยังอยู่ในสภาพล้มลุกคลุกคลานมาตลอด

ที่สำคัญ ต้องยอมรับว่า ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีต้นตอมาจากพรรคการเมือง แก่งแย่งช่วงชิงอำนาจและผลประโยชน์

ขยายลุกลามลงไปถึงประชาชนที่ถือหางพรรคการเมืองแต่ละฝ่าย ถูกปลุกเร้าเพิ่มดีกรีจนกลายเป็นความแตกแยก เกลียดชังฝ่ายตรงข้าม

แบ่งฝัก แบ่งฝ่าย แบ่งสี เข้าห้ำหั่นฟาดฟันกัน

กลายเป็นวิกฤติการเมือง วิกฤติประเทศ จนถึงขั้นเป็นวิกฤติที่สุดในโลก

แน่นอน สังคมส่วนใหญ่อยากเห็นการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง สามารถแก้ไขวิกฤติของประเทศ

นำพาชาติบ้านเมืองไปสู่การพัฒนา เจริญก้าวหน้าเหมือนอย่างอารยประเทศ

แต่การเดินไปสู่เป้าหมายดังกล่าวยังมองไม่เห็นฝั่ง


เหนืออื่นใด สถานการณ์มาถึงวันนี้ การเมืองไทยกำลังเดินไปสู่จุดที่จะมีการเปลี่ยนแปลงกติกา แก้ไขรัฐธรรมนูญ เขียนรัฐธรรมนูญกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ทั้งๆที่เขียนกันมาแล้ว ใช้กันมาแล้วหลายฉบับ แก้กันแล้วแก้กันอีก ปฏิรูปการเมืองกันไม่รู้กี่ครั้ง

ยุบพรรค ย้ายพรรค เปลี่ยนพรรค ก็ยังเดินมาสู่ปัญหาที่หนักขึ้น รุนแรงมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อทุกฝ่ายในสังคมเห็นตรงกันว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เป็นแนวทางหลักที่จะนำพาประเทศให้ก้าวเดินไปได้

ก็ต้องยอมรับว่า พรรคการเมือง คือ องค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

โดยเฉพาะเมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้สมัคร ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง ก็เท่ากับพรรคการเมือง เป็นหัวใจสำคัญในการเลือกตั้ง


ทั้งนี้ เมื่อหันมาสำรวจพรรคการเมืองที่มีอยู่ในขณะนี้ว่าจะนำไปสู่เป้าหมายที่จะทำให้การเมืองเป็นการแก้ปัญหาของชาติอย่างที่สังคมต้องการได้หรือไม่

เริ่มจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคการเมืองเก่าแก่อายุ 63 ปี ถือเป็นสถาบันการเมือง ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว เคยเป็นมาแล้วทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน

มาวันนี้สามารถพลิกขั้วเข้ามาเป็นแกนนำรัฐบาล รับภาระกู้วิกฤติปัญหาของประเทศ

โดยสภาพของพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นพรรคที่มีวินัยสูง แต่อาจเป็นเพราะเป็นฝ่ายค้านมานาน


พอมีโอกาสเข้ามาเป็นฝ่ายบริหาร ได้เป็นรัฐบาล แค่ประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีวันแรกก็มีเรื่องทันที

พวกอกหักไม่ได้ตำแหน่งออกมาโวยวาย กระเพื่อมไปรอบหนึ่งแล้ว


พอมีการปรับ ครม.ก็มีการเคลื่อนไหวทวงเก้าอี้กันอีก ทั้งกลุ่ม 40 ส.ส. กลุ่มยังเติร์ก ยันกลุ่มผู้อาวุโส ออกอาการกันหมด

แม้ที่สุดแล้วแกนนำในพรรคช่วยกันเคลียร์ปัญหา หยุดอาการกระฉอกลงไปได้ พร้อมทั้งประกาศยืนยันประชาธิปัตย์ไม่มีกลุ่มก๊วน

แต่ก็ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าจะเกิดปัญหาคลื่นใต้น้ำปั่นป่วนขึ้นอีกหรือไม่

แน่นอน ความเป็นสถาบันการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ น่าจะเป็นพรรคที่เป็นความหวังของสังคมในการแก้ปัญหาวิกฤติประเทศ

แต่จากร่องรอยความเคลื่อนไหวที่ปรากฏ สะท้อนว่า ยังหนีไม่พ้นวงจรการแก่งแย่งอำนาจ ช่วงชิงตำแหน่งกันภายใน

หันมาทางพรรคเพื่อไทย พรรคนี้แม้จะก่อตัวขึ้นมาไม่นาน แต่ก็ถือว่าผ่านเหตุการณ์ต่างๆมามากมาย

เพราะเป็นพรรคที่มีต้นขั้วมาจากพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน

ก็อย่างที่เห็นๆกัน ตอนก่อตั้งพรรคไทยรักไทย เริ่มต้นจาก "นายใหญ่" ใช้ทุนเป็นพลังดูด

ใช้สารเร่งโต เพื่อให้พรรคได้ครองอำนาจเบ็ดเสร็จ

ผนวกกับส่งคนลงพื้นที่ทำวิจัย ประชาชนโดยเฉพาะรากหญ้าต้องการอะไร แล้วจัดป้อนให้ จนประชานิยมยุคนั้นเฟื่องฟู ได้ใจได้เสียงสนับสนุนอื้ออึง

แต่เมื่อมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนแอบแฝง ทำให้พรรคต้องสะดุด และโดนยุบในที่สุด


จากนั้นก็แปลงโฉมมาเป็นพรรคพลังประชาชน มีหัวหน้าพรรค 2 คน ได้เป็นนายกฯ แต่เจ้าของพรรคตัวจริงก็ยังคงเป็น "นายใหญ่" เหมือนเดิม และในที่สุดก็โดนยุบพรรคอีก

ต้องแปลงโฉมอีกรอบมาเป็นพรรคเพื่อไทย ซึ่งโดนพลิกขั้วมาเป็นฝ่ายค้าน และการเคลื่อนไหวช่วงหลังกลายเป็นพรรคเสื้อแดง

โดยก่อนหน้านี้ มีความเคลื่อนไหวที่จะปรับโครงสร้างเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคจากนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ซึ่งไม่ได้เป็น ส.ส.

เพื่อให้บุคคลที่เป็น ส.ส.เข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าพรรค และรับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน

แต่ในที่สุดก็ยังไม่ลงตัว ต้องยกเลิกการประชุมใหญ่วิสามัญเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่

จนกว่าจะมีใบสั่งจาก "นายใหญ่"

สำหรับพรรคการเมืองอื่นๆที่เหลือ ส่วนใหญ่ก็ยังมีสภาพเป็นที่รวมของกลุ่มการเมืองที่ส่วนใหญ่มีนักการเมืองในบ้านเลขที่ 111 ยืนเป็นเงาทะมึนอยู่เบื้องหลัง

อย่างพรรคภูมิใจไทยที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ก็เป็นการรวมตัวของกลุ่มก๊วนต่างๆที่ยึดโยงกันด้วยผลประโยชน์

ซึ่งขณะนี้กำลังโดดเด่นในเรื่องพลังดูด โดยใช้รูปแบบเก่าๆ เป้าหมายก็เพื่อเข้าไปใช้อำนาจ หาผลประโยชน์ร่วมกัน เป็นพรรคของนักเลือกตั้ง ทำการเมืองแบบธุรกิจการเมือง

ไม่ใช่พรรคของประชาชน

จากปรากฏการณ์ต่างๆที่ทำให้เห็นพฤติกรรมของนักการเมือง ที่ไม่ได้เน้นทำการเมืองเพื่อสร้างชาติ

ทำให้สังคมอยากเห็นการเมืองรูปแบบใหม่ ที่เป็นการเมืองที่ทำงานเพื่อประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง

ส่งผลให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มีความโดดเด่นในการเมืองภาคประชาชนและการเคลื่อนไหวนอกสภา

เคยแสดงบทอารยะแข็งขืนยึดทำเนียบรัฐบาล ปิดสนามบิน จนประเทศแทบพัง

ขื่อแปบ้านเมืองรวนไปหมด

ล่าสุด แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯได้จัดชุมนุมใหญ่กลางสนาม กีฬา ขอฉันทานุมัติในการจัดตั้งพรรคการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ

เสียงขานรับจากแนวร่วมกระหึ่ม

แน่นอน จุดก่อกำเนิดพรรคการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ ในครั้งนี้ ทำให้มองได้ว่าเป็นพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในรูปแบบใหม่

มีฐานรากจากประชาชนส่วนหนึ่งให้การสนับสนุน

ไม่ใช่พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นจากคนไม่กี่คนเป็นผู้กำหนด แบบเก่าๆ

ดังนั้น ต้องยอมรับว่า พรรคการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่จะจัดตั้งขึ้น เริ่มต้นออกสตาร์ตด้วยความสวยงาม

รวมทั้งแนวทางการเมืองใหม่ที่เคยประกาศ เน้นต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ ยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง

ถือเป็นเรื่องดีและเป็นที่ต้องการของสังคมไทย

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่กระบวนการภาคปฏิบัติจริง ในสภาวะแวดล้อมของการเมืองในปัจจุบัน

ที่เป็นการเมืองที่มีต้นทุนสูง

การจัดโครงสร้างพรรค กรรมการบริหารพรรค การจัดหาทุน ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง รวมไปถึงการสรรหาตัวผู้สมัคร ส.ส.

จะทำให้พรรคการเมืองนี้ ถูกสภาพแวดล้อมการเมืองแบบเก่าๆ กลืนไปหรือไม่

จะตัดวงจรอุบาทว์ทางการเมืองได้รึเปล่า หรือจะถลำลงไปจมปลักการเมืองน้ำเน่ากับเขาด้วย

เป็นเรื่องที่สังคมต้องรอพิสูจน์.

"ทีมการเมือง" รายงาน