WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 2, 2009

สุรนันทน์ เวชชาชีวะ กะเทาะการเมืองยุค"มาร์ค"

ที่มา ข่าวสด

สัมภาษณ์พิเศษ




ถูกแขวนอยู่ในบ้านเลขที่ 111 จึงจำกัดให้ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตรมต.ประจำสำนักนายกฯ ในรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องเว้นวรรคการเมือง

ในฐานะนักการเมืองและญาติผู้พี่ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้วิพากษ์การทำงานและอนาคตของรัฐบาลประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล ไว้น่าสนใจ ดังนี้

มองการทำงานของรัฐบาลชุดนี้อย่างไร

รัฐบาลนี้เข้ามาในช่วงที่ประเทศประสบปัญหาหนักทั้งเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ พยายามที่จะปลดล็อกปัญหาต่างๆ

แต่สิ่งที่รัฐบาลยังขาดคือแนวทางปฏิบัติยังติดอยู่ในวังวนกรอบความคิดแบบเดิมๆ ในการแก้ปัญหา เพราะมัวแต่คิดถึงเรื่องการเมืองที่มุ่งผลเลือกตั้ง ว่าเลือกตั้งครั้งต่อไปต้องชนะ ทำให้มีเงื่อนไข

การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เสนออย่างไม่แน่ใจ ว่าจะแก้ปัญหาทางการเมืองได้หรือไม่ เช่นเดียวกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ยังติดในกรอบเดิม

ปัญหาประเทศวันนี้ต้องมองไปข้างหน้า ก้าวพ้นปัญหาเดิมๆ ให้ได้ แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถชี้นำ หรือบอกกับประชาชนให้รู้ได้ว่าประเทศจะก้าวเดินไปทางไหน มีนโยบายอย่างไร

ถ้าพรรคประชาธิปัตย์หรือรัฐบาลยังติดในเงื่อนไขของการเลือกตั้ง ว่าครั้งหน้าจะต้องกลับเข้ามา แล้วยอมทำตามเงื่อนไขเดิมๆ ทางการเมืองของพรรคร่วม ปัญหาประเทศจะไม่ได้รับการแก้ไข

วันนี้ภูมิทัศน์ของโลกเปลี่ยนไปมาก เงื่อนไขของประเทศไทยเองก็เปลี่ยนไป การแก้ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นจะเอาเรื่องประชานิยมมาใช้อีกไม่ได้แล้ว

สิ่งที่ต้องเร่งทำคือการสร้างสวัสดิการพื้นฐานให้ประชาชน



มีความพยายามเปรียบเทียบระหว่างโอบามา กับโอบามาร์ค ว่าคล้ายกันทั้งงานการเมืองและการดำเนินชีวิต

คล้ายคลึงกัน เงื่อนไขทางการเมืองก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก แม้โอบามาจะไม่ได้เป็นรัฐบาลผสมแต่เขามีปัญหาในสภาคองเกรส มีความไม่มั่นคง แต่สิ่งที่เขาทำได้ดีคือเขาสามารถบอกได้ว่าจะทำและนำประเทศไปทิศทางใด

การแก้ปัญหาเศรษฐกิจต้องบอกได้ว่าเราจะแก้อะไร เดินไปในทิศทางไหน ต้องคิดล่วงหน้าว่าหลังเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วต้องทำอะไรในขั้นต่อไป

ช่วงปี"44 ที่อดีตนายกฯ ทักษิณเข้ามา ประเทศประสบภาวะวิกฤต การแก้ปัญหาขณะนั้นคือเร่งสร้างภาวะเข้มแข็งในประเทศ จากนั้นเร่งสร้างและฟื้นฟูให้ประเทศมีเครดิตในโลก โดยดูที่กลไกของตลาดด้วย

ภาวการณ์และการแก้ปัญหาปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป จะใช้รูปแบบเดิมก็ไม่ได้ การแก้ปัญหาวันนี้ต้องดูภูมิทัศน์ของประเทศด้วย เราต้องเปลี่ยนแปลงและเดินให้ถูก อย่าลืมว่าระบบราชการวันนี้ไม่ได้แข็งแรงเหมือนเมื่อ 10 ปีก่อน

สมัยคุณชวน (หลีกภัย) เป็นนายกฯ ตั้งฉายาว่าเป็นปลัดประเทศ แต่ไม่ได้เป็นปัญหาเพราะขณะนั้นระบบราชการแข็งแรง ไม่มีเงื่อนไขทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง

แต่ปัจจุบันข้าราชการไม่กล้าทำอะไร กลัวไปหมด เพราะถูกเหมารวมในความผิดที่คตส.ชี้

แม้แต่ครม.เองก็ไม่กล้าตัดสินใจโดยเฉพาะเรื่องที่ขัดแย้งหรือเห็นไม่ตรงกัน เพราะกลัวความผิดแบบเหมารวมเหมือนสมัยที่รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณโดน

อย่างเรื่องข้าว หรือรถเมล์ 4 พันคัน เป็นไปได้อย่างไรที่ครม.ซึ่งเป็นหน่วยงานสุดท้ายที่ต้องชี้ขาดกลับไม่กล้าตัดสินใจ ปล่อยให้เรื่องวนเวียนเข้าสู่การพิจารณาและถูกตีกลับไป 3-4 ครั้ง กลายเป็นว่าครม.ดีแต่โยนลูกหรือโยนปัญหาให้ออกไปไกลๆ ตัว

ครม.ไม่ควรโยนลูกไปให้ใคร ถ้าเป็นเรื่องถูกต้องก็ต้องดำเนินการทันที หรือถ้าไม่ชอบมาพากลหรือไม่ถูกต้องก็ต้องตีตกไปเลย ต้องชี้ขาดว่าจะเอาหรือไม่เอาแล้วมีคำอธิบาย ทุกอย่างต้องเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ

ไม่ใช่ไม่กล้าตัดสินใจเพราะตัวเองมีบางโครงการที่ต้องรอผ่านความเห็นชอบจากพรรคอื่นด้วย

ในทางกลับกันถ้ารัฐบาลหรือพรรคประชาธิปัตย์กล้าตัดสินใจแบบฟันธง และมีคำอธิบายว่าประเทศและประชาชนได้ประโยชน์อะไร ถ้าทำได้จริง การเลือกตั้งครั้งหน้าประชาชนจะเลือกกลับเข้ามา เพราะเห็นว่าพรรคนี้มีความมั่นใจในระบอบประชาธิปไตย

แต่ถ้ามัวกลัวว่าตัดสินใจอะไรลงไปแล้วจะเกิดผลกระทบ ทุกอย่างมีเงื่อนไข มีเรื่องการช่วงชิงอำนาจ ช่วงชิงผลประโยชน์ ห่วงอนาคตการเลือกตั้ง

ถ้ายังเป็นอย่างนี้ อย่าไปพูดเรื่องปฏิรูปการเมืองหรือสร้างความสมานฉันท์เลย

เพราะแค่จะบอกสังคมว่าเรากำลังนำพาประเทศไปในทางไหนก็ยังบอกไม่ได้



ปัญหาในพรรคร่วมจะนำไปสู่ความแตกแยกในรัฐบาลหรือไม่

ปัญหาในพรรคร่วมรัฐบาลมีอยู่แน่นอน เพราะทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมยังมีเงื่อนไขทางการเมืองที่เคยมีและเกิดขึ้นในอดีตเมื่อ 20 ปีมาแล้ว แต่วันนี้ที่มันแย่กว่า เพราะรัฐธรรมนูญ เพราะเงื่อนไขการเป็นรัฐบาลผสม

เห็นได้ชัดอย่างโครงการรถเมล์ 4 พันคัน ยังมีเรื่องการแบ่งผลประโยชน์ แบ่งเปอร์เซ็นต์ เป็นการเมืองที่เก่ามากๆ

เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ให้โอกาสนายกฯ อภิสิทธิ์และรัฐบาล เรื่องความตั้งใจถ้าจะให้คะแนนกันต้องได้ A แต่คะแนนวิสัยทัศน์ กรอบการทำงานและการตัดสินใจได้แค่ C

เรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น นายกฯ คนนี้ไม่มีแน่นอน จุดนี้ถือเป็นสิ่งบวกที่น่าจะให้กำลังใจ และถ้ารับฟังคนรอบข้างที่มีประสบการณ์ มีวิสัยทัศน์มากกว่านี้ จะดีมากยิ่งขึ้น

ถ้ายังไม่ฟังใคร มั่นใจในตัวเอง แต่ไปติดกับเงื่อนไขทางการเมือง การต่อรองแลกผลประโยชน์ ผมว่าน่าเสียดายและเสียของ

คุณอภิสิทธิ์มีจุดแข็งเรื่องการไม่ทุจริต จับประเด็นเร็ว อธิบายในภาษาที่ทุกคนเข้าใจได้ ถ้าสามารถทำให้เห็นถึงความเป็นประชาธิปไตยและการตัดสินใจที่ถูกต้องได้ ผมว่าเป็นคู่แข่งทางการเมืองที่น่ากลัวมาก

จึงอยากเห็นความเด็ดขาดในการตัดสินใจ การกล้าลงทุนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่แค่การช็อปปิ้งลิสต์



มองแล้วรัฐบาลจะอยู่ครบวาระหรือไม่กับปัญหาขัดแย้งที่มีอยู่

ไม่น่าจะครบ แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือความเสื่อมศรัทธาที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว อันเนื่องมาจากการต่อรองอำนาจและผลประโยชน์

วันนี้เสียหายอย่างมากถ้ารัฐบาลยอมประนีประนอมในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพื่อผลประโยชน์ลงตัวแล้วยอมทุกอย่าง ประเทศชาติก็จะเสียหายหนัก

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไม่ต้องพูดถึง อย่าว่าแต่เป็นบุฟเฟต์คาบิเนต อย่างนี้ต้องเรียกว่าเป็นการยึดครัวแล้วแบ่งอาหารในตู้เย็นกันมากกว่า

เพราะมัวแต่กลัวจะแพ้เลือกตั้งทำให้พรรคเพื่อไทยหรือพ.ต.ท.ทักษิณกลับมา จนยอมทำเรื่องที่เสียหายกับประเทศ

ถ้าวันนี้นายกฯ อภิสิทธิ์กล้าตัดงบทหารในเรื่องที่คิดว่าไม่เป็นประโยชน์ หรือโครงการใดที่ยังไม่สมควรทำแม้จะต้องขัดกับพรรคร่วมรัฐบาล แน่นอนว่าอายุรัฐบาลอาจจะอยู่ไม่ยาว แต่การยอมรับของประชาชนจะได้กลับมามากกว่า

ดังนั้น วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ หนึ่งต้องกล้าเป็นผู้นำ สองต้องแสดงวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ