WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, June 6, 2009

ยิ่งดับยิ่งโหมไฟใต้

ที่มา บางกอกทูเดย์

สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ช่วงนี้ได้กลับมา“โหมกระพือ” ให้ร้อนแรงอีกครั้ง ทั้งเหตุการณ์ฆ่ารายวัน ทั้งประชาชนผู้บริสุทธิ์หรือแม้แต่ “ครู” ที่ไม่มีทางสู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเมื่อมองจากสถานการณ์ที่กลับมารุนแรงในช่วงนี้ น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อตอบโต้เจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด ปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายและสามารถยึดอาวุธ เสบียง ของผู้ก่อความไม่สงบขณะเดียวกันสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ คือ การก่อเหตุในระยะหลังเป็นการตอบโต้มาตรการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ ที่มีบรรดาแม่ทัพนายกอง หรือแม้แต่รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ลงพื้นที่สั่งการด้วยตนเองเพื่อหวังจะลดความรุนแรงลงแต่เหตุการณ์ก็ย้อนกลับ การก่อเหตุเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ผู้เกี่ยวข้องต่างออกมารายงานตัวเลขในรายงานจากหน่วยในพื้นที่ว่า สถานการณ์ภาพรวมดีขึ้นแม้ว่าฝ่ายความมั่นคงจะมั่นใจในสถานการณ์โดยรวมเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในภาคใต้จะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ในสายตาประชาชนโดยเฉพาะครูยังคงหวาดระแวงกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ที่ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวพวกเขาอีกเมื่อไหร่แม้ว่าตำรวจ ทหาร จะปรับแผนคุ้มครองครู แต่การเดินทางไปสอนหนังสือยังเป็นการเดินทางบนความเสี่ยง ที่ไม่อาจล่วงรู้ได้เลยว่าจะมีเหตุร้ายหรือไม่ขณะที่นายกรัฐมนตรี “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เรียกหน่วยงานด้านความมั่นคงเข้าหารือ เพื่อปรับแผนและยุทธวิธีในการควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบ ทันทีที่ข่าวความไม่สงบเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาเช่นเดียวกับรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง “สุเทพเทือกสุบรรณ” ที่เตรียมเดินทางลงพื้นที่ภาคใต้อีกครั้ง หลังจากที่เพิ่งลงพื้นที่ไปเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาต้องจับตาดูว่าการลงพื้นที่บ่อยครั้งของรองนายกฯด้านความมั่นคง จะสามารถลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้หรือไม่อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมายังมีสถิติตัวเลขที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

โดยเฉพาะสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบเดือนเมษายนที่มา ซึ่งพอจะบอกได้ว่ามาตรการต่างๆ ที่ลงไปใช้ได้ผลหรือไม่เดือนเมษายนความรุนแรงยังคงปรากฏอย่างต่อเนื่อง จำนวนเหตุร้ายมากขึ้นกว่าเดือนมีนาคมเล็กน้อย แต่ยอดผู้เสียชีวิตลดลงอยู่ที่ 29 รายทั้งนี้ หากนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ต.ปิเหล็ง อ.เจาะไอร้องจ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 จนถึงสิ้นเดือนเมษายน2552 ยอดผู้เสียชีวิตรวมพุ่งสูงถึง 3,550 รายแล้วสำหรับเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นตลอดเดือนเมษายน 2552 มีทั้งสิ้น 89 เหตุการณ์ แยกตามพื้นที่ในระดับอำเภอและจังหวัดได้ดังนี้ปัตตานี เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งสิ้น 36 เหตุการณ์แยกเป็นที่ อ.ยะรัง 9 เหตุการณ์ อ.สายบุรี 8 เหตุการณ์อ.หนองจิก 6 เหตุการณ์ อ.เมือง โคกโพธิ์ ยะหริ่ง มายอทุ่งยางแดง และกะพ้อ อำเภอละ 2 เหตุการณ์ และ อ.ปะนาเระ1 เหตุการณ์ยะลา เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งสิ้น 21 เหตุการณ์แยกเป็น อ.เมือง 8 เหตุการณ์ อ.ยะหา 4 เหตุการณ์อ.รามัน 3 เหตุการณ์ อ.บันนังสตา กรงปินัง และธารโตอำเภอละ 2 เหตุการณ์นราธิวาส เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งสิ้น 32เหตุการณ์ แยกเป็น อ.รือเสาะ 8 เหตุการณ์ อ.บาเจาะ6 เหตุการณ์ อ.ระแงะ 5 เหตุการณ์ อ.จะแนะ และเจาะไอร้องอำเภอละ 3 เหตุการณ์ อ.แว้งและสุไหงโก-ลก อำเภอละ 2เหตุการณ์ อ.ตากใบ สุไหงปาดี และศรีสาคร อำเภอละ 1

เหตุการณ์หากแบ่งตามลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพื้นที่เกิดเหตุสามารถแบ่งได้ดังนี้ลอบยิงรายวัน เกิดขึ้นทั้งหมด 60 เหตุการณ์ แยกเป็นพื้นที่ปัตตานี 26 เหตุการณ์ ยะลา 16 เหตุการณ์ และนราธิวาส 18 เหตุการณ์ลอบวางระเบิด เกิดขึ้นทั้งหมด 13 เหตุการณ์ แยกเป็นพื้นที่ปัตตานี 2 เหตุการณ์ ยะลา 2 เหตุการณ์ และนราธิวาส 9 เหตุการณ์ลอบวางเพลิง เกิดขึ้นทั้งหมด 16 เหตุการณ์ แยกเป็นพื้นที่ปัตตานี 8 เหตุการณ์ ยะลา 1 เหตุการณ์ และนราธิวาส 7 เหตุการณ์ด้านเหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นทั้งเสียชีวิตและบาดเจ็บรวมทั้งสิ้น 100 ราย แยกเป็นเสียชีวิต 29 ราย บาดเจ็บ 71 ราย แบ่งตามจังหวัด กลุ่ม และอาการของเหยื่อความรุนแรงได้ดังนี้ปัตตานี มีเหยื่อความรุนแรง 41 ราย แยกเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาดเจ็บ 14 ราย ประชาชนเสียชีวิต 13 ราย บาดเจ็บ 12ราย ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 1 รายยะลา มีเหยื่อความรุนแรง 37 ราย แยกเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 13 ราย ประชาชนเสียชีวิต 10 รายบาดเจ็บ 11 รายนราธิวาส มีเหยื่อความรุนแรง 22 ราย แยกเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาดเจ็บ 8 ราย ประชาชนเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ12 ราย ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 1 รายเป็นภาพรวมที่แสดงให้เห็นว่า ความสงบที่คนไทยคาดหวังจะเห็นจากฝีมือรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ยังคงห่างไกลจากความเป็นจริง จึงเป็นภาระที่รัฐบาลต้องแสดงให้คนไทยได้เห็นว่า “ไฟใต้” ต้องมาก่อน “ไฟการเมือง” ■