WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 5, 2009

ฮ่องกงคนกะหึ่ม 150,000 ร่วมชุมนุมรำลึก 20 ปี เทียนอันเหมิน

ที่มา ประชาไท


ชาวพม่าและทิเบตพลัดถิ่นที่ประเทศอินเดีย ออกมาชุมนุมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์จัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยมีรูปของนางออง ซาน ซูจี , ทะไล ลามะ และ Tank Man ผู้ยืนขวางรถถัง ที่จะนำไปปราบปรามผู้ชุมนุม

(AP Photo/Mustafa Quraishi)


พระลามะจากทิเบต วางดอกไม้หน้าสถานฑูตจีนในลอนดอน
เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เทียนอันเหมินเมื่อ 20 ปีก่อน
(AP Photo/Matt Dunham)

วางดอกไม้รำลึก หน้าสถานฑูตจีนในลอนดอน
ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อ 20 ปีที่แล้ว มาวางดอกไม้หน้าสถานฑูตจีนในกรุงลอนดอนในวันครบรอบ 20 ปีของเหตุการณ์นองเลือดดังกล่าว
การวางดอกไม้ในครั้งนี้เพื่อแสดงการรำลึกถึงผู้ที่ถูกกองทัพรัฐบาลจีนสังหารเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 1989 ทางองค์กรแอมเนสตี้สากลเรียกร้องให้ทางการจีนมีการสอบสวยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น แต่ก็ยังคงมีรายงานว่า ทางการจีนได้ปราบปรามผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลเพื่อให้พวกเขาเงียบเสียงและหยุดการกระทำใด ๆ ในโอกาสครบรอบเหตุการณ์นี้
เชา เจียง (Shao Jiang) หนึ่งในผู้รอดชีวิตที่ปัจจุบันอายุ 42 ปี ได้มาวางดอกไม้หน้าสถานฑูตด้วย โดยหลังเหตุการณ์เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เขาถูกสั่งจำคุก 18 เดือน ฐานมีส่วนเกี่ยวข้องกับการประท้วง หลังจากนั้นจึ
งถูกจับกุมตัวอีกครั้งและถูกสั่งกักบริเวณ จนกระทั่งสามารถหนีออกจากประเทศจีนได้ในปี 1997
เขาเล่าถึงเหตุการณ์นองเลือดเมื่อ 20 ปีที่แล้วว่า มันเป็นวันที่แย่มาก ทหารออกมายิงผู้คนบนท้องถนนและทางเท้า ตัวของเชา เจียง เองสามารถหนีออกจากจัตุรัสได้ทันและเข้าไปหลบในมหาวิทยาลัย ในนั้นทุกคนต่างอยากทราบชะตากรรมของเพื่อร่วมชั้นและมีใครเสียชีวิตไปแล้วบ้าง
"เพื่อนร่วมชั้นของผมสี่คนถูกสังหาร พวกเขาเป็นคนที่ผมสนิทสนมด้วย" เชา เจียง กล่าว
เจ้อ เซีย (Ze Xia) อายุ 53 ปี จากคริกเกิลวูด เมืองทางตอนเหนือของลอนดอน ก็มาที่หน้าสถานฑูตจีนเพื่อรำลึกถึงลูกพี่ลูกน้องของเขา นัน หวัง (Nan Wang) ที่ถูกยิงเสียชีวิตในเหตุการณ์
เธอเล่าว่าตอนนั้นนัน หวังกำลังถือกล้องถ่ายรูปอยู่บนถนน แต่ในวันนั้นมีคำสั่งจากระดับสูงว่าห้ามให้มีรูปถ่ายหรือการบันทึกวิดิโอเผยแพร่ออกไป พวกกองทัพจึงเล็งและยิงเขา กระสุนทะลุศรีษะเขาไป
เจ้อ เซีย ยังได้บอกอีกว่า ครอบครัวลูกพี่ลูกน้องของเธอก็ยังคงถูกดำเนินคดี พ่อกับแม่ของนัน หวัง วางแผนว่าจะไปที่สถานที่ที่ลูกของพวกเขาถูกยิง แต่พวกเขาก็ไม่ได้รับอนุญาตใหออกจากบ้าน "มีคนคอยมาที่บ้านพวกเขาเพื่อไม่ให้พวกเขาออกจากบ้าน คืนก่อนหน้านี้มีตำรวจราว 10 คนนอกบ้านคอยหยุดไม่ให้พวกเขาออกไป" เจ้อ เซีย กล่าว
เคท อัลเลน ผู้อำนวยการองค์กรแอมเนสตี้ในอังกฤษกล่าวว่า มีประชาชนหลายร้อยคนถูกสังหาร บางคนยังถูกขังอยู่ในคุกนานถึง 20 ปีแล้ว จากข้อหาที่พวกเขาชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิของตนเอง
"พวกเราเรียกร้องให้รัฐบาลจีนมีการไต่สวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วบอกให้โลกรับรู้ มีผู้ถูกสังหารไปจำนวนเท่าไหร่ และยังเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ที่ยังถูกกักขังอยู่ด้วย"
มีตำรวจหนาแน่นมากในเขตจัตุรัสเทียนอันเหมินในวันครบรอบเหตุการณ์ เนื่องจากทางรัฐบาลจีนต้องการป้องกันการต่อต้านรัฐบาล และสกัดกั้นผู้ที่จะมารำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว
ผู้เข้าร่วมพิธีครบรอบ 20 ปี เหตุนองเลือดเทียนอันเหมิน จุดเทียนรำลึกถึงเหตุการณ์
(AFP/Ed Jones)


ผู้ร่วมงานเนืองแน่นในวิกเตอเรีย พาร์ค , ฮ่องกง
(AFP/Mike Clarke)

ฮ่องกงคนกะหึ่ม - 150,000 ร่วมชุมนุมรำลึกถึงเทียนอันเหมิน
ขณะที่ในฮ่องกง กลุ่มสหพันธ์ฮ่องกงเพื่อการเคลื่อนไหวด้านประชาธิปไตยในจีน (Hong Kong Alliance in Support of Patriotic Democratic Movement of China) ได้จัดงานรำลึกถึงเหตุการณ์นองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในฐานะครบรอบ 20 ปีของเหตุการณ์ ที่วิกตอเรีย พาร์ค (Victoria Park) โดยงานนี้มีจุประสงค์เพื่อประท้วงรัฐบาลจีนที่ปฏิเสธการนำเหตุการณ์นองเลือดในครั้งนั้นขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง
เซโต หวา (Szeto Wah) ผู้ก่อตั้งสหพันธ์ฮ่องกงฯ กล่าวกับผู้มาร่วมงานว่า มีผู้มาเข้าร่วม 150,000 คน ซึ่งมากกว่าผู้มาเข้าร่วมเมื่อปี 1990
แซนดรา ลี ครูสอนพละที่มาเข้าร่วมพร้อมกับลูกชายวัย 7 ขวบ บอกว่าเธอต้องการทราบความจริงว่ามีอะไรเกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
ผู้เข้าร่วมงานยืนสงบนิ่งหนึ่งนาทีเพื่อไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ มีการวางช่อดอกไม้และแสดงความเคารพ ผู้จัดงานต้องนำคนบางส่วนไปยังสนามหญ้าใกล้ ๆ สถานที่จัดงาน เนื่องจากสถานที่จัดงานขนาดหกสนามฟุตบอลจุคนไว้ไม่พอ
บรรยากาศในงานมีผู้ถือเทียนนั่งสงบนิ่ง และมีการถือป้ายคำขวัญ "เรียกร้องสิทธิแก่ผู้คนในเหตุการณ์ 4 มิถุนา" (Vindicate June 4)
เซโต หวา พูดถึงการจุดเทียนรำลึกว่าเป็นพิธีที่สำคัญสำหรับเมืองฮ่องกง เพราะพิธีนี้ช่วยแสดงให้เห็นความสามารถในการปกครองตนเองส่วนหนึงของฮ่องกง และเสรีภาพในการแสดงออกในฐานะของผู้ต่อต้านรัฐบาลจีน
ขณะเดียวกัน ฉิน กัง (Qin Gang) โฆษก รมต.ต่างประเทศของจีนก็กล่าวในการแถลงข่าววันที่ 6 มิ.ย. ว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980s และเหตุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น ทางพรรคคอมมิวนิสท์จีนและรัฐบาลได้วางผลสรุปไว้ชัดเจนแล้ว นอกจากนี้ยังได้กล่าวอีกว่า ตั้งแต่ 30 กว่าปีที่แล้วทางการจีนได้ปฏิรูปและเปิดกว้างมากขึ้น การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของจีนประสบความสำเร็จดี
โดย หม่า เจาซู (Ma Zhouxu) โฆษก รมต. ต่างประเทศอีกคนได้ออกมาบอกเมื่อวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมาว่า ทางการจีนทำถูกแล้วในเหตุการณ์ปราบปรามการชุมนุมในปี 1989
ในวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา โดนัลด์ ซาง (Donald Tsang) ก็ออกมาบอกว่า ประชาชนจะติดสินเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว "โดยปราศจาคความลำเอียง" เนื่องจากรัฐบาลจีนได้พัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้ฮ่องกงมีความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งต่อมาโดนัลด์ ซาง ได้ออกมาขอโทษ ที่ตนไม่สามารถเป็นตัวแทนความเห็นของคนในฮ่องกงทุกคนได้
ส่วน ลี ชูก-ยัง (Lee Cheuk-yan) รองประธานกลุ่มสหพันธ์ฮ่องกงฯ กล่าวไว้ว่าฮ่องกงควรทำหน้าที่เป็น "จิตสำนึกของจีน" (China's conscience) ต่อไป ในการทำให้ประชาชนจีนมีสิทธฺเสรีภาพในการแสดงความเห็น
โดยเมื่อหนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ในฮ่องกงได้มีหนังสือบันทึกของ เจ้า จื่อหยาง ออกวางจำหน่าย โดยเจ้า จื่อหยาง เป็นอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสท์ที่เคยพยายามเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อปี 1989 จนถูกทางพรรคหาว่าเขาแสดงความเห็นใจกับการประท้วง "ต่อต้านการปฏิวัติ" ทำให้โดนสั่งกักบริเวณจนกระทั่งเสียชีวิต (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม - ) โดยลีเชื่อว่าทั้งการที่วันที่ 6 มิ.ย. เป็นวันครบรอบ 20 ปีของเหตุการณ์ บวกกับการตีพิมพ์หนังสือบันทึกของเจ้า จื่อหยาง ทำให้ประชาชนมาร่วมงานจุดเทียนไว้อาลัยในครั้งนี้มากขึ้น
งานรำลึกเหตุนองเลือดจัตุรัสเทียนอันเหมินในฮ่องกงเมื่อปีที่ผ่านมา มีผู้มาเข้าร่วม 15,700 คน เท่านั้น


ตำรวจจีนตรวจค้นเอกสารของนีกข่าวต่างประเทศที่พยายามเข้าไปในเขตจัตุรัสเทียนอันเหมิน
ในวันที่ 6 มิ.ย. (AFP/Peter Parks)

ประชาชนในพื้นที่หันไปมองกลุ่มทหารตำรวจและกลุ่มตำรวจนอกเครื่องแบบที่กำลังเดินขบวน
ตรวจตราผ่านจัตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อวันที่
4 มิ.ย.(Reuters Pictures/Daylife)
รูปเด็กเดินเล่นในจัตุรัสเทียนอันเหมิน วันที่ 3 มิ.ย. โดยมีตำรวจทหารจับตาดู
(Getty Image/Daylife)
ในแผ่นดินใหญ่ยังคุมเข้ม สกัดช่องข่าว บล็อกนักข่าว และกักบริเวณครอบครัวผู้สูญเสีย
ในกรุงปักกิ่ง นักข่าวต่างประเทศถูกตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบกันไม่ให้เข้าไปในเขตจัตุรัสเทียนอันเหมิน มียามรักษาความปลอดภัยตรวจเช็คพาสปอร์ตและกันไม่ให้ช่างภาพและกล้องวิดิโอเข้าไปในเขตจัตุรัส มีตำรวจนอกเครื่องแบบบางนายข่มขู่และด่าทอนักข่าวที่อยู่รอบ ๆ บริเวณ
เจ้าหน้าที่รัฐยังคงสกัดกั้นอย่างเข้มงวด โดยมีการทำให้ช่อง CNN เหลือแต่จอดำ รวมถึงช่องข่าวต่างประเทศอื่น ๆ ที่มีการนำเสนอเรื่องของจัตุรัสเทียนอันเหมิน ผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เช่นญาติของผู้เสียชีวิตก็จะมีเจ้าหน้าที่รัฐคอยกักตัวไม่ให้ออกจากบ้าน แม้กระทั่ง หวัง ยันนัน (Wang Yannan) ลูกสาวของ เจ้า จื่อหยาง ที่แม้เธอจะไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการเมืองเลยก็ยังมีรถตำรวจมาล้อมบ้าน


องค์กรแอมเนสตี้ในญี่ปุ่น ประท้วงหน้าสถานฑูตจีนในกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.
ในฐานะ 20 ปี เหตุการณ์เทียนอันเหมิน
(AP Photo/Daylife)

ไต้หวัน-อเมริกา บอกจีนควรเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ในอดีต
ประธานาธิบดีไต้หวัน หม่า หยิงเจียว เรียกร้องให้รัฐบาลจีนยกเลิกข้อห้ามการพูดถึงเหตุการณ์ที่เทียนอันเหมิน โดยกล่าวในแถลงการณ์วันที่ 6 มิ.ย. ว่า จีนควรเผชิญหน้ากับประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวดนี้ การแกล้งทำเป็นว่ามันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนไม่ใช่ทางออก
ขณะเดียวกัน ฮิลลารี่ คลินตัน รมต.ต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้จีนและทั่วโลกหันมาสนใจวันครบรอบเหตุนองเลือดที่เทียนอันเหมิน โดยฮิลลารี่ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่า ผู้ประท้วงนับร้อยนับพันคนที่ออกมาบนท้องถนนในสัปดาห์นี้ ทั้งในปักกิ่งและทั่วประเทศก็เพื่อสดุดีนักปฏิรูปอย่างหู เย้าปัง (Hu Yaobang) และเพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกรัฐบาลปฏิเสธ
"จีนมีความก้าวหน้าด้านเศรษกิจอย่างมาก และหากอยากจะดำรงอยู่ในพื้นที่ของผู้นำโลกอย่างถูกต้อง ก็ควรให้มีการพิจารณาเหตุการณ์มืดมนที่เกิดขึ้นในอดีตและแถลงออกสู่มวลชน ทั้งผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ ผู้ที่ถูกจับกุมและผู้สูญหาย นั่นก็เพื่อจะได้เรียนรู้และเยียวยามัน" ฮิลลารี่ กล่าว
นอกจากนี้ฮิลลารี่ คลินตัน ยังได้เรียกร้องให้จีนปล่อยตัวนักโทษจากเหตุการณ์ 4 มิถุนาฯ ที่ยังถูกดำเนินคดีอยู่ และมีการเจรจาร่วมกับสมาชิกครอบครัวของผู้สูญเสีย รวมถึงกลุ่มมารดาเทียนอันเหมิน (Tiananmen Mothers) ด้วย
โดย ฉิน กัง โฆษก รมต. ต่างประเทศของจีน ก็ออกมาตอบโต้ความเห็นของฮิลลารี่ว่า “เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของจีนแบบประหลาด ๆ” นอกจากนี้ยังได้บอกสหรัฐฯ อีกว่า ละวางอคติทางการเมือง และเลิกบ่อนทำลายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสีย โดยฉินปฏิเสธจะพูดถึงเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยในวันนี้
“วันนี้ก็เหมือนทุก ๆ วัน คงตัวตามปกติ” ฉินกล่าว
ที่มา - แปลและเรียบเรียงจาก
Flowers laid for Tiananmen Square , BBC , 04-06-2009
Tiananmen Square Vigil in Hong Kong Park Draws Crowd of 150,000 , Bloomberg , Sophie Leung and Theresa Tang , 04-06-2009
(Updated)
Tiananmen Wounds ‘Need To Heal’ , Radio Free Asia , 04-06-2009
Tiananmen 20th anniversary brings new repression , Christopher Bodeen , AP , 04-06-2009