WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 5, 2009

Asia Sentinel: Thai Politics: Back to Normal? Normal doesn't necessarily mean democratic: การเมืองไทยกลับมาเป็นปกติ? ปกติไม่ได้แปลว่าเป็นประชาธิปไตย

ที่มา Thai E-News

โดย Kevin Hewison
ที่มา Asia Sentinel: http://asiasentinel.com/index.php?
แปลโดยทีมข่าวไทยอีนิวส์
4 มิถุนายน 2552

การเมืองไทย: กลับมาเป็นปกติ?

ปกติไม่จำเป็นต้องหมายความว่าเป็นประชาธิปไตย

นายกฯไทยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้บินไปฮ่องกงและเกาหลีใต้เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อยืนยันกับนักลงทุนว่าการเมืองของประเทศไทยได้กลับสู่สภาวะปกติแล้ว แต่ในประเทศไทยของอภิสิทธิ์ สภาวะปกติหมายถึงการลื่นไถลอย่างน่าเศร้ากลับไปสู่โครงร่างที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆซึ่งเป็นระบบที่นักการเมือง พรรคการเมือง และรัฐสภา ถูกทำให้อ่อนแอ และอำนาจที่แท้จริงตกอยู่ในมือของสถาบันแบบดั้งเดิมที่กดขี่ และเป็นลำดับขั้น (hierarchical)


การให้ความเชื่อมั่นของอภิสิทธิ์หลังจากหลายปีของความวุ่นวายซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี 2548 จากการที่มีประท้วงขับไล่อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร และถูกสับขั้วโดยการรัฐประหารปี 2549 ที่ทำให้ทักษิณต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ ที่ทำให้มีความรุนแรงบนถนนมากขึ้น การบุกยึดครองสนามบินโดยพันธมิตรที่คลั่งเจ้าและการปราบปรามผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลเมื่อกลางเดือนเมษายน

สถาบันเหล่านี้ได้ให้ "เสถียรภาพทางการเมือง" กับประเทศไทยในอดีต นั่นก็คือสถาบันพระมหากษัตริย์ ทหาร และข้าราชการ แต่สถาบันดังกล่าวได้ตกอยู่ในสภาวะกดดันจากการพัฒนาของระบอบรัฐสภา
ในช่วงที่ทักษิณเป็นนายกฯ จุดศูนย์กลางของอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในมือเขา และการดึงดูดชนชั้นที่ยากจนและอ่อนแอที่สุดของเขามันท้าทายความคิดของพวกอนุรักษ์นิยมซึ่งมีจุดศูนย์กลางของอำนาจอยู่ที่กลุ่มชนชั้นสูงที่เป็นอนุรักษ์นิยม

ขณะนี้มีหลักฐานอยู่มากมายที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มอนุรักษ์นิยมซึ่งถือว่าตนเองมีความชอบธรรมมากที่สุดในการปกครองประเทศได้กลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้ง นายกฯอภิสิทธิ์และพรรคร่วมรัฐบาลของเขาที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ทำหน้าที่เป็นแค่ผู้จัดการเวทีเพื่อการกลับมาของพวกอนุรักษ์นิยม

เหตุการณ์ล่าสุดที่ยืนยันเรื่องนี้คือการตัดสินเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ของการไม่เอาโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกรณีตากใบเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 คำพิพากษาที่ว่าทหารและตำรวจกระทำการถูกต้องตามกฏหมายและโดยใช้วิจารณญานที่ถูกต้องนั้น ทางศาลได้ยอมรับการปราบปรามผู้ประท้วงที่มีผู้เสียชีวิต 85 ราย และมี 78 คนในนั้นที่เสียชีวิตในระหว่างการคุมตัวหลังจากถูกยัดเข้าไปในรถบรรทุกของทหารและขับออกไป

โศกนาฎกรรมนี้เกิดขึ้นในช่วงที่พตท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี และเขาก็โดนตำหนิอย่างกว้างขวางและอย่างสมควร แต่จากคำตัดสินของศาล สิ่งที่สำคัญไม่ใช่บทบาทของทักษิณแต่เป็นการปกป้องเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลในกองทัพที่เกี่ยวข้อง


มีอีกหลายกรณีที่คล้ายๆกัน อย่างเช่นการสังหารหมู่ในมัสยิดกรือเซะที่ปัตตานีที่ไม่เคยมีการสอบสวนอย่างเพียงพอ การทำทารุณกรรมต่อผู้อพยพชาวโรฮิงยาโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกบันทึกภาพไว้เมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมาได้ถูกลืมไปแล้ว และนายกฯอภิสิทธิ์ได้อ้างว่าเป็นพฤติกรรมที่ผิดของเจ้าหน้าที่รักษาความสงบของรัฐ และการพบศพที่ลอยมาในแม่น้ำที่มีบ่งบอกถึงการตายแบบฆาตกรรมของชายสองคนก็ถูกเมินเฉย

การกลับไปสู่สภาวะปกติหมายถึงสถาบันอนุรักษ์นิยมกำลังปกป้องตัวเองอยู่ เจ้าหน้าที่รัฐยังปฏิบัติหน้าที่ที่นอกเหนือกฏหมาย โดยเฉพาะพวกที่เป็นส่วนหนึ่งหรือบางส่วนของกลไกที่กำลังปกป้องสถาบันดังกล่าวและกำหนดกติกาของพวกเขา


การที่ปล่อยให้ทหารปฏิบัติการโดยได้รับการยกเว้นจากการลงโทษนอกจากจะเป็นการให้รางวัลต่อพวกเขาที่ทำหน้าที่ค้ำจุนอิทธิพลของสถาบันอนุรักษ์นิยมแล้วยังสะท้อนถึงอำนาจการเมืองที่ยังรุ่งเรือง เมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์กำเนิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2551 พวกเขามีหมอตำแยอยู่ 3 คนคือ: พันธมิตร นักอนุรักษ์นิยมที่มีราชสำนักเป็นแนวร่วม และทหาร

การประท้วงข้างถนนของพันธมิตรได้ทำให้สองรัฐบาลที่เชื่อมโยงกับทักษิณสั่นคลอน พวกอนุรักษ์นิยมที่มีราชสำนักเป็นแนวร่วมสามารถทำให้มีการดำเนินคดีต่อทักษิณและพรรคเหล่านั้น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และหนึ่งในคณะรัฐประหารปี 2549 ได้ปล่อยให้ผู้ประท้วงพันธมิตรเข้าเข้ามามีอำนาจครอบงำอย่างเบ็ดเสร็จ และบงการหรือรับรองรัฐบาลผสมของประชาธิปัตย์ซึ่งได้เห็นการเปลี่ยนขั้วอย่างกระทันหันของนักการเมืองที่เคยสนับสนุนทักษิณ


ตอนนี้ทหารทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันสำหรับสถาบันอนุรักษ์นิยมและรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ กองทัพได้เข้ามาแทรกแซงสองครั้งในช่วงหลายปีที่มีความวุ่นวายทางการเมือง ครั้งแรกคือการก่อรัฐประหาร ปี 2549 และครั้งที่สองเมื่อพล.อ.อนุพงษ์ได้สั่งให้ช่วยรัฐบาลโดยการปราบปรามการลุกฮือของคนเสื้อแดงที่สนับสนุนทักษิณหรือผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลอื่นๆ

การกลับมาสู่สภาวะปกติของประเทศไทยคือการมีกองทหารที่มีอิทธิพลและเล่นการเมือง มันหมายถึงด้วยว่ารัฐสภาเป็นสถานที่สำหรับเปลี่ยนขั้วทางการเมือง รัฐบาลผสมเป็นสิ่งปกติดังนั้นการมีการสนับสนุนจากพรรคไม่มีความหมายและค่อนข้างจะแพง รัฐบาลนี้มีอายุน้อยกว่า 6 เดือนแต่พรรคเล็กๆได้ทำให้รัฐบาลสั่นคลอนแล้ว พรรคเล็กๆทำการต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรีและวิธีอื่นที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งและเตรียมพร้อมกับการเลือกตั้งคราวหน้าที่จะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากและการเจรจาต่อรองที่จะตามมา


ด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหลายเกี่ยวกับการซื้อเสียงของทักษิณในการเลือกตั้งที่เขาได้รับชัยชนะ พวกอนุรักษ์นิยมและทหารอารักขาของพวกเขาต่างหากที่ทำให้ money politics ยิ่งใหญ่ มันไม่ได้ฟังดูถากถางเท่าไหร่หรอกเพราะ money politics ทำให้รัฐสภาอ่อนแอและไม่เป็นอิสระ ซึ่งก็หมายถึงว่าอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ในมือของกลุ่มชนชั้นสูงที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยม

ที่น่าสนใจคือ พันธมิตรกำลังเลือกแนวทางการมีพรรคการเมือง เนื่องจากพวกเขาดึงดูดประชาชนในเขตเลือกตั้งเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรน่าจะดึงคะแนนจากพรรคนั้นในการเลือกตั้งคราวหน้า มันอาจจะเป็นผลลัพธ์ที่ประหลาด แต่สำหรับพวกอนุรักษ์นิยม การถ่วงดุลย์ความสามารถในการรวมพลผู้สนับสนุนของพันธมิตรถือเป็นชัยชนะที่สำคัญ และการที่พวกเขาตั้งพรรคจะทำให้เป้าหมายนั้นสำเร็จ


เหมือนรัฐบาลอนุรักษ์นิยมและรัฐบาลทหารในอดีต รัฐบาลอภิสิทธิ์กำลังพึ่งพากลไกอำนาจกดขี่เพื่อทำให้ทุกอย่างอยู่ในที่ทางของมัน หน่วยงานที่จำเป็นเหล่านี้คือ ทหาร กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ISOC) กระทรวงมหาดไทย กระทรวง ICT แต่ละองค์กรได้รับงบประมาณที่ต้องใช้ในการปราบปรามสิ่งทีมองว่าเป็นการล้มล้างและเพิ่มความแข็งแกร่งของการโฆษณาชวนเชื่อให้คลั่งชาติและคลั่งเจ้า

รัฐบาลสามารถคุมสื่อหลักได้พอๆกับสื่อของรัฐได้อย่างง่ายดาย พวกเขากระทำอะไรอีกมากมายเพื่อที่จะข่มขู่สิ่งที่เรียกว่าสื่อใหม่ ในความพยายามที่จะทำให้มั่นใจว่าการเซ็นเซอร์ตัวเองนั้นเป็นบรรทัดฐาน

โดยเฉพาะกับกรณีที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการวางรากฐานความคิดส่วนรวมและการระบุความ "จงรักภักดี" คดีที่ดังๆที่ใช้กฎหมายหมิ่นฯที่เคร่งครัดและกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้เล็งไปที่กิจกรรมทางอินเตอร์เน็ท คดีเหล่านี้เตือนประชาชนให้ระลึกว่าพวกเขากำลังถูกจับตามองอยู่และการฝ่าฝืนจะมีโทษอย่างหนัก

ป้ายโฆษณา โทรทัศน์ และสปอตโฆษณาทางวิทยุ และรวมถึงตัวนายกรัฐมนตรีเอง ชักชวนให้ให้ประชาชนรักและปกป้องสถาบันกษัตริย์ องค์กรความมั่นคงภายในกำลังใช้แคมเปญที่ดูเหมือนจะไม่มีวันจบสิ้นที่จะส่งเสริมการจงรักภักดีต่อสถาบันราชวงศ์


ที่มีเงื่อนงำคือโปรแกรมที่ชักชวนและฝึกให้ประชาชนเป็นสายลับ ที่ขอให้พวกเขารายงานใครที่พวกเขาคิดว่าเป็นศัตรูของสถาบันกษัตริย์ นายกฯอภิสิทธิ์ลงนามเพื่อเป็นหนึ่งในสายลับอาสาสมัคร และนี่ก็นอกเหนือจากกลุ่มสายลับที่จ้างโดยรัฐเพื่อสืบส่องการกระทำที่ไม่จงรักภักดีตามสื่อต่างๆ

รัฐบาลปัจจุบันและวาระอนุรักษ์นิยมได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นกลาง ในอดีตมันดูเหมือนว่าชนชั้นกลางจะเป็นชนชั้นที่จะผลักดันการเป็นทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย แต่ตอนนี้ไม่ได้เป็นเช่นนั้นแล้ว ความคิดดังกล่าวถูกลบไปเมื่อเดือนเมษายนที่มีการลุกฮือที่ทำให้ชนชั้นกลางเชื่อว่าเสื้อแดงจะเผาบ้าน ร้านค้า โรงงานของเขาในการลุกฮือครั้งหน้า เพราะฉะนั้นพวกเขาจะให้การสนับสนุนต่อสถาบันและประชาธิปไตยแบบไม่เต็มใบและปกป้องโดยทหารที่ถือปืน


นักอนุรักษ์นิยมอย่างเช่นคนวงในของราชสำนัก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เตือนชนชั้นกลางว่าการพ้นจากความหายนะนั้นขึ้นอยู้กับสถาบันกษัตริย์และสถาบันนี้กำลังตกอยู่ในสภาวะอันตราย พวกเขาเตือนด้วยว่าเสื้อแดงจะกลับขึ้นมาลุกฮืออีกถ้าไม่มีความจงรักภักดีและความละมัดระวัง

แต่การกลับไปสู่ความเป็นปกติในรูปแบบของกลุ่มอนุรักษ์นิยมมันไม่ใช่ง่าย สถาบันนี้และการสนับสนุนของพวกเขาจะไม่ได้สิ่งที่พวกเขาต้องการทั้งหมด การลุกฮือเมื่อเดือนเมษายนแสดงให้เห็นว่าคนยากจนที่ถูกตัดสิทธิ์กำลังโกรธแค้นกับวาระที่กลับมาใหม่ของพวกอนุรักษ์นิยม พวกเขาต้องการให้เสียงของเขาถูกสนองตอบ มันไม่ง่ายเลยที่จะปิดปากพวกเขา

Kevin Hewison เป็นผู้อำนวยการของ Carolina Asia Center และเป็น Professor ของ Department of Asian Studies ที่ University of North Carolina Chapel Hill




Thai Politics: Back to Normal?

Written by Kevin Hewison
Wednesday, 03 June 2009

Normal doesn't necessarily mean democratic

Thailand's Prime Minister Abhisit Vejjajiva has recently jetted to Hong Kong and South Korea, assuring investors that Thailand's politics are back to normal.But in Abhisit's Thailand, normality means a depressing slide back to the past political configurations that can be called Thai-style democracy. This is a system where politicians, parties and parliament are made weak and where real power resides with traditional, repressive and hierarchical institutions. Abhisit's assurances follow several years of political turmoil that began in 2005 with a protest movement to oust then Prime Minister Thaksin Shinawatra and was punctuated by the 2006 putsch that sent Thaksin packing, increasing street violence, the occupation of Bangkok's airports by the royalist People's Alliance for Democracy (PAD) and the army's mid-April crackdown on anti-government protests in Bangkok.

These institutions have provided Thailand's "political stability" in the past: the monarchy, military and the bureaucracy. Each of these institutions came under pressure from a developing parliamentary system.


With Thaksin as premier, the concentration of political and economic power in his hands and his obvious appeal to the poorest and weakest classes challenged the conservative consensus that concentrated political power with the conservative elite.

There is now ample evidence that the conservatives who have long considered themselves the country's rightful rulers are now back in charge. Prime Minister Abhisit and his Democrat Party-led coalition are merely stage-managing this comeback for the conservatives.


The most recent confirmation is last Friday's clearing of all officials involved in the October 25, 2004 Tak Bai incident in the restive South. Ruling that the military and police had acted according to the law and had used sound judgment, the court has approved of the army's suppression of protestors that saw 85 die. Seventy-eight of the dead died in custody after they were piled into military trucks and driven away.

This tragic event occurred during Thaksin's premiership, and he was roundly and rightfully criticized for it. But in the court's decision, what mattered was not Thaksin's role but the protection of the officials and military figures involved.


There are many similar cases. For example, the 2004 massacre at Pattani's Kru Se mosque has never been adequately investigated. The mistreatment of Rohingya refugees by officials, caught on film just a few weeks ago, has been forgotten, with Prime Minister Abhisit claiming misdeeds by security forces. The execution-style murder of two men found floating in the river following April's Bangkok uprising has also been neglected.

Getting back to normal means that the conservative establishment protects its own. Officials continue to operate outside the law, especially those who are part and parcel of the apparatus that protects the establishment and maintains its rule.


Letting the military operate with impunity is not just rewarding it for its service in shoring up the establishment's rule but reflects its burgeoning political power. When Abhisit's government was spawned in December 2008, it had three midwives: the People's Alliance for Democracy, palace-aligned conservatives, and the military.

The PAD street demonstrations destabilized two governments that owed allegiance to Thaksin. The palace-aligned conservatives managed legal cases against Thaksin and those parties. General Anupong Paojinda, the army commander and a member of the 2006 coup junta, allowed PAD demonstrators free reign, and directed or approved the Democrat's coalition that saw several pro-Thaksin politicians suddenly swapping loyalties.


The military now provides a protective shell for the conservative re-establishment and for Abhisit's government. The troops have intervened twice during the years of political turmoil. The first was in making the 2006 coup. The second was when General Anupong ordered troops tosave the government by putting down April's uprising by red-shirted Thaksin supporters and other government opponents.

Getting back to normal in Thailand means a powerful and political military. It also means that parliament becomes a place of shifting loyalties. Coalition governments are the norm, so party support is tenuous and expensive. This government is less than six months old but the smaller parties are already destabilizing it. Smaller parties negotiate cabinet seats and other means that bolster their coffers and position them for expensive upcoming elections and the horse-trading that will follow.


For all the criticism of Thaksin's alleged vote-buying in the elections he won, it is the conservatives and their military guard who have again made money politics paramount. This is not as ironic as it might sound, for money politics keeps parliament weak and dependent. This means that true power continues to reside with the conservative elite.

Interestingly, PAD is also choosing the political party route. As they appeal to the same constituency, the PAD party is likely to take votes from the Democrats in the next election. That might seem an odd outcome, but for the conservatives, neutering PAD's ability to mobilize mass support is an important victory and becoming a political party will probably achieve this.


Like the conservative and military governments of the past, Abhisit's administration is increasingly reliant on the coercive state apparatus to keep people in their place. The critical agencies are the military, the Internal Security Operations Command (ISOC), the Ministry of Interior, and the Ministry of Information, Communications and Technology. Each has been given the budget needed to find and suppress perceived subversion and reinvigorate nationalist and royalist propaganda.


The government easily controls the mainstream media as much of it is state-owned. It is doing much more to intimidate the so-called new media, attempting to ensure that self-censorship becomes the norm.

This is especially the case when it comes to the monarchy, which is a pivotal element in re-establishing ideological consensus and determining "loyalty." Several high-profile cases, using draconian lese majeste and computer crime laws, have targeted internet activity. These cases remind people that they are monitored and that transgressions are heavily punished.


Billboards, television and radio spots, and the prime minister exhort people to love and protect the monarchy. The security agencies are running seemingly endless campaigns that promote loyalty to the royal institution.

More insidious are the programs that exhort and train people as spies, asking them to inform on anyone they consider an enemy of the monarchy. Prime Minister Abhisit symbolically signed up as a volunteer spy. This is in addition to the hordes of government employed spies that trawl the media for acts of disloyalty.


The current government and the conservative agenda are bolstered by urban middle-class support. In the past it was thought that the middle class would be the force for democratization, but that's no longer the case. This support was sealed during the April uprising that convinced the middle class that the red shirts will burn their houses, shops and factories to the ground the next time they rise. Hence they will support the establishment and limited democracy, backstopped by the men with guns.

Conservatives like palace insider Sumet Tantivejkul caution the middle class that their salvation lies with the monarchy and its ideas advise that this institution is under threat. They also warn that the red shirts will rise again if there is a lack of loyalty and vigilance.


But getting back to this style of conservative normality is no easy task. The establishment and their supporters are not going to have it all their own way. The April uprising demonstrated that the poor and disenfranchised are angry about the reinvigorated conservative political agenda. They want to have their political voice heard. Keeping them quiet is not going to be easy.

Kevin Hewison is Director of the Carolina Asia Center and a Professor in the Department of Asian Studies at the University of North Carolina at Chapel Hill.