WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 5, 2009

รายงาน: พลังงานทางเลือก (ทำได้ง่ายๆ) หมุนรอบตัวเรา

ที่มา ประชาไท

ตัวอย่างในงานมหกรรมพลังงานชุมชนภาคใต้ “โหมฺเราหลบมาแลพลังงานในชุมชนภาคใต้กันดีหวา” งานแสดงการใช้พลังงานทดแทนที่ชาวบ้านสามารถทำเองได้ง่ายๆ เพียงแต่ต้องเรียนรู้หลักการบางอย่างที่ถูกนำมานำเสนอในงานด้วยแล้ว โดยชาวบ้านเองและหน่วยงานต่างๆ ที่ทำการสาธิตเทคโนโลยีพลังงานชุมชนในรูปแบบ “นิทรรศการที่มีชีวิต”

คำว่า “ดิน น้ำ ลม ไฟ” คือที่มาของพลังงานในโลก ไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริง และไม่น่าจะใช่เรื่องยากหากเราจะนำสิ่งเหล่านี้มีผลิตเป็นพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานทางเลือก ที่ใครก็สามารถทำได้ ไม่ต้องพึ่งพิงแต่แหล่งพลังงานหลักที่มาจากซากดึกดำบรรพ์ หรือ ซากฟอสซิล อย่างน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ที่วันหนึ่งจะถูกใช้ไปจนหมด

พลังงานทางเลือกมีหลายอย่างๆ บางอย่างใช้ได้ไม่รู้จักหมด ที่สำคัญบางอย่างชาวบ้านสามารถนำมาผลิตได้ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนมาก แต่บางอย่างก็ยังต้องลงทุนสูงอยู่ แต่ถ้าพิจารณากันในระยะยาวๆ มันอาจไม่แพงก็ได้เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์

หรือแม้แต่ สิ่งของเหลือใช้ ของเสียจากกระบวนการต่างๆ ก็สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานได้ เช่น มูลสัตว์ มูลคน เศษไม้ น้ำเสีย ขยะ ล้วนนำมาผลิตเป็นพลังงานได้

อย่างในงานมหกรรมพลังงานชุมชนภาคใต้ “โหมฺเราหลบมาแลพลังงานในชุมชนภาคใต้กันดีหวา”

ระหว่างวันที่ 1 – 2 มิถุนายน 2552 ที่สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง จัดโดยมหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมกับมูลนิธินโยบายสุขภาวะ ที่มีเครือข่ายพลังงานชุมชนในภาคใต้เข้าร่วมอย่างล้นหลาม

เพราะในงานมีการจัดแสดงการใช้พลังงานทดแทนที่ชาวบ้านสามารถทำเองได้ง่ายๆ เพียงแต่ต้องเรียนรู้หลักการบางอย่างที่ถูกนำมานำเสนอในงานด้วยแล้ว โดยชาวบ้านเองและหน่วยงานต่างๆ ในการสาธิตเทคโนโลยีพลังงานชุมชน “นิทรรศการที่มีชีวิต” เช่น เตาเผาถ่าน อบต.นาชุมเห็ด จังหัดตรัง ก๊าซชีวภาพ เทศบาลย่านตาขาว จังหวัดตรัง

งานวิจัยและกิจกรรมนักศึกษา ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง (ปลาดุกร้า ขยะลดพลังงาน ปุ๋ยชีวภาพ) ก๊าซชีวภาพและกังหันลม อบต.คลองรี กลุ่มลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ไบโอดีเซล คุณอธิราช ดำดี พลังงานชุมชนโรงเรียนริมเล อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา กังหันลม โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

สาธิตการปั้นเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง ฟาร์มตัวอย่าง ป่าตาเขียว อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ถ่านจากมูลสัตว์และการอัดก๊าซชีวภาพบรรจุถังก๊าซหุงต้ม กรมปศุสัตว์ โครงการพลังงาน ไบโอแก๊สจากน้ำเสียการผลิตยางแผ่น อำเภอท่าศาลา จังหัดนครศรีธรรมราช

โครงการ ไบโอดีเซลจากไขมันหมู สถานีตำรวจรัตภูมิและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โครงการไบโอแก๊สจากน้ำเสียกระบวนการผลิตไบโอดีเซล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โครงการกังหันน้ำขนาดเล็กผลิตไฟฟ้า ชุมชนบ้านคีรีวงและมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี

วิสาหกิจชุมชนบ้านท่าช้าง สานกระจูด และสปาวิถีไทย กลุ่มจักสานก้านมะพร้าว อำเภอนาบอน จังหวัดพัทลุง ก้าวสู่การปฏิวัติพลังงานกับกรีนพีซ

ส่วนของหน่วยงานต่างๆ เช่น พลังงานทางเลือกกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คลินิกพลังงานรายเทคโนโลยี เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ การแสดงเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ศูนย์บริการวิชาการที่ 9 จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักวิชาการพลังงานภาค 12 จังหวัดสงขลา สำนักงานพลังงานจังหวัดพัทลุง

ก่อนงานมหกรรมพลังงานชุมชนภาคใต้ ครั้งนี้ ผู้จัดได้นำผู้เข้าร่วมได้ศึกษาดูงานพลังงานชุมชนก่อน เพื่อให้ได้อรรถรสในการพังการเสวนาในหัวข้อพลังงานชุมชน : ทางเลือกและทางรอดของชาวใต้ และการชมการสาธิตและนิทรรศการที่มี เพื่อเผยแพร่ความรู้และขยายแนวคิดออกไป

โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 เส้นทางชุมพร-นครศรีธรรมราช-พัทลุง ได้แก่ การศึกษาดูงาน กังหันน้ำขนาดเล็กผลิตไฟฟ้า หมู่ที่ 7 บ้านบกแบก ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ซึ่งที่นี่ใช้กังหันเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยไดนาโมในระดับครัวเรือน และติดตั้งที่สำนักสงฆ์สามัคคี

จากนั้นศึกษาดูงาน พลังงานก๊าซชีวภาพจากการเลี้ยงหมู หมู่ที่ 7 ตำบลท่ามะพลา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรซึ่งเมื่อปี 2548ได้มีการทำกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนท่ามะพลา เกิดกิจกรรมเลี้ยงหมู และพัฒนามาสู่การผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้ในครัวเรือนและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น กล้วยอบเล็บมือนางทุเรียนอบ และลูกจันทร์ เป็นต้น

ต่อด้วยการเดินทางไปที่บ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ดูการพัฒนากังหันน้ำคีรีวง นวัตกรรมท้องถิ่นและการต่อยอดทางวิชาการ โดยขึ้นเขาไปดูการใช้งานกังหันน้ำผลิตไฟฟ้า ส่วนที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ศึกษาดูงานการผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือนจากน้ำเสียของการทำยางแผ่น

ส่วนกลุ่มที่ 2 เส้นทางสงขลา-พัทลุง เริ่มจากที่สถานีวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนจากน้ำมันปาล์มและพืชน้ำมัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากนั้นไปศึกษาดูงานพลังงานชุมชนเรื่อง ก๊าซชีวภาพและกังหันลมผลิตไฟฟ้า โดยเครือข่ายลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) คลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จากนั้นศึกษาดูงานไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วและไขมันหมูที่สถานีตำรวจภูธรรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

ที่จังหวัดพัทลุง ได้ศึกษาดูงานก๊าซชีวภาพที่ภักดีฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มหมูที่ทำระบบก๊าซชีวภาพและส่งให้ชุมชนใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม

โดยพลังงานชุมชนแต่ละที่ชาวบ้านสารมารถทำเองได้ง่ายๆ ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นของเหลือใช้ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วนำมาดัดแปลง รวมทั้งวัตถุดิบที่ใช้ก็เป็นของที่หาได้ง่ายในชุมชน ซึ่งนอกจากเป็นการใช้พลังงานทางเลือกแล้ว ยังเป็นการประหยัดเงินในกระเป๋าได้ด้วย


จักรยานพลังงานเอนกประสงค์ เพราะเป็นทั้งปั้มน้ำ เครื่องปั่นไฟ เครื่องบดแป้ง เครื่องขูดมะพร้าว แถมได้ออกกำลังกายด้วย




เตาเผาถ่านประหยัดพลังงาน



พลังงานไบโอแก๊สจากน้ำเสียการผลิตยางแผ่น



กังหันลม



การผลิตแก๊ซจากน้ำเสียไบโอดีเซล



ไบโอดีเซีล



ซุปเปอร์อังโล่



แผงโซล่าร์เซลล์


นี่ก็กังหันลม