WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 17, 2009

แผนการประชาธิปไตยอาเซียน ต่อการเลือกตั้งที่บริสุทธิยุติธรรมของ 10 ประเทศสมาชิก

ที่มา ประชาไท

เพื่อไม่ให้ประเด็นสำคัญของอาเซียนในเรื่องสิทธิทางการเมืองต้องถูกละเลย และเพื่อให้ประชาชนใน 10 ประเทศสมาชิกได้รับรู้การทำงานเชิงรุกของนักสังเกตการณ์นานาชาติว่ามองการปฏิรูปทางการเมืองของประเทศในอาเซียน ต่อการเลือกผู้แทนเข้าสู่สภาโดยรวมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไว้อย่างไร

เมื่อเดือนเมษายน 2552 ทางคณะผู้แทนผู้สังเกตการณ์นานาชาติของอันเฟรลได้ยื่นหนังสือโดยตรงให้กับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อเรียกร้องให้อาเซียนคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งสู่การเมืองที่มีมาตรฐาน ให้ทุกประเทศจัดตั้งองค์กรอิสระด้านการเลือกตั้ง เพื่อจัดการเลือกตั้งที่โปร่งใสบริสุทธิยุติธรรม และเป็นการตรวจสอบถ่วงดุลย์ในทางการเมืองอย่างจริงจัง
อันเฟรลได้แยกระดับสถานะของประเทศอาเซียนในมิติทางการเมือง ซึ่งพอจะจำแนกประเทศออกเป็น 4 กลุ่มคือ
1. ประเทศที่มีกระบวนการประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย
2. ประเทศที่ถูกครอบงำและผูกขาดโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว เข่น สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และกัมพูชา
3. ประเทศสังคมนิยม เช่น เวียดนาม และลาว
4. รัฐทหาร เช่น พม่า/ เมียนมาร์
เป็นที่น่าห่วงว่าในบรรดาประเทศมากกว่ากึ่งหนึ่งยังมีปัญหาในเรื่องลัทธิการปกครอง โครงสร้างทางการเมืองและระบบการเลือกผู้นำเข้าสู่อำนาจที่ยังมีระดับความต่างกันมาก ที่ร้ายไปกว่านั้นเรายังสัมผัสได้ว่าทุกประเทศมีปัญหาด้านการเลือกตั้ง ที่ไร้มาตรฐานจนน่าตกใจ อีกทั้งคุณภาพของผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับต่ำ ไม่ให้ความสำคัญของสิทธิทางการเมือง มีประชาชนน้อยมากที่สามารถโยงใยสิทธิทางการเมืองเข้าสู่สิทธิมนุษยชน ส่วนใหญ่จะแยกภาพสองภาพออกจากกัน
ประเทศซึ่งถูกจัดประเภทที่ 2,3,4 ข้างต้นยังตกอยู่ในสภาพที่ผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน มีเสรีภาพมากน้อยตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยังขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากรัฐและ กกต.ของประเทศ ยังมีกฏหมายจำกัดฝ่ายค้านหลายรูปแบบ จำกัดสื่อ ไม่สามารถสร้างบรรยากาศการเลือกตั้งที่ปลอดจากการข่มขู่คุกคาม ไม่มีกลไกทางกฎหมาย ข้อบัญญัติ การบังคับใช้กฎหมาย และระบบความปลอดภัยใน การบริหารจัดการการเลือกตั้ง ในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน กัมพูชา เวียดนาม ลาว และพม่า ยังไม่เข้าใจว่าการวางตัวให้เป็นกลางทางการเมืองนั้นเป็นอย่างไร จะเห็นว่าพรรคการเมืองที่ได้เป็นรัฐบาลจะเป็นพรรคของกลุ่มอำนาจเดิมๆ และกุมอำนาจตลอดไปอย่างเช่นที่เกิดในประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดประเทศไทย เป็นต้น
นอกจากนั้นนักการการเมืองของทั้ง 10 ประเทศ มักฉวยโอกาสอาศัยความรู้น้อย ของประชาชนที่ส่วนใหญ่ยังยากจน ไร้การศึกษา ไม่ได้ติดตามเบื้องหน้าเบื้องหลังของนักการเมือง คอยบิดเบือนความจริง และคอยยัดเยียดวัฒนธรรมการคอรัปชั่นด้วยการให้เงินซื้อเสียงอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เรื่องนี้คนในประเทศสิงคโปร์และบรูไนอาจจะเถียงว่าสังคมของตนไม่สนใจการซื้อเสียง เพราะไม่ใช่สังคมยากจน แต่คงไม่มีใครโต้แย้งว่ารัฐบาลประเทศนี้ได้ใช้กลไกอื่นที่ได้เปรียบอยู่แล้วในการชิงชัยชนะทางการเมือง ไม่จำเป็นต้องใช้เงินแจกโดยตรง
ในเรื่องขององค์กรอิสระ เราคงทราบกันดีว่า ประเทศไทย อินโดนีเชีย และฟิลิปปินส์ดูจะเป็นประเทศที่มี กกต. ทีมีมาตรฐานมากขึ้น และมีอำนาจมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ที่ผ่านมา กรรมการ กกต.ไทยและอินโดนีเชียก็ถูกศาลตัดสินลงโทษเสียเองหลายคน ซึ่งสิบปีที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นว่า ตัวบุคคลที่จะเข้ามาทำงานอย่างโปร่งใส จริงจัง และเป็นกลางเป็นเรื่องที่อาเซียนเราเองต้องเรียนรู้อีกมาก
มีผู้สังเกตการณบางคนเคยพูดไว้ว่า ถ้าจะให้เปรียบเทียบโครงสร้างทางประชาธิปไตยกับการเลือกตั้ง (โดยไม่พูดถึงความรุนแรงในประเทศ) โดยภาพรวม เราคงไม่ต้องไปเทียบกับกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป แต่ลองเรียนรู้โครงสร้างทางประชาธิปไตยและการเลือกตั้งของ 8 ประเทศสมาชิกของเอเชียใต้หรือ SAARC ดูก่อนจะดีกว่า”
อันเฟรล ได้เสนอ “แผนการเดินทางของอาเซียน” หรือ ASEAN Road Map ไปแล้ว ดังนี้คือ
· รัฐบาลของสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ ควรให้สัตยาบันต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง อย่างไม่มีเงื่อนไข รวมถึงการพัฒนากลไกระดับชาติ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
· ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้มีความยืดหยุ่น เปิดกว้างขึ้น และคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในประเทศเวียดนาม และลาว เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในรัฐบาล โดยการใช้สิทธิออกเสียงโดยตรง หรือ เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเสนอตัวเข้ามาเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานในพรรคการเมือง ได้โดยไม่มีข้อจำกัด
· ให้ทุกประเทศได้จัดตั้งองค์กร หน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารจัดการการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างเสรี เป็นธรรม และด้วยความโปร่งใส
· กองทัพ หน่วยงานภายใต้สถาบันทางการทหาร จะต้องจัดวางบทบาทให้ออกห่างจาก การครอบงำการเลือกตั้ง และเปิดโอกาสให้กฎระเบียบพลเรือนได้วิวัฒนาการอย่างเป็นอิสระ ระบบการเลือกตั้งจะต้องไม่อนุญาตให้มีผู้แทนของหน่วยงานทหารใด ๆ มีที่นั่งอยู่ในรัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นสภาสูงหรือสภาล่าง ผู้แทนทั้งหมดในประเทศอาเซียนจะต้องได้มา โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ที่เป็นประชาธิปไตย และเป็นธรรมเท่านั้น นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องสรุปทบทวนบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญ กฏหมาย ระเบียบปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
· มีการจัดทำสำมะโนประชากร และลงทะเบียน ผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนอย่างถูกต้อง เป็นระยะ ๆ
· เคารพในเอกสิทธิ์ส่วนบุคคล ความลับในการลงคะแนนเสียง ความเสมอภาคของผู้มีสิทธิออกเสียง
· เจ้าหน้าที่รัฐ ข้าราชการ และ องค์กรฝ่ายบริหารของรัฐ จะต้องวางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัด และไม่ฝักใฝ่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในระหว่างการเลือกตั้ง
· จะต้องจัดให้มีการศึกษาในเรื่องการมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตยสำหรับผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
· การมีส่วนร่วมของสตรีในทางการเมือง ควรดำเนินไปในทุกระดับชั้น และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และอาจจัดให้มีระบบสัดส่วนของสตรี ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อประกันการมีส่วนร่วม ของบุคคลผู้ด้อยอำนาจและโอกาสดังกล่าวข้างต้น
· สิทธิในการใช้สิทธิออกเสียงของประชาชนทุกคน รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหาร ผู้ต้องโทษ ผู้นำศาสนา และพระภิกษุสงฆ์
· โอกาสที่เท่าเทียมกันในการทำการรณรงค์หาเสียง ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และพรรคการเมืองที่ส่ง ผู้แทนลงสมัครรับเลือกตั้ง
ขจัดปัญหา
· เงื่อนไข หรือกฎหมายในบางประเทศยังคงปิดกั้นการใช้สิทธิออกเสียงของประชาชน อาทิ เช่น พระราชบัญญัติความมั่นคงในราชอาณาจักร พระราชกำหนดบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก เป็นต้น
· เงื่อนไข ข้อจำกัด บางประการที่อาจบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือการใช้อำนาจของกองทัพ อย่างผิดกฎหมาย รวมถึงคำสั่ง หรือประกาศของคณะรัฐประหาร
· การเลือกปฏิบัติต่อสตรี ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ในกระบวนการทั้งหมดของการเลือกตั้ง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายนี้ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกับกลุ่มอื่น ๆ
· การละเว้น ยกเลิก การนิรโทษกรรม การกระทำความผิดต่อการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งจะต้องดำเนินการภายใต้บรรยากาศที่ปลอดจากสภาวะ ความรุนแรง และความหวาดกลัว การซื้อขายเสียง และระบอบธนาธิปไตย (ใช้เงินทุ่มซื้อคะแนนเสียง) ไม่ควรยอมให้ผู้ใช้สิทธิออกเสียงที่มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดมาลงคะแนนเลือกตั้ง และห้ามใช้สิทธิแทนญาติตนเอง
บังคับใช้กฎหมาย
กฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่ให้หลักประกันในการดำเนินกิจกรรม ที่มีความปลอดภัย และ ส่งเสริม ประชาธิปไตย
ส่งเสริม
· เสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมโดยสงบและสันติ เสรีภาพในการเคลื่อนไหว จัดกิจกรรมทางสังคมการเมือง
· ความสามารถของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเต็มรูปแบบ และมีความสมดุลย์
· เสรีภาพของสื่อสารมวลชน และผู้สื่อข่าว
· เสรีภาพในการพิจารณาตัดสินใจ
· ให้มีผู้ใช้สิทธิออกมาลงคะแนนมากๆ ในทุกพื้นที่ของการเลือกตั้ง
สร้างความเข้มแข็ง
· ให้กับภาคประชาสังคม ได้มีส่วนร่วมในประชาธิปไตย การติดตาม ตรวจสอบ และการถ่วงดุลย์
สนับสนุน
· ให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนครั้งแรก และผู้มีสิทธิที่เป็นสตรีเพศ ได้ใช่วิจารณญานในการตัดสินใจ ลงคะแนนให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมือง ด้วยตนเอง
ป้องกัน
· มิให้เด็กมีบทบาทโดยตรงในสถานการณ์ความขัดแย้ง หรือรณรงค์ทางการเมือง หรือการเดินขบวนที่เสี่ยงต่ออันตราย
จัดตั้ง
· กลไกสนับสนุนผู้ใช้สิทธิออกเสียงที่อยู่ในต่างแดน หรือการใช้สิทธิลงคะแนนทางไปรษณีย์
· กลไกในการร้องเรียนกรณีกระทำผิดต่อการเลือกตั้ง และการรับเรื่องราวร้องทุกข์สนองตอบผู้ร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ
อนุญาตให้
· มีผู้สังเกตการณ์ในระดับท้องถิ่น ในการติดตาม ตรวจสอบ และสอดส่องดูแลกระบวนการเลือกตั้ง อย่างเป็นระบบ
· เปิดโอกาสให้มีผู้สังเกตุการณ์การเลือกตั้งจากนานาชาติ ได้เข้ามาร่วมติดตาม ตรวจสอบ และสอดส่องดูแลการเลือกตั้ง อย่างเปิดเผย โปร่งใส และไม่มีการปิดกั้นใด ๆ
ข้อเสนอแนะดังกล่าวมาทั้งหมด มีความมุ่งหวังที่จะทำให้ประชาธิปไตยในการเลือกตั้ง ได้เป็นหัวใจสำคัญในการ สร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการ ประชาธิปไตยในภูมิภาคอาเซียน ข้อเสนอแนะดังกล่าวนี้ อาจนำมาสู่การ จัดตั้งกลไกในเชิงโครงสร้าง เพื่อการส่งเสริมให้เกิดการเลือกตั้งที่เสรี และเป็นธรรม อันจะเป็นปัจจัยที่สำคัญ ยิ่งต่อประชาธิปไตย ในภูมิภาคอาเซียน