ที่มา บางกอกทูเดย์
เรามีมาตรการเฝ้าระวังในรูปแบบ 3 มิติ คือมิติด้านก่อการร้าย มิติด้านความปลอดภัย และมิติด้านการดูแลความสงบ ทั้งนี้ ประเทศที่มาประชุมมีประเทศที่มีความเสี่ยง ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมมาตรการดูแลความปลอดภัยในทุกมิติ
ในช่วงประชุมอาเซียน...อาจจะแปลกใจที่ตำรวจ-ทหารใกล้บ้านท่าน จะไม่เห็นปฏิบัติหน้าที่ในช่วงนั้น ไม่ใช่เพราะลาพักร้อนหรือลากิจแต่ตำรวจทหารเหล่านี้จะลงไปปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยให้กับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่เลื่อนมาจากช่วงก่อนสงกรานต์ที่พัทยา หลังถูกคนเสื้อแดงยกพลประท้วงระหว่างประชุมมาแล้วครั้งนี้รัฐบาลในฐานะเจ้าภาพจึงระดมกำลังพลทั้งตำรวจและทหารทุกเหล่าทัพไม่ว่าจะเป็นกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือแม้กระทั่งฝ่ายพลเรือนรวม 18,298 นาย ที่ต้องคอยรักษาความปลอดภัยระหว่างการประชุม 23-25 ตุลาคมนี้ลองมาดูภารกิจของแต่ละเหล่าทัพว่ามีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร และแต่ละเหล่าทัพรับผิดชอบตรงไหนบ้างภายใต้แผนยุทธการชะอำ-หัวหิน 521 ที่มี “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม นั่งหัวโต๊ะบัญชาการมาตรการรักษาความปลอดภัยทั้งหมดโดยมีกำลังจากกองทัพบกโดยกองทัพภาคที่ 1 ดูแลความปลอดภัยเจ้าหน้าที่จะแบ่งเขตพื้นที่ออกเป็น 2 เขตคือ เขตพื้นที่หวงห้าม และเขตพื้นที่เฝ้าระวัง โดยจะปฏิบัติด้วยความเข้มงวดตามมาตรการรักษาความปลอดภัยผู้นำประเทศพล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ ให้สัมภาษณ์ถึงการรักษาความปลอดภัยในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนว่า ในส่วนของกองทัพเรือ เตรียมเรือตรวจการณ์ ทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก กว่า 10 ลำ ซึ่งยังไม่นับเรือยาง เรือของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ และเฮลิคอปเตอร์ที่มี“กองทัพเรือมีความพร้อม และจะทำตามแผนที่วางแผนวางไว้และไม่ห่วงว่า การประชุมครั้งนี้จะซํ้ารอยเหตุการณ์การประชุมที่พัทยา เพราะทุกหน่วยข่าวกรองของเรามีการเชื่อมโยงกัน ทั้งนี้ในวันประชุมผมคงต้องลงไปดูพื้นที่ด้วยตัวเอง” พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ระบุขณะที่กองทัพอากาศซึ่งมีหน้าที่ดูแล สนามบินและน่านฟ้าไทยในช่วงการประชุม กองทัพอากาศได้จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจทหารอากาศ (ฉก.ทอ.) ขึ้นที่สนามบินหัวหินโดยมี พล.อ.ท.วินัย เปล่งวิทยา รองเสนาธิการทหารอากาศ
เป็นผู้บัญชาการหน่วยเฉพาะกิจทหารอากาศโดยขณะนี้กำลังพลและยุทโธปกรณ์ส่วนหนึ่งได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ณ ท่าอากาศยานนานาชาติหัวหิน เรียบร้อยแล้วกองทัพอากาศ ได้เตรียมเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นจำนวน3 หน่วยบิน โดยวางกำลังไว้ที่กองบิน 1 นครราชสีมา กองบิน4 ตาคลี และกองบิน 7 สุราษฎร์ธานี เพื่อทำหน้าที่ในการบินคุ้มกันอากาศยานของบุคคลสำคัญ การบินลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยพร้อมกันนี้กองทัพอากาศยังได้การจัดเครื่องบินโจมตีธุรการแบบที่ 2 (AU-23A) ทำการบินถ่ายทอดภาพสถานการณ์การกำหนดเขตห้ามบินเหนือพื้นที่จัดการประชุม เฝ้าตรวจทางอากาศโดยระบบเรดาร์ในระบบงานปกติการจัดเครื่องบินลำเลียงแบบต่างๆ พร้อมด้วยเฮลิคอปเตอร์เพื่อทำการบินลำเลียงสนับสนุนการเคลื่อนย้ายกำลังพลเมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วน และการจัดกำลังพลพร้อมยุทโธปกรณ์เพื่อป้องกันรักษาความสงบที่สนามบินเมื่อจำเป็นการตรวจหาวัตถุระเบิด ด้วยสุนัขทหาร และเครื่องมือค้นหาและการเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด ตลอดจนสารวัตรทหารอากาศและหน่วยบัญชาการอากาศโยธินในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ และโรงแรมที่พักภารกิจเหล่านี้จะเป็นความรับผิดชอบของกองทัพอากาศทั้งสิ้นด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตรียมกำลังไว้ 4,000 นายในการรักษาความปลอดภัย ในพื้นที่ชั้นในและชั้นนอกอำเภอหัวหินส่วนอีก 13 กองร้อย จะเป็นกองร้อยปราบจลาจลที่จะสนับสนุนหากเกิดเหตุการณ์ชุมนุมระหว่างการประชุม“การปฏิบัติจะคล้ายกับการประชุมที่ จ.ภูเก็ต การรักษาความปลอดภัยในการประชุมอาเซียนที่ จ.เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์จะดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด จึงขอเชิญชวนให้คนไทยทุกคนเป็นเจ้าภาพที่ดี เพื่อภาพลักษณ์ของประเทศ และจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในประเทศ” พล.ท.วิศณุ ศรียะพันธุ์ โฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย กล่าวเมื่อ “กองทัพไทย” พร้อมรับมือกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนแล้ว เหลือเพียงคนไทยที่แบ่งสีแบ่งข้าง...จะพร้อมเป็นเจ้าภาพที่ดีหรือไม่?!