WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, October 14, 2009

Asia Sentinel: อนาคตของราชวงศ์ในเอเชียอาคเนย์ The Future of Southeast Asia's Royalty

ที่มา Thai E-News

โดย Pavin Chachavalpongpun



ที่มา Asia Sentinel http://asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2094&Itemid=594
แปลโดยทีมข่าวไทยอีนิวส์
14 ตุลาคม 2552






อนาคตของราชวงศ์ในเอเชียอาคเนย์

ตำราการอยู่รอดของตำแหน่งและราชบัลลังค์ของคุณในขณะที่คนอื่นกำลังสูญเสียมันไป

ราชวงศ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีความสำคัญในทศวรรษที่ 21 อยู่อีกหรือ? หลายปีที่ผ่านมาการสิ้นสุดของราชวงศ์ชาห์ในประเทศเนปาลที่มีอายุ 239 ปีแสดงให้เห็นว่าสถาบันดังกล่าวยังตกอยู่ในสภาพไม่มั่นคงเป็นอย่างมากถ้ามันยังดูเหมือนเป็นปรปักษ์กับระบอบประชาธิปไตย

ในเอเชียยอาคเนย์ ราชวงศ์บางราชวงศ์ยังสามารถปกป้องการครองราชย์ไปพร้อมกับระบอบประชาธิปไตย บางราชวงศ์ก็มีโอกาสตกเป็นเป้าหมายของการทำลายล้าง ปัจจุบัน 4 ใน 10 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์ ตั้งแต่สมบูรณาญาสิทธิราชไปจนถึงใต้รัฐธรรมนูญและเป็นพิธีการ

กษัตริย์ภูมิพลที่มีคนเคารพรักอย่างลึกซึ้งยังคงเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกและเป็นจุดศูนย์กลางของการเมืองไทยถึงแม้จะมีความยุ่งเหยิงที่ทำรุมเร้าประเทศมาตั้งแต่รัฐประหารปี 2549 ที่โค่นล้มนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเชื่อว่าจากน้ำมือของผู้ที่สนับสนุนจ้าว ในระหว่างที่กษัตริย์กำลังมีพระกายที่อ่อนแอลงเรื่อยๆ มีความกังวลเกิดขึ้นทั่วไปว่าการสืบทอดราชบัลลังค์นั้นจะมีการจัดการอย่างไร

ในประเทศบรูไน สุลต่าน Hassanal Bolkiah ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการปรับตัวที่ดีของเขาทำให้การครองราชย์อันเด็ดขาดของเขาเป็นไปอย่างถูกต้องในยุคที่มีรัฐที่เป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่ทั่วไป กษัตริย์ Sihamoni ของกัมพูชาซึ่งมีบทบาทที่เป็นพิธีเท่านั้นยังมีส่วนในการสร้างเอกลักษณ์ของชาติเขมร

ประเทศมาเลเซียมีระบบกษัตริย์แบบเลือกตั้ง Yang di-Pertuan Agong เป็นตำแหน่งที่ใหญ่ที่สุดและจัดตั้งโดยรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐมาเลเซีย Agong ปัจจุบันคือสุลต่าน Mizan Zainal Abidin, สุลต่านของ Terengganu และในระหว่างที่ประเทศประสบกับความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงการเลือกตั้งปี 2551 ที่ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลที่มีอำนาจอยู่และมีเสียงสองในสามในสภาต้องพ่ายแพ้ และพรรค United Malays National Organization ซึ่งเป็นพรรคประจำเชื้อชาติที่ใหญ่ที่สุด ได้พยายามที่จะอ้างความไม่จงรักภักดีต่อราชวงศ์โดยหัวหน้าของพรรคฝ่ายตรงข้ามในการสร้างกระแสความไม่พอใจต่อพรรคคู่แข่ง

ที่ประเทศอื่นในโลก สถาบันกษัตริย์ได้ถูกมองว่าเป็นการเมืองที่ผิดยุคสมัยในสภาพแวดล้อมที่มีแต่สถาบันของรัฐที่เป็นประชาธิปไตย ในเอเซียอาคเนย์ร่องรอยของยุคที่ล้าสมัยของการปกครองโดยกษัตริย์และสุลต่านยังคงอยู่รอดในสมัยปัจจุบันที่เป็นประชาธิปไตย แต่จะอยู่รอดนานเท่าไร?

ความวุ่นวายที่ยืดเยื้อในประเทศไทยที่มีกลุ่มที่เป็นปรปักษ์แย่งชิงอำนาจกันอย่างดุเดือดมันได้ลากเอากษัตริย์ที่เคารพรักเข้าลึกไปในนรกการเมือง สถาบันกษัตริย์ของไทยแทบจะไม่สามารถที่จะหนีพ้นจากการตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้งภายในด้วยเหตุผลง่ายๆที่ว่ามีการชี้ว่าปัญหาการเมืองอยู่ที่ความไม่พึงพอใจที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆของคนยากจนที่เป็นส่วนใหญ่ของประเทศที่ตำหนิชนชั้นสูงในกรุงเทพฯถึงพฤติกรรมที่กดขี่ ชนชั้นสูงเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นตัวแทนของสถาบันกษัตริย์

ที่ผ่านมาสุลต่านของบรูไนได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของเขาในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งท้าทายใหม่ๆ เขาได้ทำให้ความถูกต้องของเขาเข้มแข็งขึ้นโดยใช้แนวคิดของ Melayu Islam Beraja ที่ยอมให้อิสลามมีบทบาทสำคัญในระดับชาติ แต่ขบวนการนี้มันเฉพาะเจาะจงและมีความเสี่ยงที่จะถูกปฏิเสธโดยประชากรที่ไม่ได้เป็นมุสลิม

นักวิชาการชาวอินเดีย Sreeram Chaulia โต้ว่าอนาคตของสถาบันกษัตริย์ในเอเซียขึ้นอยู่กับความสามารถหลายอย่างรวมกันทั้งทางด้านส่วนตัวและการเมืองและวิธีที่พวกเขาจะแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นปัจจัยที่ไม่เป็นอันตรายต่อประชาธิปไตย พวกเขาพึ่งพาความสามารถที่จะคิดค้นตัวเองขึ้นใหม่ใน 3 ระดับคือ: ตนเอง ระดับชาติ และ ระดับสากล

ในระดับตนเองนั้นสถาบันกษัตริย์มีความจำเป็นมากยิ่งกว่าในอดีตที่จะแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบ และความโปร่งใสมากขึ้นในขณะที่พวกเขาอยู่เคียงข้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้แนวคิดของความเป็นเทพเจ้ากษัตริย์ยังคงมีความศักด์สิทธิ์อยู่ กษัตริย์ของไทยและกัมพูชายังคงต้องแสดงบทบาทเป็นธรรมราชาหรือทศพิธราชธรรมเพื่อที่จะเสริมบุญบารมีและต่อจากนั้นก็คือความเคารพจากบริวาร และเช่นกันสุลต่านได้ใช้ราชอำนาจของพวกเขาบนพื้นฐานของศาสนาอิสลาม

ความศักด์สิทธิ์ของบัลลังค์มันขาดไม่ได้ต่อการดำรงอยู่ของสถาบันกษัตริย์ มันเผยถึงความใกล้ชิดและการสานเข้าด้วยกันของความเป็นกษัตริย์กับศาสนา และถ้าใช้มันอย่างชาญฉลาดมันจะเสริมสร้างความศักด์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์ การล้มเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชของประเทศเนปาลในรัชการของ Gyanendra Bikram Dev ส่วนหนึ่งมาจากการที่เขาปราศจากบารมีทางศาสนา และการที่เขาขึ้นครองราชย์จากการที่พระราชนัดดาซึ่งเป็น มงกุฏราชกุมาร ได้สังหารราชวงค์เกือบทุกพระองค์

ในระดับชาตินั้น ความคงทนของสถาบันกษัตริย์มันเกี่ยวดองอย่างละเอียดอ่อนกับความสัมพันธ์กับทหาร ตัวอย่างที่ดีคือบทบาทของทหารไทยในการโค่นล้มทักษิณและพวกเขาทำให้แน่ใจว่าผู้สนับสนุนของเขาที่เป็นสาธารณรัฐนิยมจะไม่กลับมามีอำนาจและดึงเขากลับมาอีก

โดยประวัติศาสร์แล้ว ทหารมีหน้าที่ที่จะปกป้องสถาบันกษัตริย์ กษัตริย์ในอดีตและปัจจุบันแสวงหาที่จะสร้างความสัมพันธ์กับกองทัพ และโดยแท้จริงแล้ว ทหารยังกุมอำนาจที่มีอิทธิพลในการกำหนดอายุของการปกครองหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นระบอบกษัตริย์ ระบอบเผด็จการ หรือประชาธิปไตย และหัวใจของความยั่งยืนของกษัตริย์คือสัมพันธไมตรีกับทหาร

นอกจากนั้น สถาบันกษัตริย์ในอนาคตจำเป็นจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับพรรคการเมืองพื้นฐานที่เป็นตัวแทนของกลุ่มต่างๆที่มีความสำคัญในสังคมและไม่จำเป็นจะต้องเป็นฝ่ายขวาหรือรอยัลลิสต์ ในขณะเดียวกันพวกเขาจะต้องยึดมั่นที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการมองว่าพวกเขาเป็นผู้อุปถัมภ์ของคนส่วนน้อยที่มีอภิสิทธิ์ ซึ่งมันอาจจะทำบัลลังค์ตีตัวออกห่างจากชนชั้นกลางถึงชั้นล่าง: ถ้าเสียงส่วนใหญ่ได้รับการตอบรับ สถานภาพของกษัตริย์ก็จะปลอดภัย

คำแนะนำทั้งหลายนี้ที่จะช่วยให้สถาบันกษัตริย์ในเอเซียอาคเนย์ไม่ทำให้อนาคตของพวกเขาสดใสโดยอัตโนมัติปัจจัยใหม่ๆจะเข้ามาเป็นระยะๆเพื่อท้าทายความถูกต้องของการปกครองของพวกเขา ในการใช้อาวุธที่ไม่ถูกต้องอย่างเช่นการเข้าไปชักใยขบวนการยุติธรรมเพื่อที่จะต่อสู้กับความท้าทายดังกล่าวนั้นมันอาจจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นลบได้

ระบอบกษัตริย์ดำรงยู่มายาวนานหลายพันปี ดังนั้นกุญแจสำคัญที่จะทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่รอดขึ้นอยู่กับแนวทางที่พวกเขาจะแสดงหรือตอบสนองในทางคล้องจองกับความปรารถนาที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆของประชาชนที่ต้องการความเป็นประชาธิปไตย

Pavin Chachavalpongpun เป็น Visiting Research Fellow ที่ Institute of Southeast Asian Studies


The Future of Southeast Asia's Royalty
Monday, 12 October 2009


A survival primer for keeping your head and crown while others about you are losing theirs


Are Southeast Asia's monarchies still relevant in the 21st Century? In recent years, the demise of the 239-year old Shah Dynasty in Nepal indicates that the institution could be highly vulnerable if it appeared antagonistic toward democracy.


In Southeast Asia, some monarchies have successfully entrenched their rule alongside democracy. Some are potentially becoming the target of annihilation. At present, four of 10 Southeast Asian nations endure various kinds of monarchy, ranging from absolute to constitutional and ceremonial.


The deeply respected King Bhumibol Adulyadej remains the world's longest reigning monarch and the epicenter of the Thai political entity despite the political turmoil that has swept the country since the 2006 military coup that deposed Prime Minister Thaksin Shinawatra, allegedly at the hands of backers of the royalty. As the ageing monarch grows more frail, there are concerns about how the succession to the throne will be handled.


In Brunei, Sultan Hassanal Bolkiah of Brunei has proven his resilience in upholding the legitimacy of his absolute reign in an era of surrouonding democratic nation-states. Cambodia's King Sihamoni, whose role is largely ceremonial, nonetheless plays a vital part in the construction of a Khmer national identity.


Malaysia has a system of elective monarchy. The Yang di-Pertuan Agong is the highest ranking office created by the constitution of the federation of Malaysia. The current Agong is Sultan Mizan Zainal Abidin, the Sultan of Terengganu. As political turmoil has swept the country in the wake of 2008 elections that broke the ruling national coalition's two-thirds hold on power in the national legislature, the United Malays National Organization, the biggest ethnic party in the national coalition, has attempted to use a perceived lack of respect for the royalty by opposition leaders to whip up Malay sentiment against the opposition.


Elsewhere in the world, monarchies have been perceived as a political anachronism in the face of the prevailing democratic institutions of government. In Southeast Asia, the vestiges of the bygone era ruled by kings and sultans have been able to survive the democratic era. But for how long?


Thailand's prolonged crisis in which opposite factions have competed fiercely for ultimately the strengthening of their power position has further dragged the much-revered King deep into the political abyss. The Thai monarch could hardly escape being a casualty of the internal conflict simply because the political fault line was drawn on the growing resentment of the majority poor Thais who criticized the Bangkok elites for their despotic behavior. These elites have long claimed to represent the voice of the Thai monarchy.


The Sultan of Brunei has so far demonstrated his ability to adjust itself to meet new challenges. He solidifies his legitimacy using the ideology of Melayu Islam Beraja which allows for the significant role of Islam at the state level. But this process is exclusive and is at risk of being rejected by its non-Muslim population.


Indian scholar Sreeram Chaulia argues that the future of monarchies in Asia depends on the combination of their personal and political capabilities and how they transpire as a non-threatening factor to democracy. They reply much upon their ability to reinvent themselves at three levels: personal, national and international.


At a personal level, the monarchs more than ever need to exhibit their increased accountability, transparency and responsibility as they live side-by-side with a democratic regime. In Southeast Asia, the concept of divine kingship has remained highly sacred. The Thai and Cambodian kings are supposed to perform as Buddhist Dhammarajas, or virtual kings, so as to augment their charisma, and subsequently reverence, from their subordinates. Likewise, the sultans have been exercising their royal authority based on Islam.


The religious sanctity of the throne is indispensable for the existence of the monarchs. It unveils the close intertwining between kingship and religion, and if used wisely, it can enhance further the level of divinity of the monarchs. The abolition of the Nepalese absolute monarchy under the reign of Gyanendra Bikram Dev partly derived from the lack of his religious charisma and from the fact that he had come to the throne after his nephew, the crown prince, had murdered almost the entire royal family.


At a national level, the monarchy's endurance is intricately related to its alliance with the military, as exemplified by the Thai military's role in bringing down Thaksin and making sure the deposed prime minister's Republican supporters didn't come to power and bring him back.


Historically, the military was an obligatory defender of the royal institution. Past and present kings have sought to forge intimate alliances with armies. In fact, the military possesses a powerful mandate that often determines the lifespan of all kinds of regimes, be they monarchical, despotic or democratic. Central to the longevity of the monarchies is the loyalty of the military.


Moreover, future monarchies need to work closely with fundamental political parties which represent dominant groups in society and are not necessarily royalists. Meanwhile, they are obliged to avoid being seen as the patrons of minority privilege, as this would further separate the throne from the majority middle to lower classes: if the majority's voice is heard, the king's position is safe.


All these guides to longevity of the monarchies in Southeast Asia do not automatically offer a rosy picture for their future. New factors emerge periodically to challenge the integrity of their rule. Using illegitimate weapons, such as manipulating the legal system to fight against such challenges, may prove counterproductive.


The monarchical system has been around for thousands of years. The ultimate key to the survival of the monarchical institution, therefore, rests on the way in which it acts and reacts in a complementary manner to the rising desire of the people for democracy. Pavin


Chachavalpongpun is a Visiting Research Fellow at the Institute of Southeast Asian Studies