WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 16, 2009

เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เราทำตามสัญญาแล้ว

ที่มา บางกอกทูเดย์

ไม่รู้ว่าเป็นเพราะไม่เห็นด้วยกับการร่างพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตั้งแต่ต้นหรือไม่ ที่ทำให้นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทุบโต๊ะประชุมครม.เมื่อวันอังคารที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมายกเลิกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินใน 4 อำเภอจังหวัดสงขลา คือ อ.จะนะ เทพา นาทวีและสะบ้าย้อยขณะเดียวกัน ครม.นายกฯ อภิสิทธิ์ก็ยังต้องพึ่งพา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่ออีก 3 เดือนแม้จะมองว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นกฎหมายแข็งกร้าวเกินไป แต่ฝ่ายปฏิบัติยังต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อปิดล้อมตรวจพื้นที่“ครม.ได้ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ออกไปอีก3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. 2552 ถึง19 ม.ค. 2553 และรับทราบว่าได้มีการปรับปรุงความโปร่งใสในการบังคับใช้กฎหมายและขั้นตอนต่างๆ แล้วเพื่อลดผลกระทบด้านลบและข้อครหาว่าเกิดผลกระทบจากการใช้กฎหมาย”นายอภิสิทธิ์ แถลง หลังการประชุม ครม.หากย้อนกลับดูกฎหมายควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินพบว่า กฎหมายฉบับนี้ถูกตราขึ้นอย่างเร่งด่วนเป็นพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) โดยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเมื่อกลางเดือน ก.ค. 2548เพื่อหวังแก้ไขสถานการณ์ที่เรียกว่า“ดับเมืองยะลา” คือการก่อความไม่สงบในเขตเมืองยะลากว่า 50 จุดในห้วงเวลานั้นกฎหมายฉบับนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าโดยการตราพระราชกำหนดเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่สามารถออกกฎหมายบังคับใช้ได้เลย ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขความจำเป็นเร่งด่วนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนายอภิสิทธิ์ เคยให้สัมภาษณ์หลายครั้งทั้งก่อนเป็นนายกรัฐมนตรีและเมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วว่า ไม่เห็นด้วยกับการต่ออายุการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีกำหนด เหมือนเป็นการต่ออายุโดยอัตโนมัติทุกๆ 3 เดือนทั้งๆ ที่โดยหลักการการใช้กฎหมายพิเศษเพื่อควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น จะต้องใช้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง และต้องรีบยกเลิกทันทีเมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ เพราะกฎหมายมีบทบัญญัติที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างไรก็ดี ในห้วงรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ได้ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาแล้วถึง 4 ครั้งคือเมื่อเดือน ม.ค. 2552 เม.ย. 2552 ก.ค.2552 และล่าสุดคือ ต.ค. 2552โดยในการต่ออายุครั้งที่ 15 เมื่อวันที่17 เม.ย. 2552 นายกฯ ได้สั่งการให้หาสถาบันทางวิชาการไปจัดทำรายงานประเมินผลการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาประกอบการพิจารณาการต่ออายุในครั้งที่ 16 เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นวาระของการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาถึง 4 ปีเต็ม แต่แล้วเมื่อถึงเดือน ก.ค.รัฐบาลก็อนุมัติให้ต่ออายุไปอีก 3 เดือน

โดยให้สร้างกลไกรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมแทนทั้งนี้ ในการต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯครั้งที่ 16 เมื่อกลางเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 (กอ.รมน.ภาค 4) ได้จัดทำรายงานเสนอรัฐบาลคู่ขนานไปกับรายงานของสถาบันทางวิชาการ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)โดยยืนยันว่ามีความจำเป็นต้องใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ควบคู่กับกฎหมายพิเศษอื่นๆเช่น พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพ.ศ. 2457 ต่อไปเรื่อยๆ และแม้จะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ในพื้นที่ชายแดนใต้ในอนาคต ก็เห็นควรให้ใช้กฎหมายพิเศษหลายๆ ฉบับควบคู่กันไปเพื่อเลือกนำจุดเด่นของกฎหมายแต่ละฉบับมาใช้เป็นประโยชน์ในการควบคุมสถานการณ์และด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้รัฐบาลตัดสินใจต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไปอีกครั้งคือครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 13 ต.ค.2552ขณะที่ยังมีทางเลือกหนึ่งที่รัฐบาลเตรียมนำมาใช้ในพื้นที่ภาคใต้ คือ การประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ซึ่งขณะนี้มีการนำร่องในพื้นที่ 4 อำเภอ จังหวัดสงขลา“กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายที่แข็งเกินไปขณะที่เหตุการณ์ในพื้นที่ 4 อำเภอของจ.สงขลา ดีขึ้นแล้ว จึงจะใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรแทนถือเป็นพื้นที่นำร่อง อีกทั้งการประกาศใช้พ.ร.บ.มั่นคงนั้นหากเจ้าหน้าที่กระทำการอะไรที่เกิดความเสียหายกับประชาชน รัฐบาลสามารถจ่ายเงินเยียวยาความเสียหายได้”ถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย กล่าวทั้งนี้ เขายังยํ้าด้วยว่า หากใช้พ.ร.บ.มั่นคงแล้วทำให้เหตุการณ์ดีขึ้นก็จะนำไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไปด้านนายสุรพงษ์ ยิ้มละมัย อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มองว่าการยกเลิกกฎอัยการศึกส่งผลด้านจิตใจของประชาชนในพื้นที่ แต่แยกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่รู้สึกผ่อนคลาย กับกลุ่มที่หวาดกลัวว่าจะเกิดเหตุร้ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้การยกเลิกกฎอัยการศึกในภาพรวมเป็นสิ่งที่ดี“แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ เมื่อยกเลิกแล้วเจ้าหน้าที่สามารถดูแลสถานการณ์ได้ครอบคลุมหรือไม่”ถึงอย่างไรการประกาศเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นไปตามที่ นายกฯ เคยสัญญาไว้ และทำให้แล้วดังเช่นนโยบายด้านอื่นของรัฐบาลที่ติดตามต้นไม้ข้างทาง 