WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, October 14, 2009

บทเรียนจากการล้มทหารในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

ที่มา Thai E-News


โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
14 ตุลาคม 2552

ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ท่ามกลางการต่อสู้ของนักศึกษา กรรมกร ชาวนา และประชาชนทั่วไป เผด็จการทหารของ ถนอม กิตติขจร ประภาส จารุเสถียร และณรงค์ กิตติขจร ถูกโค่นล้มไป สามทรราชนี้ต้องหนีออกนอกประเทศ เพราะมีส่วนในการสั่งฆ่าประชาชนผู้ไร้อาวุธท่ามกลางกรุงเทพฯ ไม่ต่างอะไรจาก “อภิสิทธิ์มือเปื้อนเลือด” ในยุคนี้


รัฐบาลเผด็จการทหารของ ถนอม-ประภาส-ณรงค์ เป็นรัฐบาลอำมาตย์ที่รับมรดกอำนาจจากจอมเผด็จการ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เราคงจำได้ว่า สฤษดิ์ เป็นนายทหารที่มีบทบาทสำคัญในการรื้อฟื้นอำนาจและบารมีของกษัตริย์ หลังจากที่ความนิยมเจ้าในไทยตกต่ำตั้งแต่ช่วง ๒๔๗๕

นอกจากถนอม-ประภาส-ณรงค์ จะรับมรดกอำนาจจาก สฤษดิ์ แล้ว ยังรับมรดกวิธีโกงกินชาติบ้านเมืองจากครูใหญ่อีกด้วย เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ทหารเข้ามากินบ้านกินเมืองยกใหญ่

เวลานักศึกษานำขบวนเรียกร้องประชาธิปไตย ออกจากธรรมศาสตร์ สู่ถนนราชดำเนิน มีนักศึกษาถือรูปกษัตริย์และราชินีนำหน้า ซึ่งแสดงว่านักศึกษาพวกนี้ยังต้องการพิสูจน์ความจงรักภักดีอยู่ แต่นั้นก็ไม่สามารถป้องกันเขาจากกระสุนของอำมาตย์ได้

ในช่วงท้ายของการเดินขบวนมีการอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์ที่วังสวนจิตรลดาอีกด้วย ตอนนั้นฝ่าย ถนอม-ประภาส-ณรงค์ พยายามป้ายสีนักศึกษาว่าบุกเข้าไปเพื่อโค่นกษัตริย์ แต่การป้ายสีไม่สำเร็จเพราะเผด็จการทหารหมดอำนาจและความชอบธรรมไปแล้ว

ในการวิเคราะห์สถานการณ์ ในช่วง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เราควรปฏิเสธนิยาย 3 ข้อเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ

1. นิยายที่เสนอว่าประชาชน “ถูกหลอกมาเดินขบวน” เพื่อรับใช้ผู้ใหญ่ที่ขัดแย้งกัน ซึ่งนอกจากจะดูถูกวุฒิภาวะของนักศึกษาและประชาชนแล้ว ยังเป็นนิยายที่เหมือนกับคำพูดของเสื้อเหลืองที่มองว่าคนเสื้อแดงโง่ และถูกทักษิณหลอก ความคิดแบบนี้ชวนให้เราเลิกสู้และอยู่บ้าน เป็นนิยายที่หวังทำลายขบวนการประชาชน

2. นิยายที่เสนอว่าเผด็จการทหารถูกล้มเพราะนายทหารชั้นสูงขัดกันเอง ซึ่งพยายามมองแต่ผู้ใหญ่และตาบอดถึงบทบาทหลักของประชาชนหรือมวลชนในการเปลี่ยนสังคม มันเป็นมุมมองที่เชียร์อภิสิทธิ์ชน และไม่มองภาพรวม

3. นิยายที่เสนอว่าxxxออกมากู้ชาติ สร้างความสามัคคีและประชาธิปไตยในวันที่ ๑๔ ตุลาคม อย่าลืมว่าxxxร่วมกินและได้ผลประโยชน์จากเผด็จการทหารตั้งแต่สมัยสฤษดิ์ และไม่เคยออกมาวิจารณ์เผด็จการเลย ไม่เคยออกมาห้ามการยิงประชาชนด้วย สิ่งที่xxxทำในวันที่ ๑๔ ตุลา คือทำตามหน้าที่เดียวที่กษัตริย์ในระบอบรัฐสภาต้องทำ คือใช้ภาพเท็จของความเป็นกลาง เพื่อก้าวเข้ามาแทรกแซงการเมืองในยามวิกฤต โดยมีเป้าหมายเดียวคือ กู้สถานการณ์และปกป้องอำมาตย์ นี่คือหน้าที่ของกษัตริย์สมัยใหม่ทั่วโลก

ขณะที่เผด็จการทหารถูกล้มโดยประชาชนในวันที่ ๑๔ ตุลาคม โดยที่นักศึกษาสร้างความชอบธรรมให้กษัตริย์ ผ่านการถือรูปและเข้าไปที่สวนจิตรลดา xxxได้โอกาส จึงรีบก้าวออกมาเพื่อประสานงานการตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” และสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อปกป้องการดำรงอยู่ของอำมาตย์ต่อไป และต้อนสังคมเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยรัฐสภา และการเลือกตั้งภายใต้ผลประโยชน์อำมาตย์ อย่างไรก็ตาม เขาไม่สามารถคุมการเคลื่อนไหวของนักศึกษา กรรมกร และชาวนาได้ จึงมีการวางแผนระยะยาวเพื่อก่อเหตุนองเลือดในสามปีข้างหน้า

ข้อผิดพลาดของฝ่ายขบวนการนักศึกษาและประชาชนในวันที่ ๑๔ ตุลา เป็นความผิดพลาดที่เราควรยกโทษให้ เพราะขบวนการนี้กำลังเรียนรู้ท่ามกลางการต่อสู้ อย่างไรก็ตาม เราสามารถมองย้อนกลับไปสรุปได้ว่าขบวนการประชาชนในยุคนั้นควรจะเตรียมตัวยึดอำนาจรัฐเอง หลังจากที่โค่นเผด็จการ ไม่ใช่นิ่งเฉยท่ามกลางความสับสน หรือไปมอบอำนาจหรือความชอบธรรมให้xxx

วิธีหนึ่งที่ขบวนการประชาชนจะเตรียมตัวยึดอำนาจรัฐ คือการสร้างพรรคมวลชน

ในยุคนั้นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยพยายามสร้างพรรคมวลชน เพื่อยึดอำนาจรัฐผ่านการสร้างกองกำลังติดอาวุธ ตามแบบของ เหมา เจ๋อ ตุง ในจีน พ.ค.ท. เชื่อว่าจะต้องยึดชนบทก่อนแล้วค่อยล้อมเมือง ดังนั้นพรรคไม่ได้เข้าไปจัดตั้งและให้ความสนใจกับการต่อสู้ในกรุงเทพฯ ที่ได้รับชัยชนะในวันที่ ๑๔ ตุลาเลย

เราจะเห็นว่าพลังมวลชนเป็นสิ่งที่ชี้ขาดว่าเราจะล้มเผด็จการได้หรือไม่ แต่ถ้าเราไม่มีการจัดตั้งเป็นพรรค พลังมวลชนจะกระจายหายไป และอำมาตย์สามารถฟื้นตัวเพื่ออยู่ต่อในรูปแบบใหม่ได้เสมอ แต่การมีพรรคก็ไม่ใช่หลักประกันอะไร ถ้าพรรคเสนอแนวทางที่ผิดพลาด และไม่เปิดโอกาสให้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยน

ทั้งๆ ที่ พ.ค.ท. เข้ามามีอิทธิพลมากมายในขบวนการนักศึกษาและประชาชนหลัง ๑๔ ตุลา แต่ก็ไม่ได้สนใจที่จะสู้กับอำมาตย์ในเมือง ปล่อยให้ขบวนการถูกปราบไปในวันที่ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ และเมื่อนักศึกษาและประชาชนเข้าป่าไปร่วมกับพรรค ก็ไม่มีการสนับสนุนให้นำตนเอง ใช้วิธีเผด็จการของพรรคปิดกั้นไม่ให้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแนวทาง และไม่มีการสนับสนุนการศึกษาทางการเมืองนอกจากการท่องหนังสือของ เหมา เจ๋อ ตุง ซึ่งทำให้สมาชิกพรรคหดหู่ไม่เข้าใจเมื่อรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์หันมาจับมือกับอำมาตย์ไทย

นอกจากนี้ไม่มีการวางแผนเพื่อสู้ในเมืองเลย ซึ่งทั้งหมดนี้เปิดโอกาสให้อำมาตย์ไทย ภายใต้แนวคิดของ เปรม ติณสูลานนท์ สามารถใช้การเมืองนำทหารดึงนักศึกษาออกจากป่าได้ จนพรรคคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ประเด็นเหล่านี้ คนอย่าง คุณสุรชัย แซ่ด่าน (อดีต พ.ค.ท.) จะต้องอธิบายและตอบข้อสงสัยกับคนเสื้อแดง เมื่อเสนอแนวทางจับอาวุธ หรือตั้งกองกำลังในยุคนี้

เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม เกือบจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะในช่วงแรกฝ่ายเผด็จการพยายามประนีประนอม มีการปล่อยตัวคนที่ถูกจับเพราะแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และมีการ “สัญญา” ว่าจะร่างรัฐธรรมนูญในอนาคต ถ้านักศึกษายอมถอยตอนนั้น ถนอม-ประภาส-ณรงค์ก็คงอยู่ต่อได้ เหมือนกับที่ทหารพม่าอยู่ต่อหลังจากการลุกฮือ 8-8-88 ได้เนื่องจากขบวนการพม่ายอมประนีประนอม

คนที่เสนอว่าคนเสื้อแดงยุคนี้ต้องประนีประนอมกับอำมาตย์ จะต้องอธิบายให้เราฟังได้ว่า เราจะได้ประชาธิปไตยแท้หรือไม่ หรืออำมาตย์จะอยู่ต่อหลังการประนีประนอมดังกล่าว

คนที่เสนอให้คนไทยสามัคคี เลิกความแตกแยก จะต้องพิสูจน์ว่าคุณมีวิธีใดที่จะสร้างประชาธิปไตย และสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และมีวิธีใดที่จะห้ามไม่ให้เกิดรัฐประหารหรือการแทรกแซงการเมืองโดยทหารโดยวิธีทางอ้อม เช่นการใช้ศาลเป็นต้น คนที่อ้างว่าเรายังต้องจงรักภักดีต่อกษัตริย์ จะต้องอธิบายว่าการกระทำแบบนั้นจะไม่เปิดช่องให้อำมาตย์ฟื้นฟูอีกได้อย่างไร เพราะเรามีข้อสรุปที่ชัดเจนจาก ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖แล้ว

พิษภัยของ “รัฐบาลห่งชาติ”

ในช่วงที่xxxมีชีวิต เขาทำหน้าที่ปกป้องความมั่นคงและผลประโยชน์ของอำมาตย์ ผ่านการสร้างภาพลวงตาเรื่องความสามัคคีหรือความเป็นกลาง ในยุคนี้ประชาชนจำนวนมากมองออกว่าเป็นแค่ภาพลวงตา แต่สิ่งที่เราจะต้องระมัดระวังอย่างมากคือ เมื่อxxxตาย ฝ่ายอำมาตย์อาจจะพยายามเสนอ “รัฐบาลแห่งชาติ” เพื่อ “สามัคคีในยามเศร้า” และผู้นำเสื้อแดงบางคนอาจถูกชักชวนให้ไปประนีประนอม

“รัฐบาลแห่งชาติ” ภายใต้อำนาจและเงื่อนไขของอำมาตย์ จะไม่มีวันนำไปสู่ประชาธิปไตยแท้ และความเป็นธรรมทางสังคมได้ และเราไม่ควรหลงเชื่อว่าอำมาตย์เสนอความสามัคคี “เพราะอ่อนแอหลังxxxตาย” เนื่องจากอำนาจทหาร ศาล และข้าราชการจะยังอยู่เหมือนเดิม

ชาวเสื้อแดงที่รักประชาธิปไตยแท้และความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ จะต้องไม่หลงสามัคคีกับเสื้อเหลืองและอำมาตย์ เราจะต้องสู้ต่อไปเพื่อโค่นระบบเผด็จการอันเลวทรามนี้ให้ได้

วีรชน ๑๔ ตุลา และ ๖ ตุลา เขาเริ่มเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยแท้ คนเสื้อแดงจะต้องรับภาระนี้ต่อไป เพื่อให้เราได้รับชัยชนะสักที

--
ติดตามงานของใจ อึ๊งภากรณ์:
http://rsm2009-rsm2009.blogspot.com/
http://siamrd.blog.co.uk/
http://wdpress.blog.co.uk/
http://redsiam.wordpress.com/
-YOUTUBE videos by Giles53