WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 17, 2009

จาตุรนต์ ฉายแสง พูดถึง"บิ๊กจิ๋ว"-แก้รธน.

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ สัมภาษณ์พิเศษ




บิ๊กจิ๋ว-พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ คัมแบ๊ก รังเก่าได้ไม่นาน ก็ถูก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ รื้อฟื้นความหลังว่าเคยเตือนให้ไตร่ตรองในวันสมัครเข้าพรรคเพื่อไทย ระวังจะเป็นการทรยศชาติ

จะถอดใจลาออกเหมือนที่โดนเย้ยหยันว่า "ผู้ใหญ่ลา" หรือไม่?

จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย น่าจะวิเคราะห์ได้ดี ในฐานะผู้คุ้นเคยและร่วมงานการเมืองกับพล.อ.ชวลิตตั้งแต่สมัยพรรคความหวังใหม่

แม้จะสงวนความเห็น ไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์กรณีพล.อ.เปรม

แต่เจ้าตัววิเคราะห์ถึงการเข้าพรรคเพื่อไทยของพล.อ.ชวลิต พ่วงท้ายประเด็นร้อนแก้รัฐธรรมนูญไว้อย่างน่าสนใจ

-วิเคราะห์การเข้าพรรคเพื่อไทยของพล.อ.ชวลิตอย่างไร

พล.อ.ชวลิตเคยยุบพรรคความหวังใหม่มารวมกับพรรคไทยรักไทย ก่อนตั้งพรรคพลังประชาชนก็เคยไปทาบทามท่านแต่ไม่ลงตัว

ล่าสุดที่ตัดสินใจเข้ามาอีกเป็นเรื่องน่ายินดี เป็นประโยชน์ต่อพรรคเพื่อไทย หากมีระบบการทำงานร่วมกันจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาบ้านเมือง

พล.อ.ชวลิตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคนเคารพนับถือ มีคนพร้อมจะร่วมงานมากพอสมควร ที่สำคัญมีประสบการณ์แก้ปัญหาเรื่องใหญ่ๆ ของประเทศ

ขณะนี้ปัญหาของประเทศต้องการประสบการณ์ของพล.อ. ชวลิตช่วยแก้ไข เช่น ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ท่านเป็นผู้ได้รับการยอมรับมาก เคยร่วมแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ เช่น ออกคำสั่ง 66/23 (แนวทางต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์) ที่เปิดโอกาสให้คนที่มีความเห็นขัดแย้งแตกต่างกลับมาอยู่ร่วมกัน แก้ปัญหาโดยไม่ต้องรบราฆ่าฟันกัน รวมทั้งการทำงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน

-ข้ออ้างเรื่องสมานฉันท์เป็นแบบใด

ท่านพูดเช่นนี้ เพราะอดีตคนเคยรบกันยังสามารถแก้ปัญหาได้ ไม่ใช่ฆ่ากันให้หมด ควรเปิดโอกาสให้มาร่วมมือกัน เท่ากับส่งสัญญาณว่าท่านมีแนวคิดแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยไม่ใช้การประหัตประหารหรือแพ้ชนะกันไปข้างใดข้างหนึ่ง

เป็นเรื่องดี หากปฏิบัติตามแนวทางของท่านจะทำให้การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองมีช่องทางโดยไม่ต้องแตกหัก

-พล.อ.ชวลิตมีคดีสลายม็อบติดตัวจะสมานฉันท์ได้หรือ

เรื่องคดีก็ต้องว่ากันไป คนที่เกี่ยวข้องกับซีกที่ไม่สนับสนุนระบบปัจจุบันมีโอกาสถูกเล่นงานได้มากเสมอ แต่เมื่อเข้ามาอยู่ในการเมืองต้องพร้อมจะถูกเล่นงาน เป็นเรื่องธรรมดา

นอกจากพล.อ.ชวลิตยังมีอีกหลายคนที่จะถูกเล่นงานต่อโดยกลไกของระบบนี้ ต้องต่อสู้กันไป ส่วนทางการเมืองก็ต้องทำหน้าที่ด้วย

-หลังจากนี้จะเห็นความเปลี่ยนของทิศทางการทำงานพรรค

ท่านอยากให้พรรคเพื่อไทยทำงานเป็นระบบ ร่วมกันตัดสินใจมากขึ้น ถือเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ เพราะจะมีบุคคลหลายคนเข้ามาในพรรค

ถ้าจัดระบบรองรับให้ดี ตัดสินใจร่วมกันโดยคำนึงถึงความเป็นพรรคการเมืองในระบบรัฐสภา คือทำงานให้เข้าตาประชาชน ปรับปรุงบทบาทในสภาให้มากขึ้น รวมถึงเตรียมการนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

-มาช่วยเตรียมวางยุทธศาสตร์สู้ศึกเลือกตั้ง

ต้องเกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว คนที่เข้าพรรคการเมืองตอนนี้ซึ่งไม่ใช่ส.ส. ต้องช่วยกันเตรียมการเลือกตั้งครั้งหน้า มาช่วยกันรวบรวมความเห็น ปรับปรุงการทำงาน หากทำตามคำแนะนำของพล.อ.ชวลิตได้จะเป็นเรื่องดี

ผมอยากเห็นพรรคพัฒนาเป็นระบบมากขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ส่วนการจัดระเบียบส.ส.ขึ้นอยู่กับพรรค โดยเฉพาะ ระบบที่ต้องตัดสินใจ ชี้แจงสื่อสารการเมืองในทิศทางเดียวกันอย่างมีพลัง

-พล.อ.ชวลิตมาอยู่ยาวหรือแค่ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

ไม่ทราบเหมือนกัน ที่ผ่านมามีโอกาสคุยกับท่านบ้างแต่ยังไม่ได้ซักถามอะไรมาก

ส่วนการทำงานร่วมกับร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน ในฐานะประธานส.ส. ไม่น่ามีปัญหาเพราะเคยร่วมงานพรรคความหวังใหม่มาก่อน ตอนมารวมอยู่กับพรรคไทยรักไทย พล.อ.ชวลิตก็มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

ในแง่ตัวบุคคล ไม่ห่วง แต่อยากให้คนในพรรคเพื่อไทยทำ ตามข้อเสนอของพล.อ.ชวลิตให้มากๆ คื เวลาทำงานต้องสื่อสารประสานงานในพรรคให้ชัดเจนว่าตัดสินใจโดยใคร

ไม่ใช่ต่างคนต่างทำหรือทำกระจัดกระจาย จะกลายเป็นปัญหาเหมือนกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้

-มองการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร

ไม่เกิดขึ้นเร็วๆ นี้แน่นอน เสียงส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย ต้องรอให้ผ่านการเลือกตั้งครั้งหน้า จากนั้นดูว่าพรรคเพื่อไทยที่เสนอให้นำรัฐธรรมนูญปี"40 จะได้เสียงข้างมากเพียงพอหรือไม่

การแก้ทั้งฉบับหรือเอารัฐธรรมนูญปี"40 มาเป็นหลัก ต้องได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนฯซึ่งคงไม่พอ ต้องหาผู้สนับสนุนเพิ่มเติมจากพรรคอื่นและส.ว.

วิธีที่อาจเป็นไปได้กรณีเสียงยังไม่พอ ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เสียงข้างมากพอที่จะเป็นรัฐบาลก็สามารถทำประชามติ ถามประชาชนว่าจะแก้ทั้งฉบับโดยเอาปี"40 หรือ ปี"50 เป็นหลัก ถ้าประชาชนเห็น ด้วยว่าให้เอาปี"40 ก็จะเกิดขึ้นได้ แต่ต้องรณรงค์อย่างกว้างขวางและจริงจัง

ที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยจับประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญอยู่บ้างแต่ยังไม่ค่อยเน้น การเคลื่อนไหวนอกสภาหรือกลุ่มคนเสื้อแดงก็ไม่ค่อยพูดเรื่องรัฐธรรมนูญ เพิ่งมาพูดเมื่อวันที่ 11 ต.ค.

ถ้าทั้งสองส่วนทำอย่างจริงจัง มีแนวร่วมกว้างขวาง ทำความเข้าใจกับประชาชนให้มาก อาจเดินไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญโดยเอาฉบับปี"40 เป็นหลักได้สำเร็จ

แต่หากไม่เคลื่อนไหวจริงจังคงเกิดขึ้นได้ยาก บางทีประเทศอาจเจอวิกฤตก่อนทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองขัดแย้ง ประชา ชนเดือดร้อน รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ทหารอาจฉวยโอกาสยึดอำนาจฉีกรัฐธรรม นูญอีกก็เป็นได้

ฉะนั้นโอกาสแก้ทั้งฉบับได้สำเร็จดูแล้วไม่มากเท่าไหร่

-เค้าลางการแก้ไขรัฐธรรมนูญริบหรี่

ยากมาก ประชาธิปัตย์เองก็ไม่อยากแก้ ให้แกนนำระดับอดีตหัวหน้าพรรคออกมาพูดเป็นระยะๆ ว่าไม่เห็นด้วย ประกอบกับท่าทีของนายกฯ ที่พูดกลับไปกลับมาว่าจะเอา 2 ประเด็น หรือจะทำประชามติก่อนนั้น

ยิ่งชัดเจนเมื่อพรรคเพื่อไทยบอกว่า ไม่ร่วมสังฆกรรมกับวิป 3 ฝ่าย นายกฯ รีบบอกทันทีว่าจะแก้ทำไม เหมือนเข้า ล็อกและตรงกับสิ่งที่นายกฯต้องการเพราะเมื่อฝ่ายค้านประกาศเช่นนั้น นายกฯก็โล่งอกว่าไม่ต้องแก้รัฐ ธรรมนูญ

เป็นข้อพิสูจน์ว่านายกฯไม่ต้องการแก้ ดังนั้นจะไปโทษพรรคเพื่อไทยก็ไม่ถูก

แต่บังเอิญพรรคเพื่อไทยไปพูดจนสับสนว่าการแก้ 6 ประเด็นทำตามพรรคประชาธิปัตย์กับรัฐบาล

ทั้งที่ความจริงเขาไม่ต้องการแก้โดยให้เหตุผลว่าหากทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง ฝ่ายค้านไม่ต้องการแก้ เขาจะยกเป็นข้ออ้างว่าที่แก้รัฐธรรมนูญไม่สำเร็จส่วนหนึ่งเป็นเพราะพรรคเพื่อไทย

แนวโน้มจึงยากมากขึ้นที่จะแก้ไข ยกเว้นลงประชามติระหว่างปี"40 หรือปี"50 ว่าเห็นด้วยกับกรรมการสมานฉันท์ฯ หรือไม่ ถ้าประชาชนลงมติว่าให้แก้ ฝ่ายรัฐสภาอาจต้องทำตาม แต่ยากมากการทำประชามติก็จะโต้แย้งกันอีกว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

-สมาชิก 111 อยู่เบื้องหลังการกลับมติแก้รัฐธรรมนูญ

ท่าทีของพรรคเพื่อไทยที่เปลี่ยนไป ตอนแรกสนับสนุนแนว ทางคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ร่วมมือกับวิป 3 ฝ่าย ต่อมากลับลำโดยโทษว่าสมาชิกบ้านเลขที่ 111 เกี่ยวข้องนั้น

ความจริงแล้วแกนนำพรรคเพื่อไทยไปขอแรงและเชิญเขามาช่วยให้คำแนะนำ ดังนั้นต้องไปตกลงกันให้ชัดเจนว่ามติพรรคจะเกิดจากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค หรือมติของที่ประชุมส.ส. กันแนˆ

-ข้อแนะนำที่จะเป็นทางออก

พรรคเพื่อไทยต้องสรุปบทเรียนการตัดสินใจ ร่วมมือกับฝ่ายอื่นๆ ในสภาในเรื่องที่เป็นประโยชน์กับประชาชน รวมถึงพรรค กลุ่มคนเสื้อแดง หรือฝ่ายต่างๆ ควรเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง ในยกนี้ข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เป็นไปได้มากแล้ว

อาจลำบากที่จะบีบให้รัฐบาลแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร็ว แต่อย่างน้อยสังคมจะได้รับรู้ว่ารัฐบาลคิดอย่างไร เปิดเผยความไม่จริงใจออกมาได้เร็วแค่ไหน สุดท้ายก็จะเห็นความไม่จริงใจนี้ รวมความแล้วการแก้รัฐธรรมนูญจะไม่เกิดขึ้น

รัฐบาลต้องถอยกลับไปนับที่ศูนย์ใหม่ กลายเป็นวังวนเดิมๆ ไม่สิ้นสุด