WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, October 13, 2009

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลเสนอเสื้อแดงหยุดระบอบอำมาตย์ด้วยการแก้ รธน.ว่าด้วยพระราชอำนาจในการแต่งตั้งองคมนตรี

ที่มา ประชาไท

"แทนที่จะด่าเปรม ด่าไปถึงรสนิยมทางเพศของเขา ซึ่งถ้าจะฟ้องหมิ่นประมาทเขาก็ฟ้องได้ ผมไม่เสนออย่างนั้น ผมเสนอว่าให้อภิปรายประเด็นนี้ว่า ควรจะมีองค์กรนี้หรือไม่ และการที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในเรื่ององคมนตรีนั้นทำให้ระบบที่ทำให้เกิดคนอย่างเปรมมีอำนาจอย่างนี้ได้อย่างไร"

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอ การเคลื่อนไหวของเสื้อแดง หากต้องการหยุดระบอบอำมาตย์ต้องพูดเรื่องการแก้ไขประเด็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย ซึ่งมี 2 ประเด็นหลักคือ พระราชอำนาจในการแต่งตั้งองคมนตรี และการสืบสันตติวงศ์ ซึ่งเพิ่งถูกแก้ไขในรัฐธรรมนูญฉบับ รสช.

โดย อ.สมศักดิ์ได้เสนอประเด็นดังกล่าวเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่ผ่านมา หลังจากการ ปาฐกถาประจำปีโดย ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล เรื่อง “แนวคิดประชาธิปไตยสมบูรณ์ของปรีดี พนมยงค์ กับ เจตนารมณ์วีรชน ๖ ตุลา ๒๕๑๙”

“อันนี้ผมต้องพูดช้าๆ เพราะต้องรับผิดชอบตัวเอง คือ ต้องลดพระราชอำนาจของสถาบันกษัตริย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้เหลืออยู่ในระดับที่ไม่ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย มันมีเยอะมาก ผมไม่สามารถอธิบายได้หมด ขอยกประเด็นหลัก 2 ประเด็น

“ประเด็น แรก คือ องคมนตรี ที่เป็นปัญหาในปัจจุบันนี้ที่องค์มนตรีเข้ามายุ่งกับการเมืองเยอะมาก จนตะโกนหูกันแทบแตกเรื่องอำมาตยาธิปไตย ผมบอกว่า คุณตะโกนจนตายก็ไม่แก้ปัญหาหรอก ตราบใดที่คุณไม่เสนอปัญหาในเชิงรัฐธรรมนูญออกมาว่า ที่มีปัญหาอย่างนี้ เพราะรัฐธรรมนูญให้พระราชอำนาจในการแต่งตั้งองคมนตรีทั้งหมด ไม่ให้สังคมควบคุมตรงนี้เลย อันที่จริง การมีองคมนตรี อาจารย์ปรีดีก็เขียนไว้เหมือนกันว่า มันไม่ได้เกิดจากรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร แต่เกิดจากรัฐธรรมนูญของพวก anti คณะราษฎร คือ รัฐธรรมนูญ 2492 แต่ อาจารย์ปรีดีก็ไม่ยอมเสนอลงไปชัดๆ ว่าน่าจะเลิกตำแหน่งนี้ ทีนี้ในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อจะแก้ปัญหาของการเมืองไทยจริงๆ จะต้องแก้ปัญหาอันนี้ ถ้าไม่เลิกองคมนตรีไปเลย ก็ต้องลดพระราชอำนาจเกี่ยวกับเรื่ององคมนตรีนี้ให้เหลือในระดับที่เช่นเดียว กับอำนาจสาธารณะอื่นๆ องค์มนตรีถ้าจะมีก็ต้องไม่มีอำนาจใดๆ ทั้งสิ้น หรืออยู่ภายใต้การควบคุมของสังคมหรือกระบวนการประชาธิปไตยโดยรวม นี่เป็นตัวอย่างที่หนึ่งที่สำคัญมาก

“ตัวอย่าง ที่สองที่ยิ่งสำคัญเข้าไปใหญ่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ก็คือ การสืบราชสันตติวงศ์ หลายคนไม่เข้าใจ อันนี้เป็นความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ 60 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนถึงปี 2534 การเลือกพระมหากษัตริย์องค์ต่อไปเป็นอำนาจของผู้แทนราษฎร อันนี้สำคัญ มีระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ไม่ว่าจะฉบับของทรราช รัฐประหาร อะไรก็แล้วแต่ บอกว่า การเสนอรายพระนามกษัตริย์องค์ต่อไปต้องผ่านการเห็นชอบของรัฐสภา เมื่อคณะ รสช. ทำรัฐประหาร เมื่อ 2534 ได้ทำการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยได้ยกอำนาจเกี่ยวกับการสืบสันตติวงศ์ให้สถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งหมด ความจริงแล้ว มาตรา 18 19 20 21 ยังทำสิ่งหนึ่งที่ขัดกับรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำในความเห็นผม คือ การยกอำนาจในการแก้ไขกฎมณเฑียรบาล 2467 ให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ล้วนๆ แล้วลองคิดดูว่ารัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ในบทแรกๆ ด้วยซ้ำว่าพระมหากษัตริย์ทรงในอำนาจผ่านสภานิติบัญญัติในทางกฎหมาย ซึ่งมันขัดกับหลักการพื้นฐานข้อนี้ เท่ากับยกกฎมณเฑียรบาล 2467 อยู่เหนือรัฐธรรมนูญเอง

“รัฐธรรมนูญ 2534 เป็นอันที่เอาใจสถาบันพระมหากษัตริย์เขียนแบบขึ้นมา รัฐธรรมนูญ 40 ก็เขียนลอกทุกตัวอักษร รัฐธรรมนูญ 50 ก็ ลอกทุกตัวอักษร กลุ่มที่อ้างเรื่องประชาธิปไตยในการต่อสู้ของเสื้อแดงก็ไม่เคยแตะต้อง ประเด็นนี้เหมือนกัน ทั้งที่เป็นประเด็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

“การสืบราชสันตติวงศ์ หลายคนคงไม่ทราบว่า นอกเหนือจากพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่เลือกต่อมากจากพระเชษฐา ตอนที่เลือกร.8 มีการอภิปรายกันในสภาผู้แทนราษฎร แล้วมีการลงมติ ร.8 ไม่ได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์อย่างเอกฉันท์นะ มีเสียงยกมือไม่เห็นด้วย 2 เสียง เหตุผลก็คือเห็นว่าร.8 ยัง 'เด็ก' เกินไป ถ้าพูดในภาษาสามัญ

“นี่เป็นตัวอย่างที่สำคัญมาก 2 ประเด็น คือ เรื่ององคมนตรีและเรื่องการสืบสันตติวงศ์ ยังมีตัวอย่างเล็กๆ ซึ่งความจริงไม่เล็ก ก็คือ การมีพระราชดำรัส รัชกาลปัจจุบันสามารถมีพระราชดำรัสโดยสด ก็คือ กล่าวสดๆ ซึ่งมีความสำคัญกับการเมืองไทยมาก และขัดหลักการประชาธิปไตย คนที่รู้เรื่องนี้ดีมากคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอง เพราะในปี 2502 ทรงมีพระราชดำรัสสดเป็นครั้งแรกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วพระองค์ทรงพูดกับนิสิตเองว่า จริงๆ แล้ววันนี้ไม่ได้ร่างมา เป็นการพูดสดๆ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นประเพณีที่ไม่ควรทำ ฉะนั้น พวกนี้เป็นตัวอย่างของพระราชอำนาจที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตย

“สิ่ง ที่เราต้องทำ ถ้ามองในจุดนี้ก็คือ เพื่ออนาคตของประเทศเรา เราต้องอภิปรายกันในปัญหาเหล่านี้ และลดพระราชอำนาจเหล่านี้ให้เหลือในระดับที่ไม่ขัดแย้งกับหลักการ ประชาธิปไตย ในที่สุดแล้วก็มาสู่การทบทวนมาตรา 8 ในปัจจุบัน องค์พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ มาตรานี้ตอนร่างรัฐธรรมนูญ 10 ธันวา คนที่เสนอเข้าไปคือ พระยามานราชเสวีย์ เคยให้สัมภาษณ์กับอาจารย์บวรศักดิ์ (อุวรรณโน) อาจารย์วิษณุ เครืองาม ถ้าผมจำไม่ผิด ในนิตยสารนิติศาสตร์ ปี 2520 หรือ 2521 นี่แหละ บอกว่าที่ท่านเสนอเข้าไป ท่านเลียนแบบจากญี่ปุ่น แต่มาตรานี้ในรัฐธรรมนูญเมจิถูกเลิกไปแล้ว เมื่อเสนอเข้าไป อาจารย์ปรีดีก็เสนอสนับสนุนในรัฐธรรมนูญ 10 ธันวา แล้วก็อยู่มาตลอด ที่อาจารย์ปรีดีสนับสนุนก็มีเหตุผลเฉพาะอยู่เหมือนกัน พูดง่ายๆ ก็คือ ต้องการปลอบใจ ร.7 ที่อาจารย์เขียนด่า ร.7 ไว้เยอะมากในแถลงการณ์คณะราษฎร ฉบับที่ 1 ฉะนั้น อาจารย์ปรีดีเป็นคนยกมือสนับสนุนญัตติเอง แต่มันผ่านมา 70 กว่าปีแล้ว แล้วเมื่อคำนึงถึงสถานการณ์ประชาธิปไตยไทย สิ่งที่ต้องทำมากที่สุด นอกเหนือจากประเด็นที่ผมยกมาทั้งหมดนี้แล้ว ในที่สุดคือต้องทบทวนมาตรานี้”

อ.สมศักดิ์ ได้ย้ำประเด็นดังกล่าวอีกครั้งภายหลังการอภิปรายของนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน โดยวิพากษ์การวิเคราะห์การพัฒนาการการเมืองไทยของฝ่ายเสื้อแดงว่า เป็นการมองโดยกรอบวิธีคิดแบบสตาลินคือวิธีที่รับรู้ที่มองสังคมมนุษย์ว่ามีขั้นตอน มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวคือ มีทาส ศักดินา สังคมนิยมและทุนนิยม ซึ่งเป็นกรอบการมองที่อาจไม่ได้ผล อีกทั้งการอภิปรายเรื่อง “อำมาตย์” โดยมุ่งไปที่ตัวบุคคลนั้นไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ

“แล้ววิธีคิดอย่างนี้ สิ่งที่เรียกว่าอำมาตย์นั้น ผมจะบอกวาต่อให้ด่าจนอำมาตย์ตายก็ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง กรณีเปรม ต่อให้ด่าจนเปรมตาย ก็จะมีใครต่อใครก็ขึ้นแทน แต่จริงๆ ประเด็นที่ผมเสนอคือ ผมเสนอว่าประเด็นเรื่องอำมาตย์นี่ แทนที่คุณจะพูดเรื่องอำมาตย์ คุณต้องอภิปรายไปให้ถึงเรื่องพระราชอำนาจเรื่องการตั้งองคมนตรี นี่เป็นประเด็นที่ผมไปเขียนในประชาไทแล้วคนไม่เข้าใจ

“แทนที่จะด่าเปรม ด่าไปถึงรสนิยมทางเพศของเขา ซึ่งถ้าจะฟ้องหมิ่นประมาทเขาก็ฟ้องได้ ผมไม่เสนออย่างนั้น ผมเสนอว่าให้อภิปรายประเด็นนี้ว่า ควรจะมีองค์กรนี้หรือไม่ การที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในเรื่ององคมนตรีนั้นทำให้ระบบที่ทำให้เกิดคนอย่างเปรมมีอำนาจอย่างนี้ได้อย่างไร"